สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Thailand Cultural Centre Station, รหัส BL19 (สายสีน้ำเงิน), OR13 (สายสีส้ม)) หรือสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร 2 สาย คือสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และเชื่อมต่อสายสีส้มในอนาคต ตั้งอยู่ที่ถนนรัชดาภิเษก ในพื้นที่เขตห้วยขวางและเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจ ศูนย์การค้า ที่พักอาศัย และอยู่ใกล้สถานที่สำคัญด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นชุมทางรถไฟฟ้าในทิศทางจากสถานีห้วยขวางขึ้นบนระดับพื้นดิน เข้าสู่ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าห้วยขวาง

ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
BL19

Thailand Cultural Centre
ชานชาลาสายสีน้ำเงิน
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดงและเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°45′58″N 100°34′12″E / 13.7661°N 100.5700°E / 13.7661; 100.5700
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย     สายเฉลิมรัชมงคล
     สายสีส้ม (อนาคต)
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
2 ชานชาลาด้านข้าง (อนาคต)
ทางวิ่ง4 (เปิดบริการ 2 และอนาคต 2)
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีสายสีน้ำเงิน: BL19
สายสีส้ม: OR13 (อนาคต)
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-07-03)
ชื่อเดิมเทียมร่วมมิตร
ผู้โดยสาร
25644,103,960
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานครสถานีต่อไป
พระราม 9
มุ่งหน้า หลักสอง
สายเฉลิมรัชมงคลห้วยขวาง
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
Map

ที่ตั้ง

พื้นที่สายสีน้ำเงินตั้งอยู่ใต้ถนนรัชดาภิเษก บริเวณด้านหน้าศูนย์การค้าเอสพลานาด รัชดาภิเษก ไปจนถึงอาคารอาร์เอส ทาวเวอร์ ในพื้นที่แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง ส่วนพื้นที่สายสีส้มตั้งอยู่ใต้ถนนรัชดาภิเษกในแนวตั้งฉากกับสายสีน้ำเงิน ในพื้นที่แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

ก่อนหน้าที่จะมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สถานีแห่งนี้ได้ใช้ชื่อว่า "สถานีเทียมร่วมมิตร" ตามชื่อทางแยกและถนนที่ตัดถนนรัชดาภิเษกบริเวณที่ตั้งสถานี แต่ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ "สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย" ในภายหลัง เพราะที่ตั้งสถานีห่างจากศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยเพียง 200 เมตรเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีถนนเข้าสู่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยโดยตรง ผู้โดยสารเมื่อขึ้นจากสถานีจะต้องเดินอ้อมไปยังแยกเทียมร่วมมิตรและเดินมาตามถนนวัฒนธรรม รวมระยะทางกว่า 600 เมตรจากทางเข้า-ออกสถานีหมายเลข 1 จึงไม่สะดวกเท่าที่ควร และผู้โดยสารส่วนมากจำเป็นต้องใช้บริการรถรับจ้างเข้าสู่อาคารศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทำให้ต่อมา ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีการกำหนดทางขึ้นลงเพิ่มเติมอีก 2 จุด รวมเป็น 6 ทางออก เพื่อเปิดทางให้สามารถเข้าถึงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยได้ง่ายขึ้น

แผนผังสถานี

G
ระดับถนน
-ป้ายรถประจำทาง, ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
อาคารจอดแล้วจร, เอสพลานาด รัชดาภิเษก,
B1
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสารห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B2
ชั้น Interchange Hall สายสีส้ม
(ยังไม่เปิดใช้งาน)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1สายสีส้ม มุ่งหน้า สถานีแยกร่มเกล้า
ชานชาลา 2สายสีส้ม มุ่งหน้า สถานีบางขุนนนท์
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
B3
ชานชาลารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
ชานชาลา 2สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดของสถานี

ชั้นขายบัตรโดยสาร เสาบางต้นมีตำแหน่งเยื้องกัน เพื่อเว้นช่องว่างให้รางรถไฟฟ้าสายสีส้มในอนาคต
ทางเข้า-ออกที่ 3
พื้นที่ชั้นชานชาลาของสายสีส้ม ถูกปิดเพื่อการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม

สีสัญลักษณ์ของสถานี

ใช้สีน้ำเงินตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา หมายถึงเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม [1]

รูปแบบของสถานี

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 27 เมตร ยาว 358 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 20 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาเกาะกลาง (Station with Central Platform)

ความโดดเด่นของโครงสร้างสถานี

เป็นสถานีที่ยาวที่สุดถึง 358 เมตร เพราะเป็นสถานีชุมทางไปสู่ศูนย์ซ่อมบำรุง จึงได้เพิ่มความยาวรางรถไฟฟ้าเพื่อเพิ่มรัศมีวงเลี้ยวไปยังศูนย์ซ่อมบำรุง

ทางเข้า-ออก

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

แบ่งเป็น 4 ชั้น ประกอบด้วย

สิ่งอำนวยความสะดวก

  • พื้นที่จอดรถ 2 จุด ได้แก่อาคารจอดแล้วจร ความจุ 200 คัน และลานจอดรถ 30 คัน
  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ทางเข้า-ออกหมายเลข 1 (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย)

ศูนย์การค้าภายในสถานี

ภายในสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ได้จัดให้มีส่วนร้านค้าหรือ เมโทรมอลล์ ที่ชั้นบนสุดของสถานี เปิดให้บริการ 19 เมษายน 2560

เวลาให้บริการ

ปลายทางวันขบวนแรกขบวนสุดท้าย
สายเฉลิมรัชมงคล[2]
ชานชาลาที่ 1
BL38หลักสองจันทร์ – ศุกร์05:5423:50
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์06:0323:50
ชานชาลาที่ 2
BL01ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์05:5323:48
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์05:5723:48
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง23:01

รถโดยสารประจำทาง

ถนนรัชดาภิเษก

  • เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

สายที่จุดเริ่มต้นจุดสิ้นสุดประเภทของรถที่ให้บริการผู้ให้บริการหมายเหตุ
73 (2-45) (3) อู่สวนสยามสะพานพระพุทธยอดฟ้า1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)ขสมก.
สนามกีฬาห้วยขวาง
136 (1)อู่คลองเตยสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
137 (3-48) (2)วงกลม : รามคำแหงอู่พระราม 91.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

179 (3-49) (3)อู่พระราม 9สะพานพระราม 71.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
185 (3) อู่รังสิตอู่คลองเตย1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
206 (3) อู่เมกาบางนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

มีรถให้บริการทางด่วน (ให้บริการเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน)
514 (1) อู่มีนบุรี สีลม1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

รถเอกชน

สายที่จุดเริ่มต้นจุดสิ้นสุดประเภทของรถที่ให้บริการผู้ให้บริการหมายเหตุ
517 (1-56)สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า)บจก.ไทยสมายล์บัส

MRT ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

  • เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

สายที่จุดเริ่มต้นจุดสิ้นสุดเส้นทางเวลาเดินรถเที่ยวแรก (วนซ้าย)เวลาเดินรถเที่ยวแรก (วนขวา)เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (วนซ้าย)เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (วนขวา)ประเภทของรถที่ให้บริการผู้ให้บริการหมายเหตุ
137 (3-48) (2)วงกลม : รามคำแหงอู่พระราม 9

137
(วงกลม)
อู่พระราม 9
เดอะมอลล์บางกะปิ
ม.รามคำแหง
พระราม 9
รัชดาฯ
ลาดพร้าว 71

05:00 น.22:00 น.1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.
ถนนรัชดาภิเษก
สายที่ต้นทางปลายทางหมายเหตุ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
73สวนสยามสะพานพุทธ
73ห้วยขวางสะพานพุทธหมดระยะห้วยขวาง
136คลองเตยหมอชิต 2
137วงกลม รัชดาภิเษกรามคำแหง
179อู่พระราม 9สะพานพระราม 7
185รังสิตคลองเตย
206เมกาบางนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีรถบริการตลอดคืน
206 ปอ.เมกาบางนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
514มีนบุรีสีลม
517 (1-56)หมอชิต 2มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง
  • ถนนรัชดาภิเษก สาย 73 136 137 179 185 206 514 517 (1-56) (รถไปหมอชิต2)

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

แผนผังบริเวณสถานี

ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน

เหตุการณ์สำคัญในอดีต

เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 เวลา 09.30 น. ได้เกิดอุบัติเหตุรถไฟฟ้าเปล่าจากศูนย์ซ่อมบำรุงถอยมาชนขบวนรถไฟฟ้าอีกขบวนซึ่งมีผู้โดยสารกว่า 700 คนและกำลังจอดรับส่งผู้โดยสารภายในสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ปลายทางสถานีหัวลำโพง ทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 100 คน แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต

สาเหตุเกิดจากรถไฟฟ้าขบวนหนึ่งเสียบริเวณทางโค้ง (เป็นบริเวณที่สับราง) ก่อนถึงทางลาดขึ้นสู่ระดับพื้นดินเข้าสู่ศูนย์ซ่อมบำรุง ทางศูนย์ซ่อมบำรุงได้ส่งรถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่งมาช่วยลากรถขึ้นจากอุโมงค์ แต่เนื่องจากรถเสียอยู่บริเวณที่สับรางจึงไม่สามารถลากรถได้ ทางศูนย์ฯ จึงสั่งให้พนักงานขับรถไฟฟ้าปล่อยเบรกลมออกเพื่อให้รถเคลื่อนที่พ้นออกไปจากบริเวณที่สับราง แต่ปรากฏว่าตัวรถได้ไหลกลับลงไปในอุโมงค์มุ่งหน้าสู่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในขณะเดียวกันกับที่มีรถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่งมุ่งหน้าสถานีพระราม 9 ได้จอดรับผู้โดยสารอยู่ในสถานี ทำให้รถไฟฟ้าที่มีผู้โดยสารถูกรถไฟฟ้าที่เสียดังกล่าวไหลมาชนและมีผู้บาดเจ็บหลายราย หลังจากเหตุการณ์นั้นทางบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BMCL) ได้ออกคำสั่งให้หยุดบริการเดินรถไฟฟ้าเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อซ่อมแซมขบวนรถไฟฟ้าและชานชาลาที่เกิดเหตุ[3]

การเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าในอนาคต

ในอนาคตสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยจะเป็นสถานีที่เชื่อมต่อโดยตรงกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ซึ่งขณะนี้ได้สร้างชั้นชานชาลารองรับไว้แล้ว

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยกันต์ กันตถาวรอสมทพีชญา วัฒนามนตรีธี่หยด 2ป๊อกเด้งพิเศษ:ค้นหาอนงค์ (ภาพยนตร์ไทย)พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรยุรนันท์ ภมรมนตรีธี่หยดฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 50ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ดิไอคอนกรุ๊ปประเทศไทยหนึ่งในร้อยมชณต สุวรรณมาศตฤณ เรืองกิจรัตนกุลพรหมวิหาร 4ทองประกายแสดฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพสุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตรรายนามผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าว สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดีเมลดา สุศรีวันนวมินทรมหาราชโขมดเลขประจำตัวประชาชนไทยประเทศเนเธอร์แลนด์เดนิส เจลีลชา คัปปุนประเทศญี่ปุ่นศิริลักษณ์ คองพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวสัมมาวาจาเมืองลับแล (ละครโทรทัศน์)กรรชัย กำเนิดพลอยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยหมูเด้ง