เมซีเย 13

เมซีเย 13 (รู้จักกันดีในชื่อ กระจุกดาวเฮอร์คิวลีส หรือ เอ็ม 13 หรือ เอ็นจีซี 6205) เป็นกระจุกดาวทรงกลมที่มีดาวฤกษ์หลายแสนดวง ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส

เมซีเย 13
กระจุกดาวทรงกลม เมซีเย 13 ในกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส
ข้อมูลสังเกตการณ์ (ต้นยุคอ้างอิง J2000)
ระดับV[1][2]
กลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส
ไรต์แอสเซนชัน16h 41m 41.24s[3]
เดคลิเนชัน+36° 27′ 35.5″[3]
ระยะห่าง22.2 kly (6.8 kpc)[4] ()
โชติมาตรปรากฏ (V)5.8[5]
ขนาดปรากฏ (V)20 ลิปดา
คุณสมบัติทางกายภาพ
มวลkg (6×105[6] M)
รัศมี84 ly[7]
อายุโดยประมาณ11.65 Gyr[8]
ลักษณะเด่นหนึ่งในกระจุกดาวในฟ้าซีกเหนือที่เป็นที่รู้จักดีที่สุด
ชื่ออื่นNGC 6205[5]
ดูเพิ่ม: กระจุกดาวทรงกลม, รายชื่อกระจุกดาวทรงกลม

การค้นพบและการสังเกต

ถูกค้นพบโดย เอ็ดมันด์ แฮลลีย์ ในปี พ.ศ. 2257[2] ต่อมา ชาร์ล เมซีเย บันทึกวัตถุนี้ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2307[9][10] ถ้าอยู่ไกลเมืองมีท้องฟ้ามืดสนิท สามารถมองเห็น เอ็ม 13 ได้ด้วยตาเปล่า[2] โดยเห็นเป็นแสงทรงกลมที่สว่างจ้าในกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์[2][11] ต้องการกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ (ไม่น้อยกว่า 4 นิ้ว) เพื่อได้เห็นดาวฤกษ์ภายในวัตถุนี้[12] เอ็ม 13 มีขนาดความส่องสว่างปรากฏ 5.8 แล้วมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 23 ลิปดา แกแลกซี เอ็นจีซี 6207 (NGC 6207)[13] และแกแลกซี ไอซี 4617 (IC 4617) ตั้งอยู่ใกล้กับ เอ็ม 13

ลักษณะ

เอ็ม 13 มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 145 ปีแสง และมีดาวสมาชิกหลายแสนดวง[14] ดาวสมาชิกที่สว่างที่สุดคือดาวแปรแสง V11 (รู้จักกันดีในชื่อ V1554 Herculis)[15] เป็นดาวยักษ์แดงและมีขนาดโชติมาตรปรากฏ 11.95 เอ็ม 13 ตั้งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 22,200 ถึง 25,000 ปีแสง[9] และเอ็ม 13 เป็นกระจุกดาวทรงกลมหนึ่งในกว่าร้อยกลุ่มที่โคจรรอบใจกลางทางช้างเผือก[16][17] นักดาราศาสตร์มองเห็นดาวฤกษ์ภายในวัตถุนี้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2322[9] เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ในละแวกใกล้เคียงของดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ของ เอ็ม 13 นั้นมีความหนาแน่นมากกว่าร้อยเท่า[9] ดาวฤกษ์เหล่านี้อยู่ใกล้กันมากจนบางครั้งก็ชนกันและก่อกำเนิดดาวดวงใหม่[9] ดาวฤกษ์อายุน้อยที่ก่อตัวขึ้นใหม่นี้เรียกว่าดาวแปลกพวกสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับนักดาราศาสตร์[9]

ดาวแปรแสง V63 และ V64 เป็นดาวฤกษ์สมาชิกที่ถูกค้นพบจากประเทศสเปน ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 และมีนาคม พ.ศ. 2565 ตามลำดับ

ข้อความอาเรซีโบ

วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 นักดาราศาสตร์ส่งข้อความคลื่นวิทยุชื่อข้อความอาเรซีโบ (Arecibo message) จากกล้องโทรทรรศน์วิทยุอาเรซีโบไปที่ เอ็ม 13 เพื่อเป็นการทดลองในการติดต่อกับอารยธรรมนอกโลกที่อาจเกิดขึ้นในกระจุกดาว ข้อความอาเรซีโบมีข้อมูลที่เข้ารหัสเกี่ยวกับเผ่าพันธุ์มนุษย์, ดีเอ็นเอ, เลขอะตอม, ตำแหน่งของโลก และข้อมูลอื่น ๆ เอ็ม 13 ได้รับเลือกเนื่องจากเป็นกระจุกดาวขนาดใหญ่และค่อนข้างใกล้[18] กระจุกดาวจะเคลื่อนผ่านอวกาศในช่วงเวลาที่สัญญาณเดินทางไป ทำให้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันว่ากระจุกดาวจะอยู่ในตำแหน่งที่จะรับข้อความตามเวลาที่ไปถึงได้หรือไม่[19][20]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

16h 41m 41.44s, +36° 27′ 36.9″

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง