ข้ามไปเนื้อหา

ไมน์คราฟต์

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไมน์คราฟต์
Minecraft
โลโก้ของไมน์คราฟต์
ผู้พัฒนาโมแจงสตูดิโอส์[a]
ผู้จัดจำหน่าย
ออกแบบ
ศิลปิน
  • มาร์คุส ท็อยโวเน็น
  • ยาสเปอร์ บูร์สตรา
แต่งเพลงซีโฟร์เอทีน[g]
ชุดไมน์คราฟต์
เครื่องเล่น
วางจำหน่าย
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554[h]
  • วินโดวส์ แมคโอเอส ลินุกซ์
    • ทั่วโลก: 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554[3]

    แอนดรอยด์

    • ทั่วโลก: 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554[4]

    ไอโอเอส

    • ทั่วโลก: 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554[5]

    เอกซ์บอกซ์ 360

    • ทั่วโลก: 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555[6]

    ราสป์เบอร์รีพาย

    • ทั่วโลก: 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556[7]

    เพลย์สเตชัน 3

    • NA: 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556
    • EU: 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

    ไฟร์โอเอส

    • ทั่วโลก: 2 เมษายน พ.ศ. 2557[8]

    เพลย์สเตชัน 4

    • ทั่วโลก: 4 กันยายน พ.ศ. 2557[9]

    เอกซ์บอกซ์ วัน

    • ทั่วโลก: 5 กันยายน พ.ศ. 2557[10]

    เพลย์สเตชัน วิตา

    • NA: 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557[11]
    • EU: 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

    วินโดวส์โฟน

    • ทั่วโลก: 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557[12]

    วินโดวส์ 10

    • ทั่วโลก: 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558[13]

    วียู

    • ทั่วโลก: 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558[14]

    ทีวีโอเอส

    • ทั่วโลก: 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559[15]

    นินเท็นโดสวิตช์

    • NA: 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
    • PAL: 12 พฤษภาคม พศ. 2560

    นิว นินเท็นโด 3ดีเอส

    • ทั่วโลก: 13 กันยายน พ.ศ. 2560[16]
    • EU: 20 กันยายน 2560
แนวแซนด์บ็อกซ์, เอาชีวิตรอด
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว, ผู้เล่นหลายคน

ไมน์คราฟต์ (อังกฤษ: Minecraft) เป็นวิดีโอเกมแซนด์บ็อกซ์ที่พัฒนาโดยบริษัทพัฒนาเกมสวีเดน โมแจงสตูดิโอส์ (Mojang Studios) เกมไมน์คราฟต์สร้างขึ้นโดยนักออกแบบเกมชาวสวีเดน มาร์กุส แพช็อน (Markus Persson) หรือ น็อตช์ (Notch) ด้วยภาษาโปรแกรมจาวา ในช่วงแรกเริ่มมีการปล่อยเออร์ลีแอ็กเซส (early access) สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 และปล่อยเกมตัวเต็มในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ด้วยการที่เย็นส์ แบร์เยนสเตน (Jens Bergensten) เข้ามาพัฒนาเกมต่อจากแพร์ช็อนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไมน์คราฟต์สามารถเล่นผ่านได้ในหลากหลายแพลตฟอร์มและเป็นเกมที่ขายดีที่สุดตลอดกาลด้วยยอดขายที่มากกว่า 238 ล้านชุด และมีผู้เล่นที่มีความเคลื่อนไหวต่อเดือนเกือบ 140 ล้านคน ในช่วงปี พ.ศ. 2564

ในไมน์คราฟต์ผู้เล่นมีอิสระในการสำรวจโลก 3 มิติที่สร้างขึ้นอย่างเป็นกระบวนการในลักษณะบล็อกเหลี่ยม ๆ ด้วยภูมิประเทศที่แทบไม่มีที่สิ้นสุด ค้นพบและเก็บเกี่ยววัตถุดิบต่าง ๆ คราฟต์อุปกรณ์และไอเทม และสร้างสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโหมดเกมที่จะทำให้ผู้เล่นสามารถต่อสู้กับม็อบที่ถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ตลอดจนร่วมมือหรือแข่งขันกับผู้เล่นอื่นในโลกเดียวกัน โหมดเกมในที่นี้ประกอบด้วยโหมดเอาชีวิตรอดซึ่งเป็นโหมดที่ผู้เล่นต้องเก็บเกี่ยวทรัพยากรเพื่อสร้างสิ่งต่าง ๆ และดูแลรักษาความเป็นอยู่ด้วย และอีกส่วนคือโหมดสร้างสรรค์ซึ่งมีทรัพยากรอย่างไม่จำกัดให้แก่ผู้เล่นและยังสามารถเข้าถึงการบินได้ นอกจากนี้ผู้เล่นสามารถดัดแปรเกมเพื่อสร้างระบบเกม ไอเทม และสินทรัพย์ใหม่ ๆ ได้เช่นกัน

ไมน์คราฟต์ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามทั้งชนะรางวัลหลายรายการและเป็นหนึ่งในวิดีโอเกมที่ดีที่สุดตลอดกาล ซึ่งสื่อสังคม การล้อเลียน การดัดแปลง สินค้า งานประชุมประจำปีอย่างไมน์คอน (MineCon) ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกมโด่งดังเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ไมน์คราฟต์ยังถูกนำไปใช้เพื่อการศึกษาในการสอนเคมี การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2557 ไมโครซอฟท์เข้าซื้อบริษัทโมแจงและทรัพย์สินทางปัญญาของไมน์คราฟต์ด้วยเงินจำนวน 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไมน์คราฟต์ยังมีเกมสปินออฟหลายเกม เช่น ไมน์คราฟต์: สตอรีโหมด, ไมน์คราฟต์ดันเจียนส์ และไมน์คราฟต์เอิร์ท

ระบบเกม

ไมน์คราฟต์ เป็นเกมแซนด์บ็อกซ์สามมิติที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย คือผู้เล่นมีอิสระในการเลือกว่าจะเล่นเกมอย่างไร[18] อย่างไรก็ตามก็มีระบบอะชีฟเมนต์ (Achievement)[19] เกมการเล่นโดยค่าเริ่มต้นจะเป็นมุมมองบุคคลที่หนึ่ง แต่ผู้เล่นก็สามารถปรับเป็นมุมมองบุคคลที่สามได้[20] เกมการเล่นหลัก ๆ ของเกมนี้จะเกี่ยวกับการทำลายและวางบล็อก โดยโลกของเกมนี้ประกอบไปด้วยวัตถุที่เป็น 3 มิติ (โดยส่วนใหญ่จะเป็นลูกบาศก์) จัดเรียงในรูปแบบของตารางและบล็อกเหล่านั้นจะแทนเป็นวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน หิน แร่ต่าง ๆ น้ำ ลาวา ลำต้นของต้นไม้ เป็นต้น ในขณะที่ผู้เล่นสามารถเดินทางได้อย่างอิสระรอบ ๆ โลก แต่วัตถุต่าง ๆ จะสามารถถูกวางไว้ในรูปแบบของตารางที่กำหนดไว้เท่านั้น ผู้เล่นสามารถเก็บวัตถุเหล่านี้และวางมันในที่ที่ผู้เล่นต้องการได้[21]

ณ จุดเริ่มต้นของเกมผู้เล่นจะถูกสุ่มเกิดบนพื้นผิวโลก ซึ่งโลกนั้นไม่มีที่สิ้นสุด (ความจริงแล้วมีจุดสิ้นสุด แต่ไกลมาก)[22] โลกจะถูกแบ่งเป็นเขตไบโอมตั้งแต่ทะเลทรายไปจนถึงป่าและทุ่งหิมะ[23][24] ผู้เล่นสามารถเดินทางข้ามภูมิประเทศต่าง ๆ ได้ ซึ่งประกอบไปด้วยที่ราบ ภูเขา ป่า ถ้ำ และแหล่งน้ำต่าง ๆ[22] ระบบเวลาในเกมนี้จะประกอบไปด้วยรอบกลางวันและกลางคืน 1 รอบ (กลางวันและกลางคืน) จะใช้เวลาประมาณ 20 นาทีในชีวิตจริง ตลอดในเส้นทางของเกมผู้เล่นจะได้พบตัวละครที่ผู้เล่นไม่ได้ควบคุม (Non-player character หรือ NPC) ซึ่งเรียกว่า ม็อบ ประกอบไปด้วยสัตว์ ชาวบ้าน (Villager) และสิ่งมีชีวิตที่ไม่เป็นมิตร[25] สัตว์ที่เป็นมิตร เช่น วัว หมู และไก่ สามารถฆ่าเพื่อนำมาเป็นอาหารหรือส่วนผสมสำหรับการคราฟต์ได้ ซึ่งพวกมันจะเกิด (Spawn) ในเวลากลางวัน ในตรงกันข้ามม็อบที่ไม่เป็นมิตร เช่น แมงมุม โครงกระดูก และซอมบี จะเกิดในตอนกลางคืนหรือที่มืด เช่น ถ้ำ[22] สิ่งมีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ในไมน์คราฟต์บางตัวได้รับการตั้งข้อสังเกตโดยนักวิจารณ์ เช่น ครีปเปอร์ (Creeper) สิ่งมีชีวิตที่ระเบิดได้ ซึ่งมันจะย่องมาหาผู้เล่น เอนเดอร์แมน (Enderman) สิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถในการเทเลพอร์ต (Teleport) และหยิบบล็อก[26]

มอนสเตอร์บางตัวในไมน์คราฟต์ เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา : ซอมบี แมงมุม เอนเดอร์แมน ครีปเปอร์ สเกเลตัน

โลกของเกมนี้จะถูกสร้างเพิ่มขึ้นขณะที่ผู้เล่นสำรวจมัน[27][28] ถึงแม้ว่ามันจะมีการจำกัดในแกนตั้ง แต่ถ้าดูตามแกนนอนแล้วพื้นจะมีไม่มีจำกัด แต่มันจะมีปัญหาทางเทคนิคเมื่อเราไปในสถานที่ที่ไกลมาก ๆ[27] เกมนี้จะแบ่งข้อมูลโลกเป็นส่วนเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "ชังก์" (Chunk) ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกสร้างหรือโหลดในหน่วยความจำก็ต่อเมื่อผู้เล่นอยู่ใกล้ ๆ บริเวณนั้นเท่านั้น[27]

ระบบฟิสิกส์ของเกมนี้มักถูกวิจารณ์ว่าไม่มีความสมจริง[29] คือ บล็อกส่วนใหญ่ไม่มีผลกระทบจากแรงดึงดูด ของเหลวไหลจากบล็อกที่เป็นจุดกำเนิด ซึ่งสามารถนำมันออกโดยการวางบล็อกตรงบล็อกที่เป็นจุดกำเนิดหรือใช้ถังตักมัน ระบบที่ซับซ้อนสามารถถูกสร้างได้จากอุปกรณ์เครื่องจักรกลพื้นฐาน วงจรไฟฟ้า และลอจิกเกตในเกมที่เรียกกว่า เรดสโตน (Redstone)[30]

ไมน์คราฟต์ มีอีก 2 มิติที่นอกเหนือจากโลกหลักนั้นคือ เนเธอร์ (Nether) หรือนรก และดิเอนด์ (The End)[26] เนเธอร์เป็นมิติที่เหมือนนรก ซึ่งผู้เล่นสามารถไปมิตินี้ได้โดยผ่านทางพอร์ทัล (Portal) ที่ผู้เล่นที่สร้างขึ้น ในนั้นจะมีทรัพยากรที่เป็นเอกลักษณ์มากมาย และมิตินี้ยังสามารถใช้ในการเดินทางระยะไกล ๆ ในโลกปกติได้ (ใช้ย่นระยะทางได้)[31] ดิเอนเป็นดินแดนที่แห้งแล้งซึ่งมีบอสมังกรที่เรียกว่า มังกรแห่งเอนเดอร์ (Ender Dragon) อยู่[32] การฆ่ามังกรนั้นจะนำไปสู่เครดิตตอนจบเกม ซึ่งเขียนโดยนักเขียนชาวไอริช จูเลียน กอฟ (Julian Gough)[33] ต่อจากนั้นผู้เล่นก็จะสามารถกลับไปยังจุดเกิด (Spawn Point) ดั้งเดิมที่โลกปกติได้และจะบรรลุ "The End" นอกจากนี้ยังมีบอสตัวที่สองที่เรียกว่า "วิเธอร์" (Wither) ซึ่งเมื่อฆ่ามันได้แล้วมันจะปล่อยทิ้งวัสดุที่จำเป็นสำหรับสร้างดวงประทีป (Beacon) ซึ่งมันสามารถเสริมความสามารถของผู้เล่นได้เมื่ออยู่ใกล้ ๆ มัน

เกมนี้ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย 4 โหมด : เอาชีวิตรอด สร้างสรรค์ ผจญภัย และผู้ชม และมันก็ยังสามารถเปลี่ยนระดับความยาก (Difficulty) ได้ 4 ระดับ; ความยากระดับง่ายที่สุด (ปลอดภัย (Peaceful)) จะป้องกันไม่ให้สิ่งมีชีวิตที่ไม่เป็นมิตรเกิดได้[34]

โหมดเอาชีวิตรอด

หน้าต่างการคราฟต์ในไมน์คราฟต์ที่แสดงให้เห็นถึงการคราฟต์ขวานหิน พร้อมกับบล็อกและไอเทมอื่น ๆ ในช่องเก็บของของผู้เล่น

โหมดนี้ผู้เล่นจะต้องเก็บรวบรวมทรัพยากรธรรมชาติ (เช่น ไม้ หิน) ที่พบตามสิ่งแวดล้อมเพื่อที่จะนำมาคราฟต์เป็นบล็อกหรือสิ่งของบางชนิด[22] ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยาก คือมอนสเตอร์จะเกิดในที่มืดที่ห่าง ๆ จากผู้เล่น ฉะนั้นแล้วผู้เล่นควรที่จะสร้างที่พักในช่วงเวลากลางคืน[22] ในโหมดนี้จะมีหลอดเลือดด้วย ซึ่งหลอดนี้จะลดลงก็ต่อเมื่อถูกโจมตีจากมอนสเตอร์ ตกจากที่สูง จมน้ำ ตกลงไปในลาวา หายใจไม่ออก ความหิว และกิจกรรมอื่น ๆ ผู้เล่นก็จะมีหลอดความหิวด้วยเช่นกัน ซึ่งจะสามารถเติมหลอดนี้ได้ด้วยการกินอาหารในเกม ยกเว้นในโหมดความยาก "ปลอดภัย" (Peaceful) หลอดอาหารในความยากนี้จะไม่ลดลงเลย ถ้าหลอดอาหารไม่เต็มการเพิ่มเลือดจะถูกหยุดโดยอัตโนมัติและในที่สุดเลือดก็จะลดลงนั้นเอง เลือดจะเพิ่มได้ก็ต่อเมื่อหลอดอาอาหารเต็ม แต่ในโหมดความยาก "ปลอดภัย" เลือดจะเพิ่มขึ้นทันทีไม่ว่าหลอดอาหารจะเต็มหรือไม่

มีของมากมายในผู้เล่นสามารถคราฟต์ได้ใน ไมน์คราฟต์[35] ผู้เล่นสามารถคราฟต์ชุดเกราะเพื่อนำมาบรรเทาความเสียหายจากการถูกโจมตีได้ ในขณะที่อาวุธ เช่น ดาบ สามารถถูกนำมาคราฟต์เพื่อทำให้ฆ่าศัตรูและสัตว์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ผู้เล่นก็สามารถนำทรัพยากรมาคราฟต์เป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้เช่นกัน เช่น ขวาน พลั่ว หรือที่ขุด เพื่อที่จะนำมาตัดต้นไม้ ขุดดิน และขุดแร่ตามลำดับ; อุปกรณ์ที่ทำจากเหล็กจะสามารถทำให้ใช้งานได้เร็วกว่าอุปกรณ์ที่ทำจากหินหรือไม้ และมันก็สามารถใช้ได้นานขึ้นด้วย ผู้เล่นก็สามารถแลกของกับชาวบ้าน (Villager) ได้เช่นกันด้วยระบบค้าขายที่เกี่ยวข้องกับมรกต เพื่อที่จะแลกของต่าง ๆ[36] ส่วนใหญ่ชาวบ้านมักจะแลกของโดยใช้มรกต ข้าว หรือวัสดุอื่น ๆ[25][36]

เกมนี้มีระบบช่องเก็บของ (Inventory) และผู้เล่นสามารถใส่ของได้ในจำนวนที่จำกัด เมื่อผู้เล่นตายของในตัวผู้เล่นจะถูกปล่อยทิ้งและผู้เล่นจะไปเกิดใหม่ ณ จุดเกิดปัจจุบัน ซึ่งจุดเกิดค่าเริ่มต้นคือตรงที่ผู้เล่นเกิดครั้งแรก แต่ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนจุดเกิดได้โดยการนอนที่เตียง[37] ของที่ตกอยู่ที่พื้นสามารถได้คืนได้ถ้าผู้เล่นไปเก็บก่อนที่มันจะหายไป (Despawn) ผู้เล่นสามารถได้ค่าประสบการณ์ จากการฆ่าม็อบและผู้เล่นคนอื่น ๆ, การขุดแร่, การหลอมแร่, การผสมพันธุ์สัตว์ และการทำอาหาร ค่าประสบการณ์จะถูกใช้เมื่อทำการร่ายมนตร์ (Enchant) อุปกรณ์ ขุดเกราะ และอาวุธ[34] โดยทั่วไปแล้วของที่เอ็นชานต์แล้วจะทำให้ของนั้นมีพลังมากขึ้น ใช้ได้นานขึ้น หรือมีการใช้งานที่พิเศษ[34]

โหมดฮาร์ดคอร์

ในโหมดนี้การเล่นจะเหมือนกับโหมดเอาชีวิตรอดแต่เป็นโหมดที่ยากที่สุด เพราะตัวเกมจะถูกล็อกไว้ที่ระดับความยาก "ฮาร์ด" และถ้าหากผู้เล่นตายแล้วจะไม่สามารถเกิดใหม่ได้ (ตายอย่างถาวร) ซึ่งผู้เล่นจะสามารถเลือกได้ว่าจะกลับไปหน้าเมนูหลัก (โลกของผู้เล่นจะโดนลบทันที) หรือ เลือกสำรวจโลก โดยตัวเกมจะตั้งให้ผู้เล่นอยู่ในโหมดผู้ชม และทำการสำรวจโลกได้[38][39] ถ้าผู้เล่นตายในเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นโหมดฮาร์ดคอร์ ผู้เล่นจะถูกแบน (Ban) จากเซิร์ฟเวอร์นั้นทันที

โหมดสร้างสรรค์

ตัวอย่างสิ่งก่อสร้างใน ไมน์คราฟต์

ในโหมดสร้างสรรค์ผู้เล่นจะสามารถเข้าถึงทรัพยากรและของทุกอย่างในเกมผ่านช่องเก็บของ และผู้เล่นสามารถหยิบของแล้วนำออกมาวางได้ทันที[40] ผู้เล่นจะสามารถบินได้อย่างอิสระรอบ ๆ โลก และจะไม่ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ความเสียหายจากม็อบ และความหิว[41][42] โหมดนี้จะช่วยให้ผู้เล่นมุ่งเน้นไปที่การสร้างสิ่งก่อสร้างและสร้างโปรเจกต์ที่ใหญ่ ๆ ได้นั้นเอง[40]

โหมดผจญภัย

โหมดผจญภัยได้ถูกเพิ่มเข้ามาใน ไมน์คราฟต์ เวอร์ชัน 1.3; มันได้รับการออกแบบมาเฉพาะที่จะให้ผู้เล่นได้เล่นและผจญภัยไปในแมปของผู้เล่นคนอื่น[43][44][45] เกมการเล่นจะคล้ายกับโหมดเอาชีวิตรอด แต่ผู้เล่นจะมีข้อจำกัด ซึ่งข้อจำกัดนี้ก็แล้วแต่ผู้สร้างแมปจะกำหนดขึ้น ทั้งนี้เพื่อที่จะให้ผู้เล่นได้รับของที่จำเป็นและประสบการณ์ในการผจญภัยในทางที่ผู้สร้างแมปได้ตั้งใจไว้[45] นอกจากนี้ในการออกแบบแมปจะมีการใช้บล็อกคำสั่ง (Command Block); บล็อกนี้จะทำให้ผู้สร้างแมปได้เพิ่มปฏิสัมพันธ์กับผู้เล่นผ่านทางคำสั่งต่าง ๆ ของบล็อกนี้[46]

โหมดผู้ชม

โหมดผู้ชมจะทำให้ผู้เล่นสามารถบินไปได้รอบ ๆ ทะลุบล็อก และดูผู้เล่นคนอื่นเล่นโดยที่ไม่มีผลกระทบต่อกัน โหมดนี้ตรงรายการฮอตบาร์ (Hotbar) จะสามารถทำให้ผู้เล่นเทเลพอร์ต (Teleport) ไปหาผู้เล่นคนอื่นได้ และสามารถมองในมุมมองของผู้เล่นคนอื่นหรือสิ่งมีชีวิตอื่นได้ บางทีมุมมองของสิ่งมีชีวิตอื่นอาจจะแตกต่างกับมุมมองของผู้เล่นก็ได้[47]

โหมดเล่นหลายคน (Multiplayer)

โหมดเล่นหลายคนใน ไมน์คราฟต์ จะใช้ได้โดยผ่านผู้เล่นโฮสต์ (Host) และธุรกิจโฮสต์เซิร์ฟเวอร์ และช่วยให้ผู้เล่นมีปฏิสัมพันธ์และสื่อสารซึ่งกันและกันในโลกเดียวกัน[48] ผู้เล่นสามารถเปิดเซิร์ฟเวอร์เป็นของตัวเองได้หรือใช้บริการผู้ให้บริการโฮสติง โลกผู้เล่นคนเดี่ยวจะมีข่ายงานบริเวณเฉพาะที่สนับสนุนอยู่ ซึ่งจะอนุญาตให้ผู้เล่นเข้าร่วมโลกบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันได้โดยที่ไม่ต้องตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์แต่อย่างใด[49] ไมน์คราฟต์ เซิร์ฟเวอร์หลายผู้เล่นจะถูกควบคุมโดยเจ้าของเซิร์ฟเวอร์ คนที่สามารถเข้าถึงคำสั่งของเซิร์ฟเวอร์ได้ เช่น การตั้งค่าเวลาและการเทเลพอร์ตผู้เล่น เจ้าของเซิร์ฟเวอร์ก็สามารถตั้งไม่ให้ผู้เล่นชื่อนี้หรือเลขที่อยู่ไอพีนี้ไม่ให้สามารถเข้าเซิร์ฟเวอร์ได้ด้วยเช่นกัน[48] เซิร์ฟเวอร์หลายผู้เล่นจะนำเสนอกิจกรรมที่หลากหลายด้วยบางเซิร์ฟเวอร์ที่มีกฎที่เป็นเอกลักษณ์และกฎที่กำหนดเอง ผู้เล่นต่อสู้กับผู้เล่น ก็สามารถที่จะเปิดได้เพื่อที่จะให้ผู้เล่นได้ต่อสู้กัน[50] หลาย ๆ เซิร์ฟเวอร์ในปัจจุบันนี้ได้มีปลั๊กอินที่สามารถทำให้ผู้เล่นและเซิร์ฟเวอร์ทำสิ่งต่าง ๆ ที่แตกต่างไปจากปกติ ในปี ค.ศ. 2003 โมแยงได้ประกาศตัวไมน์คราฟต์เรียมส์ (Minecraft Realms) บริการเปิดเซิร์ฟเวอร์ที่สามารถทำให้ผู้เล่นดำเนินงานเซิร์ฟเวอร์หลายผู้เล่นได้ง่ายและปลอยภัยโดยที่จะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์เลย[51] เร็ลมส์นั้นแตกต่างจากเซิร์ฟเวอร์ทั่ว ๆ ไปนั้นคือ การที่เราสามารถเชิญผู้เล่นให้เข้ามาเล่นในเซิร์ฟเวอร์ของเราได้เลย โดยที่เขาไม่ต้องใช้ไอพีของเซิร์ฟเวอร์เลย เจ้าของเซิร์ฟเวอร์เร็ลมส์สามารถเชิญผู้เล่นได้ถึง 20 คนในการเข้าร่วมเล่นในเซิร์ฟเวอร์; อย่างไรก็ตามเซิร์ฟเวอร์สามารถรองรับผู้เล่นออนไลน์ได้แค่ 10 คนเท่านั้นและไม่รองรับปลั๊กอินที่ผู้เล่นทำ ที่ประกาศในงานอิเล็กทรอนิกส์เอ็นเตอร์เทนเมนต์เอ็กซ์โป 2016 เร็ลมส์จะสามารถทำให้ ไมน์คราฟต์ รองรับการเล่นแบบข้ามแพลตฟอร์มระหว่างรุ่นวินโดวส์ 10, ไอโอเอส และแอนดรอยด์ได้ โดยได้เริ่มตอนเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 ต่อมาได้รองรับกับเอกซ์บอกซ์วันและในที่สุดก็สามารถรองรับกับอุปกรณ์ความเป็นจริงเสมือน (virtual reality) ได้[52]

พัฒนาการ

ลำดับเวลาการปล่อยอัปเดตหลักของรุ่นจาวา
สีแดงคือเวอร์ชันก่อนตัวเต็ม
2009Pre-Classic
Classic
Survival Test
2010Indev
Infdev
Alpha
Beta
2011Beta
1.0: "Adventure Update"
20121.1
1.2
1.3
1.4: "Pretty Scary Update"
20131.5: "Redstone Update"
1.6: "Horse Update"
1.7: "The Update that Changed the World"
20141.8: "Bountiful Update"
2015
20161.9: "Combat Update"
1.10: "Frostburn Update"
1.11: "Exploration Update"
20171.12: "World of Color Update"
20181.13: "Update Aquatic"
20191.14: "Village & Pillage"
1.15: "Buzzy Bees"
20201.16: "Nether Update"
20211.17: "Caves & Cliffs: Part I"
1.18: "Caves & Cliffs: Part II"
20221.19: "The Wild Update"
20231.20: "The Trails & Tales Update"

มาร์คุส แพร์สชอน เริ่มพัฒนาเกมนี้เหมือนโครงงานโครงงานหนึ่ง[53] เขาได้แรงบันดาลใจที่จะสร้าง ไมน์คราฟต์ จากหลาย ๆ เกม เช่น วาร์ฟฟอร์เทรส, ดันเจียนคีปเปอร์ และ อินฟินิไมเนอร์ ในเวลานั้นเขามองเห็นว่าสิ่งก่อสร้าง 3 มิตินั้นเป็นแรงบันดาลใจของเขาและผสมผสานกันระหว่างความคิดต้นแบบของเขา[53] อินฟินิไมเนอร์ มีอิทธิพลอย่างมากกับรูปแบบเกมการเล่น รวมไปถึงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง รูปแบบของภาพ และบล็อกพื้นฐานของเกมนี้ อย่างไรก็ตามก็ไม่เหมือนกับ อินฟินิไมเนอร์ แพร์สชอนอยากให้ ไมน์คราฟต์ มีองค์ประกอบของเกมเล่นตามบทบาท (Role-playing game หรือ RPG)[54]

ไมน์คราฟต์ เปิดตัวแก่สาธารณชนครั้งแรกเมื่อ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 โดยได้เปิดตัวที่ทีไอจีซอร์สฟอรัมส์ (TIGSource forums)[55] ต่อมาได้เป็นที่รู้จักกันในนามรุ่น คลาสสิก (Classic) และต่อมารุ่นเซอร์ไวเวิลเทสต์ (Survival Test), อินเดฟ (Indev) และอินฟ์เดฟ (Infdev) ก็จะได้ถูกปล่อยออกมาในช่วงระหว่างเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 กับเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 ถึงแม้ว่าตอนแรกแพร์สชอนจะทำงานกับแจลบัมดอตเน็ต (Jalbum.net) ต่อมาเขาก็ได้ลาออกเพื่อที่จะมาทำงานเกี่ยวกับ ไมน์คราฟต์ อย่างเต็มเวลาในช่วงเวลาที่ยอดขายของรุ่นแอลฟา (Alpha) ได้เพิ่มขึ้น[56] แพร์สชอนได้ดำเนินอัปเดตเกมแล้วปล่อยให้กับผู้เล่นโดยอัตโนมัติ ซึ่งอัปเดตประกอบไปด้วยฟีเจอร์ต่าง ๆ เช่น ของใหม่ บล็อกใหม่ ม็อบใหม่ โหมดเอาชีวิตรอด การเปลี่ยนรูปแบบบางอย่างของเกม (เช่น การไหลของน้ำ)[56]

กลับมาที่พัฒนาการของ ไมน์คราฟต์ แพร์สชอนได้ก่อตั้งบริษัทวิดีโอเกมนั่นคือบริษัทโมแยง ด้วยเงินที่เขาได้รับจากเกม[57][58][59] ในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2010 แพร์สชอนได้ประกาศว่า ไมน์คราฟต์ จะเข้าสู่ช่วงการทดสอบบีตา (Beta) ของมันในวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2010[60] เขายังได้ระบุว่าผู้เล่นที่ซื้อเกมหลังวันดังกล่าวจะไม่ได้รับประกันว่าจะได้รับเนื้อหาทั้งหมดในอนาคตโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในขณะที่มัน "กลัวทั้งทนายความและคณะกรรมการ" อย่างไรก็ตามการแก้ไขข้อบกพร่องหรือบั๊ก และอัปเดตทั้งหมด รวมไปถึงการวางจำหน่ายก็ยังฟรีอยู่ ในช่วงของการพัฒนาโมแยงได้จ้างพนักงานใหม่จำนวนมากเพื่อที่จะทำงานในโครงงานนี้[61]

โมแยงได้ย้ายเกมจากรุ่นบีตาและวางจำหน่ายรุ่นเต็มในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011[62] เกมก็จะได้อัปเดตต่อไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ได้มีการวางจำหน่าย การเปลี่ยนแปลงมีไปตั้งแต่รูปแบบเกมจนไปถึงระบบเซิร์ฟเวอร์[63] ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2011 เย็นส์ แบร์เยนสเตน (เจ๊บ) (Jens "Jeb" Bergensten)[64] ได้ควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์ของ ไมน์คราฟต์ อย่างเต็มรูปแบบ โดยให้แพร์สชอนไปเป็นผู้นำในการพัฒนาแทน[65] ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 โมแยงได้ประกาศว่าพวกเขาได้จ้างนักพัฒนาของ "คราฟต์บักกิต" (CraftBukkit)[50] แพลตฟอร์มเซิร์ฟเวอร์ชื่อดัง มาเพื่อที่จะมาปรับปรุงให้ ไมน์คราฟต์ รองรับกับเซิร์ฟเวอร์ม็อด[66] การเข้าซื้อครั้งในนี้ยังช่วยให้โมแยงเป็นเจ้าของม็อดคราฟต์บักกิตอย่างเต็มรูปแบบ[67] ถึงแม้ว่าความถูกต้องของการเรียกร้องนี้ได้ถูกถามเนื่องจากสถานะของการเป็นโครงการโอเพนซอร์ซกับผู้สนับสนุนอีกมากมาย ได้รับอนุญาตภายใต้สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู และสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนู[68] ในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2014 ไมโครซอฟท์ ได้ประกาศข้อตกลงเงินจำนวน 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่จะซื้อบริษัทโมแยงและเจ้าของลิขสิทธิ์ ไมน์คราฟต์ ข้อตกลงนี้ได้ถูกเสนอแนะโดยแพร์สชอนเมื่อเขาได้ทวีตถามบริษัทที่จะซื้อหุ้นเกมของเขา หลังได้รับคำวิจารณ์ว่า "พยายามที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง" ทั้งหมดได้เสร็จสิ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 และทำให้แพร์สชอนนั้นไปสู่การเป็นหนึ่งใน "มหาเศรษฐีของโลก" ในนิตยสารฟอบส์[69][70][71][72][73]

เกี่ยวกับเสียง

เพลงของ ไมน์คราฟต์ และเสียงประกอบถูกสร้างโดยนักออกแบบเสียงชาวเยอรมัน แดเนียล "ซีโฟว์เอททีน" โรเซนเฟลด์ (Daniel "C418" Rosenfeld)[74] ดนตรีประกอบฉากใน ไมน์คราฟต์ เป็นดนตรีแอมเบียนต์ที่ไม่ได้เป็นเพลง

เกมภาคเสริม

ไมน์คราฟต์: สตอรีโหมด

ไมน์คราฟต์: สตอรีโหมด (อังกฤษ: Minecraft: Story Mode) คือ เกมภาคเสริมที่เป็นฉาก ๆ ที่พัฒนาโดยเทลล์เทลเกมส์ (Telltale Games) ร่วมมือกับโมแยง ซึ่งถูกประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 ประกอบไปด้วย 5 ตอนและ 3 ตอนที่สามารถดาวน์โหลดได้เพิ่มเติม โดยเนื้อหาของเกมนี้จะเกี่ยวกับการเล่าเรื่องและให้ผู้เล่นเลือกตัวเลือก และมันได้ถูกปล่อยให้ดาวน์โหลดผ่านทางไมโครซอฟท์วินโดวส์, โอเอสเทน, ไอโอเอส, เพลย์สเตชัน 3, เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์ 360 และเอกซ์บอกซ์วันในวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2015[75][76][77] แผ่นที่บรรจุตอนทั้งหมดได้ถูกปล่อยให้คอนโซล 4 รุ่นดังกล่าวในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2015[77] รุ่นวียู[78] และนินเท็นโดสวิตช์ก็ได้ถูกก็ได้ถูกปล่อยออกมาต่อจากนั้นไม่นาน[79][80] ตัวอย่างแรกของเกมนี้ได้เปิดตัวที่งานไมน์คอน (MineCon) ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 ซึ่งเผยให้เห็นฟีเจอร์บางอย่างของเกม ในไมน์คราฟต์: สตอรีโหมดผู้เล่นจะควบคุมตัวละครที่ชื่อ เจสซี (Jesse) (ให้เสียงโดย แพตตัน ออสวอลต์ และแคทเธอรีน เทเบอร์)[77] ผู้ซึ่งออกเดินทางกับเพื่อนของเขาเพื่อไปตามหาดิออร์เดอร์ออฟเดอะสโตน (The Order of the Stone) (เขาคือนักผจญภัยทั้ง 4 ที่สามารถฆ่ามังกรแห่งเอนเดอร์ (Ender Dragon) ได้) ให้กลับมารวมตัวกันเพื่อที่จะมาช่วยโลก[81]

ไมน์คราฟต์: รุ่นสำหรับการศึกษา

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2016 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเครื่องมือใหม่ที่ใช้สำหรับการศึกษาที่เรียกว่า ไมน์คราฟต์: รุ่นสำหรับการศึกษา (อังกฤษ: Minecraft: Education Edition) หรือไมน์คราฟต์อีดียู (อังกฤษ: MinecraftEDU) ซึ่งมีแผนที่จะวางจำหน่ายในปี ค.ศ. 2016 ไมน์คราฟต์ ได้ถูกใช้ในห้องเรียนทั่วโลกสำหรับสอนวิชาตั้งแต่แกนหลักของสะเต็มไปจนถึงศิลปะ ไมน์คราฟต์: รุ่นสำหรับการศึกษาจะถูกออกแบบเพื่อให้ใช้ในห้องเรียนโดยเฉพาะ รุ่นสำหรับการศึกษานี้จะให้อุปกรณ์แก่ครูผู้สอนที่พวกเขาต้องใช้ใน ไมน์คราฟต์ แบบพื้นฐานในชีวิตประจำ

มีข้อแตกต่างเล็กน้อยระหว่าง ไมน์คราฟต์ และไมน์คราฟต์อีดียู แต่มีแนวคิดหลักและโลกที่เปิดกว้างเหมือนกัน ตัวละครนักเรียนในไมน์คราฟต์อีดียูจะสามารถรักษาคุณสมบัติต่าง ๆ ได้ นักเรียนก็จะสามารถดาวน์โหลดเกมได้ที่บ้านได้ด้วยเช่นกันโดยไม่ต้องซื้อรุ่นของเกมมาเป็นของตัวเอง สุดท้ายสิ่งที่แตกต่างกันมากที่สุดคือ นักเรียนสามารถถ่ายภาพในเกมได้ ซึ่งภาพเหล่านั้นจะถูกเก็บในโน้ตบุ๊กออนไลน์ที่มีบันทึกออนไลน์ โดยที่โน้ตบุ๊กออนไลน์เหล่านั้นจะสามารถแชร์ไปให้นักเรียนคนอื่นได้[82]

เชิงอรรถ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักเอฟเอคัพองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อสมทสโมสรฟุตบอลเชลซีสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดพระบรมสารีริกธาตุพิเศษ:ค้นหาสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีเฟซบุ๊กไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)สโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาอสุภญีนา ซาลาสสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลยูเวนตุสเอซี มิลานนางทาสหัวทองโอลด์แทรฟฟอร์ดยลดา สวนยศคิม ซู-ฮย็อนสโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ดอามาด ดียาโลสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีชาลี ไตรรัตน์สโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งประเทศไทยสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์