เหตุเพลิงไหม้เมาน์เทน บี

เหตุเพลิงไหม้เมาน์เทน บี (อังกฤษ: Mountain B) สถานบันเทิงที่ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เกิดขึ้นเมื่อเวลา 01:00 น. ของวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตรวม 24 ราย[3]ในจำนวนนี้เสียชีวิตทันที 13 ราย และเสียชีวิตในโรงพยาบาลอีก 11 ราย[1] และบาดเจ็บราว 50 ราย[4] โดยผู้บาดเจ็บที่ถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์รวม 27 คน และโรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม 2 คน ทั้งคู่มีอาการบาดเจ็บเล็กน้อย และโรงพยาบาลสัตหีบ กม.10 รวม 9 คน[5][6] เหตุการณ์นี้ถือเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรงเป็นครั้งแรกของอำเภอสัตหีบ[7]

เหตุเพลิงไหม้เมาน์เทน บี
แผนที่
วันที่5 สิงหาคม 2565 (2565-08-05)
เวลา01:00 น.
ที่ตั้งหมู่ที่ 7 ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
พิกัด12°39′57″N 100°55′41″E / 12.6658639°N 100.9281611°E / 12.6658639; 100.9281611
ประเภทเพลิงไหม้
สาเหตุกำลังตรวจสอบ
เสียชีวิต26 คน[1]
บาดเจ็บไม่ถึงตาย42 คน[2]

วันเกิดเหตุ

คืนที่เกิดเหตุมีการแสดงโดย DJ ONE & DJ Tiger และวงดนตรี "แต๊วแหน่ว" ซึ่งเป็นที่นิยมในพื้นที่ และขณะเกิดเหตุเป็นช่วงที่สถานบันเทิงใกล้ปิดทำการ บางแหล่งระบุว่าขณะนั้นมีผู้เข้าใช้บริการประมาณ 50 คน จนถึง 100 คน[8] สถานีวิทยุ จส.100 รายงานอ้างหัวหน้ามูลนิธิสว่างโรจนะธรรมสถาน สัตหีบ ซึ่งรับแจ้งจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ระบุว่าก่อนเกิดเพลิงไหม้พบว่ามีประกายไฟบนฝ้าเพดาน หลังจากนั้นไม่เกิน 5 นาทีได้ยินเสียงระเบิดและไฟลุกไหม้อย่างรวดเร็ว[9] ต้นเพลิงเริ่มไหม้บริเวณหลังคาและลุกลามอย่างรวดเร็วไปทั่วบริเวณ เนื่องจากตัวหลังคามีการบุโฟมลมดูดซับเสียง วัตถุติดไฟได้ง่าย ประกอบกับช่องระบายลมมีเพียงจุดเดียวคือประตูหน้า ทั้งหมดส่งผลให้เพลิงไหม้อย่างหนักและรุนแรง[8]

หลังเกิดเหตุ

ผู้เสียชีวิต 13 รายพบเสียชีวิตบริเวณหน้าประตู 4 คน ในห้องน้ำชาย 3 คน หลังบูทดีเจ 1 คน ในแคชเชียร์ 2 คน หน้าแคชเชียร์ 3 คน ทั้งหมดถูกไฟคลอกร่างไหม้เกรียมทั้งตัว ในบรรดาผู้เสียชีวิตคือฉัตรชัย (อิ่ม) ชื่นค้า นักร้องชาย ซึ่งมีผู้มาแสดงความเสียใจเป็นจำนวนมาก[6]

เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตอายุน้อยกว่า 20 ปีถึง 4 รายแบ่งเป็น อายุ 17 ปีสองราย อายุ 18 ปี หนึ่งราย และอายุ 19 ปี หนึ่งรายซึ่งต่อมาญาติของผู้เสียชีวิตวัย 17 ปี ได้ตั้งคำถามต่อเจ้าของสถานบันเทิงว่าทำไมจึงมีการอนุญาตให้เด็กเข้าไปภายในสถานบันเทิงได้[8]ทหารบาดเจ็บสาหัส 7 ราย[10]ได้แก่ นาวาโท ตังเมล์ พิริยะวงศ์ ร้อยเอก พันทิพ ภาคแก้ว ร้อยโท เศรษฐศักดิ์ จันทรา จ่าเอก ธนวินท์ อวยเจริญ จ่าเอก ธัญพิสิษฐ์ กันเกตุ จ่าโท พงศธร พลายละหาร

ต่อมาเวลา 14:30 น. มีผู้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์เป็นรายที่ 14[11]เวลา 10:00 น. พลตำรวจโท สมพงษ์ ชิงดวง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เดินทางมายังพื้นที่เกิดเหตุ ในภายหลังมีการตรวจสอบพบว่าอาคารถูกดัดแปลงต่อเติมให้กลายเป็นอาคารปิดโดยผิดกฎหมาย ในขณะที่เจ้าของร้านรายงานแก่ตำรวจว่าในวันก่อนหน้าได้มีช่างไฟเข้ามาซ่อมแซมและเดินสายระบบไฟบนเพดาน กระนั้นไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกันหรือไม่ นอกจากนี้ยังตรวจสอบพบว่าผังอาคารประกอบด้วยทางเข้าออกรวมเพียงสามทาง คือทางเข้าออกหน้าร้านของลูกค้า ทางข้างและทางหลังร้านสำหรับพนักงาน ประตูทั้งสองสำหรับพนักงานนั้นใช้งานไม่ได้ขณะเกิดเหตุ โดยถูกใส่กุญแจและมีตู้กีดขวางไว้ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสถานบันเทิงเคยถูกร้องเรียนกรณีเสียงดังและเปิดเกินเวลากำหนดตามกฎหมายมาก่อน[12][13] เหตุการณ์นี้ส่งผลให้กรมการปกครองออกคำสั่งให้ว่าที่พันตรี ชาติชาย ศรีโพธิ์อ่อน นายอำเภอสัตหีบ พ้นจากตำแหน่งโดยให้ช่วยราชการที่วิทยาลัยการปกครอง[14]ส่งผลให้นาย กัณฑ์พงษ์ สุวรรณปทุมเลิศ ปลัดอาวุโสอำเภอสัตหีบ รักษาราชการแทนนายอำเภอสัตหีบ[15] หลังเกิดเหตุการณ์ มีข่าวลือทั่วไปว่ามีตำรวจท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของร้าน และมีส่วนทำให้ร้านยังคงเปิดได้แม้กระทำการต่อเติมที่ผิดกฎหมาย[11]ต่อมามีการแต่งตั้ง พ.ต.อ.เอกภพ อินทวิวัฒน์ เป็นผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรพลูตาหลวง พ.ต.ท.สมบูรณ์ กลืนกระโทก และ พ.ต.ท.มาโนช เพ็ชรประกอบ เป็นรองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรพลูตาหลวง[16] ตอนค่ำสำนักงานประชาสัมพันธ์ จังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บใส่เครื่องช่วยหายใจ 21 ราย และ ได้มีการย้าย 13 ศพ ไปที่สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ[17]

วันต่อมามีผู้เสียชีวิตเพิ่มที่โรงพยาบาลระยอง เป็นรายที่ 15[18]ในวันที่ 7 สิงหาคม พลเรือตรี สรวุท ชวนะ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เป็นประธานในพิธีฌาปนกิจศพ จ่าเอก วรากุล จำรัส ที่วัดภูเพียง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

ในวันที่ 10 สิงหาคม พลทหารสังกัดเรือหลวงนเรศวร เสียชีวิต และมีพิธีฌาปนกิจศพ พันจ่าตรี รังสิมันต์ วนิชโรจนการ์ด โดยมีพลเรือตรี บัณฑิต วงษ์ทองดี มาเป็นประธานในพิธี[19]

วันที่ 11 สิงหาคม นาวาโท สังกัดกองบินทหารเรือ เสียชีวิต ในวันที่ 12 สิงหาคม นักศึกษาเพศหญิงอายุ 17 ปี เสียชีวิต ในวันที่ 14 สิงหาคม พลเรือตรี ไพศาล วงค์เมฆ ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 2 เป็นประธานในพิธีฌาปนกิจศพ พลทหาร สิทธิชัย อุ้ยเลิศ สังกัด เรือหลวงนเรศวร ณ วัดอัมพวัน อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น[20]วันเดียวกันนาย ยศวัฒน์ ภูวรัตน์เลิศคุณ นายกเทศมนตรีตำบลเกล็ดแก้วเป็นประธานในพิธีฌาปนกิจศพบุตรชาย เรือตรี ภูรี นีน้อย ที่ ศาลาประชาคม หมู่ 7 ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ[21]

ในวันที่ 15 สิงหาคม มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีกหนึ่งรายที่โรงพยาบาลชลบุรี ในวันที่ 19 สิงหาคม นาย ปพน (ธรรณธร) บวรสุวรรณ อายุ 50 ปี เสียชีวิตนับเป็นผู้เสียชีวิตที่อายุมากที่สุด[22]

ในวันที่ 18 สิงหาคม พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ[23]นาวาโท ผลิตเดช ชุ่มเงิน

ในวันที่ 27 สิงหาคม มีผู้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลเลิดสิน เป็นชายอายุ 27 ปี และในวันถัดมามีผู้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลชลบุรี เป็นหญิงอายุ 30 ปี

ในวันที่ 2 กันยายน มีผู้เสียชีวิตเป็นทหารเรือยศเรือโท วัย 27 ปี เสียชีวิตที่โรงพยาบาลระยอง ต่อมาวันที่ 6 กันยายน พลเรือเอก สุวิน แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ เรือโท ภานุพงศ์ วงศ์ภัคไพบูลย์ ที่ณาปนกิจกองทัพเรือ อำเภอสัตหีบ[24]วันที่ 3 ตุลาคม 2565 จ่าเอก ภัทรกฤษณ์ สุวรรณฉิม สังกัดเรือหลวงจักรีนฤเบศร เสียชีวิตเป็นรายที่ 24 ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

ผู้เสียชีวิตทั้งหมด 24 ราย อายุตั้งแต่ 17 ปี ถึง 50 ปี เป็นทหารเรือ 8 ราย ยศจ่าเอก 4 ราย พันจ่าตรี 1 ราย พลทหาร 1 ราย นาวาโท 1 ราย เรือโท 1 ราย สังกัดหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน 1 นาย หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง 2 นาย สังกัดเรือหลวงนเรศวร 1 นาย สังกัดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช สังกัดกองการบินทหารเรือ 1 นาย สังกัดเรือหลวงจักรีนฤเบศร 1 นาย[25]

บุตรทหารเรือ 2 ราย (บุตร นาวาโท บุญส่ง มงคลแก้ว และ เรือตรี ภูรี นีน้อย) หลานตาทหารเรือ 1 ราย (เรือโท สมนึก พุฒซ้อน) ญาติทหารเรือ 1 ราย (ลูกของพี่ชาย พลเรือตรี เบญจพร บวรสุวรรณ)

ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ได้มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 543/2565 ย้าย พล.ต.ต.กิตติ์ธเนศ ธนนันท์ทวีสิน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี[26]และแต่งตั้ง พล.ต.ต.นันทวุฒิ สุวรรณละออง รอง ผบช.ภ.2 ให้รักษาราชการแทน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี[27]

ปฏิกิริยา

ในโลกอินเทอร์เน็ตมีการชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์นี้มีความคล้ายคลึงมากกับเหตุเพลิงไหม้ซานติก้าผับในเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร เมื่อปี 2552 ซึ่งเป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 61 รายและบาดเจ็บมากกว่า 200 คน และนำไปสู่การถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์ถึงความหละหลวมในการควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยของสถานบันเทิงที่ไม่ปรับปรุงขึ้นจากเหตุการณ์เมื่อ 13 ปีก่อน[28] นอกจากนี้ยังมีบางส่วนเสนอว่ามีการฉ้อโกงและยัดเงินใต้โต๊ะกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเพื่อให้สถานบันเทิงคงเปิดอยู่ได้แม้จะทำผิดละเมิดกฎหมายเรื่องความปลอดภัย[11]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง