การสังหารหมู่บนแม่น้ำโขง

การสังหารหมู่บนแม่น้ำโขง (อังกฤษ: Mekong River massacre) เกิดขึ้นเมื่อตอนเช้าของวันที่ 5 ตุลาคม 2011 เมื่อเรือขนส่งสินค้าสัญชาติจีนสองลำถูกโจมตีขณะล่องอยู่บนแม่น้ำโขงช่วงสามเหลี่ยมทองคำ พรมแดนระหว่างประเทศพม่ากับประเทศไทย เจ้าหน้าที่บนเรือชาวจีนทั้ง 13 คนบนเรือทั้งสองลำถูกฆาตกรรมและทิ้งศพลงแม่น้ำ[1] เหตุการณ์นี้เป็นการโจมตีชาวจีนนอกเขตแดนของจีนที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่[2] รัฐบาลจีนตอบโต้โดยการสั่งหยุดการขนส่งทางเรือบนแม่น้ำโขงชั่วคราว และสร้างข้อตกลงร่วมระหว่างไทย พม่า และลาวเพื่อมีสิทธิ์ในการตรวจตราแม่น้ำร่วมกัน[2] เหตุการณ์นี้ยังเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดสนธิสัญญาเนปยีดอ (Naypyidaw Declaration) และความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อยับยั้งการค้ายาในพื้นที่[3]

การสังหารหมู่แม่น้ำโขง
ที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายในประเทศไทย
สถานที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
วันที่5 ตุลาคม 2011; 12 ปีก่อน (2011-10-05)
ประเภทการปล้นเรือ, การฆาตกรรมหมู่
ตาย13 คน, ชาวจีนทั้งหมด

ในวันที่ 28 ตุลาคม 2011 เจ้าหน้าที่ชาวไทยจับกุมทหารกองกำลังผาเมืองจำนวนเก้าคนซึ่งต้องสงสัยมีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์ แต่ต่อมาทั้งหมดได้ "สูญหายไปจากกระบวนการยุติธรรม"[4] ในที่สุด พ่อค้ายา หน่อคำ และสมุนอีกสามคน ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยรัฐบาลจีนด้วยความผิดเกี่ยวข้องกับเหตุฆาตกรรมหมู่ในครั้งนี้[5]

ปูมหลัง

แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไหลจากประเทศจีน ผ่านพม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ก่อนจะไหลลงทะเลจีนใต้ และเป็นแม่น้ำสายหลักในการค้าขายระหว่างมณฑลยูนนานของประเทศจีนกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[6] แม่น้ำช่วงหนึ่งของแม่โขงไหลผ่านสามเหลี่ยมทองคำซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างไทย พม่า และลาว ภูมิภาคนี้เป็นที่รู้จักในฐานะพื้นที่ที่กฎหมายเข้าไม่ถึง (lawlessness) และขึ้นชื่อเรื่องการขนส่งยาเสพติด[2] เจ้าของเรือหนึ่งในสองลำที่ถูกปล้นระบุว่าเรือของจีนแทบทุกลำในพื้นที่ล้วนเคยถูกปล้นโดยแก๊งแม่น้ำมาแล้ว[7]

เหตุการณ์

รายชื่อผู้เสียชีวิต[8]
บนเรือหัวผิง
* หวง หย่ง (黄勇) กัปตัน
* ไช่ ฟางหฺวา (蔡方华) วิศวกร
* หวัง เจี้ยนจฺวิน (王建军) คนคุมเรือ
* ชิว เจียไห่ (邱家海) หัวหน้าวิศวกร
* หยาง ยิงตง (杨应东) กะลาสี
* หลี่ ย่าน (李燕) คนครัว
บนเรือยฺวี่ซิ่ง 8
* เหอ ชีหลุน (何熙伦) กัปตันร่วม
* กัว จื้อเฉียง (郭志强) กัปตันร่วม
* หยาง เต๋ออี้ (杨德毅) กัปตันร่วม
* หวัง กุ้ยเชา (王贵超) หัวหน้าวิศวกร
* เหวิน ไต้หง (文代洪) คนคุมเรือ
* เหอ ซีสิง (何熙行)
* เจิง เป่าเฉิง (曾保成)
* หยาง จื๋อเหว่ย์ (杨植纬) ลูกชายของ หยาง เต๋ออี้
* เฉิน กั๋วยิง (陈国英)

เจ้าหน้าที่บนเรืออีกลำที่เห็นเหตุการณ์อ้างว่ามีกลุ่มชายพร้อมอาวุธปืนจำนวนแปดคนบุกเข้าเรือ "หัวผิง" และ "ยฺวี่ซิ่ง 8" ในช่วงเช้าของวันที่ 5 ตุลาคม 2011[7] โดยดหตุการณ์เกิดขึ้นในน่านน้ำของพม่า[2] ต่อมาในวันนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำของไทยจากจังหวัดเชียงรายได้กู้เรือหลังการโจมตีด้วยปืนบนเรือ และพบแอมเฟตามีน 900,000 เม็ด มูลค่ามากกว่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] ส่วนศพของเหยื่อชาวจีนถูกเก็บกู้ขึ้นมาจากแม่น้ำในภายหลัง ทั้งหมดล้วนถูกยิงหรือแทง บางส่วนถูกมัดและปิดตา[9]

การสืบสวน

ผู้บัญชาการตำรวจภูธรเชียงรายระบุว่าแก๊งก์ค้ายาเรียกร้องเงินคุ้มกันจากเรือบนแม่น้ำโขง และบางทีก็ปล้นเรือเพื่อบังคับให้ขนส่งของผิดกฎหมายและยาเสพติด[9] เจ้าหน้าที่ตำรวจสงสัยแต่แรกว่าเหตุการณ์นี้มีหน่อคำ ชายชาวฉาน สัญชาติพม่า วัยสี่สิบปี พ่อค้ายาและโจรสลัดแห่งสามเหลี่ยมทองคำ เป็นผู้บงการ[2][7] รวมถึงเชื่อกันว่าหน่อคำเคยเป็นลูกมือของอดีตพ่อค้ายา ขุนส่า[10] และหัวหน้าแก๊งที่มีสมาชิกกว่า 100 คน ผู้ก่อการค้ายา ขนส่งยา ลักพาตัว ฆาตกรรม และปล้นเรือสินค้าบนแม่น้ำโขงเป็นเวลาหลายปี[6] อย่างไรก็ตาม การสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติมพบส่วนพัวพัน[11] กับทหารไทยจากกองกำลังผาเมืองซึ่งเป็นกองกำลังกำจัดยาเสพติดของกองทัพไทย[2]

หลังการไล่ล่าหน่อคำโดยเจ้าหน้าที่ทางการทั้งจีนและไทย ในปลายเดือนเมษายน 2012 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยของประเทศลาวสามารถจับกุมหน่อคำได้ในแขวงบ่อแก้ว[10] และส่งตัวไปยังประเทศจีนในเดือนพฤษภาคม[2] หน่อคำรับผิดต่อทางการจีนว่าเป็นผู้ก่อเหตุฆาตกรรม ส่วนรัฐบาลพม่ามีแผนที่จะส่งตัวผู้สมรู้ร่วมคิดไปยังจีนเพิ่มเติม[10]

กระบวนการยุติธรรม

ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2012 ศาลแขวงคุนหมิง (China's Intermediate People's Court of Kunming) ในมณฑลยูนนานตัดสินประหารชีวิตหน่อคำและพวกอีกสามคน ในจำนวนนี้ หนึ่งคนมาจากประเทศไทย, หนึ่งคนจากประเทศลาว และอีกคนรัฐบาลจีนระบุว่า "ไม่มีสัญชาติ" นอกจากนี้ยังมี Zha Bo และ Zha Tuobo ซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิตโดยลดหย่อนโทษและจำคุกแปดปีตามลำดับ จำเลยทั้งหกถูกปรับจำนวน 6,000,000 หยวน ($960,000) ขณะตัดสินมีผู้สังเกตการณ์ราว 300 คน ซึ่งมีทั้งญาติผู้เสียชีวิต สื่อมวลชน และผู้แทนทูตจากไทยและลาว[12] ทั้งสี่คนถูกประหารชีวิตด้วยการฉีดสารพิษเมื่อ 1 มีนาคม 2013[5]

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

ภาพยนตร์เรื่อง เชือด เดือด ระอุ (กำกับโดย ดันเต หลั่ม) ได้เค้าโครงมาจากเหตุการณ์นี้ ออกฉายเมื่อปี 2016[11] รายได้ 1.18 พันล้านหยวน และเป็นหนึ่งในภาพยนตร์รายได้สูงสุดของจีน[13][14]

อ้างอิง

20°17′N 100°05′E / 20.28°N 100.09°E / 20.28; 100.09

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง