วีแคนดูอิต!

"วีแคนดูอิต!" (อังกฤษ: We Can Do It!; เราทำได้!) เป็นโปสเตอร์อเมริกันในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ผลิตโดย เจ. ฮาวเวิร์ด มิลเลอร์ (J. Howard Miller) ในปี 1943 ให้กับบริษัทเวสซิงเฮาส์อิเล็กทริกเพื่อเป็นภาพสร้างแรงบันดาลใจและสร้างขวัญกำลังใจแก่คนงานผู้หญิง

โปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" จากปี 1943 โดย เจ. ฮาวเวิร์ด มิลเลอร์

โปสเตอร์นี้มีให้พบเห็นน้อยครั้งในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง กระทั่งได้รับการค้นพบใหม่อีกครั้งในต้นทศวรรษ 1980 และมีการนำมาผลิตใหม่ในหลายรูปแบบ นอกจากจะเรียกชื่อโปสเตอร์นี้ว่า "เราทำได้!" แล้ว ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "โรสซีเดอะริฟเวตเตอร์" (โรสซี คนเจาะหมุด) ตามตัวละครบุคคลรูปคนงานผู้หญิงฝ่ายผลิตที่ดูแข็งแกร่ง ภาพ "เราทำได้!" มีการนำมาใช้เพื่อสนับสนุนคตินิยมสิทธิสตรี และปัญหาทางการเมืองอื่น ๆ เริ่มต้นในทศวรรษ 1980[1] ภาพนี้กลายมาเป็นภาพปกของนิตยสาร สมิตโซเนียน ในปี 1994 และได้รับการนำไปปรับใช้เป็นดวงตราไปรษณียากรระดับหนึ่งของสหรัฐ (US first-class mail stamp) ในปี 1999 ต่อมาในปี 2008 ภาพนี้ได้นำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของสื่อรณรงค์ของนักการเมืองอเมริกันหลายคน และในปี 2010 ได้นำมาสร้างสรรค์ใหม่เพื่อเฉลิมฉลองนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียคนแรกที่เป็นผู้หญิง โปสเตอร์นี้เป็นหนึ่งในสิบภาพที่ถูกร้องขอมากที่สุดขององค์การสื่อเสียงและหอสมุดแห่งชาติ[1]

หลังการค้นพบใหม่ ผู้ที่พบเห็นมักสันนิษฐานว่าภาพนี้ถูกนำมาใช้สร้างขวัญกำลังใจให้คนงานผู้หญิงเข้าร่วมในความพยายามทำสงครามมาตั้งแต่แรก อย่างไรก็ตาม ในสมัยสงคราม ภาพนี้ได้มีการนำมาใช้เฉพาะภายในบริษัทวิสติงเฮาส์เท่านั้น และจัดแสดงเฉพาะในเดือนกุมภาพันธ์ 1943 รวมถึงไม่ได้ใช้เพื่อเรียกการจ้างงาน แต่ใช้เพื่อเคี่ยวเข็ญคนงานผู้หญิงที่รับจ้างทำงานอยู่แล้วให้ทำงานหนักขึ้น[2] ผู้คนได้ฉกฉวยเอาเจตคติที่ฮึกเหิม (uplifting attitude) และข้อความดังที่ปรากฏนี้มาสร้างใหม่เป็นรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง, การสนับสนุนการรณรงค์, การโฆษณา และการล้อเลียน

หลังเจอรีลไดน์ ฮัฟ ดอยล์ ได้เห็นปกของ สมิตโซเนียน ฉบับปี 1994 เธอกล่าวว่าเธอเป็นบุคคลในโปสเตอร์ ซึ่งไม่เป็นความจริง ดอยล์คิดว่าเธอถูกจับภาพในรูปภาพของคนงานโรงงานผู้หญิงในช่วงสงคราม และคิดเองโดยบริสุทธิ์ใจว่ารูปนั้นเป็นแรงบันดาลใจให้กับโปสเตอร์ของมิลเลอร์ ดอยล์สับสนกับภาพ "โรซีเดอะริฟเวตเตอร์" และได้รับการเชิดชูเกียรติจากหลายหน่วยงาน รวมถึงหอเกียรติยศและศูนย์ประวัติศาสตร์สตรีของรัฐมิชิแกน อย่างไรก็ตาม ในปี 2015 ได้มีการระบุตัวบุคคลในภาพว่าแท้จริงคือเนโอมี พาร์กเกอร์ ซึ่งได้ถ่ายภาพเธอ ปรากฏในต้นปี 1942 เธออายุ 20 ปี ซึ่งเวลานั้นดอยล์ยังเรียนไม่จบชั้นมัธยมศึกษา คำกล่าวอ้างของดอยล์ว่าภาพของเธอสร้างแรงบันดาลใจให้กับโปสเตอร์นี้ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นจึงไม่สามารถยืนยันได้ว่าดอยล์หรือพาร์กเกอร์เป็นนางแบบให้กับโปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" นี้

ภูมิหลัง

โปสเตอร์ชวนเชื่อปี 1942 รณรงค์ให้มีความสามัคคีระหว่างแรงงานกับฝ่ายบริหารของเจเนอรอล มอเตอส์

หลังญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ รัฐบาลสหรัฐได้เรียกให้ผู้ผลิตผลิตของใช้ในสงครามให้มากขึ้นอีก บรรยากาศการทำงานในโรงงานใหญ่ ๆ มักตึงเครียด อันเป็นผลมาจากความคับแค้นใจระหว่างสหภาพแรงงานกับฝ่ายบริหารมาตลอดทศวรรษ 1930 ผู้กำกับการของบริษัทต่าง ๆ เช่น เจเนรอล มอเตอส์ (GM) พยายามจะสนับสนุนทีมเวิร์กระหว่างทั้งสองกลุ่ม หลังข่าวลือที่ว่าสหภาพแรงงานยูไนเต็ดออโตเวิร์กเกอร์ทำการรณรงค์ขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ จีเอ็มจึงตอบกลับด้วยการจัดทำโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อในปี 1942 ซึ่งแสดงภาพของทั้งแรงงานและฝ่ายบริหารต่างถกแขนเสื้อขึ้น และยืนตั้งแถวกันไปสู่การคงไว้ซึ่งอัตราการผลิตอุปกรณ์สงครามที่คงที่ โปสเตอร์นั้นเขียนว่า "เราสามารถทำมันได้ด้วยกัน!" (Together We Can Do It!) และ "Keep 'Em Firing!"[3] ในการผลิตโปสเตอร์เช่นนี้ บริษัทต่างหวังผลที่จะเพิ่มการผลิตโดยการลอบใช้แนวคิดสนับสนุนสงครามที่ได้รับความนิยมอยู่แล้ว โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการป้องกันไม่ให้รัฐบาลเข้ามามีอำนาจเหนือการผลิต[3]

เจ. ฮาวเวิร์ด มิลเลอร์

เจ. ฮาวเวิร์ด มิลเลอร์ (J. Howard Miller) เป็นศิลปินกราฟิกชาวอเมริกัน เขาได้สร้างสรรค์โปสเตอร์สนับสนุนกิจการสงครามในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งรวมถึงโปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" ที่โด่งดัง นอกจากงานชิ้นนี้แล้ว มิลเลอร์ก็ไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนัก[4] เป็นเวลาหลายปีที่มีการเขียนไว้น้อยมากเกี่ยวกับชีวิตของมิลเลอร์ ซึ่งความไม่แน่นอนนี้รวมไปถึงวันเกิดและวันตายของเขาซึ่งก็ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด[5][6][7][8] กระทั่งปี 2022 ศาสตราจารย์ เจมส์ เจ. คิมเบิล (James J. Kimble) ได้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของมิลเลอร์เพิ่มเติม ซึ่งตั้งปีเกิดของมิลเลอร์อยู่ที่ปี 1898 และเสียชีวิตในปี 1985 มิลเลอร์สมรสกับแมเบล อาแดร์ แม็กคอลี (Mabel Adair McCauley) ทั้งสองไม่มีบุตรร่วมกัน สมาชิกในครอบครัวที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนั้นเกี่ยวข้องกับมิลเลอร์ผ่านทางพี่น้องของมิลเลอร์[9]

มิลเลอร์จบการศึกษาจากสถาบันศิลปะพิตส์เบิร์กในปี 1939[10] เขาอาศัยอยู่ในพิตส์เบิร์กในสมัยสงคราม ผลงานของเขาได้รับความสนใจโดยบริษัทเวสติงเฮาส์ (ที่ซึ่งต่อมาเป็นคณะกรรมการประสานงานการผลิตสงครามเวสติงเฮาส์; Westinghouse War Production Co-Ordinating Committee) และมิลเลอร์ถูกจ้างให้ผลิตโปสเตอร์สงครามให้กับเวสติงเฮาส์ โปสเตอร์เหล่านี้ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการประสานงานการผลิตสงคราม (War Production Co-Ordinating Committee) ของบริษัท ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายร้อยคณะกรรมการบริหารจัดการแรงงานที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การดูแลของคณะกรรมการการผลิตสงครามแห่งชาติ (War Production Board) นอกเหนือจากงานเชิงพาณิชย์แล้ว มิลเลอร์ยังสร้างสรรค์งานจิตรกรรมสีน้ำมัน โดยที่งานทั้งหมดของเขาเก็บรักษาไว้โดยครอบครัวของมิลเลอร์ในบ้านของพวกเขา[9]

เวสติงเฮาส์อิเล็กทริก

ในปี 1942 มิลเลอร์ได้รับว่าจ้างโดยคณะกรรมการประสานงานการผลิตสงครามของเวสติงเฮาส์อิเล็กทริก (Westinghouse Electric) ผ่านทางนายหน้าจัดหางานโฆษณารายหนึ่ง ให้สร้างสรรค์ชุดโปสเตอร์ที่จะติดแสดงให้กับคนงานของบริษัทดู[1][11] จุดมุ่งหมายของโครงการโปสเตอร์นี้เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับคนงาน, ลดการขาดงาน, ส่งต่อคำถามของคนงานโดยตรงไปยังฝ่ายบริหาร และลดโอกาสที่จะเกิดการลุกฮือของแรงงานไปจนถึงการนัดประท้วงหยุดงาน โปสเตอร์แต่ละชิ้นจากมากกว่า 42 ชิ้นที่มิลเลอร์ออกแบบ มีการติดแสดงในโรงงานเป็นเวลาสองสัปดาห์ ก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยงานชิ้นต่อไปในชุดโปสเตอร์นี้ โปสเตอร์ส่วนใหญ่แสดงภาพของผู้ชายซึ่งเน้นย้ำบทบาทตามธรรมเนียมของชายและหญิง หนึ่งในโปสเตอร์ของเขาแสดงภาพผู้บริหารชายกำลังฉีกยิ้ม พร้อมคำว่า "มีคำถามอะไรเกี่ยวกับการทำงานของคุณรึ? ... ถามผู้บริหารสิ" ("Any Questions About Your Work? ... Ask your Supervisor.")[1][2]

โปสเตอร์อีกชิ้นหนึ่งของมิลเลอร์จากชุดเดียวกันกับ "วีแคนดูอิต!"

มีชิ้นงานไม่ถึง 1,800 ฉบับ ขนาด 17 คูณ 22 นิ้ว (559 คูณ 432 มิลลิเมตร) ของชิ้นโปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" ที่พิมพ์[1] ในระยะแรก โปสเตอร์นี้มีเห็นแค่เพียงภายในโรงงานต่าง ๆ ของเวสติงเฮาส์ในอีสต์พิตส์เบิร์กและในตะวันตกกลางของสหรัฐ ที่ซึ่งโปสเตอร์นี้มีระยะเวลาการติดแสดงเป็นเวลา 2 สัปดาห์ห้าวันทำงาน เริ่มต้นในวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 1943[1][12][13][14][15] โรงงานที่ถูกตั้งเป้าแสดงโปสเตอร์นี้ในเวลานั้นกำลังผลิตแผ่นหุ้มพลาสติกของหมวกกันน็อก (plasticized helmet liners) ที่อิ่มตัวด้วยมิการ์ตา ซึ่งเป็นเรซินฟีนอล (phenolic resin) ที่คิดค้นขึ้นโดยเวสติงเฮาส์ คนงานส่วนใหญ่ในส่วนการผลิตนี้เป็นผู้หญิง ตลอดช่วงสงครามมีการผลิตหมวกกันน็อกรวมกว่า 13 ล้านชิ้น[16] สโลแกนที่ว่า "วีแคนดูอิต!" น่าจะไม่ได้รับการตีความโดยคนงานของโรงงานว่าใช้สร้างขวัญกำลังใจแก่เพียงเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น แต่ถูกมองรวมว่าเป็นหนึ่งในชุดโปสเตอร์ที่ควบคุมและกดขี่แรงงาน (paternalistic) ที่สนับสนุนอำนาจของฝ่ายบริหาร, ความสามารถการผลิตของโรงงาน และเป็นไปได้มากกว่าว่าคนงานจะมองโปสเตอร์นี้ว่าสื่อถึง "ลูกจ้างของเวสติงเฮาส์ ทำได้!" ภายใต้การทำงานร่วมกัน[1] ภาพที่สร้างขวัญกำลังใจนี้ได้ใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อเบา ๆ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ลูกจ้าง และทำให้การผลิตดำเนินต่อไปได้โดยไม่ติดขัด[17] เข็มกลัดบนปกคอเสื้อของคนในโปสเตอร์นี้บ่งบอกว่าเธอเป็นคนงานระดับภาคพื้นของโรงงานผลิตของเวสติงเฮาส์อิเล็กทรอนิก (plant floor employee)[17] เสื้อผ้าที่มีสีแดง ขาว และน้ำเงินนั้น ให้ความรู้สึกแอบแฝงถึงคติชาตินิยม ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคนิคที่คณกรรมการการผลิตสงครามมักนำมาใช้[1][2]

โรสซีเดอะริฟเว็ตเตอร์

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง โปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" ไม่ได้นำมาเชื่อมโยงเลยกับเพลงปี 1942 เพลง "โรสซีเดอะริฟเว็ตเตอร์" (Rosie the Riveter; โรสซีนักปักหมุด) หรือแม้แต่กับภาพเขียนที่เป็นที่รู้จักทั่วของ นอร์แมน ร็อกเวล ที่มีชื่อเดียวกัน ซึ่งปรากฏบนปกฉบับวันเมมอเรียลของ แซทเทอร์เดย์อีฟนิงโพสต์ ฉบับ 29 พฤษภาคม 1943 โปสเตอร์ของเวสติงเฮาส์ฉบับนี้ไม่ได้นำมาเกี่ยวพันกับหญิงใด ๆ ที่มีชื่อเล่นว่า "โรสซี" เลย ในทางกลับกัน หลังโปสเตอร์นี้ได้นำมาติดแสดงครบสองสัปดาห์ในเดือนกุมภาพันธ์ 1943 ภายในโรงงานของเวสติงเฮาส์ โปสเตอร์นี้ก็ได้สูญหายไปเลยนับสี่ทศวรรษ[18][19] ในขณะที่ภาพถ่ายอื่น ๆ ของ "โรสซี" กำลังได้รับความนิยม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพถ่ายของคนงานจริง สำนักงานข้อมูลข่าวสารสงครามได้เตรียมการสำหรับการรณรงค์โฆษณาขนาดใหญ่ทั่วประเทศเพื่อพยายามขายสงคราม ในขณะที่ "วีแคนดูอิต!" นั้น ไม่ได้อยู่ในส่วนหนึ่งของโฆษณาที่สำนักงานนำมาใช้[17]

ภาพเขียน Rosie the Riveter ซึ่งเป็นภาพเขียนเชิงสัญลักษณ์ของร็อกเวลล์นั้นถูกยืมโดย Post ไปให้กับกระทรวงการคลังเพื่อใช้ในโปสเตอร์และการรณรงค์สำหรับพันธบัตรสงคราม ในปีถัดมา ภาพเขียนของร็อกเวลนี้ได้ค่อย ๆ หายไปจากความทรงจำของสาธารณะเนื่องจากภาพเขียนได้รับการขึ้นทะเบียนลิขสิทธิ์ เช่นเดียวกับภาพเขียนอื่น ๆ ของร็อกเวลล์ที่ได้รับการปกป้องอย่างหนักโดยกองมรดกของเขาหลังร็อกเวลเสียชีวิต การคุ้มครองในครั้งนี้ทำให้ภาพเขียนต้นฉบับเกิดมูลค่าขึ้นมา และถูกขายไปด้วยราคาเกือบ 5 ล้านดอลล่าร์ ในปี 2002[20] ในขณะที่ "วีแคนดูอิต!" เผชิญชะตากรรมที่กลับกัน คือการขาดการคุ้มครองชิ้นงานนี้ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ภาพนี้กลับมาเกิดใหม่อีกครั้ง[13]

เอ็ก ไรส์ (Ed Reis) นักประวัติศาสตร์อาสาสมัครให้กับเวสติงเฮาส์ ระบุว่าภาพต้นฉบับไม่ได้ถูกนำไปแสดงให้กับนักยึดหมุดหญิงในสมัยสงคราม ดังนั้นการนำมาเชื่อมโยงกับ "โรสซีเดอะริฟเว็ตเตอร์" ในยุคหลังมานี้ ถือว่าไม่สมเหตุผล ในทางกลับกัน ภาพโปสเตอร์นี้มีเป้าหมายผู้ชมคือผู้หญิงที่ทำตัวบุหมวกกันน็อกที่ทำมาจากมิการ์ตา ไรส์ยังพูดขำขันไว้ว่าผู้หญิงในภาพควรจะตั้งชื่อว่า "มอลลีนักหล่อพิมพ์มิการ์ตา" หรือ "เฮเลนคนทำตัวบุหมวกกันน็อก" ("Molly the Micarta Molder or Helen the Helmet Liner Maker") ด้วยซ้ำ[16]

ค้นพบอีกครั้ง

ตัวอย่างการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นโฆษณาบนตู้กดน้ำขวดในพิพิธภัณฑ์เรือรบ สงครามโลกครั้งที่สอง

ในปี 1982 โปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" ได้รับนำมาผลิตใหม่ในบทความนิตยสารหนึ่ง ชื่อ "Poster Art for Patriotism's Sake" (ศิลปะโปสเตอร์เพื่อความคลั่งชาติ) ของ วอชิงตันโพสต์แมกกาซีน ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับโปสเตอร์ในคลังของหอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐ[21]

ในปีถัด ๆ มา มีการนำโปสเตอร์นี้มาใช้ในรูปใหม่ (re-appropriated) เพื่อสนับสนุนคตินิยมสิทธิสตรี นักนิยมสิทธิสตรีมองว่าภาพนี้เป็นภาพแทนการสร้างพลังให้แก่ผู้หญิง[22] คำว่า "We" (พวกเรา) เข้าใจว่าหมายถึง "We Women" (พวกเรา เหล่าผู้หญิง) ซึ่งรวมผู้หญิงทั้งปวงในภคินีภาพ (sisterhood) ต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมทางเพศ เนื้อหานี้ถือว่าต่างกันมากกับความหมายเดิมของโปสเตอร์ในปี 1943 ที่ถูกใช้เพื่อควบคุมและปราบปรามการลุกฮือของแรงงาน[1][17] ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ เจเรไมยาห์ แอ็กเซิลร็อด (Jeremiah Axelrod) ให้ความเห็นว่าเป็นการรวมเอาการเรียกร้องสิทธิสตรี เข้ากับ "องค์ประกอบและภาษากายแบบผู้ชาย (และออกจะชายแท้; macho)"[23]

นิตยสาร สมิตโซเนียน ได้นำภาพนี้มาใช้เป็นภาพปกในเดือนมีนาคม 1994 ซึ่งเชิญชวนให้ผู้อ่านมาอ่านบทความคัดสรรเกี่ยวกับโปสเตอร์ยุคสงคราม กรมบริการไปรษณีย์สหรัฐ ได้จัดทำดวงตราไปรษณียากรมูลค่า 33¢ ในเดือนกุมภาพันธ์ 1999 โดยมีภาพนี้เป็นพื้น และเพิ่มคำว่า "Women Support War Effort" (เหล่าผู้หญิงสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อสงคราม)[24][25][26] โปสเตอร์ชิ้นหนึ่งของเวสติงเฮาส์จากปี 1943 ได้นำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติประวัติศาสตร์อเมริกัน เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการที่แสดงข้าวของจากทศวรรษ 1930 และ 1940[27]

ภาพถ่ายของศูนย์กระจายข่าว

ภาพถ่ายปี 1942 แสดงรูปของเนโอมี พาร์กเคอร์

ในปี 1984 อดีตคนงานสงคราม เจอรอลดีน ฮัฟ ดอยล์ ได้บังเอิญเจอกับบทความหนึ่งบนนิตยสาร มอเดิร์นแมทชัวริที (Modern Maturity) ซึ่งแสดงภาพถ่ายสมัยสงครามรูปหญิงสาวทำงานกับเครื่องกลึง เธอเข้าใจว่ารูปนั้นเป็นภาพถ่ายของตัวเธอเองสมัยกลางถึงปลายปี 1942 ที่ซึ่งเธอทำงานอยู่ในโรงงานเป็นช่วงสั้น ๆ สิบปีให้หลัง ดอยล์ได้พบกับโปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" เป็นภาพปกของนิตยสาร สมิตโซเนียน และเข้าใจเองว่าโปสเตอร์นี้เป็นภาพของตัวเธอเอง เธอได้ตัดสินใจว่าภาพถ่ายปี 1942 นั้นเป็นแรงบันดาลใจให้กับมิลเลอร์สร้างสรรค์โปสเตอร์นี้ขึ้นมา ซึ่งหมายความว่าเธอเป็นนางแบบของหญิงในโปสเตอร์นี้ ทั้งนี้เธอไม่ได้มีความตั้งใจที่จะแสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ จากภาพนี้[28] ในเวลาต่อมา ดอยล์จึงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นแรงบันดาลใจให้กับโปสเตอร์ของมิลเลอร์[18][29][30][31][32] ศาสตราจารย์เจมส์ เจ. คิมเบิล (James J. Kimble) ได้รับภาพถ่ายต้นฉบับนั้นจากสำนักจดหมายเหตุของภาพข่าวแอคมี ในภาพมีคำบรรยายสีเหลืองซึ่งระบุตัวบุคคลไว้ว่าคือ เนโอมี พาร์กเคอร์ และภาพนี้เป็นหนึ่งในภาพชุดที่ถ่ายที่ศูนย์ทัพอากาศแอลาเมดาในรัฐแคลิฟอร์เนีย แสดงให้เห็นภาพของพาร์กเคอร์และพี่/น้องสาวเธอกำลังทำงานสงครามอยู่ในเดือนมีนาคม 1942[33][34] ภาพเหล่านี้ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารหลายฉบับตั้งแต่เดือนเมษายน 1942 ซึ่งเวลานั้นดอยล์ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลายในรัฐมิชิแกน[28] ในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 คิมเบิลได้สัมภาษณ์พี่น้องพาร์กเคอร์ ซึ่งประกอบด้วย เนโอมี เฟอร์น แฟรลีย์ (Naomi Fern Fraley) วัย 93 ปี และน้องสาว แอดา วิน มอร์เฟิร์ด (Ada Wyn Morford) วัย 91 ปี เขาพบว่าทั้งคู่ไม่ทราบเลยมาตลอดห้าปีว่ามีการระบุตัวตนบุคคลจากภาพถ่ายของเธอผิด และปฏิเสธว่าไม่ใช่เธอเพื่อจะแก้ไขข้อมูลทางประวัติศาสตร์[28] เนโอมีเสียชีวิตด้วยวัย 96 ปี ในวันที่ 20 มกราคม 2018[35]

ถึงแม้จะมีงานตีพิมพ์จำนวนมากที่ยังคงผลิตซ้ำคำกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลของดอยล์ว่าภาพถ่ายยุคสงครามนั้นเป็นแรงบันดาลใจให้กับโปสเตอร์ของมิลเลอร์[28] นักประวัติศาสตร์เวสติงเฮาส์ ชาลส์ เอ. รัค (Charles A. Ruch) ชาวพิตส์เบิร์กและมิตรสหายของมิลเลอร์ กล่าวว่ามิลเลอร์ไม่ใช่คนที่โดยนิสัยแล้วทำงานจากภาพถ่าย แต่จะทำงานจากนางแบบที่เป็นคนจริง ๆ มากกว่า[36] อย่างไรก็ตาม ภาพถ่ายของเนโอมี พาร์กเคอร์ ได้ปรากฏบนหนังสือพิมพ์พิตส์เบิร์กเพรส (Pittsburgh Press) เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 1942 หมายความว่ามิลเลอร์อาจจะเคยเห็นภาพถ่ายนี้ขณะที่สร้างสรรค์โปสเตอร์[35]

สิ่งสืบเนื่อง

โปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" ได้นำมาใช้โดยแอ็ดเคาน์ซิลเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปี ผ่านแอปบนเฟซบุ๊กที่ชื่อ "โรสซีฟายยัวร์เซลฟ์" (Rosify Yourself)

ในปัจจุบัน ภาพของ "วีแคนดูอิต!" กลายมาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ไกลไปกว่าเป้าหมายอันคับแคบเดิมในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง โปสเตอร์ได้รับนำไปผลิตซ้ำในรูปของเสื้อยืด, รอยสัก, แก้วกาแฟ และแม่เหล็กติดตู้เย็น ถือเป็นสินค้าหลายชนิดจน เดอะวอชิงตันโพสต์ เรียกภาพนี้ว่าเป็นของฝากที่ "ได้รับนำมาแสดงมากที่สุด" ("most over-exposed") ที่มีในวอชิงตันดีซี[1] ในปี 2008 นักรณรงค์ท้องถิ่นจำนวนหนึงได้นำโปสเตอร์นี้มาใช้ในการหาเสียงให้กับแซราห์ เพลิน, รอน พอล และ ฮิลลารี คลินตัน[16] มิเชล โอบามา ยังเคยถูกแปลงเป็นภาพโปสเตอร์นี้โดยผู้เข้าร่วมงานบางส่วนของแรลลีทูเรสสตอร์เซนิตีแอนด์/ออร์เฟียร์เมื่อปี 2010[17] ภาพนี้ได้นำไปใช้โดยธุรกิจต่าง ๆ เช่น คลอรอกซ์ ใช้ภาพนี้สำหรับโฆษณาอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดในครัวเรือน ซึ่งแสดงภาพของผู้หญิงคนเดียวกันนี้สวมแหวนแต่งงานบนมือซ้ายด้วย[37] ภาพล้อเลียนยังมีการนำเอาผู้หญิง ผู้ชาย สัตว์ และตัวละครสมมติที่มีชื่อเสียงมาทำล้อเลียน รวมถึงมีการผลิตของเล่นตุ๊กตาบ็อบเบิลเฮด และ แอ็กชั่นฟิกเยอร์ เช่นกีน[1] พิพิธภัณฑ์เด็กอินดีแอแนพอลิสเคยจัดแสดงภาพเลียนแบบขนาด สี่-โดย-ห้า-ฟุต (1.2-โดย-1.5-เมตร) โดยศิลปินคริสเติน คัมมิงส์ (Kristen Cumings) ที่ทำมาจากขนมเจลลีเบลลีนับพันชิ้น[38][39]

หลังจูเลีย กิลเลิร์ด ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียคนแรกที่เป็นผู้หญิงในเดือนมิถุนายน 2010 ศิลปินสตรีตอาร์ตรายหนึ่งในเมลเบิร์นซึ่งเรียกตนเองว่า ฟีนิกซ์ (Phoenix) ได้แปะหน้าของกิลเลิร์ดลงบนโปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" ในรูปแบบสีเดี่ยว (monochrome)[40] นิตยสาร แอนอาเธอร์ ได้ตีพิมพ์ภาพถ่ายของโปสเตอร์นี้ที่ถ่ายจากฮอสเซียร์เลนในเมลเบิร์นเมื่อกรกฎาคม 2010 แสดงให้เห็นว่าเนื้อความคำว่า "War Production Co-ordinating Committee" ตรงขวาล่างของโปสเตอร์ถูกแทนที่ด้วยยูอาร์แอลที่ลิงก์ไปยังโฟโต้สตรีมบนฟลิกเกอร์ของฟีนิกซ์[41][42][43] ในเดือนมีนาคม 2011 ฟีนิกซ์ได้ผลิตรูปแบบมีสี และใส่คำว่า "She Did It!" (เธอทำมันได้แล้ว!) ตรงล่างขวา[44] จากนั้นในเดือนมกราคม 2012 เขาได้แปะคำว่า "Too Sad" (น่าเศร้า) ฆ่าโปสเตอร์เพื่อแสดงถึงความผิดหวังต่อการดำเนินไปของการเมืองออสเตรเลียในเวลานั้น[45]

เจอรอลดีน ดอยล์ สียชีวิตในเดือนธันวาคม 2010 อัทนีรีดเดอร์ ได้นำหน้าไปด้วยภาพปกสำหรับฉบับเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2011 เป็นภาพล้อ "วีแคนดูอิต!" แต่เป็นรูปของมาร์จ ซิมป์สัน แทน[46] บรรณาธิการชองนิตยสารยังได้ออกมาแสดงความเสียใจต่อการจากไปของดอยล์[47]

ภาพแนวสเตรีโอสโคปของ "วีแคตดูอิต!" ได้รับรังสรรค์ขึ้นสำหรับเครดิตปิดท้ายของภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ปี 2011 เรื่อง Captain America: The First Avenger โดยภาพนี้ใช้เป็นภาพพื้นหลังให้กับไทเทิลการ์ด (title card) สำหรับนักแสดงหญิงชาวอังกฤษ เฮลี แอทเวล[48]

แอดเคาน์ซิลอ้างว่าโปสเตอร์นี้พัฒนาขึ้นในปี 1942 โดยองค์กรก่อนหน้าของตน คณะกรรมการโฆษณาสงคราม (War Advertising Committee) เพื่อใช้เป็นส่วนกนึ่งของการณรงค์ "อาชีพของสตรีในสงคราม" (Women in War Jobs) ซึ่งช่วยนำ "ผู้หญิงมากกว่าสองล้านคน" เข้ามาสู่ขบวนการการผลิตเพื่อการสงคราม[49][50][51] ในเดือนกุมภาพันธ์ 2012 ในระหว่างการเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปีของแอดเคาน์ซิล หน่วยดิจิทัลเฮลพสกู้ดของอานิมักซ์ ได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เขื่อมต่อกับหน้าของแอดเคาน์ซิลบนเฟซบุ๊ก แอพพลิเคชั่นบนเฟซบุ๊กนี้มีชื่อว่า "โรซีฟายยัวร์เซลฟ์" ("Rosify Yourself"; ทำตัวคุณให้กลายเป็นโรสซี) ซึ่งเป็นการอ้างอิงถึงโรสซีนักยึดหมุด (Rosie the Riveter) ซึ่งให้ผู้ใช้สามารถอัปโหลดภาพใบหน้าของตนไปเป็นส่วนหนึ่งของโปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" แล้วบันทึกเพื่อนำมาเผยแพร่แก่เพื่อนได้[52] ประธานและซีอีอโอของแอดเคาน์ซิล เพ็กกี คอนลอน (Peggy Conlon) ได้โพสต์ภาพของตนเองที่ใบหน้าผ่านการ "โรซีฟาย" (Rosified) บน ฮัฟฟิงทันโพสต์ ในบทความหนึ่งซึ่งเธอเขียนเล่าถึงประวัติศาสตร์ตลอด 70 ปีขององค์กร[51] พนักงานประจำรายการโทรทัศน์ ทูเดย์ ยังได้โพสต์ภาพของตนที่ผ่านการ "โรซีฟาย" แล้วบนเว็บไซต์ ซึ่งประกอบด้วยหน้าของผู้ดำเนินรายการแมต ลอเออร์ และ แอน เคอรี[53] อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเซตตันฮอล เจมส์ เจ. คิมเบิล (James J. Kimble) และศาสตารจารย์ประจำมหาวิทยาลัยพิตสเบิร์ก เลสเตอร์ ซี. ออลซ็อน (Lester C. Olson) ได้ทำการค้นคว้าถึงที่มาของโปสเตอร์ และสรุปผลว่าโปสเตอร์นี้ไม่ได้ผลิตโดยแอดเคาน์ซิล และไม่ได้นำมาใช้เพื่อจ้างงานคนงานผู้หญิง[1]

ในปี 2010 นักร้องชาวอเมริกัน พิงก์ ได้รังสรรค์โปสเตอร์ใหม่ในมิวสิกวิดีโอเพลง "เรสยัวร์แกลส"

โปสเตอร์ยังคงสร้างแรงบันดาลใจให้กับศิลปิน เช่น เคต เบอร์เกน (Kate Bergen) ซึ่งวาดภาพบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานกับโรคโควิด-19 ในรูปแบบที่คล้าบกัน แรกเริ่มเพื่อรับมือกับความเครียดจากงาน และยังเพื่อผลักดันให้คนอื่น ๆ ออกมาแสดงความสนับสนุนคนทำงานด่านหน้าเช่นดัน[54]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง