ชาวมัวร์

ศัพท์ มัวร์ (อังกฤษ: Moor) เป็นชื่อที่ชาวคริสต์ในยุโรปใช้เรียกมุสลิมในอัลมัฆริบ, คาบสมุทรไอบีเรีย, ซิซิลี และมอลตาในสมัยกลาง เดิมทีชาวมัวร์คือชาวเบอร์เบอร์พื้นเพดั้งเดิมจากอัลมัฆริบ[1] ต่อมาจึงมีการนำชื่อนี้ไปใช้เรียกชาวอาหรับและชาวไอบีเรียที่แผลงเป็นอาหรับด้วย[2]

เอกอัครราชทูตกัสติยาพยายามชักชวนอะบูฮัฟศ์ อุมัร อัลมุรตะฎอ กษัตริย์ชาวมัวร์อัลโมฮาด ให้เข้าร่วมพันธมิตรของตน (ภาพจาก กันติกัสเดซานตามาริอา)
ชาวคริสต์และชาวมัวร์เล่นหมากรุก จาก ลิโบรเดโลสฆูเอโกส โดยพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 10 แห่งกัสติยา ประมาณ ค.ศ. 1285

มัวร์ไม่ได้เป็นชื่อเรียกชาติพันธุ์ (ethnonym) จำเพาะของกลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่ง[3] สารานุกรมบริแทนนิกา ฉบับ ค.ศ. 1911 ตั้งข้อสังเกตว่าศัพท์นี้ "ไม่มีความหมายทางชาติพันธุ์วิทยาอย่างแท้จริง"[4] ชาวยุโรปในสมัยกลางและสมัยใหม่ตอนต้นนำชื่อนี้ไปใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นชาวอาหรับ ชาวเบอร์เบอร์แอฟริกาเหนือ หรือมุสลิมชาวยุโรป[5]

ในยุโรปยังมีการใช้ศัพท์นี้ด้วยนัยความหมายที่กว้างขึ้นในเชิงดูหมิ่น โดยใช้เรียกมุสลิมทั่วไป[6] โดยเฉพาะผู้มีเชื้อสายอาหรับหรือเบอร์เบอร์ ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในสเปนหรือแอฟริกาเหนือก็ตาม[7] ในสมัยอาณานิคม โปรตุเกสนำชื่อเรียก "ชาวมัวร์ศรีลังกา" และ "ชาวมัวร์อินเดีย" มาใช้ในเอเชียใต้ และมุสลิมชาวเบงกอลก็ถูกเรียกว่าเป็นชาวมัวร์ด้วย[8] ในประเทศฟิลิปปินส์ ชุมชนมุสลิมซึ่งมีอยู่ก่อนการมาถึงของสเปน ทุกวันนี้เรียกตัวเองว่า "ชาวโมโร" ซึ่งเป็นชื่อที่นักล่าอาณานิคมชาวสเปนนำมาเรียกเนื่องจากความเชื่อทางศาสนาของชุมชนนี้

ใน ค.ศ. 711 กองทัพชาวมัวร์จากแอฟริกาเหนือเริ่มการพิชิตฮิสปาเนียของอุมัยยะฮ์ คาบสมุทรไอบีเรียจึงมีชื่อเรียกในภาษาอาหรับคลาสสิกว่าอัลอันดะลุส ซึ่งในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของเซปทิเมเนียและสเปนกับโปรตุเกสในปัจจุบัน

ใน ค.ศ. 827 ชาวมัวร์เข้าครอบครองมาซาราที่ซิซิลี แล้วพัฒนาเป็นท่าเรือ[9] พวกเขายังพยายามรวบรวมส่วนอื่นของเกาะ ความแตกต่างทางศาสนาและวัฒนธรรมนำไปสู่ความขัดแย้งกับอาณาจักรคริสเตียนในยุโรปนานหลายศตวรรษซึ่งมีชื่อเรียกว่าเรกองกิสตา ใน ค.ศ. 1224 มุสลิมถูกเนรเทศออกจากซิซิลีไปยังนิคมที่ลูเชรา (Lucera) ซึ่งถูกชาวคริสต์ในยุโรปทำลายใน ค.ศ. 1300

การยึดกรานาดาใน ค.ศ. 1492 ถือเป็นจุดสิ้นสุดการปกครองของมุสลิมในสเปน แต่ก็มีชนกลุ่มน้อยมุสลิมอาศัยอยู่จนกระทั่งถูกขับไล่ออกไปใน ค.ศ. 1609[10]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักเอฟเอคัพองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อสมทสโมสรฟุตบอลเชลซีสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดพระบรมสารีริกธาตุพิเศษ:ค้นหาสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีเฟซบุ๊กไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)สโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาอสุภญีนา ซาลาสสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลยูเวนตุสเอซี มิลานนางทาสหัวทองโอลด์แทรฟฟอร์ดยลดา สวนยศคิม ซู-ฮย็อนสโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ดอามาด ดียาโลสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีชาลี ไตรรัตน์สโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งประเทศไทยสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์