ประเทศไอร์แลนด์

สาธารณรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะไอร์แลนด์ ทวีปยุโรป

ไอร์แลนด์ (อังกฤษ: Ireland, ออกเสียง: /ˈaɪərlənd/ ( ฟังเสียง); ไอริช: Éire, ออกเสียง: [ˈeːɾʲə] ( ฟังเสียง)) ซึ่งบางครั้งใช้คำบรรยายระบอบการปกครองของประเทศ (ไม่ใช่ชื่อทางการ) ว่า สาธารณรัฐไอร์แลนด์ (อังกฤษ: Republic of Ireland; ไอริช: Poblacht na hÉireann) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งประกอบด้วย 26 เทศมณฑลจาก 32 เทศมณฑลบนเกาะไอร์แลนด์ เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือดับลินซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะ ประมาณร้อยละ 40 ของประชากร 5 ล้านคนของประเทศอาศัยอยู่ในเขตมหานครดับลิน[10] รัฐอธิปไตยแห่งนี้มีพรมแดนทางบกเพียงแห่งเดียวร่วมกับไอร์แลนด์เหนือซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร เขตแดนที่เหลือถูกล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก โดยจรดทะเลไอริชทางทิศตะวันออก จรดช่องแคบเซนต์จอร์จิสทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจรดทะเลเคลติกทางทิศใต้ ไอร์แลนด์เป็นสาธารณรัฐเดี่ยวระบบรัฐสภา[11] สภานิติบัญญัติหรือ เอรัฆตัส ประกอบด้วยสภาล่างหรือ ดาลเอเริน, สภาสูงหรือ ชานัดเอเริน และประธานาธิบดี (อวฆตาราน) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งและทำหน้าที่ประมุขแห่งรัฐทางพิธีการเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีอำนาจและหน้าที่สำคัญบางประการ หัวหน้ารัฐบาลคือ ทีเชิฆ (นายกรัฐมนตรี; แปลแบบตรงตัวว่า "หัวหน้า") ซึ่งได้รับเลือกจาก ดาลเอเริน และได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ทั้งนี้ ทีเชิฆ จะเป็นผู้แต่งตั้งรัฐมนตรีคนอื่น ๆ อีกทอดหนึ่ง

ไอร์แลนด์[a]

Éire (ไอริช)
Ireland (อังกฤษ)
ที่ตั้งของ ประเทศไอร์แลนด์  (เขียวเข้ม) – ในทวีปยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม) – ในสหภาพยุโรป  (เขียว)
ที่ตั้งของ ประเทศไอร์แลนด์  (เขียวเข้ม)

– ในทวีปยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม)
– ในสหภาพยุโรป  (เขียว)

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ดับลิน
53°20.65′N 6°16.05′W / 53.34417°N 6.26750°W / 53.34417; -6.2675053°N 8°W / 53°N 8°W / 53; -8
ภาษาราชการไอริช,[b] อังกฤษ[1]
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2016[2])
  • 92.4% ชนผิวขาว
  • 2.1% เอเชีย
  • 1.3% ชนผิวดำ
  • 1.5% อื่น ๆ
  • 2.6% ไม่ระบุ
ศาสนา
(ค.ศ. 2016[3])
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี
• ประธานาธิบดี
ไมเคิล ดี. ฮิกกินส์
• ทีเชิฆ
ไซมอน แฮร์ริส
• ทาเนิชเตอ
ไมเคิล มาร์ติน
• ประธานศาลสูงสุด
โดนัล โอดอนเนลล์
สภานิติบัญญัติเอรัฆตัส
ชานัด
ดาล
เอกราช 
• คำประกาศสาธารณรัฐไอริช
24 เมษายน ค.ศ. 1916
• คำประกาศเอกราชไอริช
21 มกราคม ค.ศ. 1919
• สนธิสัญญาอังกฤษ-ไอริช
6 ธันวาคม ค.ศ. 1921
• รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1922
6 ธันวาคม ค.ศ. 1922
• รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1937
29 ธันวาคม ค.ศ. 1937
• รัฐบัญญัติสาธารณรัฐ
18 เมษายน ค.ศ. 1949
พื้นที่
• รวม
70,273 ตารางกิโลเมตร (27,133 ตารางไมล์) (อันดับที่ 118)
2.0%
ประชากร
• ค.ศ. 2021 ประมาณ
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 5,011,500[4] (อันดับที่ 122)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2016
4,761,865[5]
71.3 ต่อตารางกิโลเมตร (184.7 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 113)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 561,000 ล้านดอลลาร์[6] (อันดับที่ 44)
เพิ่มขึ้น 111,360 ดอลลาร์[6] (อันดับที่ 3)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 516,000 ล้านดอลลาร์[6] (อันดับที่ 29)
เพิ่มขึ้น 102,394 ดอลลาร์[6] (อันดับที่ 3)
จีนี (ค.ศ. 2019)positive decrease 28.3[7]
ต่ำ · อันดับที่ 23
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.955[8]
สูงมาก · อันดับที่ 2
สกุลเงินยูโร ()[c] (EUR)
เขตเวลาUTC (GMT)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+1 (IST)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+353
โดเมนบนสุด.ie[d]
  1. ^ มาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญไอร์แลนด์ระบุว่าชื่อของรัฐคือ ไอร์แลนด์; มาตรา 2 ของรัฐบัญญัติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ค.ศ. 1948 ระบุว่า สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เป็น "คำบรรยายรัฐ"[9]
  2. ^ นอกจากนี้ยังเป็น "ภาษาประจำชาติ" ตามมาตรา 2 ของรัฐบัญญัติภาษาราชการ ค.ศ. 2003
  3. ^ ก่อน ค.ศ. 2002 ไอร์แลนด์ใช้เงินปอนด์ไอริชเป็นสกุลเงินหมุนเวียน มีการนำยูโรมาใช้เป็นสกุลเงินทางบัญชีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1999
  4. ^ มีการใช้โดเมน .eu ร่วมกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่น ๆ

เสรีรัฐไอริชได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยมีฐานะเป็นประเทศในเครือจักรภพเมื่อ ค.ศ. 1922 ภายหลังสนธิสัญญาอังกฤษ-ไอริช ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1937 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งมีผลให้รัฐนี้ใช้ชื่อว่า "ไอร์แลนด์" และใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐโดยมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งแต่ไม่มีอำนาจบริหาร ไอร์แลนด์ได้รับการประกาศให้เป็นสาธารณรัฐอย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. 1949 หลังจากการประกาศใช้รัฐบัญญัติแห่งสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ค.ศ. 1948 ไอร์แลนด์เข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1955 และเข้าร่วมประชาคมยุโรป (ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสหภาพยุโรป) เมื่อ ค.ศ. 1973 รัฐนี้ไม่มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับไอร์แลนด์เหนือเกือบตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่ในคริสต์ทศวรรษ 1980 และคริสต์ทศวรรษ 1990 รัฐบาลสหราชอาณาจักรและรัฐบาลไอร์แลนด์ได้ประสานงานกับพรรคการเมืองในไอร์แลนด์เหนือเพื่อแก้ไขความขัดแย้งหรือ เดอะทรับเบิลส์ นับตั้งแต่การลงนามในความตกลงวันศุกร์ประเสริฐเมื่อ ค.ศ. 1998 รัฐบาลไอร์แลนด์และฝ่ายบริหารไอร์แลนด์เหนือได้ร่วมมือกันในนโยบายหลายด้านภายใต้สภามนตรีเหนือ/ใต้ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามความตกลงดังกล่าว

หนึ่งในศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญของยุโรปตั้งอยู่ที่ดับลิน ไอร์แลนด์เป็นหนึ่งในสิบประเทศที่มั่งคังที่สุดในโลกในแง่จีดีพีต่อหัว แต่สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งมาจากกลยุทธ์การเลี่ยงภาษีอัตราสูงของบริษัทข้ามชาติต่าง ๆ ที่ดำเนินการในไอร์แลนด์[12][13][14][15] ตั้งแต่ ค.ศ. 2017 เป็นต้นมา ธนาคารกลางแห่งไอร์แลนด์ได้ประกาศรายได้มวลรวมประชาชาติแปลงอัตรา (จีเอ็นไอ*) เนื่องจากเห็นว่าค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ผิดเพี้ยนอย่างมีนัยสำคัญเกินกว่าจะชี้วัดหรือเป็นตัวแทนของเศรษฐกิจไอร์แลนด์ได้อย่างแม่นยำ[16][17] หลังจากที่เข้าร่วมประชาคมยุโรป รัฐบาลไอร์แลนด์ได้ประกาศใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมซึ่งส่งผลให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่าง ค.ศ. 1995 ถึง ค.ศ. 2007 (ในปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ยุคเสือเคลต์") ก่อนที่จะมาพลิกผันในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่[18]

ไอร์แลนด์เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยได้รับการจัดอันดับว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีคุณภาพชีวิตสูงที่สุดในโลกและมีผลการดำเนินงานที่ดีในตัวชี้วัดสมรรถนะระดับชาติหลายประการ ซึ่งรวมถึงบริการสุขภาพ เสรีภาพทางเศรษฐกิจ และเสรีภาพทางสื่อ[19][20] ไอร์แลนด์เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปและเป็นสมาชิกก่อตั้งสภายุโรปและองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) รัฐบาลไอริชได้ปฏิบัติตามนโยบายความเป็นกลางทางทหารผ่านท่าทีไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยเหตุนี้ไอร์แลนด์จึงไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (เนโท)[21] ถึงแม้จะเป็นสมาชิกของแผนงานความเป็นหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ (พีเอฟพี) และขอบเขตต่าง ๆ ภายในกรอบความร่วมมือโครงสร้างถาวร (เพสโก) ก็ตาม

การเมืองการปกครอง

การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศไอร์แลนด์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 31 เทศมณฑล ได้แก่

  1. เทศมณฑลฟิงกัล
  2. ดับลินซิตี
  3. เทศมณฑลดันเลียรี-แรทดาวน์
  4. เทศมณฑลเซาท์ดับลิน
  5. เทศมณฑลวิกโลว์
  6. เทศมณฑลเวกซ์ฟอร์ด
  7. เทศมณฑลคาร์โลว์
  8. เทศมณฑลคิลแดร์
  9. เทศมณฑลมีท
  10. เทศมณฑลเลาท์
  11. เทศมณฑลมอนาฮัน
  12. เทศมณฑลแควัน
  13. เทศมณฑลลองฟอร์ด
  14. เทศมณฑลเวสต์มีท
  15. เทศมณฑลออฟฟาลี
  16. เทศมณฑลลีช
  1. เทศมณฑลคิลล์เคนนี
  2. เทศมณฑลวอเตอร์ฟอร์ด
  3. คอร์กซิตี
  4. เทศมณฑลคอร์ก
  5. เทศมณฑลเคร์รี
  6. เทศมณฑลลิเมอริก
  7. เทศมณฑลทิปเพอแรรี
  8. เทศมณฑลแคลร์
  9. เทศมณฑลกอลเวย์
  10. กอลเวย์ซิตี
  11. เทศมณฑลเมโย
  12. เทศมณฑลรอสคอมมอน
  13. เทศมณฑลสไลโก
  14. เทศมณฑลลีทริม
  15. เทศมณฑลดอนิกอล

การศึกษา

ไอร์แลนด์มีสามระดับการศึกษา คือระดับประถมศึกษา, มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ระบบการศึกษาเป็นส่วนใหญ่อยู่ภายใต้แนวทางของรัฐบาล โดยผ่านทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับประถมและมัธยมศึกษา ที่จะต้องปฏิบัติตามหลักสูตรที่จัดตั้งขึ้นโดยหน่วยงานที่มีอำนาจที่ได้กำหนดให้ เด็กทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งมีช่วงอายุระหว่างหกและสิบห้าปี เด็กทุกคนที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีจะต้องสำเร็จการศึกษาระดับชั้นสามปีแรกของมัธยมศึกษา รวมทั้งต้องมีหนังสือรับรองการสอบที่มีชื่อว่าจูเนียร์ เซอร์ทิฟิเคท[22]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Gilland, Karin (2001). Ireland: Neutrality and the International Use of Force. Routledge. ISBN 0-415-21804-7.
  • Greenwood, Margaret (2003). Rough guide to Ireland. Rough Guides. ISBN 1-84353-059-7.
  • Mangan, James Clarence (2007). James Clarence Mangan – His Selected Poems. Read Books. ISBN 978-1-4086-2700-6.
  • Meinardus, Otto Friedrich August (2002). Two thousand years of Coptic Christianity. American Univ in Cairo Press. ISBN 977-424-757-4.
  • Moody, Theodore William (2005). A New History of Ireland: Prehistoric and early Ireland. Oxford University Press. ISBN 0-19-821737-4.

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • Bunreacht na hÉireann (the 1937 constitution)
  • The Irish Free State Constitution Act, 1922
  • J. Anthony Foley and Stephen Lalor (ed), Gill & Macmillan Annotated Constitution of Ireland (Gill & Macmillan, 1995) (ISBN 0-7171-2276-X)
  • Geary, Michael J. (2009). An Inconvenient Wait: Ireland's Quest for Membership of the EEC, 1957–73. Institute of Public Administration. ISBN 978-1-904541-83-7.
  • FSL Lyons, Ireland Since the Famine
  • Ward, Alan J. (1994). The Irish Constitutional Tradition: Responsible Government and Modern Ireland 1782–1992. Irish Academic Press. ISBN 0-7165-2528-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

รัฐบาล

  • Irish Stateเว็บไซต์ทางการของรัฐบาล
  • Áras an Uachtaráin – เว็บไซต์ทางการของประธานาธิบดี
  • Taoiseach – เว็บไซต์ทางการของนายกรัฐมนตรี

ข้อมูลทั่วไป

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง