ราชอาณาจักรปรัสเซีย

อดีตรัฐในทวีปยุโรป (ค.ศ. 1701–1918) เป็นแคว้นหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมันหลัง ค.ศ. 1871

ราชอาณาจักรปรัสเซีย (อังกฤษ: Kingdom of Prussia) หรือ ราชอาณาจักรพร็อยเซิน (เยอรมัน: Königreich Preußen) เป็นหนึ่งในแคว้นชาวเยอรมัน ดำรงอยู่ระหว่างปี 1701 ถึง 1918[1] ปรัสเซียเป็นผู้นำการรวมชาติเยอรมันในปี 1871 และกลายเป็นแคว้นเอกของจักรวรรดิเยอรมัน

ราชอาณาจักรปรัสเซีย

ค.ศ. 1701–ค.ศ. 1919
ธงชาติราชอาณาจักรปรัสเซีย
ธงชาติ
(ค.ศ. 1803–1892)
ของราชอาณาจักรปรัสเซีย
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติพร็อยเซินลีด
เพลงปรัสเซีย
เพลงสรรเสริญพระบารมี
ไฮล์เดียร์อิมซีเกอร์ครันทซ์
ราชอาณาจักรปรัสเซียเมื่อขยายใหญ่ที่สุดในสมัยจักรวรรดิเยอรมัน ค.ศ. 1871
ราชอาณาจักรปรัสเซียเมื่อขยายใหญ่ที่สุดในสมัยจักรวรรดิเยอรมัน ค.ศ. 1871
เมืองหลวงเบอร์ลิน
ภาษาทั่วไปภาษาเยอรมัน
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
(จนถึง ค.ศ. 1848)
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
(ตั้งแต่ ค.ศ. 1848)
พระมหากษัตริย์ 
• 1701-1713
ฟรีดริชที่ 1 (องค์แรก)
• 1888-1918
วิลเฮล์มที่ 2 (องค์สุดท้าย)
ประวัติศาสตร์ 
• บรมราชาภิเษกพระเจ้าฟรีดริชที่ 1
18 มกราคม ค.ศ. 1701 ค.ศ. 1701
• ยุทธการที่เยนา-เอาแอร์ชเตดท์
14 ตุลาคม ค.ศ. 1806
9 กันยายน ค.ศ. 1815
• ใช้รัฐธรรมนูญ
5 ธันวาคม ค.ศ. 1848
18 มกราคม ค.ศ. 1871
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1919
ประชากร
• ค.ศ. 1816
10349031 คน
• ค.ศ. 1871
24689000 คน
• ค.ศ. 1910
34472509 คน
สกุลเงินไรคชทาลเลอร์
ถึง ค.ศ. 1750)

ปรัสเซียทาลเลอร์
(ค.ศ. 1750-1857)

เฟอร์ไรนชตาลเลอร์
(ค.ศ. 1857-1871)

โกลด์มาร์คเยอรมัน
(ค.ศ. 1871-1914)
พาพีร์มาร์คเยอรมัน
(ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1914)
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ดัชชีปรัสเซีย
ปรัสเซียหลวง
นครเสรีดันซิก
พอเมอเรเนียของสวีเดน
รัฐผู้คัดเลือกเฮสเซอ
นครเสรีฟรังค์ฟุร์ท
ดัชชีนัสเซา
ราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์
ดัชชีฮ็อลชไตน์
ดัชชีชเลสวิช
ซัคเซิน-เลาเอินบวร์ค
เสรีรัฐปรัสเซีย

ก่อนที่จะมีฐานะเป็นราชอาณาจักร ปรัสเซียมีฐานะเป็นแคว้นระดับราชรัฐที่ชื่อว่า "บรันเดินบวร์ค-ปรัสเซีย" แคว้นแห่งนี้กลายเป็นแคว้นที่ทรงอำนาจทางทหารในสมัยฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม ดยุกแห่งปรัสเซีย[2] ต่อมาเมื่อยกฐานะเป็นราชอาณาจักรแล้ว ปรัสเซียก็ยังคงเรืองอำนาจต่อไป และเรืองอำนาจอย่างก้าวกระโดดในสมัยพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 หรือที่นิยมเรียกฟรีดริชมหาราช พระองค์ทรงเปิดฉากสงครามเจ็ดปี (1756–1763) นำทัพสู้รบกับออสเตรีย, รัสเซีย, ฝรั่งเศส และสวีเดน และนำพาปรัสเซียผงาดเป็นชาติมหาอำนาจใหม่แห่งยุโรป[3]

ภายหลังสิ้นสุดสงครามนโปเลียน (1803–1815) แว่นแคว้นเยอรมันที่เคยแตกคอกันในช่วงสงครามได้ร่วมกันจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมัน เพื่อฟื้นฟูความเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันอีกครั้ง ปรัสเซียเกิดความคิดที่จะผนวกแคว้นเยอรมันเล็กน้อยทั้งหลายเข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจของราชสำนักกรุงเบอร์ลินแห่งปรัสเซีย จนก่อให้เกิดความบาดหมางกับราชสำนักกรุงเวียนนาแห่งออสเตรีย แต่ในขั้นนี้ แว่นแคว้นเยอรมันเอนเอียงไปทางออสเตรียมากกว่า ปรัสเซียจึงทำอะไรไม่ได้

กระนั้น ความพยายามรวมชาติที่มีออสเตรียเป็นผู้นำก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จ แว่นแคว้นเยอรมันทั้งหลายอยากมีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเอง[1] มีความพยายามปฏิวัติในหลายแคว้น การรวมชาติจึงล้มเหลวร่ำไป สมาพันธรัฐเยอรมันสิ้นสภาพในปี 1866 เมื่อเกิดสงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย เพื่อชิงความเป็นใหญ่เหนือแว่นแคว้นเยอรมันทั้งหลาย สงครามจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายปรัสเซีย ออสเตรียสูญเสียอิทธิพลเหนือแว่นแคว้นเยอรมันใต้ทั้งหมด

ปรัสเซียเป็นผู้นำจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือในปี 1867 และเมื่อปรัสเซียได้รับชัยชนะในสงครามกับฝรั่งเศสในปี 1871 ปรัสเซียก็นำแว่นแคว้นเยอรมันทั้งหมดประกาศสถาปนาเป็นจักรวรรดิเยอรมัน ระบบกฎหมายแทบทั้งหมดยังคงใช้กฎหมายของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ

ประวัติศาสตร์

ก่อนการสถาปนาเป็นราชอาณาจักร ปรัสเซียเป็นเพียงรัฐหนึ่งเท่านั้นเรียกว่า "ดัชชีปรัสเซีย" และตกอยู่ใต้อิทธิพลของโปแลนด์และสวีเดน แต่ด้วยชั้นเชิงทางการทูตและการทหารของ ฟรีดริช วิลเฮล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค ทำให้ปรัสเซียได้รับอิสรภาพจากสวีเดนในปี 1656 และได้สถาปนาขึ้นเป็นราชอาณาจักรในปี 1701 เดิมนั้นปรัสเซียมีอาณาเขตไม่ใหญ่มากนัก จนกระทั่งมาถึงสมัยของ พระเจ้าฟรีดริชมหาราช ปรัสเซียยึดครองมณฑลไซลีเซียจากออสเตรีย และสามารถรักษาไว้ได้ในระหว่างสงครามเจ็ดปีที่ยุติลงในปี ค.ศ. 1763 ซึ่งทำให้ปรัสเซียมีอำนาจขึ้นทางตอนเหนือของเยอรมนี ต่อมาปรัสเซียก็ได้ขยายดินแดนโดยการผนวกดินแดนต่างๆ ของเยอรมนีด้วยวิธีต่างๆ ที่รวมทั้งการสมรส และการเข้าครอบครองเช่นในโพเมอราเนียในฝั่งทะเลบอลติก

ปรัสเซียเข้าสู่สงครามในการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1792 มาจนถึงสมัยของสงครามนโปเลียน ซึ่งทำให้ปรัสเซียสูญเสียดินแดนบางส่วน แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลง การประชุมใหญ่แห่งเวียนนาก็มอบดินแดนคืนให้แก่ปรัสเซียที่รวมทั้ง ไรน์ลันท์ และเว็สท์ฟาเลิน กับดินแดนอีกบางส่วนในแถบตะวันตก

เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์

การขยายตัวของบรันเดินบวร์ค

เมื่อฟรีดริช วิลเฮล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค ถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1688 ปรัสเซียก็ตกไปเป็นของดยุกฟรีดริชที่ 3 ซึ่งต่อมาได้สถาปนาปรัสเซียเป็นราชอาณาจักรและขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย ระหว่างปี ค.ศ. 1701 ถึง 1713 นอกไปจากปรัสเซียแล้วบรันเดินบวร์คทั้งหมดก็เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก เพราะพระเจ้าฟริดริชเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งเยอรมันองค์เดียวในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จึงทรงสามารถเรียกร้องตำแหน่ง กษัตริย์แห่งปรัสเซีย ในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1701 จากจักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นการแลกเปลี่ยนกับการเป็นพันธมิตรในการต่อสู้กับฝรั่งเศสในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน ตำแหน่งนี้มาเป็นตำแหน่งทางการใน สนธิสัญญาอูเทร็คท์ ค.ศ. 1713

พัฒนาการของอาณาจักร

ราชอาณาปรัสเซียที่ก่อตั้งใหม่เป็นราชอาณาจักรที่ยังยากจนเพราะการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากสงครามสามสิบปี และดินแดนกระจัดกระจายไปกว่า 1,200 ตารางกิโลเมตร จากปรัสเซียทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลบอลติกไปจนถึงใจกลางดินแดนโฮเอ็นโซลเลิร์นของรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค และบางส่วนของแคว้นคลีฟบริเวณลุ่มแม่น้ำไรน์ ในปี ค.ศ. 1708 หนึ่งในสามของประชากรเสียชีวิตไประหว่างกาฬโรคระบาดในยุโรป โรคระบาดมาถึงเพร็นซเลาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1710 แต่ก็มิได้ขยายต่อไปถึงเบอร์ลินซึ่งอยู่เพียง 80 กิโลเมตรจากเพร็นซเลา

การพ่ายแพ้ของราชอาณาจักรสวีเดนต่อจักรวรรดิรัสเซีย, รัฐซัคเซิน, โปแลนด์–ลิทัวเนีย, เดนมาร์ก–นอร์เวย์, รัฐฮันโนเฟอร์ และปรัสเซียในมหาสงครามเหนือระหว่างปี ค.ศ. 1700 ถึงปี ค.ศ. 1721 เป็นการสิ้นสุดของอำนาจของสวีเดนทางใต้ของทะเลบอลติก ซึ่งจากการลงนามในสนธิสัญญาสต็อกโฮล์มในเดือนมกราคม ค.ศ. 1720 ปรัสเซียได้รับแคว้นชเตชซิน (Szczecin) และดินแดนในพอมเมอเรเนียที่สวีเดนเคยยึดครอง

สงครามไซลีเซีย

ในปี ค.ศ. 1740 พระเจ้าฟรีดริชมหาราช ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงใช้ข้ออ้างจากสนธิสัญญา ค.ศ. 1537 ซึ่งถูกค้านโดยจักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในการรุกรานไซลีเซีย สนธิสัญญากล่าวว่าส่วนหนึ่งของไซลีเซียจะกลายเป็นของรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์คหลังจากที่ราชวงศ์ไพอาสสิ้นสุดลง การรุกรานครั้งนี้เป็นการเริ่มของสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย (War of the Austrian Succession) ระหว่างปี ค.ศ. 1740 ถึงปี ค.ศ. 1748 หลังจากทรงยึดครองไซลีเซียได้อย่างรวดเร็วแล้ว พระเจ้าฟริดริชก็ทรงเสนอว่าจะทรงพิทักษ์อาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซาแห่งออสเตรีย ถ้าทรงยกไซลีเซียให้พระองค์ แต่อาร์ชดัชเชสมาเรียทรงปฏิเสธแม้ออสเตรียมีปฏิปักษ์หลายด้าน ในที่สุดพระเจ้าฟริดริชจึงได้ดินแดนไซลีเซียอย่างเป็นทางการตามสนธิสัญญาเบอร์ลิน ค.ศ. 1742

การรวมชาติเยอรมัน

ในปี ค.ศ. 1862 (พ.ศ. 2405) พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้เรียกตัวออทโท ฟอน บิสมาร์ค เข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี บิสมาร์คหวังอยู่เสมอในการรวบรวมเยอรมนีให้เป็นปึกแผ่นและต้องการให้เยอรมนีเป็นประเทศที่เข้มแข็งให้ได้ ดังนั้นการที่จะรวมเยอรมนีให้ได้จะต้องกำจัดอิทธิพลของมหาอำนาจภายนอกและจะต้องทำให้ปรัสเซียเป็นผู้นำในการรวมชาติเยอรมันแทนที่ออสเตรีย ถึงแม้ว่าออสเตรียจะเป็นรัฐเยอรมันเหมือนกันแต่ออสเตรียได้ไปแย่งชิงดินแดนต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เยอรมัน เช่น ฮังการี โบฮีเมีย เป็นต้น ทำให้ในสายตาของรัฐเยอรมนีและรัฐอื่น ๆ ถือว่าออสเตรียเป็นเหมือนกับเยอรมันที่ไม่แท้จริง และจำเป็นต้องผูกมิตรกับมหาอำนาจอื่น ๆ เช่น อังกฤษ ออสเตรีย ฝรั่งเศส รัสเซีย เป็นต้น ในการรวมเยอรมนีนั้นทำให้เกิดสงครามคร้งใหญ่ถึง 3 ครั้ง ได้แก่

สงครามกับเดนมาร์กเพื่อแย่งชิงชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์

บิสมาร์คอ้างว่าเพื่อปกป้องชายเยอรมันที่อยู่ใน 2 แคว้นนี้ และเมื่อสงครามเริ่มขึ้นปรัสเซียก็ได้ชัยชนะอย่างรวดเร็วในการบุกเดนมาร์ก เมื่อเดนมาร์กสู้ไม่ได้จึงยอมยกชเลสวิชให้ปรัสเซีย ส่วนฮ็อลชไตน์ให้ออสเตรียในสนธิสัญญาแกลสไตน์ปี พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864)

สงครามออสเตรีย

สงครามนี้เกิดขึ้นเมื่อปรัสเซียกล่าวหาว่าออสเตรียดูแลฮ็อลชไตน์ไม่ดี และออสเตรียกล่าวหาว่าปรัสเซียยุยงพลเมืองของฮ็อลชไตน์ให้ต่อต้านออสเตรีย เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวหากันเองดังนั้นสงครามจึงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ ก่อนที่ปรัสเซียจะประกาศสงครามกับออสเตรียนั้นปรัสเซียได้ดำเนินนโยบายทางทูตต่อประเทศข้างเคียงเพื่อมิให้ประเทศเหล่านั้นฉวยโอกาส เช่น การตกลงกับพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส บิสมาร์คได้ขอร้องให้พระองค์ทรงวางตัวเป็นกลางไม่ต้องสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ฝ่ายจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส นั้นหวังของตอบแทนในความเป็นกลางของพระองค์ทั้งจากปรัสเซียและออสเตรียดังนั้นพระองค์จึงตอบตกลง นอกจากนั้นปรัสเซียได้ทำสัญญากับอิตาลีอีกด้วย ข้างฝ่ายออสเตรียเมื่อรู้ตัวว่าจะต้องมีสงครามอย่างแน่นอน ออสเตรียได้ยุยงให้บรรดารัฐเยอรมันงดการสนับสนุนปรัสเซียหากมีสงคราม และในไม่ช้าออสเตรียจึงเริ่มประกาศระดมพล ฝ่ายปรัสเซียนั้นรู้อยู่ก่อนแล้วว่าจะต้องมีสงครามแน่นอน พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ได้ประกาศระดมพลก่อนออสเตรียเป็นเวลาถึง 3 อาทิตย์ ดังนั้นปรัสเซียจึงได้เปรียบมากกว่าออสเตรีย และเมื่อทั้งสองประกาศสงครามต่อกัน ปรัสเซียก็เริ่มบุกและเป็นฝ่ายได้เปรียบตั้งแต่ยกแรก ฝ่ายออสเตรียเป็นฝ่ายรับได้ต่อสู้อย่างกล้าหาญแต่ไม่อาจจะสู้กองทัพของปรัสเซียได้จึงได้แต่ถอย และเมื่อกองทัพของปรัสเซียเคลื่อนทัพเข้ามาใกล้กรุงเวียนนา ออสเตรีย จึงยอมทำสนธิสัญญาปราก ผลของสงครามครั้งนี้ออสเตรียไม่ได้เสียดินแดนต่าง ๆ หากแต่เสียสิทธิและถูกขับออกจากสมาพันธ์รัฐเยอรมนี ฝ่ายปรัสเซียก็ได้รวมรัฐเยอรมนีต่าง ๆ เข้ามาเป็นสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นในปี พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866)

สงครามกับฝรั่งเศส

เนื่องจากฝรั่งเศสพ่ายแพ้ปรัสเซียทางการทูตอยู่เสมอ ๆ และมีปัญหาเกี่ยวกับการสืบราชสมบัติในสเปน ฝรั่งเศสจึงตัดสินใจประกาศสงครามกับปรัสเซีย สงครามครั้งนี้ปรัสเซียมีชัยชนะอย่างขาดลอย ทำให้ชาวฝรั่งเศสได้ขับไล่พระเจ้านโปเลียนที่ 3 ออกจากราชสมบัติและร่วมก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ขึ้น นอกจากนี้ทำให้ปรัสเซียได้เป็นมหาอำนาจอันดับต้น ๆ ในยุโรปและพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ได้ประกาศจัดตั้งจักรวรรดิเยอรมันขึ้น และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งเยอรมนี และสถาปนาบิสมาร์คให้เป็นเจ้าชายและอัครมหาเสนาบดี ณ พระราชวังแวร์ซาย ในปี พ.ศ. 2414 (ค.ศ. 1871) หลังจากนั้นรัฐต่าง ๆ ได้แก่ เมคเลินบวร์ค บาวาเรีย บาเดิน เวือร์ทเทิมแบร์ค และซัคเซิน ก็ขอเข้าร่วมกับจักรวรรดิเยอรมัน

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง