มณฑลเทศาภิบาล

ระบบมณฑลเทศาภิบาล คือระบบแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการใช้มาจนถึงสมัยช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองประมาณ 7 ปี เป็นการเลียนแบบการปกครองของอังกฤษในพม่าและมาเลเซีย เริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2440 โดยพระดำริของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มณฑลมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง เจ้าเมืองไม่มีอำนาจที่จะปกครอง หน่วยการปกครองเรียงจากใหญ่ไปเล็กได้ดังนี้

มณฑลภาคมณฑลเมือง (จังหวัด) → อำเภอตำบลบ้าน (หมู่บ้าน)

ใน พ.ศ. 2458 ดินแดนสยามมีมณฑลอยู่ 19 แห่งครอบคลุมพื้นที่ 72 เมือง (เปลี่ยนเป็น จังหวัด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำจึงทำให้หลายมณฑลถูกยุบรวมกันตั้งแต่ พ.ศ. 2468 (มณฑลเพชรบูรณ์ถูกยุบลงไปก่อนหน้านั้นแล้ว) ภายหลังจึงคงเหลืออยู่เพียง 14 มณฑล ได้แก่ กรุงเทพพระมหานคร มณฑลจันทบุรี มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลนครราชสีมา มณฑลปราจีนบุรี มณฑลปัตตานี มณฑลพายัพ มณฑลพิษณุโลก มณฑลภูเก็ต มณฑลราชบุรี มณฑลอยุธยา และมณฑลอุดร ทั้งหมดถูกล้มเลิกไปในปี พ.ศ. 2476 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช 2476 ขึ้น และนับจากนั้น จังหวัดก็ได้กลายเป็นเขตการปกครองย่อยของประเทศไทยที่มีระดับสูงที่สุด

รายชื่อมณฑลเทศาภิบาล

แผนที่ราชอาณาจักรสยาม ราวปี พ.ศ. 2443
แผนที่มณฑลเทศาภิบาล ราวปี พ.ศ. 2458

ภาคเหนือ

  1. มณฑลพายัพ หรือ มณฑลลาวเฉียง หรือ มณฑลลาวพุงดำ ในปี พ.ศ. 2442 มณฑลนี้ได้ถูกเรียกว่า "มณฑลฝ่ายตะวันตกเฉียงเหนือ" ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 จึงได้เปลี่ยนชื่อให้สั้นลงเป็นมณฑลพายัพซึ่งเป็นภาษาสันสกฤตแปลว่าตะวันตกเฉียงเหนือ[1] ครอบคลุมพื้นที่อาณาเขตของอดีตอาณาจักรล้านนา ประกอบด้วย 6 หัวเมือง ได้แก่ (1.) เมืองนครเชียงใหม่ (ครอบคลุมพื้นที่ เมืองแม่ฮ่องสอน และเมืองเชียงราย) (2.) เมืองนครลำปาง (ครอบคลุมพื้นที่เมืองพะเยา และเมืองงาว (3.) เมืองนครลำพูน (4.) เมืองนครน่าน (ครอบคลุมพื้นที่เมืองเชียงของ เมืองเทิง เมืองเชียงคำ และเมืองปง (5.) เมืองนครแพร่ (6.) เมืองเถิน (ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ยุบลงรวมเข้ากับเมืองนครลำปาง)
  2. มณฑลมหาราษฎร์ เป็นมณฑลที่แยกออกมาจากมณฑลพายัพในปี พ.ศ. 2459[2] ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันออกของมณฑลพายัพเดิม ประกอบด้วย 3 หัวเมือง เมืองนครลำปาง เมืองนครแพร่ และเมืองนครน่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ยุบมณฑลมหาราษฎร์ แล้วให้เข้ารวมกับมณฑลพายัพตามเดิม
  3. มณฑลนครสวรรค์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2438 ซึ่งเป็นมณฑลแรก ๆ ที่จัดตั้งขึ้นมา มีพื้นที่ครอบคลุมเมืองนครสวรรค์ เมืองชัยนาท เมืองกำแพงเพชร เมืองมโนรมย์ เมืองพยุหะคีรี เมืองสรรคบุรี เมืองตาก และเมืองอุทัยธานี
  4. มณฑลพิษณุโลก ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2437 มีพื้นที่ครอบคลุมเมืองพิษณุโลก เมืองพิจิตร เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย (จังหวัดอุตรดิตถ์) และเมืองสวรรคโลก
  5. มณฑลเพชรบูรณ์ เป็นมณฑลที่แยกออกมาจากมณฑลนครราชสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2442 ตอนแรกประกอบด้วย 2 เมือง คือเมืองหล่มสักและเมืองเพชรบูรณ์ ภายหลังเมืองหล่มสักได้ถูกยุบลงเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นกับเมืองเพชรบูรณ์ จึงทำให้มณฑลนี้มีอยู่เมือง (จังหวัด) เดียว ซึ่งต่อมามณฑลเพชรบูรณ์ก็ได้ถูกรวมเข้ากับมณฑลพิษณุโลกในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2446-2450 ก่อนที่จะถูกยุบลงเป็นหัวเมืองในมณฑลพิษณุโลกอย่างถาวรในปี พ.ศ. 2459[2]

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  1. มณฑลนครราชสีมา หรือ มณฑลลาวกลาง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2436 เป็นมณฑลแรกของประเทศสยาม มีพื้นที่ครอบคลุมเมืองนครราชสีมา เมืองชัยภูมิ เมืองบุรีรัมย์และบริเวณตอนใต้ของจังหวัดขอนแก่นคือเมืองชลบถวิบูลย์ ในช่วงแรกมีเมืองเพชรบูรณ์และเมืองหล่มสักรวมอยู่ด้วย แต่ได้แยกออกไปเป็นมณฑลเพชรบูรณ์ในปี พ.ศ. 2442
  2. มณฑลอีสาน หรือ มณฑลลาวกาว ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2443 โดยตั้งกองบัญชาการมณฑล ณ เมืองอุบลราชธานี ภายหลังได้แยกออกเป็น 2 มณฑล ได้แก่ มณฑลร้อยเอ็ดและมณฑลอุบล เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2455 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  3. มณฑลร้อยเอ็ด แยกออกมาจากมณฑลอีสานเมื่อปี พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยเมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกมลาไสย และเมืองกาฬสินธุ์
  4. มณฑลอุบล แยกออกมาจากมณฑลอีสานเมื่อปี พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยเมืองอุบลราชธานี เมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ และเมืองสุรินทร์
  5. มณฑลอุดร หรือ มณฑลลาวพวน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2442 เมืองที่ขึ้นกับมณฑลนี้ประกอบด้วยเมืองอุดรธานี เมืองขอนแก่น เมืองเลย เมืองนครพนม เมืองหนองคาย และเมืองสกลนคร

ภาคใต้

  1. มณฑลภูเก็ต ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2441 เมืองในมณฑลนี้ประกอบด้วยเมืองภูเก็ต เมืองถลาง เมืองระนอง เมืองพังงา เมืองตะกั่วป่า เมืองกระบี่ เมืองตรัง และเมืองสตูล ซึ่งเมืองสตูลเดิมเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลไทรบุรีทางทิศใต้ ได้มารวมอยู่กับมณฑลนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2451 หลังจากที่ยกพื้นที่ส่วนใหญ่ของมณฑลไทรบุรีให้อังกฤษ
  2. มณฑลชุมพร ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2439 เมืองในมณฑลนี้ได้แก่ เมืองชุมพร เมืองไชยา เมืองกาญจนดิษฐ์ เมืองหลังสวน และเมืองบ้านดอน ภายหลังเมืองไชยาและเมืองกาญจนดิษฐ์ ถูกรวมเข้าเป็นเมืองไชยา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2448 เมืองไชยากับเมืองบ้านดอนถูกรวมเข้าเป็นเมืองสุราษฎร์ธานี จากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลสุราษฎร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 จึงได้ถูกยุบรวมกับมณฑลนครศรีธรรมราช
  3. มณฑลนครศรีธรรมราช ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2439 ประกอบด้วย เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองสงขลา
  4. มณฑลปัตตานี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2449 มีอาณาเขตครอบคลุมบริเวณ มลายูเจ็ดหัวเมืองได้แก่ เมืองปัตตานี (ตานี) เมืองยะลา เมืองสายบุรี เมืองยะหริ่ง เมืองหนองจิก เมืองรามัน เมืองระแงะ (จังหวัดนราธิวาส)
  5. มณฑลไทรบุรี หรือ มณฑลเกอดะฮ์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2440 มีพื้นที่ครอบคลุมเมืองไทรบุรี เมืองปลิศ และเมืองสตูล แต่ภายหลังเสียดินแดนส่วนนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมลายูในเครือจักรภพอังกฤษเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451 จึงเหลือเมืองสตูลซึ่งเป็นส่วนที่เหลือของมณฑลไทรบุรีในอาณาเขตสยาม และเมืองนี้จึงถูกรวมเข้ากับมณฑลภูเก็ต

ภาคกลาง

  1. มณฑลกรุงเทพ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2440 โดยตอนแรกเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงนครบาล ประกอบด้วยจังหวัดในเขตปริมณฑล ได้แก่ เมืองพระนคร เมืองธนบุรี เมืองมีนบุรี เมืองธัญญบุรี เมืองปทุมธานี เมืองนนทบุรี เมืองพระประแดง (เมืองนครเขื่อนขันธ์) และเมืองสมุทรปราการ โดยในปี พ.ศ. 2458 มณฑลนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรุงเทพพระมหานคร" และเมื่อมีการรวมกระทรวงนครบาลเข้ากับกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2465 กรุงเทพพระมหานครจึงมาอยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยเหมือนกับมณฑลอื่น ๆ
  2. มณฑลอยุธยา หรือ มณฑลกรุงเก่า ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2436 เมืองในมณฑลนี้ได้แก่กรุงเก่า เมืองอ่างทอง เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองลพบุรี และ เมืองสระบุรี

ภาคตะวันตก

  1. มณฑลราชบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2438 เมืองในมณฑลนี้ได้แก่เมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี เมืองสมุทรสงคราม เมืองเพชรบุรี และเมืองปราณบุรี[3](เมืองประจวบคีรีขันธ์)[4]
  2. มณฑลนครชัยศรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2438 เมืองในมณฑลนี้ได้แก่เมืองนครชัยศรี เมืองสุพรรณบุรี และเมืองสมุทรสาคร

ภาคตะวันออก

  1. มณฑลปราจีนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2436 เมืองในมณฑลนี้ได้แก่เมืองปราจีนบุรี เมืองชลบุรี เมืองนครนายก เมืองฉะเชิงเทรา เมืองบางละมุง เมืองพนัสนิคม และเมืองพนมสารคาม
  2. มณฑลบูรพา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2446 มณฑลนี้ประกอบด้วยเมืองเสียมราฐ เมืองพระตะบอง เมืองพนมศก และเมืองศรีโสภณ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ดินแดนส่วนนี้เสียไปเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 เพื่อแลกกับเมืองตราดและเมืองด่านซ้าย
  3. มณฑลจันทบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2449 หลังจากที่สยามเสียมณฑลบูรพาไปให้กับฝรั่งเศส และฝรั่งเศสคืนดินแดนเมืองตราดและเกาะต่าง ๆ กลับมาสู่อำนาจอธิปไตยของสยาม เมืองในมณฑลนี้ได้แก่เมืองจันทบุรี เมืองระยอง เมืองตราด

บริเวณ

มณฑลที่มีพื้นที่อาณาเขตกว้างขวาง ได่แก่ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน มีเขตการปกครองพิเศษที่มีระดับอยู่ระหว่างมณฑลกับเมือง (จังหวัด) เรียกว่า "บริเวณ" มีข้าหลวงประจำบริเวณเป็นผู้ปกครอง ได้แก่

  • มณฑลพายัพ (มณฑลลาวเฉียงหรือลาวพุงดำ)
  1. บริเวณเชียงใหม่เหนือ : ประกอบด้วย เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน เมืองป่าเป้า เมืองเชียงขวาง และเมืองฝาง
  2. บริเวณเชียงใหม่ตะวันตก : ประกอบด้วย เมืองแม่ฮ่องสอน เมืองยาว เมืองขุนยวม และเมืองปาย
  3. บริเวณน่านเหนือ : ประกอบด้วย เมืองเชียงของ เมืองเทิง เมืองเชียงคำ เมืองเชียงแลง เมืองเชียงลม และเมืองเชียงฮ่อน
  • มณฑลอุดร (มณฑลลาวพวน)
  1. บริเวณหมากแข้ง : ประกอบด้วย บ้านหมากแข้ง (อุดรธานี) เมืองหนองคาย เมืองหนองหาน เมืองกุมภวาปี เมืองกมุทธาไสย (หนองบัวลำภู) เมืองโพนพิสัย และเมืองรัตนวาปี
  2. บริเวณพาชี : ประกอบด้วย เมืองขอนแก่น เมืองชนบท และเมืองภูเวียง
  3. บริเวณธาตุพนม : ประกอบด้วย เมืองนครพนม เมืองไชยบุรี (เมืองบึงกาฬ) เมืองท่าอุเทน เมืองกุสุมาลย์มณฑล เมืองอากาศอำนวย เมืองเรณูนคร เมืองหนองสูงและเมืองมุกดาหาร
  4. บริเวณสกล : ประกอบด้วย เมืองสกลนคร เมืองพรรณานิคม และเมืองวาริชภูมิ
  5. บริเวณน้ำเหือง : ประกอบด้วย เมืองเลย เมืองแก่นท้าว (ประเทศลาว) และเมืองบ่อท่า
  • มณฑลอีสาน (มณฑลลาวกาว)
  1. บริเวณอุบล : ประกอบด้วย เมืองอุบลราชธานี เมืองเขมราฐ และเมืองยโสธร
  2. บริเวณจำปาศักดิ์ : ประกอบด้วย เมืองนครจำปาศักดิ์ (ประเทศลาว)
  3. บริเวณขุขันธ์ : ประกอบด้วย เมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ เมืองกันทรลักษ์ เมืองอุทุมพรพิไสย และเมืองเดชอุดม
  4. บริเวณสุรินทร์ : ประกอบด้วย เมืองสุรินทร์ และเมืองสังขะ
  5. บริเวณร้อยเอ็ด : ประกอบด้วย เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองกาฬสินธุ์ เมืองกมลาไสย และสุวรรณภูมิ

ลำดับเวลา

พ.ศ. 2437

จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา และปลายปีตั้งมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง

พ.ศ. 2438

จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ตให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง

พ.ศ. 2439

ได้รวมหัวเมืองเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร

พ.ศ. 2440

ได้รวมหัวเมืองมะลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี และในปีเดียวกันได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง

พ.ศ. 2443

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2443[5] ได้มีการรวม เมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครน่าน เมืองนครลำปาง เมืองนครลำพูน และเมืองนครแพร่ ขึ้นเป็น มณฑลตวันตกเฉียงเหนือ

พ.ศ. 2444

เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2444 (พ.ศ. 2443 เดิม) ได้เปลี่ยนชื่อมณฑล 4 มณฑลดังต่อไปนี้[6]

พ.ศ. 2447

ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

พ.ศ. 2449

จัดตั้งมณฑลปัตตานีและมณฑลจันทบุรี มีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด

พ.ศ. 2450

ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

พ.ศ. 2451

ไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษเพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อจะกู้ยืมเงินอังกฤษมาสร้างทางรถไฟสายใต้

พ.ศ. 2455

ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด

พ.ศ. 2459

เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 ได้จัดตั้ง มณฑลมหาราษฎร์ ขึ้นโดยแยกออกจากมณฑลพายัพ

พ.ศ. 2469

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2469 (พ.ศ. 2468 เดิม):[7]

  • เลิกมณฑลมหาราษฎร์ ยกจังหวัดแพร่ ลำปาง น่าน มารวมกับจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย แม่ฮ่องสอน เป็น 7 จังหวัดด้วยกัน เรียก มณฑลพายัพ
  • เลิกมณฑลสุราษฎร์ ยกจังหวัดสุราษฎร์ธานี หลังสวน ชุมพร มารวมกับจังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง เป็น 6 จังหวัด
  • ยกจังหวัดสตูลเข้ารวมในมณฑลนครศรีธรรมราช รวมเป็น 7 จังหวัด เรียก มณฑลนครศรีธรรมราช
  • เลิกมณฑลร้อยเอ็ดและมณฑลอุบลราชธานี ยกจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี ขุขันธ์ สุรินทร์ รวม 6 จังหวัดมารวมกับจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ เป็น 9 จังหวัด เรียก มณฑลนครราชสีมา
  • ประกาศยกเลิกตำแหน่งอุปราชประจำภาคและมณฑลต่างๆ เป็นตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลตามเดิม

พ.ศ. 2475

เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475:[8]

  • ยุบเลิกมณฑลปัตตานี รวมจังหวัดต่าง ๆ ของมณฑลปัตตานีเข้าไว้ในปกครองของมณฑลนครศรีธรรมราช
  • ยุบเลิกมณฑลจันทบุรี รวมจังหวัดต่าง ๆ ของมณฑลจันทบุรีเข้าไว้ในปกครองของมณฑลปราจีน
  • ยุบเลิกมณฑลนครชัยศรี รวมจังหวัดต่าง ๆ ของมณฑลนครชัยศรีเข้าไว้ในปกครองของมณฑลราชบุรี
  • ยุบเลิกมณฑลนครสวรรค์ รวมจังหวัดต่าง ๆ ของมณฑลนครสวรรค์เข้าไว้ในปกครองของมณฑลอยุธยา เว้นแต่จังหวัดตาก และจังหวัดกำแพงเพชรให้ยกไปขึ้นอยู่ในปกครองของมณฑลพิษณุโลก

พ.ศ. 2476

เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสียทั้งหมด

ลำดับพระนามและนามท่านผู้บัญชาการมณฑลเทศาภิบาล

ลำดับชื่อ[9]เริ่มต้นสิ้นสุดรวมระยะเวลา
มณฑลกรุงเทพมหานคร
1
พระยาเพชรปาณี (ดั่น รักตะประจิตร)246424673 ปี
2
พระยาเพชรลดา (สอาด ณ ป้อมเพชร)246724681 ปี
3
เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทร์ฦาชัย (พร จารุจินดา)246824713 ปี
4
เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์)247124743 ปี
5
พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร)247424762 ปี
มณฑลจันทบุรี
1
พระยาวิชยาธิบดี (แบน บุนนาค)244924523 ปี
2
พระยารณชัยชาญยุทธ (ถนอม บุณยเกตุ)245224575 ปี
3
หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช245724581 ปี
4
หม่อมเจ้าประดิพัทธเกษมศรี เกษมศรี245824591 ปี
5
หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร245924667 ปี
6
พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (ชม โชติกะพุกกณะ)246624715 ปี
7
พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย เศวตศิลา)247124721 ปี
8
พระยาศรีเสนา (ฮะ สมบัติศิริ)247224731 ปี
9
พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร)247324752 ปี
มณฑลไทรบุรี
1เจ้าพระยาฤทธิสงครามภักดี (อับดุล ฮามิด)2440245010 ปี
มณฑลนครชัยศรี
1พระยามหาเทพ (บุตร บุณยรัตพันธุ์)243824413 ปี
2เจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร์ (ชม สุนทรารชุน)2441245817 ปี
3พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิรยศิริ)245824602 ปี
4พระยามหินทรเดชานุวัตร (ใหญ่ สยามมานนท์)246024666 ปี
5พระยาสุนทรบุรีศรีพิชัยสงคราม (อี้ กรรณสูต)246624682 ปี
6หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช246824757 ปี
มณฑลนครราชสีมา
1พระยาพิเรนทรเทพ (ทองคำ สีหอุไร)243524361 ปี
2พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์24362436
3พระยาสิงหเสนี (สอาด สิงหเสนี)243624448 ปี
4พระยานครราชเสนี (กาจ สิงหเสนี)2444ปลาย พ.ศ. 2444
5พระยากำแหงสงครามรามภักดี (จัน อินทรกำแหง)244424506 ปี
6เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์)245024566 ปี
7พระยาพหลโยธิน (นพ พหลโยธิน)2456246610 ปี
8พระยาเพชรลดา (สอาด ณ ป้อมเพชร)246624671 ปี
9พระยาเพชรปาณี (ดั่น รักตะประจิตร)246724681 ปี
(8)พระยาเพชรลดา (สอาด ณ ป้อมเพชร)246824768 ปี
มณฑลนครศรีธรรมราช
1เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)2439244910 ปี
2พระยาศรีธรรมาโศกราช (เจริญ จารุจินดา)244924534 ปี
3สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์2453246815 ปี
4พระยาสุรินทรราชา (นกยูง วิเศษกุล)246824691 ปี
5พระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชติ)246924767 ปี
มณฑลนครสวรรค์
1พระยาดัสกรปลาศ (ทองอยู่ โรหิตเสถียร)243824391 ปี
2พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (แฉ่ บุนนาค)243924456 ปี
3พระยาอมรินทรฦาชัย (จำรัส รัตนกุล)244524538 ปี
4พระยารณชัยชาญยุทธ (ศุข โชติกเสถียร)245324596 ปี
5พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (ชม โชติกพุกกณะ)245924623 ปี
6พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)246224664 ปี
7พระยามหินทรเดชานุวัตร (ใหญ่ สยามานนท์)246624726 ปี
8พระยาอรรถกระวีสุนทร (สงวน ศตะรัต)247224753 ปี
มณฑลบูรพา
1พระยามหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ)243424362 ปี
2พระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ (ดัน อามารานนท์)2436244610 ปี
3เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์)244624493 ปี
มณฑลปราจีน
1พระยาฤทธิรงค์รณเฉท (ศุข ชูโต)243624404 ปี
2พระยาเทพอรชุน (เจ๊ก จารุจินดา)244024422 ปี
3พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ244224464 ปี
4พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์2446245812 ปี
5หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช2458246810 ปี
6หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช246824724 ปี
7พระอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย เศวตศิลา)247224742 ปี
8พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร)2474ปลาย พ.ศ. 2474
9พระยาอรรถกระวีสุนทร (สงวน ศตะรัต)ปลาย พ.ศ. 24742476
มณฑลปัตตานี
1พระยาเดชานุชิต (หนา บุนนาค)2449246617 ปี
2หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร246624682 ปี
3พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์)246924756 ปี
มณฑลพายัพ
1เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยันต์)ก่อน พ.ศ. 2435ก่อน พ.ศ. 2435
2พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาก่อน พ.ศ. 2435ก่อน พ.ศ. 2435
3พระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค)ก่อน พ.ศ. 24352442
4พระยาวิสูตรสาครดิฐ (สาย โชติกเสถียร)244224453 ปี
5เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร)2445245813 ปี
6พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช245824657 ปี
7เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦาชัย (พร จารุจินดา)246524683 ปี
8เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์)246824713 ปี
9พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์247124754 ปี
10พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร)247524761 ปี
มณฑลพิษณุโลก
1เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร)243724458 ปี
2พระยาภักดีณรงค์ (สิน ไกรฤกษ์)244524461 ปี
3พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพ เนติโพธิ์)244624493 ปี
4พระยาชลบุรานุรักษ์ (เจริญ จารุจินดา)24492449
5พระยาเทพาธิบดี (อิ่ม เทพานนท์)24492449
6เจ้าพระยาสุรบดินทร์ฯ (เจริญ จารุจินดา)2449246516 ปี
7พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข ดิษยบุตร)246524683 ปี
8พระยาเพชรปาณี (ดั่น รักตประจิตร)246824713 ปี
9พระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี)247124765 ปี
มณฑลเพชรบูรณ์
1พระยาเพชรรัตนสงคราม (เฟื่อง เฟื่องเพชร)244224508 ปี
2พระยาเทพธิบดี (อิ่ม เทพานนท์)245024544 ปี
3พระยาเพชรรัตนราชสงคราม (เลื่อง ภูมิรัตน์)245424584 ปี
มณฑลภูเก็ต
1พระยาทิพโกษา (โต โชติกเสถียร)ก่อน พ.ศ. 24352441
2พระยาวิสูตรสาครดิฐ244124421 ปี
3พระยาวรสิทธิเสวีรัตน (ใต้ฮัก ภัทรนาวิก)244224431 ปี
4พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)2443245613 ปี
5พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์)245624637 ปี
6พระยาสุรินทรราชา (นกยูง วิเศษกุล)246324685 ปี
7หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร246824735 ปี
8พระยาศรีเสนา (ฮะ สมบัติศิริ)247324763 ปี
มณฑลมหาราษฎร์
1พระยาเพชรรัตนราชสงคราม (เลื่อง ภูมิรัตน์)245824657 ปี
2พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (ชม โชติกระพุกกณะ)246524661 ปี
3พระยาเดชานุชิต (หนา บุนนาค)246624682 ปี
มณฑลราชบุรี
1เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)243724425 ปี
2พระยาเทพอรชุน (เจ๊ก จารุจินดา)244224442 ปี
3พระยารัตนกุล (จำรัส รัตนกุล)2444245713 ปี
4พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม245724581 ปี
5หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร245524594 ปี
6หม่อมเจ้าประติพัทธ์เกษมศรี เกษมศรี245924601 ปี
7พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ฉี่ บุนนาค)246024655 ปี
8พระยาคฑาธรบดี (เทียบ อัศวนนท์)246524694 ปี
9พระยาอรรถการยบดี (ชุ่ม อรรถจินดา)246924723 ปี
10พระยาสุรพันธ์เสนี (อิ้น บุนนาค)247224764 ปี
มณฑลร้อยเอ็ด
1หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช2455245x
2พระยารณชัยชาญยุทธ (ถนอม บุณยเกตุ)245x2468
มณฑลสุราษฎร์ธานี
1พระยาดำรงสุจริตมหิศวรภักดี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง)243924445 ปี
2พระยาวรสิทธิเสวีวัตร (ใต้ฮัก ภัทรนาวิก)244424484 ปี
3พระยามหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์ ภูมิรัตน์)244824568 ปี
4พระยาคงคาทราธิบดี (พลอย ณ นคร)2456246812 ปี
มณฑลอยุธยา
1พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์243824468 ปี
2พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)2446247226 ปี
3หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช247224742 ปี
4พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร)247424762 ปี
มณฑลอุดร
1พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมก่อน พ.ศ. 243524427 ปี
2พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา244224496 ปี
3พระยาศรีสุริยาราชวรานุวัตร (โพ เนติโพธิ์)244x245x
4พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข ดิษยบุตร)245x2465
5เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์)246524705 ปี
6พระยาอดุลยเดชสยาเมศรภักดี (อุ้ย นาครธรรพ)247024722 ปี
7พระยาตรังคภูบาล (เจิม ปันยารชุน)247224764 ปี
มณฑลอุบล
1พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรก่อน พ.ศ. 2435245318 ปี
2พระยาศรีธรรมศกราช (เจริญ จารุจินดา)245324563 ปี
3พระยาศรีธรรมศกราช (ปิ๋ว บุนนาค)2456246812 ปี
มณฑลลาวกาว
1พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง