ทบิลีซี

ทบิลีซี (จอร์เจีย: თბილისი, ออกเสียง: [ˈtʰbilisi] ( ฟังเสียง)) หรือชื่อเดิม ติฟลิส (จอร์เจีย: ტფილისი, อักษรโรมัน: t'pilisi) ซึ่งเรียกกันในช่วงก่อน ค.ศ. 1936 (บางภาษายังคงเรียกชื่อนี้)[a] เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศจอร์เจีย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำคูรา มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคน ทบิลีซีก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 5 โดยพระเจ้าวาคตังที่หนึ่งแห่งไอบีเรีย และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นครได้ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรและสาธารณรัฐจอร์เจีย ระหว่าง ค.ศ. 1801–1917 นครกลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย โดยทำหน้าที่เป็นนครอุปราชหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตอนเหนือและใต้ของดินแดนคอเคซัส[9][10]

ทบิลีซี

თბილისი

ติฟลิส
บนลงล่างและซ้ายไปขวา: ทบิลีซีเก่าและป้อมนารีกาลายามพลบค่ำ; จัตุรัสเสรีภาพ, ย่านเอลียา แลเห็นอาสนวิหารซาเมบากับวังอัฟลาบารีซึ่งส่องสว่างยามค่ำคืน; และอาสนวิหารซีออนี, โบสถ์นอราเชนกับสะพานสันติภาพ
ธงของทบิลีซี
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของทบิลีซี
ตรา
แผนที่
ทบิลีซีตั้งอยู่ในทบิลีซี
ทบิลีซี
ทบิลีซี
ทบิลีซีตั้งอยู่ในประเทศจอร์เจีย
ทบิลีซี
ทบิลีซี
ทบิลีซีตั้งอยู่ในเทือกเขาคอเคซัส
ทบิลีซี
ทบิลีซี
พิกัด: 41°43′21″N 44°47′33″E / 41.72250°N 44.79250°E / 41.72250; 44.79250
ประเทศธงของประเทศจอร์เจีย จอร์เจีย
สถาปนาค.ศ. 455[2]
การปกครอง
 • ประเภทนายก–สภา
 • องค์กรทบิลีซีซาเกรบูโล
 • นายกเทศมนตรีกาคา กาลัดเซ (GD)[3]
พื้นที่[4]
 • เมืองหลวง504.2 ตร.กม. (194.7 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล726 ตร.กม. (280 ตร.ไมล์)
ความสูงจุดสูงสุด770 เมตร (2,530 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด380 เมตร (1,250 ฟุต)
ประชากร
 (2023)
 • เมืองหลวง1,241,709[1] คน
 • ความหนาแน่น2,462.73 คน/ตร.กม. (6,378.4 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,485,293 คน
ประชากรตามกลุ่มชาติพันธุ์[5]
 • จอร์เจีย89.9%
 • อาร์มีเนีย4.8%
 • อาเซอร์ไบจาน1.4%
 • รัสเซีย1.2%
 • ยาซีดี1.0%
 • อื่น ๆ1.7%
จีดีพี[6]
 • นคร26.3 พันล้านลารี (10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
 • ต่อหัว21,900 ลารี (8,300 ดอลลาร์สหรัฐ)
เขตเวลาUTC+4 (เวลาจอร์เจีย[7])
รหัสพื้นที่+995 32
เอชดีไอ (2021)0.824[8]สูงมาก
เว็บไซต์tbilisi.gov.ge

เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่ระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย และอยู่ใกล้กับทางสายไหม ทำให้ทบิลีซีกลายเป็นดินแดนกันชนของมหาอำนาจของโลก ส่วนในปัจจุบัน นครมีบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์กลางการขนส่งและการค้า ประวัติศาสตร์ของทบิลีซีสะท้อนอยู่ภายใต้สถาปัตยกรรมของนคร ซึ่งเกิดจากการผสมผสานของสถาปัตยกรรมยุคกลาง ยุคฟื้นฟูคลาสสิก วิจิตรศิลป์ นวศิลป์ สตาลิน และสมัยใหม่

ประชากรในทบิลีซีมีภูมิหลังทางวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และศาสนาที่หลากหลาย โดยประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ สถานที่สำคัญอันเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว อาทิ ซาเมบาและซีโอนี จัตุรัสเสรีภาพ ถนนรุสตาเวลีและอักมาเชเนเบลี ประภาคารนารีกาลาที่สร้างในยุคกลาง โรงละครโอเปรามัวร์เทียม และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จอร์เจีย อุณหภูมิของนครในฤดูร้อนอยู่ที่ 20–32 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูหนาวอยู่ที่ -1 ถึง 7 องศาเซลเซียส

ชื่อและศัพทมูลวิทยา

ชื่อ "ทบิลีซี" มาจากภาษาจอร์เจียเก่า Tbilisi (Asomtavruli: ႧႡႨႪႨႱႨ, Mkhedruli: თბილისი) ซึ่งมาจากศัพท์ tpili (จอร์เจียสมัยใหม่: თბილი, อุ่น จากจอร์เจียเก่า: ႲႴႨႪႨ ṭpili) ดังนั้น จึงมีการให้ชื่อ Tbilisi (สถานที่แห่งความอบอุ่น) แก่นครนี้ เนื่องจากมีบ่อน้ำร้อนกำมะถันจำนวนมาก

ก่อนหน้า ค.ศ. 1936 ชื่อเมืองในภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ อิงจากรูปสะกดในภาษาเปอร์เซีย[11] ติฟลิส ส่วนชื่อในภาษาจอร์เจียคือ ტფილისი (Ṭpilisi)[12]

ณ วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1936 ชื่อภาษารัสเซียของนครต่าง ๆ ได้รับการเปลี่ยนชื่อให้ใกล้เคียงกับภาษาท้องถิ่น ตามคำสั่งของผู้นำโซเวียต[12] นอกจากนี้ รูป Ṭpilisi ในภาษาจอร์เจียได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยบนพื้นฐานข้อเสนอของนักภาษาศาสตร์ชาวจอร์เจีย รูปประสม ტფილი (ṭpili, 'อุ่น') จึงถูกแทนที่ด้วย თბილი (tbili)[12] ชื่อนี้ยังเป็นพื้นฐานในชื่อภาษารัสเซียแบบใหม่ (Тбилиси Tbilisi) ภาษาอื่น ๆ ส่วนใหญ่หันมาใช้รูปใหม่ แต่ในบางภาษาอย่างตุรกี เปอร์เซีย กรีก สเปน และเยอรมัน ยังคงรูปของ Tiflis

ประวัติ

เมืองเก่าทบิลีซี

วาคตัง กอร์กาซาลี (Vakhtang Gorgasali) กษัตริย์จอร์เจียแห่งคาร์ตลี (ไอบีเรีย) ได้ก่อตั้งเมืองนี้ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ทบิลีซีเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม สังคม และวัฒนธรรมในภูมิภาคคอเคซัส ในประวัติศาสตร์ เมืองนี้อยู่ในสายทางหนึ่งของเส้นทางสายไหม และปัจจุบันยังมีบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์กลางการขนส่งและการค้า เนื่องจากความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ในแง่ที่ตั้งที่เป็นจุดตัดระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป

ทบิลีซีเป็นที่รู้จักในเรื่องการปฏิวัติกุหลาบ (Rose Revolution) ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณจัตุรัสอิสรภาพ (Freedom Square) และสถานที่ใกล้เคียงหลังจากการเลือกตั้งรัฐสภาในปี ค.ศ. 2003 ได้นำไปสู่การลาออกของประธานาธิบดีเอดูอาร์ด เชฟเวิร์ดนาซี (Eduard Shevardnadze)

ภูมิประเทศ

ทบิลีซี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคูรา (Kura) หรือเรียกว่าแม่น้ำมตควารี (Mtkvari) ในภาษาท้องถิ่น บางครั้งถูกอ้างถึงในชื่อว่า ติฟลิส (Tiflis) หรือ ติฟฟลิส (Tifflis) ซึ่งเป็นชื่อเรียกในยุคกลางที่ไม่ใช่ชื่อท้องถิ่นของเมืองนี้ กรุงทบิลีซีมีเนื้อที่ 372 ตารางกิโลเมตร (144 ตารางไมล์)

ภาพพาโนรามาของกรุงทบิลีซี

ภูมิอากาศ

แผนภูมิแสดงสภาพภูมิอากาศของ
ทบิลีซี (วิธีอ่าน)
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
 
 
18.9
 
7
-1
 
 
25.8
 
8
0
 
 
30.3
 
13
4
 
 
50.5
 
19
8
 
 
77.6
 
24
13
 
 
76
 
29
17
 
 
44.9
 
32
20
 
 
47.5
 
32
20
 
 
35.6
 
26
16
 
 
37.5
 
20
11
 
 
29.9
 
13
5
 
 
21
 
8
1
อุณหภูมิ วัดเป็นองศาเซลเซียส
ปริมาณหยาดน้ำฟ้า วัดเป็นมิลลิเมตร
ที่มา: Pogoda.ru.net[13]
ข้อมูลภูมิอากาศของทบิลีซี (ปกติ ค.ศ. 1991–2020, สูงสุด ค.ศ. 1881–ปัจจุบัน)
เดือนม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F)19.5
(67.1)
22.4
(72.3)
28.9
(84)
34.4
(93.9)
37.0
(98.6)
38.7
(101.7)
40.5
(104.9)
40.4
(104.7)
37.9
(100.2)
33.3
(91.9)
27.2
(81)
22.8
(73)
40.5
(104.9)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)6.9
(44.4)
8.4
(47.1)
13.2
(55.8)
18.6
(65.5)
23.7
(74.7)
28.5
(83.3)
31.5
(88.7)
31.9
(89.4)
26.2
(79.2)
20.0
(68)
12.6
(54.7)
8.1
(46.6)
19.13
(66.44)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F)2.7
(36.9)
3.8
(38.8)
7.9
(46.2)
12.9
(55.2)
17.8
(64)
22.3
(72.1)
25.3
(77.5)
25.4
(77.7)
20.4
(68.7)
14.7
(58.5)
7.9
(46.2)
3.9
(39)
13.75
(56.75)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)-0.6
(30.9)
0.2
(32.4)
4.0
(39.2)
8.4
(47.1)
13.2
(55.8)
17.3
(63.1)
20.4
(68.7)
20.3
(68.5)
15.9
(60.6)
11.0
(51.8)
4.7
(40.5)
1.2
(34.2)
9.67
(49.4)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F)-24.4
(-11.9)
−18.8
(-1.8)
−12.8
(9)
-5.0
(23)
1.0
(33.8)
6.3
(43.3)
9.3
(48.7)
8.9
(48)
3.1
(37.6)
-6.4
(20.5)
−16.0
(3)
−20.5
(-4.9)
−24.4
(−11.9)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว)18.9
(0.744)
25.8
(1.016)
30.3
(1.193)
50.5
(1.988)
77.6
(3.055)
76
(2.99)
44.9
(1.768)
47.5
(1.87)
35.6
(1.402)
37.5
(1.476)
29.9
(1.177)
21
(0.83)
495.5
(19.508)
ความชื้นร้อยละ74726866676461626673767669
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย44812121078910106100
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย6830.1000000.11422
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด99102142171213249256248206164103932,046
แหล่งที่มา 1: Pogoda.ru.net[13]
แหล่งที่มา 2: NOAA (ชั่วโมงแสงอาทิตย์ 1961–1990)[14]

WMO[15]เวลาและวันที่ (Dew point 2005-2015)[16]

ประชากร

กลุ่มชาติพันธุ์หลักในทบิลีซี
ปี
จอร์เจีย
%
อาร์มีเนีย
%
รัสเซีย
%
รวม
1780[18]50,00066.7%10,00013.3%
75,000
1790[19]44,00061.1%14,86016.7%
72,000
1801-3[20]4,30021.5%14,86074.3%
20,000
1864/65 ฤดูหนาว[21]14,87824.8%28,40447.3%12,46220.7%60,085
1864/65 ฤดูร้อน[21]14,78720.8%31,18043.9%12,14217.1%71,051
1876[22]22,15621.3%37,61036.1%30,81329.6%104,024
1897[23]42,206[b]26.4%47,133[c]29.5%44,82328.1%159,590
1916[25]37,58410.8%149,29443.1%91,99726.5%346,766
1926[26]112,01438.1%100,14834.1%45,93715.6%294,044
1939[26]228,39444%137,33126.4%93,33718%519,220
1959[26]336,25748.4%149,25821.5%125,67418.1%694,664
1970[26]511,37957.5%150,20516.9%124,31614%889,020
1979[26]653,24262.1%152,76714.5%129,12212.3%1,052,734
1989[27]824,41266.1%150,13812.0%124,86710.0%1,246,936
2002[28]910,71284.2%82,5867.6%32,5803%1,081,679
2014[29]996,80489.9%53,4094.8%13,3501.2%1,108,717

ทบิลีซีเป็นนครที่มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยมากกว่า 100 กลุ่ม ประมาณ 90% ของประชากรมีเชื้อสายจอร์เจีย ส่วนประชากรกลุ่มอื่นที่มีความสำคัญได้แก่ อาร์มีเนีย รัสเซีย และอาเซอร์ไบจาน นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ เช่น ออสซีเชีย, อับคาเซีย, ยูเครน, กรีก, ยิว, อัสซีเรีย, ยาซีดี ฯลฯ[30][26][21][22][28]

ศาสนา

ภาพของมัสยิดในทบิลีซี ต้นศตวรรษที่ 20

พลเมืองทบิลีซีมากกว่า 95% นับถือศาสนาคริสต์ (นิกายที่พบมากที่สุดคือคริสตจักรออร์ทอดอกซ์จอร์เจีย) รองลงมา (ประมาณ 1.5%) นับถือศาสนาอิสลาม (ส่วนใหญ่นับถือนิกายชีอะฮ์) ในขณะที่ประชากรประมาณ 0.1% นับถือศาสนายูดาห์[31]

วัฒนธรรม

กีฬา

สโมสรกีฬาสนามกีฬา
เลโลรักบี้เลโลสปอร์ตเซ็นเตอร์
วิสซอล โคเชบิรักบี้วิสซอลสปอร์ตเซ็นเตอร์
โลโกโมทิไวรักบี้โลโกโมทิไวสปอร์ตเซ็นเตอร์
สโมสรฟุตบอลดีนาโมทบิลีซีฟุตบอลบอริส ไปชัดเซ ดีนาโม อารีนา
สโมสรฟุตบอลทบิลีซีโลโกโมทิไว เอฟซีฟุตบอลมิกเฮลเมสไคสเตเดียม
สโมสรฟุตบอลทบิลีซีไดนาโม บีซีบาสเกตบอลเวเรบาสเกตบอลฮอล
สโมสรบาสเกตบอลทบิลีซีบาสเกตบอลเวเรบาสเกตบอลฮอล
สโมสรบาสเกตบอลจอร์เจียบาสเกตบอลเวเรบาสเกตบอลฮอล
สโมสรบาสเกตทบิลีซี บีซีบาสเกตบอลVere Basketball Hall
สโมสรบาสเกตมาคาบิ บีซีบาสเกตบอลเวเรบาสเกตบอลฮอล

สื่อ

หนังสือพิมพ์ที่วางขายในกรุงทบิลีซี ได้แก่ 24 Saati ("24 ชั่วโมง"), Rezonansi ("เสียงสะท้อน"), Alia ส่วนฉบับภาษาอังกฤษ ได้แก่ The Messenger (รายวัน), FINANCIAL, Georgia Today (รายสัปดาห์), The Georgian Times (รายสัปดาห์)

สถาปัตยกรรมและสถานที่สำคัญ

โรงละครรัสทาเวลิ

จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในทบิลีซีได้แก่ มหาวิหารซาเมบา จัตุรัสอิสรภาพ มหาวิหารซิโอนี รัฐสภาจอร์เจีย ถนนรุสตาเวลี มตัตสมินดา (ภูเขาศักดิ์สิทธิ์) มหาวิหารคัชเวตี รวมทั้งพิพิธภัณฑ์และห้องภาพศิลปะอีกจำนวนมาก ทบิลีซียังเป็นที่พำนักของศิลปินที่มีชื่อเสียง เช่น นีโค ปิรอสมานี และลาโด กูเดียชวิลี

การคมนาคม

อากาศยาน

ท่าอากาศยานนานาชาติทบิลีซี

ท่าอากาศยานทบิลีซี อยู่ห่างจากกรุงทบิลีซี ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปประมาณ 17 กิโลเมตร มีขบวนรถไฟเชื่อมต่อระหว่าง สถานีรถไฟทบิลีซี กับสนามบิน ใช้เวลา 35 นาที ที่สนามบินมีผู้มาใช้บริการประมาณ 1.1 ล้านคน[32][33] สายการบินหลักคือ จอร์เจียแอร์เวย์[34]

รถไฟฟ้าใต้ดิน

มีรถไฟฟ้าใต้ดินบริการในกรุงทบิลีซี เริ่มก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1952 เสร็จเมื่อ ค.ศ. 1966 มีบริการทั้งหมด 2 เส้นทาง คือ สายอาคเมเทลิ-วาร์เคทิลิ และสายซาเบอร์ทาโล มีสถานีรถไฟ 22 สถานี ตัวรถไฟ 186 คัน ให้บริการตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา จนถึงเที่ยงคืน

รถราง

ทบิลีซีมีระบบรถราง เปิดบริการตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1904 อย่างไรก็ตาม รถรางได้ปิดบริการในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2006[35][36] และมีโครงการรถรางแบบทันสมัยในอนาคต[37][38]

การศึกษา

มหาวิทยาลัยทบิลีซี
  • มหาวิทยาลัยทบิลีซี
  • มหาวิทยาลัยจอร์เจีย
  • มหาวิทยาลัยเทคนิคจอร์เจีย
  • มหาวิทยาลัยอิลเลีย แชฟชาแวร์ซ
  • โรงเรียนสอนดนตรีทบิลีซี
  • มหาวิทยาลัยแพทย์ทบิลีซี
  • มหาวิทยาลัยเคาคาซุส
  • มหาวิทยาลัยฟรีทบิลีซี
  • มหาวิทยาลัยกริเกล โรบาคิดเซ
  • มหาวิทยาลัยจอร์เจีย อเมริกา
  • มหาวิทยาลัยนานาชาติทะเลดำ
  • สถาบันราชการจอร์เจีย
  • มหาวิทยาลัยเกษตรจอร์เจีย

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

Tbilisi Platz ที่ซาร์บรึคเคิน ประเทศเยอรมนี

เมืองพี่น้อง

ทบิลีซีได้สถาปนาความสัมพันธ์กับเมืองพี่น้องดังต่อไปนี้[39]

เมืองที่ให้ความร่วมมือ

หมายเหตุ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง