จักรวรรดิรัสเซีย

อดีตจักรวรรดิในทวีปยูเรเชีย (ค.ศ. 1721–1917) และอเมริกาเหนือ (ค.ศ. 1799–1867)

จักรวรรดิรัสเซีย[e][f] เป็นจักรวรรดิและสมัยแห่งราชาธิปไตยรัสเซียสมัยสุดท้าย ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1721 จนถึง ค.ศ. 1917 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยูเรเชีย โดยจักรวรรดิสืบทอดจากอาณาจักรซาร์รัสเซียภายหลังสนธิสัญญานีชตัดซึ่งยุติมหาสงครามเหนือ การผงาดขึ้นของจักรวรรดิรัสเซียเกิดขึ้นพร้อมกับการเสื่อมอำนาจของมหาอำนาจข้างเคียงที่เป็นคู่แข่ง เช่น จักรวรรดิสวีเดน เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย อิหร่านกอญัร จักรวรรดิออตโตมัน และจีนสมัยราชวงศ์ชิง เป็นต้น นอกจากนี้จักรวรรดิยังถือครองอาณานิคมในอเมริกาเหนือ (แคลิฟอร์เนียและอะแลสกา) ระหว่าง ค.ศ. 1799 จนถึง ค.ศ. 1867 ด้วยอาณาเขตที่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 22,800,000 ตารางกิโลเมตร (8,800,000 ตารางไมล์) ทำให้จักรวรรดิรัสเซียเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในประวัติศาสตร์ เป็นรองเพียงจักรวรรดิบริติชและจักรวรรดิมองโกลเท่านั้น จักรวรรดิรัสเซียมีประชากรประมาณ 125.6 ล้านคนจากการสำรวจสำมะโนประชากรรัสเซียใน ค.ศ. 1897 ซึ่งเป็นการสำรวจสำมะโนประชากรเพียงครั้งเดียวที่ดำเนินการในช่วงระยะเวลาดำรงอยู่ของจักรวรรดิ เนื่องจากขอบเขตทางภูมิศาสตร์ที่ครอบคลุมดินแดนถึงสามทวีปในช่วงที่แผ่ไพศาลที่สุด ทำให้จักรวรรดิมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา และเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง

จักรวรรดิรัสเซีย

Россійская Имперія
Rossiyskaya Imperiya
1721–1917
ธงชาติรัสเซีย

บน: ธงชาติ
(1721–1858; 1896–1917)
ล่าง: ธงชาติ
(1858–1896)[1]
คำขวัญ"Съ нами Богъ!"
S nami Bog! ("พระเจ้าทรงอยู่กับเรา!")
เพลงชาติ
"กรอมโพเบดี ราซดาวายเซีย!"
Гром победы, раздавайся!
Grom pobedy, razdavaysia! (1791–1816)
("ขอสายฟ้าแห่งชัยชนะจงฟาดลงมา!") (ไม่เป็นทางการ)
"คอยสลาเวน นาชโกสปอค วซีออน"
Коль славен наш Господь в Сионе
Kol' slaven nash Gospod' v Sione (1794–1816)
("พระเป็นเจ้าของเรารุ่งโรจน์เพียงใดในไซออน") (ไม่เป็นทางการ)
"โมลิทวารุสคิคฮ์"
Молитва русских
Molitva russkikh (1816–1833)
("คำภาวนาแห่งชาวรัสเซีย")
"โบเจซาร์ยาครานี!"
Боже, Царя храни!
Bozhe Tsarya khrani! (1833–1917)
("พระเจ้าทรงคุ้มครองซาร์!")
มหาลัญจกร (1882–1917):
     รัสเซียใน ค.ศ. 1914
     สูญเสียใน ค.ศ. 1856–1914
     พื้นที่อิทธิพล      รัฐในอารักขา[a]
The Russian Empire on the eve of the First World War
เมืองหลวงเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก[b]
(1721–1728; 1730–1917)
มอสโก
(1728–1730)[3]
เมืองใหญ่สุดเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก
ภาษาราชการรัสเซีย
โปแลนด์ เยอรมัน (ในเขตผู้ว่าการบอลติก) ฟินแลนด์ สวีเดน ยูเครน จีน (ในต้าเหลียน)
ศาสนา
(ค.ศ. 1897)
เดมะนิมชาวรัสเซีย
การปกครองรัฐเดี่ยว สมบูรณาญาสิทธิราชย์
(1721–1906)
รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา กึ่งราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[5]
(1906–1917)
จักรพรรดิ 
• 1721–1725 (พระองค์แรก)
ปีเตอร์ที่ 1
• 1894–1917 (พระองค์สุดท้าย)
นิโคไลที่ 2
หัวหน้ารัฐบาล
 
• 1810–1812 (คนแรก)
นีโคไล รูมียันเซฟ[c]
• 1917 (คนสุดท้าย)
นีโคไล โกลิตซึน[d]
สภานิติบัญญัติวุฒิสภาปกครอง[6]
สภาแห่งรัฐ
(1810–1917)
สภาดูมา
(1905–1917)
ประวัติศาสตร์ 
• สนธิสัญญานิชตัด
10 กันยายน 1721
• ก่อตั้ง
2 พฤศจิกายน 1721
• ทำเนียบบรรดาศักดิ์
4 กุมภาพันธ์ 1722
26 ธันวาคม 1825
• การปฏิรูปเลิกทาส
3 มีนาคม 1861
18 ตุลาคม 1867
มกราคม 1905 – กรกฎาคม 1907
• คำแถลงการณ์เดือนตุลาคม
30 ตุลาคม 1905
• บังคับใช้รัฐธรรมนูญ
6 พฤษภาคม 1906
8–16 มีนาคม 1917
• จัดตั้งสาธารณรัฐ
14 กันยายน 1917
พื้นที่
1895[7][8]22,800,000 ตารางกิโลเมตร (8,800,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• ค.ศ. 1897
125,640,021
สกุลเงินรูเบิลรัสเซีย
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรซาร์
รัสเซีย
รัฐบาลชั่วคราว
รัสเซีย
สาธารณรัฐรัสเซีย

นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ดินแดนรัสเซียถูกปกครองโดยชนชั้นขุนนางหรือที่รู้จักกันว่าโบยาร์ แต่ผู้ซึ่งเหนือกว่านั้นคือซาร์ (ซึ่งต่อมาจะแปรเปลี่ยนเป็น "จักรพรรดิแห่งรัสเซียทั้งปวง") รากฐานที่นำไปสู่การสถาปนาจักรวรรดิรัสเซียนั้นถูกวางขึ้นโดยซาร์อีวานที่ 3 (ค.ศ. 1462–1505) โดยพระองค์ทรงขยายอาณาเขตของรัสเซียออกไปเป็นสามเท่า พร้อมทั้งวางรากฐานสำหรับจักรวรรดิที่จะปรากฏขึ้นในอนาคต ปรับปรุงเครมลินแห่งมอสโก และยุติการครอบงำของโกลเดนฮอร์ด จักรวรรดิรัสเซียถูกปกครองโดยราชวงศ์โรมานอฟตั้งแต่ ค.ศ. 1721 จนถึง ค.ศ. 1762 ต่อมาราชวงศ์ฮ็อลชไตน์-ก็อทตาร์ฟ-โรมานอฟ ซึ่งเป็นสาขาฝั่งมารดาของเชื้อสายเยอรมันที่สืบทอดทางบิดา ปกครองจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ ค.ศ. 1762 จนถึง ค.ศ. 1917 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิรัสเซียมีอาณาเขตที่กว้างขวาง โดยจากมหาสมุทรอาร์กติกในทางเหนือ จรดทะเลดำในทางใต้ และจากทะเลบอลติกทางตะวันตก จรดอะแลสกา ฮาวาย และแคลิฟอร์เนียทางตะวันออก ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิได้ขยายอำนาจสู่พื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียกลางและส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และในช่วงนี้เองที่จักรวรรดิประสบปัญหามากมาย ทั้งความอดอยากในช่วง ค.ศ. 1891–1892 การเติบโตขึ้นของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบอลเชวิคและเมนเชวิค[9] และความพ่ายแพ้ในสงครามถึงสองครั้ง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุสู่การปฏิวัติที่เกิดขึ้นสองครั้ง (ครั้งแรกใน ค.ศ. 1905) และการปฏิวัติครั้งที่สอง ซึ่งปะทุขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 นำไปสู่การยุติลงของจักรวรรดิที่ปกครองรัสเซียเกือบสองศตวรรษ พร้อมกับหนึ่งในสี่จักรวรรดิในภาคพื้นทวีปที่ล่มสลายภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอย่างเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และตุรกีด้วย[10]

จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 (ค.ศ. 1682–1725) ทรงบัญชาการรบในสงครามหลายครั้งและนำอาณาจักรที่กว้างใหญ่สู่การเป็นมหาอำนาจที่สำคัญในทวีปยุโรป ระหว่างรัชสมัยของจักรพรรดิปีเตอร์ พระองค์ทรงย้ายเมืองหลวงของรัสเซียจากมอสโกมาเป็นเมืองแห่งใหม่อย่างเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ซึ่งส่วนใหญ่สร้างขึ้นตามการออกแบบของโลกตะวันตก นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้นำในการปฏิวัติทางวัฒนธรรม โดยการแทนที่จารีตประเพณีดั้งเดิมและการเมืองแบบอนุรักษนิยมยุคกลางด้วยระบบที่ทันสมัย หลักตรรกะทางวิทยาศาสตร์ และระบบที่เอนเอียงไปทางตะวันตก เยกาเจรีนามหาราชินี (ค.ศ. 1762–1796) ทรงปกครองในสมัยยุคทองของจักรวรรดิ โดยพระองค์ทรงขยายอาณาเขตรัฐรัสเซียออกไปจากการพิชิตดินแดน การล่าอาณานิคม และการทูต ในขณะเดียวกันนั้นพระองค์ยังคงดำเนินนโยบายของจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 เพื่อทำให้ประเทศทันสมัยตามแบบตะวันตก จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 (ค.ศ. 1801–1825) ทรงมีบทบาทสำคัญในการเอาชนะความทะเยอทะยานทางทหารของนโปเลียน และต่อมาได้ก่อตั้งพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อยับยั้งการเติบโตขึ้นของลัทธิฆราวาสนิยมและเสรีนิยมทั่วยุโรป จักรวรรดิรัสเซียได้ขยายอาณาเขตไปทางตะวันตก ทางใต้ และทางตะวันออก พร้อมกับการตั้งตนเองเป็นหนึ่งในมหาอำนาจที่ทรงพลังที่สุดในยุโรป อย่างไรก็ตาม ชัยชนะในสงครามรัสเซีย-ตุรกีได้ถูกทำลายลงภายหลังความพ่ายแพ้ในสงครามไครเมีย (ค.ศ. 1853–1856) ซึ่งนำไปสู่ช่วงเวลาแห่งการปฏิรูปและการขยายอิทธิพลอย่างเข้มข้นสู่เอเชียกลาง[11] จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 (ค.ศ. 1855–1881) ทรงริเริ่มการปฏิรูปครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลดปล่อยทาสทั้งหมด 23 ล้านคนใน ค.ศ. 1861 นอกจากนี้นโยบายของพระองค์ยังมีความเกี่ยวพันกับความรับผิดชอบต่อการคุ้มครองชาวคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในดินแดนยุโรปภายใต้การปกครองของออตโตมันด้วย ซึ่งปัจจัยนี้เองที่ทำให้รัสเซียเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝั่งสัมพันธมิตรที่ต่อต้านฝ่ายมหาอำนาจกลาง

กระทั่งการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1905 จักรวรรดิรัสเซียที่ปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลายเป็นกึ่งราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแต่ในนาม อย่างไรก็ตาม การปกครองนี้เป็นไปอย่างยากลำบากในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นำไปสู่การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ พร้อมด้วยการสละราชสมบัติของจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ใน ค.ศ. 1917 ทำให้ระบอบราชาธิปไตยเป็นอันยุติลง ผลที่ตามมาภายหลังการเดือนปฏิวัติกุมภาพันธ์ ได้เกิดการประกาศจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวรัสเซียที่มีอายุสั้น และต่อมาได้ก่อตั้งสาธารณรัฐรัสเซีย[12][13] การปฏิวัติเดือนตุลาคมที่เกิดขึ้นจากการยึดอำนาจสาธารณรัฐรัสเซียโดยบอลเชวิค ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองรัสเซีย ใน ค.ศ. 1918 บอลเชวิคกระทำการปลงพระชนม์สมาชิกราชวงศ์โรมานอฟ และหลังจากได้รับชัยชนะในสงครามกลางเมืองเมื่อ ค.ศ. 1922–1923 บอลเชวิคจึงก่อตั้งสหภาพโซเวียตขึ้นทั่วดินแดนส่วนใหญ่ของอดีตจักรวรรดิรัสเซีย

ประวัติศาสตร์

ธงแห่งจักรวรรดิรัสเซียในวาระแห่งการเฉลิมฉลอง ตั้งแต่ปี 1858 ถึง 1883.[14][15][16][17][18] อย่างไรก็ตาม ธงนี้ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่ากับธงชาติรัสเซียแถบสีขาว-น้ำเงิน-แดง
ธงประจำพระอิสริยยศสมเด็จพระจักรพรรดิ ใช้รว่างปี ค.ศ. 1858 - 1917

แม้ว่าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 จะไม่ได้ก่อตั้งจักรวรรดิรัสเซียอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งหลังเกิดสนธิสัญญานีสตาด (ค.ศ. 1721) โดยนักประวัติศาสตร์บางคนได้โต้แย้งว่าซาร์อีวานที่ 3 แห่งรัสเซียได้พิชิตเวลีคีนอฟโกรอด ใน ค.ศ. 1478[ต้องการอ้างอิง] จากมุมมองอื่นนั้น คำว่าอาณาจักรซาร์ ซึ่งเป็นคำที่ถูกใช้หลังจากการราชาภิเษกของซาร์อีวานที่ 4 ใน ค.ศ. 1547 ก็เป็นคำในภาษารัสเซียร่วมสมัยสำหรับความหมายคำว่า "จักรวรรดิ" แล้ว[ต้องการอ้างอิง]

ศตวรรษที่ 18

จักรพรรดิปีเตอร์มหาราชทรงรวบรวมอำนาจในรัสเซียให้มีความเป็นปึกแผ่นแล้วนำพาจักรวรรดิรัสเซียในขณะนั้นไปสู่ระบบรัฐของยุโรปพระองค์ทรงเปลี่ยนจากอาณาจักรเล็กๆเริ่มแรกในศตวรรษที่ 14 ให้กลายเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกในรัชสมัยของพระองค์ ทรงขยายดินแดนเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ยูเรเซีย ตั้งแต่ทะเลบอลติกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก และได้ขยายออกไปมากในช่วงศตวรรษที่ 17 อย่างไรก็ตามนี้คือแผ่นดินที่กว้างใหญ่ไพศาล และมีประชากรเพียง 14 ล้านคน ส่วนใหญ่ที่อยู่ตามชนบทและทำกสิกรรมทางตะวันตกของประเทศ ส่วนน้อยที่อยู่ในเมือง ปีเตอร์ได้ทำการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การปกครอง และการทำศึกสงครามเสียใหม่ เพื่อให้เจริญก้าวหน้าโดยรับแนวคิดมาจากตะวันตกมาโดยทั้งสิ้น พระองค์ทรงเรียนรู้กลยุทธ์และการป้องกันมากมายจากตะวันตก แล้วยังสร้างกองทัพที่เข้มแข็ง ซึ่งมาจากการเกณฑ์ทหาร พระองค์ยังเป็นจักรพรรดิซาร์พระองค์แรกที่เสด็จประพาสยุโรปด้วย พระองค์ทรงทำสงครามกับสวีเดนเพื่อชิงแผ่นดินส่วนที่ติดกับทะเลบอลติกให้มีทางออกสู่ทะเลอีกทั้งยังให้เป็นประตูสู่ยุโรปด้วย และสร้างเมืองหลวงใหม่ชื่อว่า เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก และเมื่อนโปเลียนบุกรัสเซีย รัสเซียก็มีชัยเหนือกองทัพของเขา นั้นเป็นการแสดงให้โลกรู้ว่าจักรวรรดิรัสเซียนั้นยังคงเป็นมหาอำนาจที่ไม่อาจโค่นล้มได้ง่าย ๆ

ศตวรรษที่ 19

เมื่อล่วงเข้าศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิอยู่ภายใต้การนำของจักรพรรดินีโคลัสที่ 1 ซึ่งทรงทำสงครามพิชิตแหลมไครเมียกับจักรวรรดิออตโตมันเมื่อล่วงเข้ารัชสมัยของ จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย รัสเซียก็พิชิตแหลมไครเมียได้สำเร็จซึ่งในขณะนั้นเองจักรวรรดิก็ก้าวเข้าสูการปฏิรูปประเทศอีกครั้ง ทาสเริ่มได้รับสิทธิมากขึ้น เริ่มมีการเผยแพร่ความรู้ และเริ่มมีแผนที่จะร่างรัฐธรรมนูญขึ้นด้วย แต่พระองค์ก็ถูกลอบปลงพระชนม์เสียก่อน

สิ้นสุดจักรวรรดิรัสเซีย

ภาพวาดการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1905

เมื่อเริ่มเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 ก็เริ่มมีกระแสการปฏิวัติไปทั่วโลก ในขณะนั้นเองจักรวรรดิรัสเซียก็เริ่มเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้คนอดยากทั่วรัสเซีย ฤดูหนาวที่โหดร้าย และการพ่ายแพ้สงคราม ภายใต้อำนาจของจักรพรรดิซาร์นีโคลัสที่ 2 เริ่มมีชนกลุ่มเล็กภายในเซนต์ปีเตอส์เบิร์กเริ่มคิดก่อการปฏิวัติ เมื่อเหตุการณ์ทวีความรุนแรงขึ้น ในปี 1905 ประชาชนได้รวมตัวกันชุมนุมกัน ณ จัตุรัสแดง ที่พระราชวังฤดูหนาว ในเซนต์ปีเตอส์เบิร์กเพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อจักรพรรดิซาร์ และเมื่อจักรพรรดิซาร์เสด็จออกมา ปืนและปืนใหญ่ของทหารม้ารัสเซียก็ระดมยิงใส่ผู้ชุมนุมประท้วง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เหตุการณ์นี้รู้จักกันดีในชื่อว่า วันอาทิตย์นองเลือด (Bloody Sunday) หรือ อาทิตย์ทมิฬ ต่อมาเมื่อรัสเซียแพ้สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น และ สงครามโลกครั้งที่ 1 ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 1917 เกิดการปฏิวัติขึ้นชื่อว่า (การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์) นำโดย วลาดิมีร์ เลนิน ซึ่งจักรพรรดิซาร์นีโคลัสที่ 2 ก็ต้องทรงสละราชบัลลังก์และถูกกักกันตัวไว้ หลังจากการปฏิวัติไม่นาน ราชวงศ์ก็ทรงประทับอยู่ ณ พระราชวังอเล็กซานเดอร์ และระหว่างเมษายน และ พฤษภาคมปี 1918 ก็ทรงถูกย้ายจากพระราชวังอเล็กซานเดอร์มาประทับ ณ เมืองเยคาเทียรินเบิร์ก เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม เวลา 1:30 นีโคลัส อเล็กซานดร้า โอรสและธิดา ถูกหลอกให้ลงมาชั้นใต้ดิน แต่เมื่อทั้งหมดลงมา ก็ถูกขังไว้ในห้องพร้อมกับทหารกลุ่มบอลเชวิค โดยทั้งหมดสิ้นพระชนม์จากการถูกยิงเป้าหมู่ ภายหลังได้มีการฝังพระศพทั้งหมดร่วมกัน เป็นการปิดฉากราชวงศ์โรมานอฟและจักรวรรดิรัสเซีย

หมายเหตุ

อ้างอิง

เชิงอรรถ

อ้างอิง

หนังสืออ่านเพิ่ม

การสำรวจ

1801–1917

  • Jelavich, Barbara. St. Petersburg and Moscow: Tsarist and Soviet Foreign Policy, 1814–1974 (1974)
  • Manning, Roberta. The Crisis of the Old Order in Russia: Gentry and Government. Princeton University Press, 1982.
  • Pipes, Richard. Russia under the Old Regime (2nd ed. 1997)
  • Seton-Watson, Hugh. The Russian Empire 1801–1917 (Oxford History of Modern Europe) excerpt and text search
  • Waldron, Peter (1997). The End of Imperial Russia, 1855–1917. New York, NY: St. Martin's Press. p. 189. ISBN 978-0-312-16536-9.
  • Westwood, J. N. (2002). Endurance and Endeavour: Russian History 1812–2001 (5th ed.). Oxford: Oxford University Press. p. 656. ISBN 978-0-19-924617-5.

การทหาร และ การต่างประะเทศ

  • Englund, Peter (2002). The Battle That Shook Europe: Poltava and the Birth of the Russian Empire. New York, NY: I. B. Tauris. p. 288. ISBN 978-1-86064-847-2.
  • Fuller, William C. Strategy and Power in Russia 1600–1914 (1998) excerpts; military strategy
  • Jelavich, Barbara. St. Petersburg and Moscow: Tsarist and Soviet Foreign Policy, 1814–1974 (1974)
  • Saul, Norman E. Historical Dictionary of Russian and Soviet Foreign Policy (2014)excerpt and text search
  • Stone, David. A Military History of Russia: From Ivan the Terrible to the War in Chechnya excerpts

เศรษฐกิจ สังคม และ ความเชื่อ

  • Christian, David. A History of Russia, Central Asia and Mongolia. Vol. 1: Inner Eurasia from Prehistory to the Mongol Empire. (Blackwell, 1998). ISBN 0-631-20814-3.
  • Dixon, Simon (1999). The Modernisation of Russia, 1676–1825. Cambridge: Cambridge University Press. p. 288. ISBN 978-0-521-37100-1.
  • Etkind, Alexander. Internal Colonization: Russia's Imperial Experience (Polity Press, 2011) 289 pages; discussion of serfdom, the peasant commune, etc.
  • Freeze, Gregory L. From Supplication to Revolution: A Documentary Social History of Imperial Russia (1988)
  • Kappeler, Andreas (2001). The Russian Empire: A Multi-Ethnic History. New York, NY: Longman Publishing Group. p. 480. ISBN 978-0-582-23415-4.
  • Milward, Alan S. and S. B. Saul. The Development of the Economies of Continental Europe: 1850–1914 (1977) pp 365–425
  • Milward, Alan S. and S. B. Saul. The Economic Development of Continental Europe 1780–1870 (2nd ed. 1979), 552pp
  • Mironov, Boris N., and Ben Eklof. The Social History of Imperial Russia, 1700–1917 (2 vol Westview Press, 2000) vol 1 online เก็บถาวร 2008-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; vol 2 online เก็บถาวร 2008-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Mironov, Boris N. (2012) The Standard of Living and Revolutions in Imperial Russia, 1700–1917 (2012) excerpt and text search
  • Mironov, Boris N. (2010) "Wages and Prices in Imperial Russia, 1703–1913," Russian Review (Jan 2010) 69#1 pp 47–72, with 13 tables and 3 charts online
  • Moon, David (1999). The Russian Peasantry 1600–1930: The World the Peasants Made. Boston, MA: Addison-Wesley. p. 396. ISBN 978-0-582-09508-3.
  • Stolberg, Eva-Maria. (2004) "The Siberian Frontier and Russia's Position in World History," Review: A Journal of the Fernand Braudel Center 27#3 pp 243–267
  • Wirtschafter, Elise Kimerling. Russia's age of serfdom 1649–1861 (2008)

ประวัติศาสตร์ และ ความทรงจำ

  • Burbank, Jane, and David L. Ransel, eds. Imperial Russia: new histories for the Empire (Indiana University Press, 1998)
  • Cracraft, James. ed. Major Problems in the History of Imperial Russia (1993)
  • Kuzio, Taras. "Historiography and national identity among the Eastern Slavs: towards a new framework." National Identities (2001) 3#2 pp: 109–132.
  • Olson, Gust, and Aleksei I. Miller. "Between Local and Inter-Imperial: Russian Imperial History in Search of Scope and Paradigm." Kritika: Explorations in Russian and Eurasian History (2004) 5#1 pp: 7–26.
  • Sanders, Thomas, ed. Historiography of imperial Russia: The profession and writing of history in a multinational state (ME Sharpe, 1999)
  • Smith, Steve. "Writing the History of the Russian Revolution after the Fall of Communism." Europe‐Asia Studies (1994) 46#4 pp: 563–578.
  • Suny, Ronald Grigor. "The empire strikes out: Imperial Russia,‘national’identity, and theories of empire." in A state of nations: Empire and nation-making in the age of Lenin and Stalin ed. by Peter Holquist, Ronald Grigor Suny, and Terry Martin. (2001) pp: 23–66.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง