สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร

สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3[1] แห่งสหราชอาณาจักร (อังกฤษ: George III of the United Kingdom; 4 มิถุนายน ค.ศ. 1738 – 29 มกราคม ค.ศ. 1820) เป็นพระมหากษัตริย์ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และราชอาณาจักรไอร์แลนด์สมัยราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1760 ถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1801 และหลังจากนั้นเป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์จนสวรรคตเมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1820 ที่พระราชวังวินด์เซอร์ บาร์กเชอร์ สหราชอาณาจักร พระบรมศพอยู่ที่เซนต์จอร์จส์แชเปลที่พระราชวังวินด์เซอร์

สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3
พระมหากษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์[a]
เจ้าผู้ครอง/พระมหากษัตริย์เเห่งฮันโนเฟอร์[b]
ครองราชย์25 ตุลาคม 1760 – 29 มกราคม 1820 (59 ปี 97 วัน)
ราชาภิเษก22 กันยายน 1761
ก่อนหน้าพระเจ้าจอร์จที่ 2
ถัดไปพระเจ้าจอร์จที่ 4
ผู้สำเร็จราชการเจ้าชายจอร์จ เจ้าชายผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
รัชทายาท
ดูรายพระนาม
นายกรัฐมนตรี
พระราชสมภพ4 มิถุนายน ค.ศ. 1738(1738-06-04)
พระราชวังเซนต์เจมส์, ลอนดอน
สวรรคต29 มกราคม ค.ศ. 1820(1820-01-29) (81 ปี)
ปราสาทวินด์เซอร์, ลอนดอน
ฝังพระบรมศพ16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1820
เซนต์จอร์จส์แชแปล ลอนดอน
คู่อภิเษกชาร์ล็อทเทอแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์
พระราชบุตร
รายละเอียด
พระนามเต็ม
จอร์จ วิลเลียม เฟรเดอริก
ราชวงศ์ฮันโนเฟอร์
พระราชบิดาเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์
พระราชมารดาเจ้าหญิงออกัสตาแห่งซัคเซิน-โกทา
ลายพระอภิไธย

พระเจ้าจอร์จที่ 3 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1738[2] ที่ตำหนักนอร์โฟล์ค กรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์และเจ้าหญิงออกัสตาแห่งซัคเซิน-โกทา ต่อมาทรงได้อภิเษกสมรสกับชาร์ล็อทเทอแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์ และมีพระราชโอรสธิดาด้วยกัน 15 พระองค์ นอกจะเป็นกษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่แล้ว พระองค์ยังมีพระยศเป็นดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์คและผู้คัดเลือกแห่งฮันโนเฟอร์ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และต่อมาเป็นกษัตริย์ฮันโนเฟอร์เพราะรัฐผู้คัดเลือกเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์คได้เลื่อนฐานะขึ้นเป็นราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1814 พระเจ้าจอร์จที่ 3 เป็นกษัตริย์อังกฤษพระองค์ที่สามในราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ และเป็นกษัตริย์ฮันโนเฟอร์องค์แรกของอังกฤษที่พระราชสมภพในราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และตรัสภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่[3] และไม่เคยเสด็จไปเยอรมนี

รัชสมัยอันยาวนานของพระเจ้าจอร์จที่ 3 เต็มไปด้วยความขัดแย้งทางทหารหลายครั้งระหว่างราชอาณาจักรของพระองค์และประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเกือบทั้งหมด เมื่อต้นรัชสมัยบริเตนใหญ่ได้รับชัยชนะต่อฝรั่งเศสในสงครามเจ็ดปีซึ่งทำให้อังกฤษกลายเป็นประเทศมหาอำนาจของยุโรปผู้มีอิทธิพลในทวีปอเมริกาเหนือและอินเดีย แต่ต่อมาอังกฤษก็สูญเสียอาณานิคมอเมริกาไปกับสงครามปฏิวัติอเมริกัน (American Revolutionary War) ซึ่งเป็นสงครามที่ทำให้เกิดการก่อตั้งสหรัฐอเมริกา ต่อมาราชอาณาจักรก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ที่สิ้นสุดลงด้วยการพ่ายแพ้ของนโปเลียนในปี ค.ศ. 1815 นอกจากนั้นระหว่างรัชสมัยของพระองค์ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และราชอาณาจักรไอร์แลนด์ได้รวมตัวกันเป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์อีกด้วย

แต่ต่อมาพระเจ้าจอร์จที่ 3 ทรงเสียพระสติเป็นครั้งคราวและในที่สุดก็เป็นการถาวร พระอาการของพระองค์เป็นปัญหาที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยนั้นงงงวยเพราะไม่ทราบสาเหตุและไม่ทราบวิธีถวายการรักษา แต่ในปัจจุบันเชื่อกันว่าพระอาการต่าง ๆ ตรงกับอาการของโรคพอร์ฟิเรีย (porphyria) ซึ่งเป็นโรคที่อาจจะเกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารพิษ การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่ามีสารพิษระดับสูงในเส้นพระเกษาของพระเจ้าจอร์จที่ 3 หลังจากเมื่อพระอาการทรุดลงเป็นครั้งสุดท้ายจนทรงไม่สามารถปกครองประเทศได้เมื่อปี ค.ศ. 1810 เจ้าชายจอร์จ เจ้าชายแห่งเวลส์จึงทรงปกครองราชอาณาจักรในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อพระเจ้าจอร์จที่ 3 สวรรคต ขณะทรงมีพระชนพรรษา 81 พรรษา ทรงครองสิริราชย์สมบัติ 59 ปี 97 วัน ยาวนานที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของสหราชอาณาจักร เจ้าชายแห่งเวลส์จึงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร การวิจัยทางพระราชประวัติพระเจ้าจอร์จที่ 3 เปลี่ยนแปลงภาพพจน์ของพระองค์ตลอดมา ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุมาจากการศึกษาจากเอกสารอ้างอิงที่ไม่เป็นธรรมต่อพระองค์[4]

พระชนมชีพช่วงต้น

พระเจ้าจอร์จเสด็จพระราชสมภพที่พระตำหนักนอร์โฟล์กในกรุงลอนดอน เป็นพระนัดดาในพระเจ้าจอร์จที่ 2 และพระโอรสของเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์และเจ้าหญิงออกัสตาแห่งซัคเซิน-โกทา ประสูติก่อนกำหนดถึงสองเดือนและไม่ทราบกันในขณะนั้นว่าจะทรงรอดหรือไม่ ทรงได้รับบัพติศมาในวันเดียวกันโดยศาสนาจารย์ทอมัส เซกเกอร์ บิชอปแห่งออกซฟอร์ด[5] เดือนหนึ่งต่อมาก็ทรงรับบัพติศมาอีกครั้งหนึ่งอย่างเป็นทางการที่พระตำหนักนอร์โฟล์กโดยเซกเกอร์เช่นกัน โดยมีพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งสวีเดนเป็นพระราชอัยกาทูนหัว (ผู้ทรงมอบฉันทะให้ชาลส์ คาลเวิร์ต บารอนบัลติมอร์ที่ 5 เป็นผู้แทนพระองค์) ฟรีดริชที่ 3 ดยุกแห่งซัคเซิน-โกทา-อัลเทนแบร์ก พระปิตุลา (ผู้มอบฉันทะให้เฮนรี บริดเจส ดยุกที่ 2 แห่งแชนดอสเป็นผู้แทน) และพระนางโซฟี โดโรเทอา แห่งปรัสเซีย พระอัยกี (ผู้ทรงมอบฉันทะให้เลดีชาร์ลอต เอ็ดวินเป็นผู้แทนพระองค์)[6]

เจ้าชายจอร์จทรงเจริญพระชันษาขึ้นมาเป็นเด็กที่พระสุขภาพพลานามัยดีแต่ทรงไว้องค์และขี้อาย ครอบครัวของพระองค์ย้ายจากจตุรัสเลสเตอร์ไปยังที่ประทับใหม่ที่พระองค์และเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งยอร์กและออลบานี พระอนุชา ทรงได้รับการศึกษาจากพระอาจารย์ส่วนพระองค์ จดหมายจากครอบครัวแสดงว่าทรงเขียนและอ่านได้ทั้งภาษาอังกฤษและเยอรมัน และทรงมีความคิดเห็นทางการเมืองตั้งแต่มีพระชนมายุได้เพียง 8 พรรษา[7] เจ้าชายจอร์จเป็นกษัตริย์อังกฤษองค์แรกที่ทรงศึกษาวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการ นอกจากเคมีศาสตร์และฟิสิกส์แล้วพระองค์ก็ยังทรงศึกษาดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาละติน ประวัติศาสตร์ ดนตรี ภูมิศาสตร์ การพาณิชย์ การเกษตรกรรม และกฎหมายรัฐธรรมนูญ นอกไปจากการกีฬาและการสังคม เช่น การเต้นรำ การดวลดาบ และการขี่ม้า การศึกษาทางศาสนาเป็นการศึกษาภายใต้คริสตจักรแห่งอังกฤษ[8]

ภาพเขียนจากราวปี ค.ศ. 1749 ที่เจ้าชายจอร์จ (กลาง) และเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งยอร์กและออลบานี พระอนุชา และพระอาจารย์ฟรานซิส อายคอฟผู้ต่อมาเป็นอธิการบดีของมหาวิหารบริสตอล
เจ้าชายจอร์จ ในพระอิสริยยศเจ้าชายแห่งเวลส์ ใน ค.ศ. 1751

พระเจ้าจอร์จที่ 2 ไม่ทรงสนพระทัยในพระนัดดาเท่าใดนัก แต่ในปี ค.ศ. 1751 เมื่อเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ พระโอรสสิ้นพระชนม์โดยกะทันหันจากการบาดเจ็บที่ปอด เจ้าชายจอร์จก็กลายเป็นรัชทายาท และทรงได้รับตำแหน่งของพระราชบิดาและทรงดำรงตำแหน่งเป็นดยุกแห่งเอดินบะระ พระเจ้าจอร์จที่ 2 ทรงหันมาสนพระทัยในตัวพระนัดดา สามอาทิตย์หลังจากนั้นก็พระราชทานตำแหน่งให้เจ้าชายจอร์จเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์[9] ในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1756 เมื่อทรงใกล้จะมีพระชนมายุ 18 พรรษาพระเจ้าจอร์จที่ 2 ก็พระราชทานพระราชวังเซนต์เจมส์ให้แก่เจ้าชายจอร์จ แต่เจ้าชายจอร์จไม่ทรงยอมรับโดยคำแนะนำของพระมารดาและจอห์น สจวต เอิร์ลที่ 3 แห่งบิวต์ พระสหายของพระมารดา ผู้ต่อมาได้รับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี[10] พระมารดาของเจ้าชายจอร์จทรงพอพระทัยที่จะให้เจ้าชายจอร์จประทับอยู่กับพระองค์เพื่อที่จะได้อบรมเลี้ยงดูอย่างเข้มงวดทางจริยธรรมด้วยพระองค์เอง[11][12]

อภิเษกสมรส

พระบรมสาทิสลักษณ์ ในวันบรมราชาภิเษก

ในปี ค.ศ. 1760 ขณะที่เจ้าชายจอร์จทรงมีพระชนมายุได้ 22 ชันษา ทรงเสวยราชย์เป็นกษัตริย์สืบต่อจากพระเจ้าจอร์จที่ 2 ผู้เป็นพระอัยกาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1760 สองสัปดาห์ก่อนพระองค์ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 8 กันยายน ในโบสถ์หลวง, พระราชวังเซนต์เจมส์กับดัสเชสชาร์ลอตแห่งเม็คเล็นบวร์ค-สเตรลิตธ์ และทั้งสองพระองค์ทรงเข้าพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 22 กันยายน ในการเป็นกษัตริย์และสมเด็จพระราชินีแห่งบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักร

พระเกียรติยศ

พระบรมราชอิสริยยศ

ในบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์

  • 4 มิถุนายน ค.ศ. 1738 - 31 มีนาคม ค.ศ. 1751: ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ (His Royal Highness Prince George of Wales)
  • 31 มีนาคม ค.ศ. 1751 - 20 เมษายน ค.ศ. 1751: ฮิสรอยัลไฮเนส ดยุกแห่งเอดินบะระ (His Royal Highness The Duke of Edinburgh)
  • 20 เมษายน ค.ศ. 1751 - 25 ตุลาคม ค.ศ. 1760: ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายแห่งเวลส์ (His Royal Highness The Prince of Wales)
  • 25 ตุลาคม ค.ศ. 1760 - 31 ธันวาคม ค.ศ. 1800: ฮิสมาเจสตี พระมหากษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (His Majesty The King of Great Britain and Ireland)
  • 1 มกราคม ค.ศ. 1801 - 29 มกราคม ค.ศ. 1820: ฮิสมาเจสตี พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร (His Majesty The King of the United Kingdom)

ในฮันโนเฟอร์

  • 4 มิถุนายน ค.ศ. 1738 - 25 ตุลาคม ค.ศ. 1760: ฮิสเซอร์รีนไฮเนส เจ้าชายเกออร์ค วิลเฮล์ม ฟรีดริช แห่งฮันโนเวอร์ (His Serene Highness Prince George William Frederick of Hanover)
  • 25 ตุลาคม ค.ศ. 1760 - 12 ตุลาคม ค.ศ. 1814: ฮิสเซอร์รีนไฮเนส เจ้าผู้ครองฮันโนเฟอร์ (His Serene Highness The Prince-Elector of Hanover)
  • 12 ตุลาคม ค.ศ. 1814 - 29 มกราคม 1820: ฮิสมาเจสตี พระมหากษัตริย์แห่งฮันโนเฟอร์ (His Majesty The King of Hanover)

อาร์ม

ตราอาร์มในระหว่างปี 1749 - 1751
ตราอาร์มในระหว่างปี 1751 - 1760 ในฐานะเจ้าชายแห่งเวลส์
ตราอาร์มในระหว่างปี 1760 - 1801 ในฐานะกษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่
ตราอาร์มในระหว่างปี 1801 - 1816 ในฐานะกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร
ตราอาร์มในระหว่างปี 1816 เป็นต้นไป ในฐานะกษัตริย์แห่งฮันโนเฟอร์

พระราชโอรสและธิดา

พระเจ้าจอร์จที่ 3 และสมเด็จพระราชินีชาร์ลอต ทรงมีพระราชโอรสและธิดาร่วมกัน 15 พระองค์ ดังนี้

พระนามประสูติสิ้นพระชนม์หมายเหตุ
สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร12 สิงหาคม ค.ศ. 176226 มิถุนายน ค.ศ. 1830อภิเษกสมรสในปี 1795 กับ คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล; มีพระธิดาด้วยกัน 1 พระองค์คือ เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ ออกัสตาแห่งเวลส์
เจ้าชายเฟรเดอริก ดยุกแห่งยอร์กและออลบานี16 สิงหาคม ค.ศ. 17635 มกราคม ค.ศ. 1827อภิเษกสมรสในปี 1791 กับ เจ้าหญิงเฟรเดอริกา ชาร์ลอตต์แห่งปรัสเซีย; ไม่มีพระโอรสหรือธิดา
สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร21 สิงหาคม ค.ศ. 176520 มิถุนายน ค.ศ. 1837อภิเษกสมรสในปี 1818 กับ อาเดิลไฮด์แห่งซัคเซิน-ไมนิงเงิน ; มีพระธิดาด้วยกัน 2 พระองค์แต่สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระเยาว์ , มีนางสนมเป็นนางละครมีพระโอรสธิดากว่า 10 พระองค์แต่เป็นพระโอรสธิดานอกกฎหมาย; และยังทรงเป็นบรรพบุรุษของ เดวิด แคเมอรอน นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร
เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ พระราชกุมารี29 กันยายน ค.ศ. 17666 ตุลาคม ค.ศ. 1828อภิเษกสมรสในปี 1797 กับ พระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค; ไม่มีพระโอรสหรือธิดา
เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเคนต์และสแตรธเอิร์น2 พฤศจิกายน ค.ศ. 176723 มกราคม ค.ศ. 1820อภิเษกสมรสในปี 1818 กับ เจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค-ซาลเฟลด์; มีพระธิดาคือสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร; ผู้ที่สืบสายพระโลหิตมาจากพระราชินีนาถวิกตอเรีย ได้แก่ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร, สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปน, สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน, สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ และ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก.
เจ้าหญิงออกัสตา โซเฟีย8 พฤศจิกายน ค.ศ. 176822 กันยายน ค.ศ. 1840ไม่ได้อภิเษกสมรส
เจ้าหญิงเอลิซาเบธ22 พฤษภาคม ค.ศ. 177010 มกราคม ค.ศ. 1840อภิเษกสมรสในปี 1818 กับ ฟรีดริชที่ 4 ลันด์กราฟแห่งเฮสส์และฮอมบวร์ค; ไม่มีพระโอรสหรือธิดา
พระเจ้าแอ็นสท์ เอากุสท์ที่ 1 แห่งฮันโนเฟอร์5 มิถุนายน ค.ศ. 177118 พฤศจิกายน ค.ศ. 1851อภิเษกสมรสในปี 1815 กับ เฟรเดอริกาแห่งเมคเลนบวร์ค-ชเตรลิทซ์; มีพระโอรส 1 พระองค์; ผู้ที่สืบพระโลหิตมาจากเออร์เนสได้แก่ พระเจ้าคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ และสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปน
เจ้าชายออกัสตัส เฟรเดอริก ดยุกแห่งซัสเซกซ์27 มกราคม ค.ศ. 177321 เมษายน ค.ศ. 1843(1) อภิเษกสมรสกับ เลดี้ ออกัสตา เมอร์เรย์; มีพระบุตร; ในปี 1794
(2) อภิเษกสมรสในปี 1831 กับ เลดี้ เซซิเลีย บักกิน(ต่อมาคือ ดัชเชสแห่งอินเวอร์เนส); ไม่มีพระโอรสหรือธิดา
เจ้าชายอดอลฟัส ดยุกแห่งเคมบริดจ์24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 17748 มิถุนายน ค.ศ. 1850อภิเษกสมรสในปี 1818 กับเจ้าหญิงออกัสตาแห่งเฮสส์-คาสเซิล; มีพระบุตร; ผู้ที่สืบสายพระโลหิตคือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
เจ้าหญิงแมรี ดัชเชสแห่งกลอสเตอร์และเอดินบะระ25 เมษายน ค.ศ. 177630 เมษายน ค.ศ. 1857อภิเษกสมรสในปี 1816 กับ เจ้าชายวิลเลียม เฟรเดอริก ดยุกแห่งกลอสเตอร์และเอดินบะระ; ไม่มีพระโอรสหรือธิดา
เจ้าหญิงโซเฟีย3 พฤศจิกายน ค.ศ. 177727 พฤษภาคม ค.ศ. 1848ไม่ได้อภิเษกสมรส
เจ้าชายออกเทเวียส23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 17793 พฤษภาคม ค.ศ. 1783สิ้นพระชนม์ตั้งแต่พระเยาว์
เจ้าชายอัลเฟรด22 กันยายน ค.ศ. 178020 สิงหาคม ค.ศ. 1782สิ้นพระชนม์ตั้งแต่พระเยาว์
เจ้าหญิงอเมเลีย7 สิงหาคม ค.ศ. 17832 พฤศจิกายน ค.ศ. 1810ไม่ได้อภิเษกสมรส ไม่มีพระบุตร

บรรพบุรุษ

หมายเหตุ

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร


ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรถัดไป
พระเจ้าจอร์จที่ 2
พระมหากษัตริย์บริเตนใหญ่
(ราชวงศ์ฮันโนเฟอร์)

(25 ตุลาคม ค.ศ. 176031 ธันวาคม ค.ศ. 1800)
พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800 ได้รวมราชอาณาจักรบริเตนใหญ่กับราชอาณาจักรไอร์แลนด์เป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์
ว่าง
พระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์
(ราชวงศ์ฮันโนเฟอร์)

(25 ตุลาคม ค.ศ. 176031 ธันวาคม ค.ศ. 1800)
ว่าง
ไม่มี
พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800 ได้รวมราชอาณาจักรบริเตนใหญ่กับราชอาณาจักรไอร์แลนด์เป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์

พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร
(ราชวงศ์ฮันโนเฟอร์)

(1 มกราคม ค.ศ. 180129 มกราคม ค.ศ. 1820)
พระเจ้าจอร์จที่ 4


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง