สเลเยอร์

สเลเยอร์ (อังกฤษ: Slayer) เป็นวงแทรชเมทัลสัญชาติอเมริกัน จากฮันติงตันพาร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อตั้งในปี 1981 โดยมือกีตาร์หลัก 2 คน คือเจฟฟ์ แฮนนีแมนและเคอร์รี คิง[1] สเลเยอร์ปูชื่อเสียงในระดับแถวหน้าให้กับวงการเพลงแทรชเมทัลอเมริกัน กับการออกผลงานในปี 1986 ชุด เรนอินบลัด (Reign in Blood) ที่ถูกเรียกว่า "เป็นอัลบั้มที่หนักที่สุดตลอดกาล" จัดโดยนิตยสารเคอร์แรง![2] วงยังได้รับเครดิตเป็นหนึ่งใน "บิ๊กโฟร์" แห่งวงการแทรชเมทัลหลักของสหรัฐ ร่วมกับวง เมทัลลิกา, แอนแทรกซ์ และเมกาเดธ[3]

สเลเยอร์
สเลเยอร์ในเทศกาลคอนเสิร์ตเมย์แฮมเฟสติวัลปี 2009 จากซ้ายไปขวา: ทอม อารายา, เดฟ ลอมบาร์โด และ เคอร์รี คิง
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดสหรัฐ ฮันติงตันพาร์ก, รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
แนวเพลงแทรชเมทัล
ช่วงปี1981–2019
ค่ายเพลงเมทัลเบลด, เดฟแจม, อเมริกันเรเคิดดิง, นิวเคลียร์บราสต์
อดีตสมาชิกทอม อารายา
แกรี โฮลท์
เคอร์รี คิง
พอล บอสทาปพ์
เจฟฟ์ แฮนนีแมน
จอน เดตต์
เดฟ ลอมบาร์โด
เว็บไซต์www.slayer.net

ดนตรีของพวกเขา มีลักษณะโดดเด่นคือ การริฟฟ์กีตาร์อย่างเร็ว รวมถึงการโซโลกีตาร์โดยลากเสียงครวนคราญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการกระเดื่องกลองชุดดับเบิลเบสที่ทำให้สเลเยอร์โดดเด่นในหมู่ของวงแทรชเมทัลด้วยกัน จนอดีตมือกลองของวง ลอมบาร์โด ได้รับฉายาว่าเป็น "เจ้าพ่อแห่งกลองดับเบิลเบส" (The godfather of double bass)[4] และการตะโกนร้องเสียงแหลมของอารายา เนื้อเพลงและปกอัลบั้มของสเลเยอร์สร้างความต่างด้วยการใช้ความก้าวร้าวลงในเนื้อเพลง เช่น เลือด ความตาย ความผิดปกติ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ความวิกลจริต ลัทธินาซี กามวิตถารร่วมเพศกับศพ ศาสนา ลัทธิซาตาน ฆาตกรต่อเนื่อง การฆ่าตัวตาย การสงคราม ซึ่งทำให้วงในระยะแรกมักถูกแบน มีปัญหาด้านกฎหมายและถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวางโดยกลุ่มศาสนาและบุคคลทั่วไป

หลังจากวงออกผลงานชุดแรกในปี 1983 ทางวงออกอัลบั้มแสดงสด 2 ชุด ,อัลบั้มเพลงเก่ามาทำใหม่ 1 ชุด, บ็อกซ์เซต 1 ชุด, ดีวีดี 3 ชุด, วิดีโอ 1 ชุด, อีพี 2 ชุด และสตูดิโออัลบั้ม 12 ชุด ซึ่งสามารถขายได้ระดับแผ่นเสียงทองคำ 4 แผ่น สเลเยอร์ยังเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี่ 5 ครั้ง และได้รับรางวัล 2 ครั้งในปี 2007 กับเพลง "Eyes of the Insane" และเพลงในปี 2008 กับ "Final Six" ปัจจุบันสเลเยอร์สามารถทำยอดจำหน่ายได้มากกว่า 4,900,000 ชุดในสหรัฐ[5]

ประวัติอัลบั้ม

โชว์โนเมอร์ซี

โชว์โนเมอร์ซี (Show No Mercy) คืออัลบั้มสตูดิโอแรกสุดของวง จำหน่ายในเดือนธันวาคม 1983 ผ่านค่ายเพลงเมทัลเบลด โดยไบรอัน สลาเกล (Brian Slagel) เป็นผู้ทำสัญญาให้กับวงภายหลังชมสมาชิกวงเล่นเพลง "Phantom of the Opera" ของไอเอิร์นเมเดน[6] ถือเป็นอัลบั้มใต้ดินอย่างชัดเจน สเลเยอร์ต้องใช้เงินของตัวเองทั้งหมดเพื่อทำอัลบั้มนี้ขึ้น โดยส่วนหนึ่งได้มาจากเงินเก็บของอารายา ซึ่งสะสมมาตั้งแต่ทำอาชีพเป็นนักบำบัด,[7] และเงินยืมจากพ่อของเคอร์รี คิง[8]

ส่วนการทัวร์คอนเสิร์ตเพื่อโปรโมตอัลบั้ม วงต้องขอความช่วยเหลือให้เพื่อนสนิทและสมาชิกครอบครัวร่วมทริปคอนเสิร์ตไปด้วยเพื่อช่วยด้านเทคนิคแสงและเสียง แม้ว่าจะได้คำวิจารณ์ว่าเป็นอัลบั้มที่มีคุณภาพต่ำก็ตาม แต่มันก็เป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดผ่านค่ายเมทัลเบลดนับตั้งแต่เปิดตัว โดยเฉพาะซิงเกิล "Die by the Sword", "The Antichrist", "Black Magic" ที่เป็นซิงเกิลได้รับความนิยมที่สุดของอัลบั้ม ซึ่งสเลเยอร์มักนำไปแสดงสดบ่อยๆ อัลบั้มสามารถทำรายได้อยู่ในช่วง 15,500 ถึง 20,000 ชุดในสหรัฐ และสามารถขายได้มากกว่า 15,000 ชุดในต่างประเทศ ด้วยลิขสิทธิ์ผ่านทางเมทัลเบลด[6]

เฮลอเวทส์

เฮลอเวทส์ (Hell Awaits) คืออัลบั้มสตูดิโอที่ 2 ของวง จำหน่ายในเดือนมีนาคม 1985[9][10] ภายหลังประสบความสำเร็จในยอดขายของอัลบั้มแรก สามารถทำยอดจำหน่ายได้มากที่สุดของเมทัลเบลด เป็นผลให้ไบรอัน สลาเกล ตัดสินให้ทำอัลบั้มที่สองขึ้น โดยเขายังได้ช่วยในเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับต้นทุนให้กับวงอีกด้วยและยังจัดหาโปรดิวเซอร์ที่มีประสบการณ์หลายคนมาช่วยในสตูดิโอด้วย

เฮลอเวทส์เริ่มนำธีมของนรกและลัทธิซาตานเข้ามาใช้ในเนื้อหาเพลง ด้วยซิงเกิลเปิด "Hell Awaits" ที่เล่นช่วงท่อนหลังซ้ำๆว่า "join us"[11] ในด้านดนตรีถือเป็นการนำเสนอเนื้อหาและกระบวนการที่แตกต่างจากอัลบั้มก่อนหน้านี้มาก อ้างจากคำพูดของคิงและแฮนนีแมน ซึ่งเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากวงแบล็กเมทัลจากเดนมาร์ก "เมอซีฟูลเฟต"[12] เป็นการนิยามอิทธิพลเพลงสู่ดนตรีเอ็กซตรีม อัลบั้มนี้ยังได้ถูกการนำไปอัดใหม่โดยศิลปินใต้ดินอีกเป็นจำนวนมากและมักเกิดอัลบั้มและศิลปินเลียนแบบ (tribute) ขึ้นมา

เรนอินบลัด

สเลเยอร์ในเทศกาล Fields of Rock

เรนอินบลัด (Reign in Blood) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 3 ของวง ออกจำหน่ายในวันที่ 7 ตุลาคม 1986 สังกัดค่ายเดฟ แจม โดยมี ริค รูบิน (Rick Rubin) ผู้ก่อตั้งค่ายเพลงเดฟแจมเรเคิดดิงส์ มาเป็นโปรดิวเซอร์ซึ่งช่วยให้ดนตรีของวงพัฒนามากขึ้น เรนอินบลัด ได้รับการตอบรับจากกลุ่มคนฟังและนักวิจารณ์อย่างดี นิตยสารเคอร์แรง! จัดอันดับให้เป็น "อัลบั้มที่หนักที่สุดตลอดกาล" เช่นเดียวกับอัลบั้มอีก 3 วง ในเครือ "บิ๊กโฟว์" (Big 4) ได้แก่ อัลบั้ม "อะมองเดอะลิฟวิง" จาก แอนแทรกซ์, อัลบั้ม "พีชเซลส์...บัทฮูส์บายอิง?" จาก เมกาเดธ และอัลบั้ม "มาสเตอร์ออฟพัพพิทส์" จาก เมทัลลิก้า อัลบั้มนี้ยังช่วยกำหนดมาตรฐานของดนตรีแนว แทรชเมทัล ในสหรัฐอเมริกา ช่วงทศวรรษที่ 1980 และสร้างอิทธิพลแก่แนวเพลงนี้เป็นอย่างมากจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้เองด้วย[13]

เป็นครั้งแรกของวงที่นำเสนอธีมของลัทธินาซี การเหยียดมนุษย์ จนถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวางในหมู่ของประชาชนด้วยกัน

ถึงแม้อัลบั้มจะประสบความสำเร็จในเรื่องของกระแสความนิยม แต่ก็สามารถไต่ชาร์ดของบิลบอร์ด 200 ได้เพียงอันดับที่ 94[14] และจำหน่ายได้ในระดับแผ่นเสียงทองคำในวันที่ 20 พฤศจิกายน 1992 ด้วยยอดการก็อปปีมากกว่า 500,000 ชุด[15] โดยมีซิงเกิลหลัก 2 ซิงเกิล คือ "แองเจิลออฟเดธ" (เพลงเปิด) และ "เรนนิงบลัด" (เพลงปิด) ที่ได้รับความนิยมและถูกนำไปใช้เล่นเกือบทุกคอนเสิร์ต

เซาท์ออฟเฮฟเวิน

เดฟ ลอมบาร์โด ด้วยสไตล์กระเดื่องดับเบิลเบสอย่างรุนแรงและรวดเร็วจนได้รับฉายา "เจ้าพ่อแห่งกลองดับเบิลเบส"

เซาท์ออฟเฮฟเวิน (South of Heaven) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 4 ของวง ออกจำหน่ายในวันที่ 5 กรกฎาคม 1988 ถือเป็นอัลบั้มที่ 2 และเป็นอัลบั้มสุดท้ายภายใต้ชื่อค่ายเพลงเดฟ แจม โดยมี ริค รูบิน โดยมีริค รูบิน เป็นโปรดิวเซอร์ให้กับวง ซึ่งช่วยให้วงพัฒนาการขึ้นมากจนประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดในอัลบั้มก่อนหน้านี้

เซาท์ออฟเฮฟเวิน ก็ยังเป็นอัลบั้มที่ 2 ของวงที่ไต่ขึ้นบิลบอร์ด 200 ด้วยอันดับ 57[14] ในปี 1992 ก็จำหน่ายได้ในระดับแผ่นเสียงทองคำ จากสมาคมอุตสาหกรรมบันทึกเสียงของสหรัฐ[15] และยังจำหน่ายได้ในระดับแผ่นเสียงเงินในสหราชอาณาจักร ปี 1993[16]

อัลบั้มได้ลดลงความเบาลงกว่าอัลบั้มก่อนหน้านี้ ด้วยการจังหวะที่ช้าลงเกือบทุกซิงเกิลของอัลบั้ม เพื่อที่จะสร้างความแตกต่างจากอัลบั้มก่อนหน้านี้ วงได้นำเสนอการไม่รูดกีตาร์เพื่อทำเสียงครวญคราญและลดเสียงแหลมลง ทำให้นักวิจารณ์บางส่วนได้ชมเชยถึงการเปลี่ยนรูปแบบของดนตรี แต่ก็มีบางส่วนที่ตำหนิถึงสไตล์เพลงที่น่าผิดหวัง เซาท์ออฟเฮฟเวิน มีซิงเกิลหลักอย่าง "South of Heaven" "Mandatory Suicide" "Spill the Blood" ซึ่งได้ความนิยมและถูกนำไปแสดงสดบ่อยครั้ง

ซีซันส์อินดิอะบิส

ซีซันส์อินดิอะบิส (Seasons in the Abyss) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 5 ของวง ออกจำหน่ายในวันที่ 9 ตุลาคม 1990 ผ่านทางค่ายแรกเริ่มเดฟ แจม ก่อนจะเปลี่ยนเป็นอเมริกันเรคคอร์ดดิง ภายหลังค่ายเปลี่ยนชื่อใหม่ อัลบั้มบันทึกเสียงเพลงแบ่งเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกในเดือนมีนาคม 1990 ที่ฮิตซิตีเวสต์, ฮอลลีวูดซาวด์ และในเดือนมิถุนายนที่เรคคอร์ดแพลนท์ในลอสแองเจิลลิส, แคลิฟอร์เนีย[17][18] อัลบั้มยังถือเป็นอัลบั้มสุดท้ายที่มีมือกลองลอมบาร์โดร่วมวงด้วย จนมาร่วมอีกครั้งในอัลบั้มคริสต์อิลลูชันปี 2006

สไตล์ดนตรีของอัลบั้มคล้ายคลึงและได้รับการเปรียบเทียบจากนักวิจารณ์รวมกับ 2 อัลบั้มก่อนหน้านี้ เซาท์ออฟเฮฟเวิน และเรนอินบลัด ที่มักได้รับคำชมด้านบวกเสมอ[19] โดยเฉพาะซิงเกิล "War Ensemble" "Dead Skin Mask" "Seasons in the Abyss" ที่มักถูกนำไปแสดงสดบ่อยครั้ง อัลบั้มไต่ขึ้นอันดับ 18 ในสหราชอาณาจักรและบิลบอร์ด 200 ด้วยอันดับที่ 40[20][21] สามารถจำหน่ายได้ในระดับแผ่นเสียงทองคำทั้งในสหรัฐและแคนาดา[22][23]

ดิไวน์อินเตอร์เวนชัน

พอล บอสทาพป์ มือกลองที่ร่วมบันทึกสตูดิโออัลบั้มร่วมกัยสเลเยอร์กว่า 5 อัลบั้ม

ดิไวน์อินเตอร์เวนชัน (Divine Intervention) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 6 ของวง ออกจำหน่ายในวันที่ 27 กันยายน 1994 ผ่านทางค่ายเรคคอร์ดดิง เป็นอัลบั้มแรกที่ได้มือกลองมาแทนเดฟ ลอมบาร์โด คือพอล บอสทาพป์ (Paul Bostaph) วงได้ใช้เวลาร่วมทศวรรษในการสร้างภาพลักษณ์ที่รุนแรง นับตั้งแต่อัลบั้มนี้เปิดตัวเกือบ 4 ปีภายหลังอัลบั้มซีซันส์อินดิอะบิส อารายาได้กล่าวว่ามีเวลามากขึ้นที่จะใช้ในการอัดอัลบั้มเปรียบเทียบกับก่อนหน้านี้ หน้าปกได้รับการออกแบบโดยนักออกแบบอัลบั้มแนวเฮฟวีเมทัลที่มีชื่อเสียงอย่างเวส เบนสโคเตอร์ (Wes Benscoter) ถือเป็นการพัฒนาหน้าปกอัลบั้มวงใหม่ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ทำกราฟิก เรียกว่า "Slayergram"

ในปี 1998 อัลบั้มได้ถูกแบนในเยอรมันเนื่องมาจากเนื้อหาในซิงเกิล "SS-3", "Circle of Beliefs", "Serenity in Murder", "213" และ "Mind Control" ดิไวน์อินเตอร์เวนชัน ได้รับคำวิจารณ์มากมาย อัลบั้มสามารถจำหน่ายได้ 93,000 ก็อปปี้ในสัปดาห์แรก[24][25] ไต่ขึ้นอันดับ 8 บนบิลบอร์ด 200 และอันดับ 15 บนชาร์ทสหราชอาณาจักร อัลบั้มยังสามารถจำหน่ายได้ในระดับแผ่นเสียงทองคำทั้งในสหรัฐและแคนาดา[26][27]

อันดิสพิวท์แอททิทูด

อันดิสพิวท์แอททิทูด (Undisputed Attitude) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 7 ของวง ออกจำหน่ายในวันที่ 28 พฤษภาคม 1996 อัลบั้มนำเสนอเพลงโคเวอร์ จากวงพังค์ร็อก ฮาร์ดคอร์พังค์[28][29] อาทิ Minor Threat, T.S.O.L., D.R.I., D.I., Dr. Know, The Stooges และ Verbal Abuse เป็นส่วนใหญ่ของอัลบั้ม และยังประกอบด้วยเพลงโปรเจกต์ที่แต่งโดยแฮนนีแมน ที่แต่งไว้ตั้งแต่ปี 1984 และ 1985 คือ "Pap Smear" และ "Gemini" ซึ่งเป็นซิงเกิลเดียวของสเลเยอร์ที่ได้บันทึกดั้งเดิมไว้ก่อนหน้านี้ อันดิสพิวต์แอททิทูด สามารถไต่ขึ้นอันดับที่ 34 บนบิลบอร์ด 200[30]

ไดอาโบลัสอินมิวสิกา

ไดอาโบลัสอินมิวสิกา (Diabolus in Musica) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 8 ของวง ออกจำหน่ายในวันที่ 9 มิถุนายน 1998 ถือเป็นอัลบั้มที่ 3 ที่ได้มือกลองพอล บอสทาพป์ มาร่วมอัดสตูดิโอ แม้ว่าอัลบั้มจะได้คำวิจารณ์หลากหลาย แต่อัลบั้มก็สามารถขายได้กว่า 46,000 ก็อปปี้ในสัปดาห์แรก[31] สามารถไต่ขึ้นอันดับ 31 บนบิลบอร์ด 200[32]

เจฟฟ์ แฮนนีแมน ได้กล่าวว่าอัลบั้มมีเนื้อหาสาระที่เป็นดนตรีทดลองที่สุดของสเลเยอร์ มันยังเป็นอัลบั้มแรกของสเลเยอร์ที่ใช้คอร์ด C♯ มาใช้ คำว่า "ไดอาโบลัสอินมิวสิกา" เป็นภาษาลาติน แปลว่า "ปีศาจในดนตรี" (The Devil in Music) ช่วงรอยต่อของดนตรีมีความไม่กลมกลืนลงรอยกัน[33] อัลบั้มยังคงมีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา ความผิดปกติของวัฒนธรรม ความตาย วิกลจริต สงคราม และการฆ่าล้างเผ่าพันธ์

ก็อดเฮดส์อัสออล

ก็อดเฮดส์อัสออล (God Hates Us All) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 9 ของวง ออกจำหน่ายในวันที่ 11 กันยายน 2001 อัลบั้มได้รับคำวิจารณ์เชิงบวกจากหลากหลายคิดเห็นและสามารถไต่บิลบอร์ด 200 ถึงอันดับ 28 ได้[34] และได้กว่า 51,000 ก็อปปี้[35] อัลบั้มใช้เวลาในการอัด 3 เดือนที่แวร์เฮาส์สตูดิโอในแคนาดา[36] และยังรวมถึงการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลแกรมมี อย่างซิงเกิล "Disciple" ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของวงที่มีซิงเกิลเข้าชิงรางวัลนี้[37] The ceremony took place on February 27, 2002, with Tool winning the award for their song "Schism".[38] อัลบั้มนี้ยังเป็นอัลบั้มสุดท้ายที่พอล บอสทาพป์ ทำหน้าที่มือกลองให้กับวงหลังร่วมสตูดิโอมามากกว่า 4 อัลบั้ม จนกระทั่งในปี 2015 ก็ได้มาร่วมวงอีกครั้งในอัลบั้ม "รีเพนท์เลส" เนื้อเพลงส่วนใหญ่แต่งโดยเคอร์รี คิง ประกอบด้วยเนื้อหาที่แตกต่างจากเดิมก่อนหน้านี้ โดยมีธีมส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา การฆาตรกรรม การแก้แค้น และการควบคุมตนเอง[39]

คริสต์อิลลูชัน

คอนเสิร์ตของสเลเยอร์พื้นหลังเป็นฉากหน้าปกคริสต์อิลูชัน จากกระแสวิจารณ์ทำให้ในอินเดียสั่งแบนและทำลาย

คริสต์อิลลูชัน (Christ Illusion) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 10 ของวง ออกจำหน่ายในวันที่ 8 สิงหาคม 2006 อัลบั้มได้รับคำชมอย่างดีจากนักวิจารณ์ และสามารถไต่ขึ้นสู่อันดับ 5 บนบิลบอร์ด 200 ซึ่งเป็นการไต่อันดับดีที่สุดของวงเท่าที่เคยอัลบั้มมา ก่อนที่จะถูกอัลบั้ม "รีเพนเลส" ขึ้นแทนที่ในอันดับที่ 4 อัลบั้มสามารถขายได้กว่า 62,000 ก็อปปี้ในสัปดาห์แรก[40] คริสต์อิลลูชัน ยังประกอบด้วยซิงเกิลที่ได้รับรางวัลแกรมมีถึง 2 ซิงเกิลคือ "Eyes of the Insane" และ "Final Six"[41][42] และเป็นครั้งแรกที่ได้มือกลองเดฟ ลอมบาร์โดมาร่วมวงอีกครั้งนับตั้งแต่อัลบั้มซีซันส์อินดิอะบิสปี 1990 และเป็นครั้งแรกที่ได้นำคอร์ด D# เข้ามาใช้นับตั้งแต่อัลบั้มดิไวน์อินเตอร์เวนชัน โดยใช้ในซิงเกิล "Jihad", "Flesh Storm", "Catalyst" และ "Consfearacy" ในขณะที่ "Catatonic", "Eyes of the Insane", "Skeleton Christ" และ "Supremist" ใช้คอร์ด B ส่วนที่เหลือใช้ C#

หน้าปกอัลบั้มได้รับการออกแบบโดยศิลปินลาร์รี คาร์โรลล์ ที่เคยออกแบบอัลบั้มเรนอินบลัดมาแล้ว ซึ่งสามารถเรียกกระแสวิจารณ์อย่างมาก โดยเฉพาะในอัลบั้มนี้ที่นำพระเยซูในสภาพแขนขาดในบ่อเลือดพร้อมกับกองหัวมนุษย์ หรือในเนื้อหาของซิงเกิล "Jihad" ที่กล่าวถึงการก่อร้าย 11 กันยายน ในมุมมองของฝั่งก่อการร้าย จนทำให้ถูกเซนเซอร์จากหลายฝ่าย ทั้งจากกลุ่มคริสเตียนจากมุมไบ กลุ่มสงฆ์คาทอลิก ได้ออกมาตำหนิและออกมาเรียกร้องให้ทำลาย จนเป็นผลให้ทางการอินเดีย สั่งสั่งแบนและทำลาย ผ่านค่ายเพลงอีเอ็มไอทั้งหมด[43]

เวิร์ดเพนท์บลัด

เวิร์ดเพนท์บลัด (World Painted Blood) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 11 ของวง ออกจำหน่ายผ่านค่ายอเมริกันเรคเคิร์ดดิงส์ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2009 โดยมีโปรดิวเซอร์อย่างเกรก ฟิเดลแมน (Greg Fidelman) และริค รูบิน (Rick Rubin) ถือเป็นอัลบั้มเดียวที่ฟิเดลแมนทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ให้ อัลบั้มได้ความหวังอย่างมากในการกลับมานับตั้งแต่ปล่อยอัลบั้มก่อนหน้านี้ในปี 2006 สมาชิกวงได้เริ่มปล่อยข้อมูลถึงอัลบั้มในช่วงต้นปี 2009 อัลบั้มประกอบด้วยหน้าปก 4 แบบ ซึ่งแต่ละอันจะรวมกันเป็นแผนที่โลกบนพื้นแดงที่เข้าคอนเซปต์ "ปาดเลือดแก่โลก" ตามชื่ออัลบั้มชัดเจน อัลบั้มประกอบด้วย 11 ซิงเกิล ซึ่งยังคงใช้เนื้อหาเดิมเกี่ยวกับความตาย การทำลายล้าง สงคราม การสังหารหมู่ บันทึกศาสนาของยิว เป็นครั้งแรกที่เล่นคอร์ด E-flat อย่างมากนับตั้งแต่ดิไวน์อินเตอร์เวนชัน เวิร์ดเพนท์บลัดถือเป็นอัลบั้มสุดท้ายที่ได้รวมสมาชิกอย่างลอมบาร์โด ซึ่งถูกไล่ออกจากวง และแฮนนีแมน ที่เสียชีวิตจากโรคตับ ในปี 2013

ซิงเกิล "Hate Worldwide" และ "World Painted Blood" ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลแกรมมีครั้งที่ 54 ในหัวข้อ " Best Metal Performance" ในปี 2015 อัลบั้มสามารถจำหน่ายรวมได้ 160,000 ก็อปปี้[44] โดยนับตั้งแต่ออกอัลบั้มสามารถไต่ขึ้นอันดับ 2 บนท็อปฮาร์ดร็อกชาร์ทของสหรัฐได้ อับดับ 12 บนบิลบอร์ด 200[45][46] และอันดับ 40 ในชาร์ทอังกฤษ[47]

รีเพนท์เลส

รีเพนท์เลส (Repentless) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 12 ของวง ออกจำหน่ายผ่านค่ายนิวเคลียร์บลาสต์ในวันที่ 11 กันยายน 2015 พร้อมกับมือกีตาร์ใหม่แกรี โฮลท์ จากวงเอ็กโซดัสมาแทนแฮนนีแมนที่เสียชีวิตไปในปี 2013 และมือกลองพอล บอสทาพป์ อีกครั้งที่ออกไปภายหลังการกลับมาของลอมบาร์โดนับตั้งแต่ปี 2001 อัลบั้มสามารถขายได้กว่า 49,000 ก็อปปี้ในสัปดาห์แรกและไต่ขึ้นบนอันดับ 4 บิลบอร์ด 200 ถือเป็นการขึ้นอันดับดีที่สุดของสเลเยอร์[48] จนต่อมาตกลงไปสู่อันดับ 34 ในสัปดาห์ที่ 2[49]

ลักษณะเพลงและการแต่งเพลง

ทอม อารายา ในเทศกาลร็อกแอมริงปี 2014

ในช่วงแรกนั้นสเลเยอร์ได้รับคำชมว่า "รวดเร็วอย่างอันตรายและทักษะชั้นเลิศในเครื่องดนตรี" รวมกับโครงสร้างจังหวะของฮาร์ดคอร์พังค์และจังหวะแบบสปีดเมทัล วงได้นำเสนอเพลงที่รวดเร็วและกร้าวร้าวรุนแรง ในอัลบั้มเรนอินบลัด ถือเป็นการนำเสนอการริฟฟ์กีตาร์ที่เร็วที่สุดของวง ด้วยอัตราเฉลี่ย 220 บีตส์ต่อนาที ในอัลบั้ม "ไดอะบอลัสอินมิวสิกา" ก็เป็นครั้งแรกของวงที่นำเสนอคอร์ด C♯ ในอัลบั้ม "ก็อดเฮตส์อัสออล์" เป็นครั้งแรกที่นำเสนอคอร์ด B และสำหรับกีตาร์ 7 สายด้วยคอร์ด B♭ ออลมิวสิกได้วิจารณ์อัลบั้มไว้ว่า "สเลเยอร์ได้ละทิ้งซึ่งความฟุ้งเฟ้อและการเข้าถึงลงไปในช่วงปลายยุค 80 จนถึงต้นยุค 90 และได้ฟื้นกลับมาใหม่อย่างสมบูรณ์แบบในการเข้าถึงแนวอย่างแท้จริง"[50] ซึ่งแฟนเพลงรุ่นใหม่ได้ติดเพลงของพวกเขาเข้าสู่เมทัลยุคใหม่อย่าง "นูเมทัล"[51]

มือกีตาร์ 2 คนของวงในอดีตสมัยที่แฮนนีแมนและคิงยังร่วมวงด้วยกัน การโซโล่กีตาร์คู่ของพวกเขาได้รับอ้างถึงว่าเป็น "ความป่าเถื่อนวุ่นวาย" (wildly chaotic) และ "บิดเบือนอย่างมืออาชีพ" (twisted genius)[52] ในส่วนของอดีตมือกลองอย่างลอมบาร์โด ได้ปรับการกระเดื่องดับเบิลเบสจากเดี่ยว เป็นกระเดื่องคู่ ทำให้สามารถทำจังหวะได้รวดเร็ว รุนแรงกร้าวร้าว จนได้รับฉายาเป็น "เจ้าพ่อแห่งกลองดับเบิลเบส" (The godfather of double bass) จากนิตยสารดรัมเมอร์เวิร์ด[53] ในขณะที่ลอมบาร์โดกำลังกระเดื่องดับเบิลเบส เขาจะใช้เทคนิคคือ "การยกส้นเท้าขึ้น"[54]

ในอดีตที่สมาชิกรุ่นบุกเบิก และรุ่งเรืองของวงคือสมัยที่ แฮนนีแมน, คิง และอารายา ร่วมวงกันซึ่งพวกเขาได้ร่วมกันแต่งเพลงให้กับวงหลายเพลง โดยมีลอมบาร์โดเป็นผู้ช่วยเพิ่มเติม โดยบางครั้งทั้งอารายาและลอมบาร์โดเองก็แทบไม่เคยได้รับเครดิตว่าเป็นผู้ร่วมแต่งให้กับวงสเลเยอร์ ส่วนมากเครดิตจะตกไปอยู่กับแฮนนีแมนและคิงเป็นหลัก[8]

เมื่อกล่าวถึงการแต่งเนื้อเพลงของสมาชิกวงอย่าง แฮนนีแมน, คิง และอารายา ล้วนนำเสนออิทธิพลของเนื้อที่แตกต่างกันออกไป เนื้อเพลงของแฮนนีแมนมักเกี่ยวข้องนาซี ซึ่งเขาชอบมาก เรื่องศาสนา สงคราม และเรื่องที่คล้ายๆเกี่ยวข้องกัน ส่วนคิงมักจะเกี่ยวกับ การต่อต้านศาสนา ซึ่งเขาเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา ในด้านของอารายาที่เป็นคาทอลิก อาจกล่าวได้ว่าแต่งเนื้อเพลงที่เบากว่า 2 คนที่กล่าวมานี้ ส่วนมากจะเกี่ยวกับ ฆาตกรต่อเนื่อง และสงคราม

อิทธิพลของวง

สเลเยอร์ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในวงที่มีอิทธิพลมากที่สุดวงหนึ่งในประวัติศาสตร์วงการเมทัล สตีฟ ฮิวอี้ (Steve Huey) แห่งออลมิวสิกเชื่อว่า เนื้อหาและทำนองเพลงของสเลเยอร์เป็นจุดแข็งสำคัญที่ทำให้โดดเด่นกว่าวงอื่นๆในเครือแทรชเมทัลของสหรัฐอย่าง "บิ๊กโฟว์" ที่ประกอบด้วย เมทัลลิกา, แอนแทรกซ์ และเมกาเดธ ซึ่งวงเหล่านี้รุ่งเรืองสุดขีดในช่วงยุค 80[55] สเลเยอร์ได้นำเสนอ การปรับจังหวะ การใช้ริฟฟ์กีตาร์ที่เหมือนการเฆี่ยน ฟาดไปที่กีตาร์อย่างแรงสมดั่งคำเรียกแนว "แทรช" (Thrash แปลว่า เฆี่ยน หวด โบย) การใช้เนื้อหาดุดัน รุนแรน กร้าวร้าว และหน้าปกอัลบั้มที่น่าสยดสยอง ซึ่งถือว่าเป็นวงที่นำเสนอแตกต่างไปจากวงเมทัลอื่นๆ สมัยนั้นมาก และดนตรีของเขาบ่งบอกได้อย่างชัดเจนถึงการกำเนิดแนวเพลงสุดขั้วอย่าง "เดทเมทัล" สเลเยอร์ได้รับการจัดอันดับจากเอ็มทีวี (MTV) ในลำดับที่ 6 จากหัวข้อ "วงเมทัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่สุดตลอดกาล"[56] อันดับที่ 50 จากวีเอชวัน (VH1) ในหัวข้อ "100 ศิลปินฮาร์ดร็อกที่ยิ่งใหญ่ที่ใหญ่สุด"[57] แฮนนีแมนและคิงได้ถูกจัดอันดับที่ 10 จากนิตยสารกีตาร์เวิร์ดปี 2004 ในหัวข้อ "100 มือกีตาร์เมทัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล"[58] และยังได้รับการโหวตให้เป็น "มือกีตาร์/ทีมมือกีตาร์ ที่ดีที่สุด" จากโพลของนิยสารรีโวล์เวอร์ (Revolver) อดีตมือกลองลอมบาร์โด ก็ได้รับการโหวตให้เป็น "มือกลองที่ดีที่สุด" และวงยังได้ติด 5 อันดับแรกในหัวข้อ "วงที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา" "วงแสดงสดที่ดีที่สุด" "อัลบั้มแห่งปี" (จากอัลบั้ม "คริสต์อิลลูชัน") และ "วงแห่งปี"[59]

นักแต่งหนังสือเกี่ยวกับดนตรีอย่างโจเอิล แม็กอิเวอร์ (Joel McIver) ได้กล่าวว่า สเลเยอร์เป็นวงที่มีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อวงการดนตรีเอกซ์ตรีม ซึ่งถือเป็นแนวย่อยหลักของเฮฟวีเมทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแตกแขนงแยกย่อยออกไปสู่แนวย่อยที่ลึกลงไปทั้ง เดทเมทัล และแบล็กเมทัล[60] อ้างจาก จอห์น คอนสเตอร์ดีน (John Consterdine) แห่งเทอร์โรริเซอร์ (Terrorizer) ว่า ถ้าปราศจากสเลเยอร์วงการดนตรีเอกซ์ตรีมที่เรารู้จักกันวันนี้คงมิอาจเกิดขึ้น[61] แคม ลี (Kam Lee) แห่งวงแมสซาเคอร์ (Massacre) และอดีตสมาชิกวงเดท ได้กล่าวว่า "มันคงจะไม่มีเดทเมทัลหรือแบล็กเมทัลหรือเอกซ์ตรีมเมทัลอื่นๆ เฉกเช่นวันนี้ ถ้าไม่มีสเลเยอร์"[62] โจฮัน ไรน์โฮลดซ์ (Johan Reinholdz ) แห่งวงแอนโดรเมดา ได้กล่าวถึงสเลเยอร์ว่า "ใช้ความก้าวร้าวในการพัฒนาวงการแทรชเมทัลซึ่งนำไปสู่การกำเนิดในแนวย่อยเมทัลย่อยมีมากมาย พวกเขาได้ให้แรงบันดาลใจแก่วงเมทัลเหล่านั้น"[62] อเล็กซ์ สโคล์นิกซ์ (Alex Skolnick) แห่งวงแทรชเมทัลเทสต์ทาเมนต์ ได้ประกาศว่า "ก่อนสเลเยอร์ เมทัลไม่เคยมีการเชื่อมกันทั้ง ความหนักแน่น และจุดสมดุลระหว่างเสียงและการหยุด สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้ยังขาดการเข้าถึงอย่างสุดๆ ที่ต้องมีทั้งเนื้อหา กลอง และ [...] สำคัญอย่างยิ่งคือการริฟฟ์กีตาร์"[63]

วงอื่น ๆ ที่ได้รับอิทธิพลของเพลงจากสเลเยอร์อาทิเช่น บุลเลตฟอร์มายวาเลนไทน์, สลิปน็อต, กอจิรา, เฮตบรีด[64], แคนนิเบิลคอปส์[60], แพนเทอรา[65], ครีเอเตอร์[66], เมย์เฮม[67], ดาร์คโทรน[60], ซิสเตมออฟอะดาวน์[68], แลมป์ออฟกอด[69], บิฮีมอท[70], อีวิล[71] และลาคูนาคอยล์[72] สตีฟ ออเซียม (Steve Asheim) มือกลองแห่งดีไซด์ ได้ออกมากล่าวชัดเจนว่า "มันกล่าวได้อย่างชัดเจนว่าจะไม่เกิดดีไซด์ขึ้น ถ้าปราศจากสิ่งที่ปรากฏทุกวันนี้คือสเลเยอร์"[60] แอนเดรส คิซเซอร์ (Andreas Kisser) มือกีตาร์แห่งเซปุลตูรา (Sepultura) กล่าวว่า "ปราศจากสเลเยอร์ เซปุลตูราคงเป็นไปไม่ได้"[73] วงวีเซอร์ (Weezer) ได้หยิบยกชื่อวงสเลเยอร์ ไอเอิร์นเมเดน และจูดาสพรีสต์ ผ่านเพลงของพวกเขา "Heart songs" จากอัลบั้มปี 2008 "เรด" ในท่อน "Iron Maiden, Judas Priest, and Slayer taught me how to shred..."

สเลเยอร์กล่าวได้ว่าได้สร้างอิทธิพลของเมทัลนับตั้งแต่ปล่อยอัลบั้มเรนอินบลัดสู่ตลาด ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดเดทเมทัล[74] จนนำไปสู่การเกิดวงเดทเมทัลรุ่นแรกๆขึ้นมาอาทิ เดท, แคนนิเบิลคอปส์, ออบิทัวรี และมอร์บิดแองเจิล[75] อัลบั้มได้การสรรเสริญให้เป็น "อัลบั้มที่หนักที่สุดตลอดกาล" จากนิยสารเคอร์แรง![76] ได้รับคำชมว่าเป็น "ผู้อธิบายความหมายของแนว" จากนิตยสารสไตลัส (Stylus magazine)[77] และค่ายออลมิวสิก (AllMusic) ได้ให้ 5 ดาวจาก 5 ดาวกับอัลบั้มโดยกล่าวว่ามันเป็น "stone-cold classic"[78] นิตยสารเมทัลแฮมเมอร์ (Metal Hammer) ขนานนามเรนอินบลัดในฐานะ "อัลบั้มเมทัลที่ดีที่สุดในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา"[79] อ้างจากนีลเซนซาวน์สแกนด์ (Nielsen SoundScan) สเลเยอร์สามารถทำยอดจำหน่ายตั้งแต่ 1991-2003 ได้มากกว่า 4,900,000 ก๊อปปี้ในสหรัฐ[80]

ทอม อารายา
เคอร์รี คิง
เจฟฟ์ แฮนนิแมน
เดฟ ลอมบาร์โด

สมาชิกวง


ไทม์ไลน์

ผลงานอัลบั้ม

  • Show No Mercy (1983)
  • Hell Awaits (1985)
  • Reign in Blood (1986)
  • South of Heaven (1988)
  • Seasons in the Abyss (1990)
  • Divine Intervention (1994)
  • Undisputed Attitude (1996)
  • Diabolus in Musica (1998)
  • God Hates Us All (2001)
  • Christ Illusion (2006)
  • World Painted Blood (2009)
  • "Repentless" (2015)

รางวัลและการเสนอชื่อ

รางวัลแกรมมี

ปีรางวัลที่ได้เข้าชิงรางวัล/สาขาผล
2002"Disciple"Best Metal Performance[82]เสนอชื่อเข้าชิง
2007"Eyes of the Insane"Best Metal Performance[82]ชนะ
2008"Final Six"Best Metal Performance[82]ชนะ
2010"Hate Worldwide"Best Metal Performance[83]เสนอชื่อเข้าชิง
2011"World Painted Blood"Best Metal Performance[84]เสนอชื่อเข้าชิง

รางวัลเคอร์แรง!

ปีรางวัลที่ได้เข้าชิงรางวัล/สาขาผล
2006สเลเยอร์Kerrang! Hall of Fame[85]ชนะ
2013สเลเยอร์Kerrang! Legend[86]ชนะ

เมทัลเอดจ์รีเดอรส์ชอยส์อวอร์ด

ปีรางวัลที่ได้เข้าชิงรางวัล/สาขาผล
2003War at the WarfieldDVD of the Year [87]ชนะ

เมทัลแฮมเมอร์โกลเดนก็อดส์อวอร์ด

ปีรางวัลที่ได้เข้าชิงรางวัล/สาขาผล
2004สเลเยอร์Best Live Act[88]ชนะ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักเอฟเอคัพองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อสมทสโมสรฟุตบอลเชลซีสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดพระบรมสารีริกธาตุพิเศษ:ค้นหาสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีเฟซบุ๊กไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)สโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาอสุภญีนา ซาลาสสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลยูเวนตุสเอซี มิลานนางทาสหัวทองโอลด์แทรฟฟอร์ดยลดา สวนยศคิม ซู-ฮย็อนสโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ดอามาด ดียาโลสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีชาลี ไตรรัตน์สโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งประเทศไทยสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์