พิกซาร์

พิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์ (อังกฤษ: Pixar Animation Studios) หรือเรียกกันทั่วไปว่า พิกซาร์ เป็นสตูดิโอคอมพิวเตอร์แอนิเมชันอเมริกัน เป็นที่รู้จักจากภาพยนตร์คอมพิวเตอร์แอนิเมชันที่ประสบความสำเร็จทั้งในด้านคำวิจารณ์และในเชิงพาณิชย์ ตั้งอยู่ที่เมือง เอเมอรีวิลล์, รัฐแคลิฟอร์เนีย และเป็นบริษัทย่อยของ วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์ ที่เป็นเจ้าของโดย บริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ รา่วี่

พิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์
ประเภทบริษัทย่อย
อุตสาหกรรมแอนิเมชัน
ก่อนหน้าเดอะกราฟิกส์กรุปออฟลูคัสฟิล์มคอมพิวเตอร์ดิวิชัน (ค.ศ. 1979–1986)
ก่อตั้ง3 กุมภาพันธ์ 1986; 38 ปีก่อน (1986-02-03) ใน ริชมอนด์, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐ[a]
ผู้ก่อตั้ง
  • เอ็ดวิด แคตมัลล์
  • อัลวี เรย์ สมิธ
สำนักงานใหญ่1200 พาร์ก อเวนิว,
เอเมอรีวิลล์, แคลิฟอร์เนีย
,
สหรัฐ
37°49′58″N 122°17′02″W / 37.8327°N 122.2838°W / 37.8327; -122.2838
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน
ตราสินค้าพิกซาร์อิมเมจคอมพิวเตอร์, พิกซาร์เรนเดอร์แมน
เจ้าของสตีฟ จอบส์ (ค.ศ. 1986-2011)
พนักงาน
1,233 (พ.ศ. 2563) Edit this on Wikidata
บริษัทแม่
เว็บไซต์www.pixar.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
เชิงอรรถ / อ้างอิง
[1][2][3]

พิกซาร์เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1979 โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนกคอมพิวเตอร์ของลูคัสฟิล์มซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ กราฟิกกรุป ก่อนจะแยกตัวออกมาก่อตั้งเป็นบริษัทในปี ค.ศ. 1986 ด้วยการระดมทุนจาก สตีฟ จอบส์ ผู้ร่วมก่อตั้งของแอปเปิล ซึ่งกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่[2] ดิสนีย์ซื้อพิกซาร์ในปี ค.ศ. 2006 ด้วยมูลค่ามากกว่า 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแปลงหุ้นของพิกซาร์แต่ละหุ้นเป็น 2.3 หุ้นของหุ้นดิสนีย์[4][5] พิกซาร์เป็นที่รู้จักกันอย่างดีจากภาพยนตร์ของสตูดิโอที่ใช้เทคโนโลยี เรนเดอร์แมน เอพีไอสร้างภาพกราฟิกส์ระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมของบริษัทเอง ลักโซจูเนียร์ โคมไฟจากภาพยนตร์สั้นชื่อเดียวกันในปี ค.ศ. 1986 เป็นตัวนำโชคของสตูดิโอ

พิกซาร์ได้สร้างภาพยนตร์แอนิเมชันแล้วทั้งหมด 24 เรื่อง โดยเริ่มต้นจาก ทอย สตอรี่ (1995) ซึ่งเป็นภาพยนตร์คอมพิวเตอร์แอนิเมชันขนาดยาวเรื่องแรก ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดคือ ลูก้า (2021) ภาพยนตร์ทุกเรื่องได้การจัดอันดับอย่างน้อย "A−" โดยซีนะมาสกอร์ ซึ่งบ่งบอกถึงการตอบรับที่ดีจากผู้ชม[6] นอกเหนือจากภาพยนตร์ อัศจรรย์วิญญาณอลเวง (2020) และ ลูก้า ที่ไม่ได้ฉายในโรงภาพยนตร์ แต่ฉายใน ดิสนีย์+ แทน สตูดิโอยังสร้างภาพยนตร์สั้นอีกหลายเรื่อง ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2019 ภาพยนตร์ของสตูดิโอทำเงินมากกว่า 14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลก[7] โดยทำเงินทั่วโลกเฉลี่ยประมาณ 611 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อภาพยนตร์ ทอย สตอรี่ 3 (2010), ผจญภัยดอรี่ขี้ลืม (2016), รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก 2 (2018) และ ทอย สตอรี่ 4 (2019) เป็นหนึ่งในห้าสิบภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาล โดย รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก 2 เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุดเป็นอันดับสี่ตลอดกาล โดยทำเงิน 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อีกสามเรื่องก็ทำเงินมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ยิ่งไปกว่านั้นภาพยนตร์สิบห้าเรื่องของพิกซาร์ยังอยู่ในห้าสิบภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาล

สตูดิโอได้รับรางวัลออสการ์ 23 รางวัล, รางวัลลูกโลกทองคำ 10 รางวัลและรางวัลแกรมมี่ 11 รางวัล พร้อมกับรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย ภาพยนตร์หลายเรื่องของพิกซาร์ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม นับตั้งแต่เปิดตัวรางวัลในปี ค.ศ. 2001 โดยมีสิบเอ็ดเรื่องที่ได้รับรางวัล ได้แก่ นีโม...ปลาเล็ก หัวใจโต๊...โต (2003), รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก (2004), ระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลก (2007), วอลล์-อี: หุ่นจิ๋วหัวใจเกินร้อย (2008), ปู่ซ่าบ้าพลัง (2009), ทอย สตอรี่ 3 (2010), นักรบสาวหัวใจมหากาฬ (2012), มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง (2015), วันอลวน วิญญาณอลเวง (2017), ทอย สตอรี่ 4 (2019) และ อัศจรรย์วิญญาณอลเวง (2020) และภาพยนตร์สี่เรื่องที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงแต่ไม่ได้รับรางวัล ได้แก่ บริษัทรับจ้างหลอน (ไม่) จำกัด (2001), 4 ล้อซิ่ง...ซ่าท้าโลก (2006), รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก 2 (2018) และ คู่ซ่าล่ามนต์มหัศจรรย์ (2020) นอกจากนี้ภาพยนตร์ ปู่ซ่าบ้าพลัง และ ทอย สตอรี่ 3 เคยได้รับการเสนอชื่อในรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

เมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2009 ผู้บริหารของพิกซาร์ จอห์น แลสซีเตอร์, แบรด เบิร์ด, พีต ดอกเตอร์, แอนดรูว์ สแตนตันและลี อุนคริช ได้รับรางวัลรางวัลสิงโตทองคำ สาขารางวัลความสำเร็จในชีวิต ในงานเทศกาลภาพยนตร์เวนิส โดย จอร์จ ลูคัส ผู้ก่อตั้งลูคัสฟิล์ม เป็นผู้มอบรางวัล

ประวัติ

ภาพยนตร์

หมายเหตุ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • พิกซาร์
  • ภาพยนตร์เรื่องรวมเรื่องสั้นจากพิกซาร์ ภาค 1
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง