การโจมตีด้วยโดรน

การโจมตีด้วยโดรน (อังกฤษ: drone strike) เป็นการโจมตีโดยอากาศยานต่อสู้ไร้คนขับ (UCAV) หนึ่งลำหรือมากกว่า หรืออากาศยานไร้คนขับ (UAV) เชิงพาณิชย์ที่ปรับใช้เป็นอาวุธ

โดรนพรีเดเตอร์ขณะยิงขีปนาวุธเฮลไฟร์
อากาศยานไร้คนขับเชิงพาณิชย์ที่ปรับใช้เป็นอาวุธ

สำหรับอากาศยานต่อสู้ไร้คนขับ การโจมตีมักเกี่ยวข้องกับการยิงขีปนาวุธหรือปล่อยระเบิดใส่เป้าหมาย[1] โดรนอาจจะติดตั้งอาวุธ เช่น ระเบิดนำวิถี, ระเบิดดาวกระจาย, วัตถุที่ก่อให้เกิดเพลิง, ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น, ขีปนาวุธต่อสู้รถถัง หรืออาวุธนำวิถีความแม่นยำสูงชนิดอื่น ตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนศตวรรษ การโจมตีด้วยโดรนส่วนใหญ่ได้ดำเนินการโดยกองทัพสหรัฐในต่างประเทศ เช่น อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, ซีเรีย, อิรัก, โซมาเลีย และเยเมน โดยใช้ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น[2]

การโจมตีด้วยโดรนใช้สำหรับการสังหารที่ระบุเป้าหมายหลายประเทศ[3][4]

มีเพียงสหรัฐ, อิสราเอล, จีน, อิหร่าน, อิตาลี, อินเดีย, ปากีสถาน, รัสเซีย, ตุรกี, และโปแลนด์เท่านั้น[5][6] ที่ทราบว่ามีการผลิตอากาศยานต่อสู้ไร้คนขับปฏิบัติงานในปี ค.ศ. 2019[7]

การโจมตีด้วยโดรนสามารถทำได้โดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAVs) เช่น การบรรทุกวัตถุอันตราย และชนเป้าหมายที่ทำให้บาดเจ็บ หรือจุดชนวนระเบิดใส่เป้าหมาย สิ่งบรรทุกอาจรวมถึงวัตถุระเบิด, กระสุนที่กระจายกลางอากาศ, สารเคมี, อันตรายจากรังสีและชีวภาพ ส่วนระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับได้รับการพัฒนาโดยรัฐเพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากโดรนโจมตี อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ทดลองได้ยาก อ้างอิงจากเจมส์ โรเจอส์ นักวิชาการที่ศึกษาการสงครามโดรน ซึ่งกล่าวว่า "มีการถกเถียงกันอย่างมากในตอนนี้เกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการต่อต้านอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กเหล่านี้ ไม่ว่าจะถูกใช้โดยมือสมัครเล่นที่ก่อให้เกิดความรำคาญเล็กน้อย หรือในลักษณะที่น่ากลัวกว่าโดยนักแสดงผู้ก่อการร้าย"[8]

การโจมตีด้วยโดรนโดยสหรัฐ

เบน เอ็มเมอร์สัน ผู้สืบสวนคดีพิเศษของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่าการโจมตีด้วยโดรนของสหรัฐอาจเป็นการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ[9][10] ดิอินเตอร์เซปต์รายงานว่า "ระหว่างเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 การโจมตีทางอากาศโดยการปฏิบัติการพิเศษของสหรัฐ [ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน] ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 200 คน ในจำนวนนั้น มีเพียง 35 คนเท่านั้นที่เป็นเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ ในช่วงระยะเวลาห้าเดือนหนึ่งของปฏิบัติการ ตามเอกสาร เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้เสียชีวิตจากการโจมตีทางอากาศไม่ใช่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้"[11][12] ในสหรัฐ การโจมตีด้วยโดรนใช้เพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิต เนื่องจากไม่มีใครที่ต้องใช้ร่างกายประจัญในการทำศึก ความสามารถในการส่งโดรนเพื่อต่อสู้ได้ลดจำนวนชีวิตชาวอเมริกันที่สูญเสียไปอย่างมาก[13] สหรัฐได้เพิ่มการใช้โดรนโจมตีอย่างมีนัยสำคัญในระหว่างการเป็นประธานาธิบดีของโอบามาเมื่อเทียบกับบุช[14] ด้วยความช่วยเหลือจากศูนย์ป้องกันร่วมที่ไพน์แกป ซึ่งค้นหาเป้าหมายโดยการสกัดสัญญาณวิทยุ ทำให้สหรัฐเสมือนเป็นโดรนโจมตีแบบดับเบิลแท็ป[15][16][17]

ในเดือนสิงหาคมปี ค.ศ. 2018 สำนักข่าวอัลญะซีเราะฮ์ รายงานว่ากลุ่มพันธมิตรที่นำโดยซาอุดีอาระเบีย "ต่อสู้กับกบฏฮูษี [ในเยเมน] ได้ทำข้อตกลงลับกับอัลกออิดะฮ์ในเยเมน และทำการคัดเลือกกลุ่มนักสู้หลายร้อยคน ... บุคคลสำคัญในการทำข้อตกลงกล่าวว่าสหรัฐได้ตระหนักถึงข้อตกลงและรีรอการโจมตีด้วยโดรนกับกลุ่มติดอาวุธ ที่ก่อตั้งโดยอุซามะฮ์ บิน ลาดิน ในปี ค.ศ. 1988"[18][19][20]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง