เอเคบีโฟร์ตีเอต

กลุ่มไอดอลญี่ปุ่น

เอเคบีโฟร์ตีเอต (อังกฤษ: AKB48) เป็นกลุ่มไอดอลของประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยสมาชิกกว่า 100 คนที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 12 ถึง 30 ปี ก่อตั้งโดยยาซูชิ อากิโมโตะ เมื่อปี 2005 โดยตั้งชื่อตามย่านอากิฮาบาระในกรุงโตเกียวซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงละครประจำวง มีแนวคิดหลักคือ "ไอดอลที่คุณสามารถพบได้" (idols you can meet) ซึ่งหมายความว่าวงมีโรงละครเป็นของตัวเองที่เปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถผลัดกันขึ้นแสดงได้ทุกวัน ต่างจากเกิร์ลกรุ๊ปทั่วไปที่ปกติจะพบเห็นได้ตามคอนเสิร์ตหรือโทรทัศน์เท่านั้น รวมไปถึงการจัดตั้ง "งานจับมือ" ที่แฟนคลับสามารถไปให้กำลังใจสมาชิกที่ตนเองชื่นชอบได้ และด้วยสมาชิกที่มีจำนวนมาก ทำให้มีการแบ่งสมาชิกออกเป็นหลายทีมเพื่อผลัดกันขึ้นแสดงในโรงละคร นอกจากนี้อากิโมโตะยังได้ขยายแนวคิดนี้โดยการสร้าง "วงน้องสาว" ทั้งภายในประเทศญี่ปุ่นและในต่างประเทศ อาทิเช่น จีน อินโดนีเซีย ไทย ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และอินเดีย เป็นต้น และบางประเทศนั้นมีมากกว่าหนึ่งวง อาทิเช่น ไทย เป็นต้น ทำให้กลายเป็นกลุ่มไอดอลที่มีขนาดใหญ่และจำนวนสมาชิกรวมกันมากที่สุดในเอเชีย

เอเคบีโฟร์ตีเอต
การแสดงของเอเคบีโฟร์ตีเอตที่โรงละครไมโครซอฟท์ ณ ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ในเดือนกรกฎาคม 2010
การแสดงของเอเคบีโฟร์ตีเอตที่โรงละครไมโครซอฟท์ ณ ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ในเดือนกรกฎาคม 2010
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดญี่ปุ่น อากิฮาบาระ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
แนวเพลงเจป็อป
ช่วงปี2005–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
สมาชิกดูที่ สมาชิกเอเคบีโฟร์ตีเอต
อดีตสมาชิกดูที่ อดีตสมาชิกเอเคบีโฟร์ตีเอต
เว็บไซต์akb48.co.jp

เอเคบีโฟร์ตีเอตเป็นหนึ่งในวงที่มีรายได้สูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ในปี 2012 วงทำรายได้ไปมากกว่า 7,000 ล้านบาท และได้รับการขนานนามว่าเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม นับตั้งแต่วันเปิดตัวจนถึงเดือนมิถุนายน 2017 วงทำยอดขายแผ่นซิงเกิลไปแล้วกว่า 50 ล้านชุด และยอดขายอัลบั้มกว่า 6 ล้านชุด ทำให้เป็นวงที่มียอดขายแผ่นซิงเกิลมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้วงยังทำยอดขายของแต่ละซิงเกิลได้เกิน 1 ล้านชุด ซึ่งซิงเกิลเหล่านี้ได้รับอันดับ 1 บนชาร์ตออริคอนเป็นจำนวน 35 ซิงเกิลติดต่อกัน ซิงเกิลที่มียอดขายสูงที่สุดคือ "สึบาซะวะอิราไน" (Tsubasa wa Iranai) ซึ่งทำยอดขายไปกว่า 2.5 ล้านชุดในปี 2016 นอกจากนี้ "บีกินเนอร์" (Beginner) และ "เฮฟวีโรเทชัน" (Heavy Rotation) ยังได้รับอันดับ 1 และ 2 ในการจัดอันดับซิงเกิลที่มียอดขายสูงที่สุดประจำปี 2010 เช่นกัน และตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา ซิงเกิลของวงทุกชุดก็สลับขึ้นหมุนเวียนอยู่ในอันดับที่ 1 ถึง 5 บนชาร์ตซิงเกิลออริคอนประจำปี

แนวคิด

โรงละครประจำวงเอเคบีโฟร์ตีเอต

เอเคบีโฟร์ตีเอตได้ก่อตั้งขึ้นมาด้วยแนวคิด "ไอดอลที่คุณสามารถพบได้"[3] โดยยาซูชิ อากิโมโตะ โปรดิวเซอร์ของวง เขากล่าวว่าปณิธานหลักคือการสร้างกลุ่มไอดอลที่สามารถพบเห็นได้ทุกวันในโรงละคร[3][4][โน้ต 1] ซึ่งต่างจากเกิร์ลกรุ๊ปวงอื่นที่จะพบเห็นได้เฉพาะตามงานคอนเสิร์ตหรือในรายการโทรทัศน์เท่านั้น โรงละครของวงตั้งอยู่ที่ร้านดองกิโฮเต้ (Don Quijote) ในย่านอากิฮาบาระ กรุงโตเกียว[5][6] ซึ่งเป็นที่มาของชื่อวงเช่นกัน[7]

ด้วยจำนวนสมาชิกที่มาก วงจึงแบ่งสมาชิกออกเป็นหลายทีมด้วยกันเพื่อลดจำนวนงานของสมาชิกแต่ละคนและเพื่อแบ่งทีมแต่ละทีมให้ไปผลัดแสดงในโรงละครได้ (เนื่องจากการแสดงในโรงละครนั้นจะแสดงโดยเพียง 1 ทีมต่อ 1 วันเท่านั้น)[5] และสามารถให้วงสามารถออกงานกิจกรรมหลาย ๆ ที่ในเวลาเดียวกันได้[8] นอกจากนี้ มิซากิ อิวาซะ อดีตสมาชิกวง กล่าวว่าแต่ละทีมมีภาพลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป ทีมเอ (A) เป็นตัวแทนของความเป็นอิสรภาพ ทีมบี (B) เป็นตัวแทนของความน่ารักและความเป็นไอดอล และทีมเค (K) เป็นตัวแทนของพลังและความแข็งแกร่ง[9] โดยเดิมทีแล้วทางวงตั้งใจว่าจะให้มีสมาชิกแค่เพียง 16 คนในแต่ละทีมเท่านั้นเพื่อที่จะให้มีสมาชิกรวมกันเป็น 48 คน[3][10][11][12] แต่ปรากฏว่าเมื่อเวลาผ่านไป สมาชิกของวงก็เพิ่มมากขึ้นจนเกิน 120 คนในปัจจุบัน[13][7] สมาชิกที่เข้ามาใหม่จะเรียกว่า "เค็งคิวเซย์" (ญี่ปุ่น: 研究生โรมาจิkenkyuusei) หรือ "เด็กฝึกหัด" ที่ทำหน้าที่เป็นตัวสำรองให้กับสมาชิกทีมหลัก[14] และจะขึ้นแสดงเป็นครั้งคราวในโรงละครพร้อมกับสมาชิกคนอื่น นอกจากการแสดงในโรงละครแล้ว สมาชิกของวงยังได้รับการประชาสัมพันธ์จากสื่อญี่ปุ่นเช่นกัน[5] และยังได้จัดงานกิจกรรมหลายประเภทเพื่อส่งเสริมแนวคิดหลักที่สามารถให้แฟนคลับสามารถเข้าถึงสมาชิกในวงได้ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูปคู่หรือการจับมือกับสมาชิกวง[5]

สมาชิกวงนั้นมีอายุตั้งแต่ช่วงเข้าสู่วัยรุ่นจนถึงวัยนักศึกษา[15][16] ที่ผ่านการคัดเลือกจากการออดิชัน[5][13] สมาชิกจะไม่สามารถมีแฟนได้ และจะต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี[17] การฝ่าฝืนข้อบังคับเหล่านี้ส่งผลให้ความนิยมของสมาชิกตกต่ำลงและจะถูกกดดันจากสังคมและฝ่ายบริหารให้ออกจากวง[18][19] วงมีระบบที่เรียกว่า "การจบการศึกษา" ซึ่งหมายความว่าสมาชิกในทีมที่เติบโตและมีอายุมากขึ้นสามารถออกจากวงได้เพื่อทำตามปณิธานของตนเองต่อไป และสมาชิกเค็งคิวเซย์จะได้รับการเลื่อนขั้นให้มาอยู่ในตำแหน่งของสมาชิกที่ออกจากวง โมนิกา เฮสเซ นักข่าวจาก เดอะวอชิงตันโพสต์ ได้เปรียบเทียบการคัดเลือกของสมาชิกในวงว่าเหมือนกับอเมริกันไอดอล[13]

วงน้องสาว

จากแนวคิด "ไอดอลที่คุณสามารถพบได้" ทำให้เกิดกลุ่มไอดอลวงใหม่เป็นจำนวน 12 วง โดยเป็นวงในประเทศญี่ปุ่น 5 วง และวงนอกประเทศญี่ปุ่น 7 วง ซึ่งนิยมเรียกกันว่า "วงน้องสาว" หรือ "48 กรุ๊ป" วงน้องสาวทั้งหมดจะมีซิงเกิลและโรงละครประจำวงเป็นของตัวเอง แต่วงน้องสาวนอกประเทศญี่ปุ่นจะมีซิงเกิลที่เป็นการแปลจากเพลงของเครือ 48 กรุ๊ป ภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น วงน้องสาวในญี่ปุ่นยังนิยมแสดงคอนเสิร์ตร่วมกับวงเอเคบีโฟร์ตีเอต[20][21] และสมาชิกบางคนสามารถย้ายไปวงน้องสาววงอื่น หรือแม้กระทั่งควบวง (เป็นสมาชิกร่วมมากกว่า 1 วง) ได้ อาทิเช่นจูรินะ มัตสึอิ และมิยูกิ วาตานาเบะ[22]

เอสเคอีโฟร์ตีเอต (SKE48) เป็นวงน้องสาววงแรกของเอเคบีโฟร์ตีเอต ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2008 และมีโรงละครประจำวงที่นาโงยะ[23][24] ส่วนเอสดีเอ็นโฟร์ตีเอต (SDN48), เอ็นเอ็มบีโฟร์ตีเอต (NMB48) ที่นัมบะ,[25] และเอชเคทีโฟร์ตีเอต (HKT48) ที่ฮากาตะ[26] ได้ก่อตั้งขึ้นภายในเวลาต่อมา หลังจากนั้น เอ็นจีทีโฟร์ตีเอต (NGT48) ก็ได้ก่อตั้งขึ้นเช่นกันในปี 2015 ที่นีงาตะ[27] ส่วนเอสทียูโฟร์ตีเอต (STU48) วงน้องสาวล่าสุด ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2016 ในงานแข่งขันจังเก็น (เป่ายิงฉุบ) ประจำปี ซึ่งวงนี้มีสถานที่ตั้งโรงละครไม่เหมือนกับวงอื่น โดยจะตั้งอยู่บนเรือแทนที่จะอยู่ในเมือง[28] นอกจากนี้เอเคบีโฟร์ตีเอตยังได้สร้าง "วงคู่แข่งอย่างเป็นทางการ" ในชื่อโนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ (Nogizaka46)[29] และวงน้องสาวของวงดังกล่าวในชื่อเคยากิซากะโฟร์ตีซิกซ์ (Keyakizaka46) เช่นกัน[30]

ในปี 2011 เอเคบีโฟร์ตีเอต ได้ก่อตั้งวงน้องสาวนอกประเทศญี่ปุ่นวงแรกในชื่อ เจเคทีโฟร์ตีเอต (JKT48) ซึ่งประจำอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย[31] ตามด้วยวงน้องสาวที่ประเทศจีน เอสเอ็นเอชโฟร์ตีเอต (SNH48) ประจำเมืองเซี่ยงไฮ้[32] แต่ภายหลังเอเคบีได้ยกเลิกสัญญาไม่ให้เป็นวงน้องสาวอีกต่อไปตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2016[33] ซึ่งเอสเอ็นเอชก็ได้ประกาศเช่นกันว่าตนเองไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับเอเคบีมาตั้งแต่แรกและไม่เคยทำสัญญาใด ๆ กับทางวงมาก่อน[34] นอกจากนี้ วงยังได้ประกาศจัดตั้งวงน้องสาววงใหม่อีก 3 วงด้วยกันในเดือนมีนาคม 2016 ได้แก่บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (BNK48) ประจำกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย, เอ็มเอ็นแอลโฟร์ตีเอต (MNL48) ประจำกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์, และทีพีอีโฟร์ตีเอต (TPE48) ประจำกรุงไทเป ประเทศไต้หวัน[35]

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2017 ยุย โยโกยามะ หัวหน้าวงเอเคบีโฟร์ตีเอต ได้ประกาศผ่านทางแอปพลิเคชันโชว์รูม (Showroom) ถึงการก่อตั้งวงเอ็มยูเอ็มโฟร์ตีเอต (MUM48) ประจำเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย ที่จะก่อตั้งอย่างเป็นทางการในปี 2018[36] นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับโปรดิวซ์วันโอวัน (Produce 101) ในการจัดตั้งรายการโปรดิวซ์โฟร์ตีเอต (Produce 48) ที่จะออกอากาศในเกาหลีใต้ในช่วงเดือนมิถุนายน 2018[37]

ระยะเวลาการก่อตั้งวงน้องสาว 48GROUP

ปีก่อตั้ง (ค.ศ.)ชื่อฐานที่ตั้งประเทศหมายเหตุ
2008เอสเคอีโฟร์ตีเอต (SKE48)ซากาเอะ, นาโกย่าญี่ปุ่น
เอสดีเอ็นโฟร์ตีเอต (SDN48)อากิฮาบาระ, โตเกียวญี่ปุ่นปิดตัวแล้ว
2011เอ็นเอ็มบีโฟร์ตีเอต (NMB48)นัมบะ, โอซากะญี่ปุ่น
เอชเคทีโฟร์ตีเอต (HKT48)ฮากาตะ, ฟูกูโอกะญี่ปุ่น
เจเคทีโฟร์ตีเอต (JKT48)จาการ์ต้าอินโดนีเซียวงน้องสาวต่างประเทศวงแรก
ทีพีอีโฟร์ตีเอต (TPE48)ไทเปไต้หวันโปรเจกต์ถูกยกเลิก
2012เอสเอ็นเอชโฟร์ตีเอต (SNH48)เซี่ยงไฮ้จีนปัจจุบันไม่มีความเกี่ยวข้องกับ 48Group อีก
2013เอสพีอาร์โฟร์ตีเอต (SPR48)ซับโปโร, ฮอกไกโดญี่ปุ่นโปรเจกต์ไม่มีความเคลื่อนไหว
2015เอ็นจีทีโฟร์ตีเอต (NGT48)นีงาตะ, นีงาตะญี่ปุ่น
2016บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (BNK48)กรุงเทพมหานครไทย
เอสทียูโฟร์ตีเอต (STU48)เซโตอูจิญี่ปุ่น
เอ็มเอ็นแอลโฟร์ตีเอต (MNL48)มะนิลาฟิลิปปินส์
ทีพีอีโฟร์ตีเอต (TPE48)ไทเปไต้หวันถูกเปลี่ยนชื่อและสังกัด
2017เอ็มยูเอ็มโฟร์ตีเอต (MUM48)มุมไบอินเดียถูกเปลี่ยนชื่อ
2018เอเคบีโฟร์ตีเอต ทีม เอสเอช (AKB48 Team SH)เซี่ยงไฮ้จีนแทน SNH48 เดิม
เอสจีโอโฟร์ตีเอต (SGO48)โฮจิมินห์เวียดนามปิดตัวแล้ว
เอเคบีโฟร์ตีเอต ทีม ทีพี (AKB48 Team TP)ไทเปไต้หวันแทน TPE48 เดิม
2019ซีจีเอ็มโฟร์ตีเอต (CGM48)เชียงใหม่ไทยวงน้องสาวของ BNK48
เอ็มยูบีโฟร์ตีเอต (MUB48)มุมไบอินเดียแทน MUM48 เดิม,ปิดตัวลงเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19
ดีอีแอลโฟร์ตีเอต (DEL48)เดลีปิดตัวลงเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19
วงน้องสาวที่มีอยู่ในปัจจุบัน

SKE48, NMB48 HKT48, JKT48, NGT48, BNK48, STU48, MNL48, AKB48 Team SH, AKB48 Team TP, CGM48,

รวมทั้งหมดมีจำนวน 11 วงไม่นับ AKB48

ดูเพิ่ม: เอเคบีโฟร์ตีเอตกรุ๊ป (AKB48 Group)

วงที่เกี่ยวข้อง
ชื่อวงหมายเหตุ
โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ (Nogizaka46)Sakamichi Series
เคยากิซากะโฟร์ตีซิกซ์ (Keyakizaka46)
ฮินาตะซาตะโฟร์ตีซิกซ์ (Hinatazata46)
โยชิโมโตะซากะโฟร์ตีซิกซ์ (Yoshimotozaka46)
บีอีเจโฟร์ตีเอต (BEJ48)วงน้องสาวของ SNH48
จีเอ็นแซดโฟร์ตีเอต (GNZ48)
ซีเคจีโฟร์ตีเอต (CKG48)
ไอซ์วัน (IZ*ONE)รายการ Produce 48


ประวัติ

สัญลักษณ์ของAKB48

2005–2006: การเปิดตัวและการก่อตั้งทีม

สมาชิกวง AKB48 ในงานเปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2006

ในเดือนกรกฎาคม 2005 ยะซุชิ อะกิโมะโตะ ได้จัดการคัดเลือกสมาชิกขึ้นเป็นครั้งแรก[38] จากผู้เข้าสมัครจำนวน 7,924 คน มี 24 คนที่ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกรุ่นที่ 1 ของวง[38] ต่อมาเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม มีสมาชิก 20 คนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกทีมเอ (A) เพื่อขึ้นแสดงในโรงละคร[39] ซึ่งการแสดงในโรงละครครั้งแรกของวงนั้นมีชื่อว่า ปาร์ตีกะฮาจิมารุโยะ (Party ga Hajimaru yo)[40] มีผู้เข้าชมทั้งหมด 7 คน แต่หลังจากนั้นจำนวนผู้เข้าชมก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง[41][42] ต่อมาในเดือนมกราคม 2006 มาริโกะ ชิโนดะ พนักงานเสิร์ฟในร้านกาแฟของวง เข้าร่วมวงด้วยในฐานะสมาชิก "รุ่น 1.5" เนื่องจากเธอได้รับความนิยมมากจากลูกค้าในร้าน ทำให้อะกิโมะโตะมีความสนใจและจัดการคัดเลือกแบบพิเศษให้กับเธอ[43][44]

การคัดเลือกสมาชิกรุ่นที่ 2 นั้นจัดขึ้นร่วมกับบริษัทโทรคมนาคม เอ็นทีที โดโคโม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2006 โดยผู้สมัครจะต้องส่งวีดีโอแนะนำตนเองผ่านทางโทรศัพท์มือถือ[45][46]และจากผู้เข้าสมัครทั้ง 11,892 คน มี 19 คนที่ได้รับเลือก และ 18 คนที่ได้รับการเลื่อนขั้นให้เป็นสมาชิกทีมเค (K) ในเดือนเมษายน[47] โดยมี ปาร์ตีกะฮาจิมารุโยะ เป็นการแสดงประจำทีมในโรงละครแทนทีม A เนื่องจากทีมนี้มีการแสดงใหม่ในชื่อ ไอตะกัตตะ (Aitakatta)[48]

ในเวลาเดียวกัน ทางวงก็ได้ปล่อยซิงเกิลอินดีชุดแรกออกมาในชื่อ "ซากูระโนะฮานาบิราตาจิ" (Sakura no Hanabiratachi) ซึ่งได้ขึ้นตำแหน่งบนชาร์ตซิงเกิล 10 อันดับรายอาทิตย์ของออริคอน และมียอดขายอาทิตย์แรกจำนวน 22,011 ชุด[49] ต่อมาในวันที่ 31 มีนาคม ยูกิ อูซามิ ได้จบการศึกษา ทำให้เธอเป็นสมาชิกคนแรกที่ออกจากวง[50] จากนั้นในวันที่ 7 มิถุนายน ทางวงได้เปิดตัวซิงเกิลอินดีลำดับที่ 2 ในชื่อ "สเกิตฮิราริ" (Skirt Hirari)[51] ที่ขายได้ 13,349 ชุดภายในวันแรก[52] วงยังได้ปรากฏตัวในรายการโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในสองวันถัดมา[38] และได้เซ็นสัญญากับเดฟสตาร์เร็กคอร์ดส์ (Defstar Records; บริษัทย่อยของโซนี่มิวสิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์) ในเดือนสิงหาคม[53]

2006–2007: เซ็ตลิสต์: เกรตเทสต์ซองส์ 2006–2007

ในเดือนตุลาคม 2006 เอเคบีโฟร์ตีเอตได้จัดตั้งการคัดเลือกสมาชิกสำหรับทีมบี (B)[54] และได้สมาชิก 13 คนจากทั้งหมด 12,828 คนในเดือนธันวาคม[55] ซิงเกิลแรกร่วมกับค่ายเพลงเดฟสตาร์ "ไอตากัตตะ" (Aitakatta) ที่แสดงโดยสมาชิก 20 คนจากทีมเอและทีมเค ได้ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม[56] ซึ่งติดอันดับ 12 บนชาร์ตออริคอนเป็นเวลา 65 อาทิตย์[57] และมียอดขาย 25,544 แผ่นใน 6 อาทิตย์แรก[58] ในวันที่ 3 และ 4 พฤศจิกายน วงได้จัดคอนเสิร์ตแรกในชื่อ "AKB48 First Concert: Aitakatta ~Hashira wa Nai ze!~" ที่นิปปงเซเน็นคังในชินจุกุ[59] และได้แสดงเพลง "ไอตากัตตะ" ในรายการโทรทัศน์เอ็นเอชเค โคฮากุอูตะกัซเซ็น (NHK Kohaku Uta Gassen) ครั้งที่ 58[60][61] นอกจากนี้ยังทำสถิติเป็นวงที่มีสมาชิกขึ้นแสดงพร้อมกันบนเวทีมากที่สุดในรายการเพลง โดยมีจำนวน 43 คน[62] และวงยังได้ทำการสับเปลี่ยนทีมเป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคมโดยการย้ายคาซูมิ อูราโนะ, ชิโฮะ วาตานาเบะ, และนัตสึมิ ฮิราจิมะ จากทีมเอไปยังทีมบีในฐานะตัวสำรอง[63]

ซิงเกิลลำดับที่ 2 ของวง "เซฟูกุกะจามะโอะซูรุ" (Seifuku ga Jama o Suru) วางขายครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2007[64] และติดอันดับ 7 บทชาร์ตออริคอน[65] เนื้อเพลงกล่าวถึงการขายบริการของเด็กผู้หญิง ทำให้เพลงนี้ถูกวิจารณ์ในแง่ลบและทำให้เกิดข้อถกเถียงตามมา[66] ในวันที่ 18 มีนาคม วงได้วางขายซิงเกิล "เคเบ็ตสึชิเตตะไอโจ" (Keibetsu Shiteita Aijo) ซึ่งติดอันดับ 8 บทชาร์ตออริคอน แต่ร่วงลงมาที่อันดับ 98 ในอาทิตย์ถัดมา[67] คอนเสิร์ตครั้งที่สองของวง "เอเคบีโฟร์ตีเอต ฮารุจตโตะดาเกะเซ็งโกกุทัวร์ มาดามาดะดาเซะเอเคบีโฟร์ตีเอต" (AKB48 Haru no Chotto dake Zenkoku Tour ~Madamada daze AKB48!~) ที่แสดงขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม[68] มียอดขายค่อนข้างน้อย[69]

ในเดือนเมษายน 2007 วงได้โพสสมาชิกทีมบี (B) ผ่านทางเว็บไซต์ โดยมีจำนวน 5 คนที่น้อยกว่าตอนที่เคยได้ประกาศเอาไว้[70] และเป็นครั้งแรกที่รวบรวมสมาชิกได้ครบ 48 คน ซิงเกิลลำดับที่ 4 ของวง "บิงโก!" (Bingo!) วางแผงเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม[71] ตามด้วย "โบกุโนะไทโย" (Boku no Taiyo) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม[72] และ "ยูฮิโฮะมิเตรุกะ?" (Yuhi o Miteiru ka?) ในวันฮาโลวีน ซิงเกิลนี้ทำยอดขายได้ 18,429 แผ่น[73] ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดของวง[74]

2008–2010: คามิเกียวกูตาจิ

เอเคบีโฟร์ตีเอตในงานเจแปนเอ็กซ์โป 2009 ที่ปารีส

ในวันปีใหม่ 2008 วงได้วางขายอัลบั้มแรกชื่อ เซ็ตลิสต์: เกรตเทสต์ซองส์ 2006–2007 (Setlist: Greatest Songs 2006–2007) ประกอบด้วยเพลงจากซิงเกิลรวมถึงบันทึกการแสดงสด ส่วนซิงเกิลต่อมา "โรมานซ์อิราเนะ" (Romance, Irane) ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 23 มกราคม[75] และติดอันดับ 6 บนชาร์ตออริคอนในอาทิตย์แรก[76]

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ วงได้จำหน่ายซิงเกิลลำดับที่ 8 คือ "ซากูระโนะฮานาบิราตาจิ 2008" (Sakura no Hanabiratachi 2008) ซึ่งเป็นการทำฉบับใหม่จากซิงเกิลแรก ประกอบด้วยสมาชิกทีมเอ 10 คน ทีมเค 6 คน และทีมบี 5 คน[77] ในแต่ละชุดยังประกอบด้วยโปสเตอร์ 1 แบบ บุคคลใดที่สามารถสะสมรูปโปสเตอร์ได้ครบทั้ง 44 แบบจะได้รับการเชิญชวนให้เข้าร่วมกิจกรรมพิเศษ แต่กิจกรรมนี้ก็ถูกยกเลิกไปเนื่องจากมีการพบว่าเป็นการละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด[78]

ในเดือนมิถุนายน 2008 มีการประกาศก่อตั้งวงน้องสาววงแรกในชื่อ เอสเคอีโฟร์ตีเอต (SKE48) ที่นาโงยะ[79] ต่อมาในเดือนสิงหาคม วงได้ยกเลิกสัญญากับค่ายเพลงเดฟสตาร์เรกคอร์ดส์ (DefStar Records) และต่อสัญญาใหม่กับคิงเรกคอร์ดส์ (King Records) แทน[ต้องการอ้างอิง] หลังจากนั้นไม่นาน สมาชิกวงชื่อ อายากะ คิกูจิ ถูกไล่ออกเนื่องจากมีภาพที่เธอถ่ายคู่กับแฟนหนุ่มหลุดออกมา ซึ่งวงได้ให้เหตุผลว่าพฤติกรรมนี้ไม่เหมาะสมกับวัย[80][81] อย่างไรก็ตาม เธอได้กลับเข้าวงอีกครั้งหลังจากที่เธอผ่านออดิชันในปี 2010[82]

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ซิงเกิล "โอโกเอะไดมอนด์" (Oogoe Diamond) ได้ออกจำหน่ายจากค่ายคิงเรกคอร์ดส์[83] เซ็นเตอร์ของเพลงนี้คือจูรินะ มัตสึอิ ซึ่งเป็นสมาชิกของเอสเคอีโฟร์ตีเอตขณะที่ยังอายุ 11 ปี และเป็นสมาชิกคนแรกของวงน้องสาวที่ปรากฏในซิงเกิลวงหลัก[84] ซิงเกิลนี้ติดอับดับ 3 บนชาร์ตออริคอนรายอาทิตย์[85]

ซิงเกิลต่อมา "10เน็นซากูระ" (10nen Sakura) วางแผงเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2009 และได้รับอันดับ 3 ในอาทิตย์แรกเช่นกัน และเป็นซิงเกิลแรกที่ทำยอดจำหน่ายได้กว่า 1 แสนชุด[86] ถัดมา "นามิดะเซอร์ไพรส์" (Namida Surprise!) ซิงเกิลลำดับที่ 12 ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ประกอบด้วยบัตรจับมือและบัตรเลือกตั้งสมาชิกสำหรับซิงเกิลต่อไป[87] มียอดขาย 104,180 แผ่นในอาทิตย์แรกบนชาร์ตออริคอน[88] ซิงเกิลที่ 13 "อีวาเกะเมย์บี" (Iiwake Maybe) ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม[89] ทำยอดขายชนะวงสแมปและขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตซิงเกิลรายวัน[90] และอันดับ 2 บนชาร์ตรายอาทิตย์[91]ja

ทีมเอยังได้ขึ้นแสดงในงาน "เจแปนเอ็กซ์โปอินปารีส" ตั้งแต่วันที่ 2 ถึง 5 กรกฎาคม 2009 โดยแสดงเพลง "โอโกเอะไดมอนด์" ในฉบับภาษาอังกฤษ[92] วงเปิดตัวที่สหรัฐครั้งแรกที่เว็บสเตอร์ฮอลล์ กรุงนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 27 กันยายน[93]

ในเดือนตุลาคม ซิงเกิลของวงทั้ง 3 ซิงเกิล ("10เน็นซากูระ" "นามิดะเซอร์ไพรส์" และ "อีวาเกะเมย์บี" ได้รับการรับรองระดับทองจากอาร์ไอเอเจ (RIAJ)[94] ซิงเกิล "ริเวอร์" (River) ซึ่งเป็นลำดับที่ 14 ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม[95] เป็นซิงเกิลแรกที่ได้รับอันดับ 1 บนชาร์ตออริคอน[96]

วงได้จำหน่ายซิงเกิลถัดไป "ซากูระโนะชิโอริ" (Sakura no Shiori) เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2010 ขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตออริคอน และมียอดขายกว่า 3 แสนแผ่น ทำให้เป็นกลุ่มศิลปินหญิงญี่ปุ่นที่ทำยอดขายได้มากที่สุดในรอบ 7 ปี[97] และเป็นซิงเกิลสุดท้ายที่จะได้บรรจุในอัลบั้ม คามิเกียวกูตาจิ (Kamikyokutachi) ที่ได้รับอันดับ 1 บนชาร์ตอัลบั้มของออริคอน[98][99] และได้รับการรับรองระดับแพลตตินัมสองชั้นจากอาร์ไอเอเจเมื่อมียอดขายครบ 5 แสนชุด[100]

2010–2011: โคโคะนิอิตะโคโตะ

เอเคบีโฟร์ตีเอตขณะแสดงในงานอนิเมะเฟสติวัลเอเชีย เดือนพฤศจิกายน 2010 ที่ประเทศสิงคโปร์

ซิงเกิลลำดับที่ 16 "โพนีเทลโทะชูชู" (Ponytail to Chouchou) วางขายเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2010 ขายได้มากกว่า 4 แสนแผ่นในวันแรก และมากกว่า 513,000 แผ่นในสัปดาห์แรก[101] เมื่อวันที่ 27 เมษายน ในงานอนิเมะเอ็กซ์โป งานมหกรรมอนิเมะที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐ มีการประกาศว่าเอเคบีโฟร์ตีเอตจะมาเป็นแขกรับเชิญ และจะขึ้นแสดงในวันที่ 1 กรกฎาคมที่แอลเอไลฟ์ (L.A. Live)[102]

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม วงได้ออกจำหน่ายซิงเกิล "เฮฟวีโรเทชัน" (Heavy Rotation) มียอดจำหน่าย 880,760 แผ่น[103] ต่อมาวันที่ 23 ตุลาคม วงเข้าร่วมงานเอเชียซองเฟสติวัล จัดขึ้นโดยมูลนิธิแลกเปลี่ยนกิจกรรมระหว่างประเทศ ที่สนามกีฬาโอลิมปิกแจมซิล ประเทศเกาหลีใต้[104] 4 วันถัดมาหลังจากนั้น วงได้ออกวางขายซิงเกิลที่ 18 "บีกินเนอร์" (Beginner) ด้วยยอดขาย 826,989 แผ่นในอาทิตย์แรก และได้รับตำแหน่งกลุ่มไอดอลหญิงที่มียอดขายอาทิตย์แรกสูงที่สุด[105] ต่อมา สมาชิกวง มายุ วาตานาเบะ ปรากฏตัวในปกนิตยสารไอดอล อัพทูบอย ฉบับเดือนธันวาคม คู่กับไอริ ซูซูกิ สมาชิกวงคิวต์ ถือเป็นการร่วมงานครั้งแรกระหว่างเอเคบีโฟร์ตีเอตกับเฮลโล! พรอเจกต์[106]

ในเดือนพฤศจิกายน 2010 วงได้เข้าร่วมงานกิจกรรมหลายอย่างนอกประเทศญี่ปุ่น อาทิเช่น งานเจแปนนีสป็อปคัลเจอร์เฟสติวัลที่กรุงมอสโก[107] งานอนิเมะเฟสติวัลเอเชีย ครั้งที่ 10 และงานสิงคโปร์ทอยเกมส์แอนด์คอมิกส์คอนเวนชัน ที่ประเทศสิงคโปร์[108][109] สมาชิกที่จบการศึกษาในปี 2010 ประกอบด้วยเอเรนะ โอโนะ ที่ลาวงไปเมื่อวันที่ 27 กันยายนเนื่องจากความต้องการในการทำงานด้านการแสดงที่ต่างประเทศ[110][111]

ซิงเกิลแรกในปี 2011 คือ "ซากูระโนะคินินาโร" วางขายเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ มียอดขายวันแรกจำนวน 655,000 แผ่น ซึ่งมากกว่าของบีกินเนอร์ที่ขายได้ 568,000 แผ่น[112] และมียอดขายทั้งหมดจำนวน 942,479 แผ่นในอาทิตย์แรก เป็นซิงเกิลที่มียอดขายเติบโตเร็วมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2000[113]

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ มีการประกาศอัลบั้มที่ 3 โคโคนิอิตะโคโตะ (Koko ni Ita Koto) ซึ่งประกอบด้วยเพลงใหม่ 11 รายการ[114] ต่อมาวงได้หยุดการแสดงในโรงละครทั้งหมดและงานกิจกรรมบางประเภทเนื่องจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ ทำให้เอเคบีโฟร์ตีเอตเริ่มโครงการ "ดาเรกะโนะทาเมะนิ" (Dareka no Tame ni) ซึ่งเป็นการระดมทุนบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยเหล่านี้ วงยังได้จัดกิจกรรมการกุศลที่โยโกยามะอารีน่า และในงานเทศการภาพยนตร์โอกินาวะ ตั้งแต่วันที่ 26 ถึง 27 มีนาคม ต่อมาวันที่ 15 มีนาคม มีการประกาศว่าวงเอเคบีโฟร์ตีเอตและวงน้องสาวอีก 3 วง ได้แก่เอสเคอีโฟร์ตีเอต เอสดีเอ็นโฟร์ตีเอต และเอ็นเอ็มบีโฟร์ตีเอต จะบริจาคเงินเป็นจำนวน 500 ล้านเยนในฐานะต้นสังกัดเอเคเอส[115] เดิมทีอัลบั้ม โคโคนิอิตะโคโตะ มีกำหนดการวางขายไว้วันที่ 6 เมษายน[114] แต่ด้วยเหตุการดังกล่าวจึงทำให้ถูกเลื่อนไปเป็นวันที่ 8 มิถุนายนแทน นอกจากนี้รายได้จากยอดขายบางส่วนของอัลบั้มนี้จะถูกสมทบรวมกับยอดบริจาคทั้งหมดด้วย[116] เมื่อวันที่ 1 เมษายน วงได้ปล่อยซิงเกิลพิเศษ "ดาเระกะโนะทาเมนิ-ว็อตแคนไอดูฟอร์ซัมวัน?-" (Dareka no Tame ni -What can I do for someone?-) โดยเปิดให้ดาวน์โหลดได้ทางเว็บไซต์ มีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาเหตุการณ์ภัยพิบัติเช่นกัน[117]

2022–ปัจจุบัน โมโตะคาเระเดซุ

ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 วงได้ปล่อยซิงเกิลที่ 59 "โมโตะคาเระเดซุ" ในรายการโทรทัศน์ "เอเคบีโฟร์ตีเอต ไซกิน คิตะ?" (AKB48, Saikin Kiita?) โดยมีฮิโตมิ ฮนดะทำหน้าที่เป็นเซ็นเตอร์ซิงเกิลนี้จะร้องโดยสมาชิกเซ็นบัตสึเอเคบีโฟร์ตีเอต 20 คนเท่านั้น และวางจำหน่ายในวันที่ 18 พฤษภาคม 2022[118]

ในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 เอเคบีโฟร์ตีเอตได้เปิดตัวสมาชิกใหม่ 11 คน ซึ่งเป็นรุ่นที่ 17 ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก [119]

สมาชิก

จำนวนสมาชิกของวงมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งเนื่องจากการออดิชัน การจบการศึกษา การย้ายทีม และการย้ายวงระหว่างวงในเครือ 48 กรุ๊ป วงเอเคบีโฟร์ตีเอตมีสมาชิกทั้งหมด 63 คน แบ่งออกเป็นสมาชิกหลัก 40 คน นอกจากนี้ยังมีสมาชิกเค็งคิวเซย์ 23 คน แบ่งออกเป็นเค็งคิวเซย์ที่เป็นตัวสำรองให้กับทีมหลัก 18 คน และที่เป็นตัวสำรองให้กับวงโดยรวม 5 คนวงเอเคบีโฟร์ตีเอตมีสมาชิกทั้งหมด 63 คน แบ่งออกเป็นสมาชิกหลัก 40 คน นอกจากนี้ยังมีสมาชิกเค็งคิวเซย์ 23 คน แบ่งออกเป็นเค็งคิวเซย์ที่เป็นตัวสำรองให้กับทีมหลัก 18 คน และที่เป็นตัวสำรองให้กับวงโดยรวม 5 คน[120] โดยมีนารูมิ คูราโนเป็นสมาชิก หัวหน้าวง และผู้จัดการวงในเครือ 48 กรุ๊ป[121]

การประชาสัมพันธ์

ทางวงมีการเพิ่มยอดขายด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดต่าง ๆ ในหนึ่งซิงเกิลหรืออัลบั้มนั้นจะแบ่งออกเป็นหลายฉบับที่มีรูปปกหรือเพลงรองที่แตกต่างกัน ซึ่งนอกจากเพลงแล้ว ยังมีรูปสมาชิก ดีวีดีสำหรับมิวสิกวีดีโอ บัตรเข้างานกิจกรรม และรหัสที่ใช้กรอกในงานเลือกตั้ง ประกอบอยู่ในซิงเกิลอีกด้วย[122] อลัน สวาตซ์ จากเอ็มทีวีเจแปน กล่าวไว้ว่าการแยกซิงเกิลใด ๆ ออกเป็นหลายฉบับ ส่งผลให้ผู้ซื้อรู้สึกอยากเก็บสะสมทุกฉบับ จึงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ยอดขายของวงพุ่งสูงขึ้นมาก และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้อุตสาหกรรมดนตรีของประเทศญี่ปุ่นมีความครึกครึ้นมากขึ้น[123]

กิจกรรมเลือกสมาชิกเซ็มบัตสึ

ทางวงได้จัดงานกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อที่จะประชาสัมพันธ์ซิงเกิล หรือเพื่อที่จะคัดเลือกสมาชิกที่จะได้มีส่วนร่วมในซิงเกิลนั้น ๆ[124] ในปี 2009 แนวคิดของ "โซเซ็งเกียว" (ญี่ปุ่น: 総選挙โรมาจิsousenkyo; แปลว่า "งานเลือกตั้ง") ได้นำมาใช้เพื่อให้แฟนคลับสามารถโหวตสมาชิกที่ตนชื่นชอบให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นไปเป็น "เซ็มบัตสึ" (ญี่ปุ่น: 選抜โรมาจิsenbatsu; หรือ "สมาชิกที่ได้รับเลือก") เพื่อปรากฏอยู่ในซิงเกิลประจำปีได้[125] โดยวิธีในการโหวตนั้นจะมาจากบัตรลงคะแนนที่พบได้ในแผ่นของ "ซิงเกิลเลือกตั้ง"[126] หรือด้วยวิธีการลงคะแนนผ่านทางแอปพลิเคชันของวง[127][128] สมาชิกที่ได้รับคะแนนโหวตมากที่สุด (ส่วนใหญ่แล้วคือ 16 อันดับแรก) จะได้รับการประชาสัมพันธ์เยอะกว่าสมาชิกคนอื่นหลายเท่า[129] และสมาชิกที่ได้อันดับ 1 จะได้รับตำแหน่ง "เซ็นเตอร์" ที่อยู่ตรงกลางของวงในการแสดงสด หรือมีบทบาทในมิวสิกวีดีโอมากที่สุด ทำให้คนทั่วไปสามารถพบเห็นได้บ่อยที่สุด[130][131] จำนวนโหวตทั้งหมดสำหรับงานเลือกตั้งแต่ละปีนั้นมีจำนวนไม่ต่ำกว่าปีละ 3 ล้านโหวตนับตั้งแต่ปี 2012[132] ซึ่งแฟน ๆ แต่ละคนส่วนใหญ่แล้วจะซื้อซิงเกิลเลือกตั้งเป็นจำนวนร้อย ๆ ซิงเกิลเพื่อที่จะนำคะแนนไปโหวตให้กับสมาชิกที่พวกเขาชื่นชอบ[133][134][135][136][137][138][139]

ในซิงเกิลลำดับที่ 19 ของวง "แชนซ์โนะจุมบัง" (Chance no Junban) มีการใช้วิธีการคัดเลือกสมาชิกเซ็มบัตสึอีกหนึ่งวิธีคือ งานแข่งขันเป่ายิงฉุบ หรือ "จังเก็น" (ญี่ปุ่น: じゃん拳โรมาจิJanken) ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี[140] โดยสมาชิกในวง (รวมถึงวงน้องสาวเช่นกัน) จะเข้ามาแข่งขันกันแบบแพ้คัดออกโดยการเป่ายิงฉุบ สมาชิกที่ชนะจนได้อยู่ใน 16 อันดับแรกจะได้เป็นเซ็มบัตสึสำหรับซิงเกิลต่อไป[141] ซึ่งสมาชิกที่เข้าแข่งขันจะแต่งตัวกันอย่างหลากหลาย[142] เหตุผลในการจัดกิจกรรมนี้คือ เพื่อให้ให้โอกาสสมาชิกที่ไม่เคยได้เป็นเซ็มบัตสึ ได้มีโอกาสรับตำแหน่งนี้ดูสักครั้งเนื่องจากโอกาสในการชนะของสมาชิกทุกคนนั้นเท่ากัน[ต้องการอ้างอิง] ตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นไป ทางวงได้เปลี่ยนแปลงกิจกรรมนี้ใหม่โดยจะหาผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น สมาชิกที่ชนะจะได้เปิดตัวเป็นศิลปินเดี่ยว หรือถ้าหากผู้นั้นเป็นศิลปินเดี่ยวมาก่อนอยู่แล้ว เธอจะได้เปิดคอนเสิร์ตเป็นของตัวเอง[143]

สารคดี

ตั้งแต่ปี 2011 ทางวงได้ปล่อยสารคดีของวงออกมาในโรงละครเป็นจำนวน 4 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นแรก Documentary of AKB48 – To Be Continued ปล่อยออกมาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2011[144] และในฉบับดีวีดีที่สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมในปีเดียวกัน[145] ชิ้นที่ 2 Documentary of AKB48: Show Must Go On Shoujotachi wa Kizutsuki Nagara, Yume wo Miru ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2012[146] และทำรายได้ในบ็อกซ์ออฟฟิศญี่ปุ่นเป็นจำนวนกว่า 120 ล้านบาท[147] ชิ้นที่ 3 Documentary of AKB48: No Flower Without Rain: Shōjo Tachi wa Namida no Ato ni Nani o Miru? ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2013[148] และทำรายได้ไปกว่า 70 ล้านบาท[149] ชิ้นที่ 4 Documentary of AKB48 The Time has come Shōjo-tachi wa, Ima, Sono Senaka ni Nani wo Omou? ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2014[150] และทำรายได้ไปประมาณ 30 ล้านบาท[151] ในสารคดีแต่ละชิ้นจะเล่าเรื่องเหตุการณ์และปัญหาที่ทางวงได้พบเจอในปีที่ผ่านมา[152]

มังงะและอนิเมะ

มังงะชื่อ AKB49: Ren'ai Kinshi Jourei เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวง AKB48 และมีสมาชิกในวงเล่นเป็นบทบาทตัวละครเสริมในเรื่อง[153] ในปี 2012 ทางวงได้ปล่อยอนิเมะออกมาในชื่อ AKB0048 ซีรีส์แนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่อิงจากชีวิตของสมาชิกวง กำกับและดูแลโดย ยะซุชิ อะกิโมะโตะ[154] ตัวละครหลักทั้ง 9 คนในเรื่องนี้ได้รับการพากย์เสียงโดยสมาชิกของ AKB48 และสมาชิกในวงน้องสาวบางคนเช่นกัน[155] ออกอากาศในญี่ปุ่นในช่วงฤดูใบไม้ผลิเมื่อปี 2012[156] ฤดูกาลที่ 2 ของเรื่องนี้ออกอากาศในปี 2013[157]

วีดีโอเกม

ทางวงมีเกมวิชวลโนเวลแนวจีบสาวเป็นของตัวเอง เกมแรกของวง AKB1/48: Idol to Koishitara... วางขายเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2010 เป็นเกมที่เปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถสร้างความสัมพันธ์กับหนึ่งในสมาชิกวงได้ เกมที่สอง AKB1/48: Idol to Guam de Koishitara... วางขายเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2011 มีเนื้อเรื่องคล้ายคลึงกับเกมภาคแรก เป็นแรื่องราวที่เกิดขึ้นในกวม เกมที่สาม AKB1/149 Ren'ai Sōsenkyo วางขายเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2012 มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกวง AKB48 และวงน้องสาว อาทิเช่น SKE48, NMB48 และ HKT48 ทั้งสามเกมได้ลงบนคอนโซลเพลย์สเตชันพอร์เทเบิล โดยภาคล่าสุดนั้นลงบนเพลย์สเตชันวิต้าและ[[เพลย์สเตชัน 3|เพลย์สเตชัน 3[ต้องการอ้างอิง]]] ในปีเดียวกัน มีการวางขายเกม AKB48+Me ลงบนนินเท็นโด 3DS ที่ให้ผู้เล่นสามารถพยายามที่จะเป็นไอดอลเหมือนสมาชิกวงได้[158]ในปี 2014 บันไดนัมโค (Bandai Namco) พัฒนาเกม Sailor Zombie: AKB48 Arcade Edition ซึ่งต่อยอดมาจากโทรทัศน์ซีรีส์ในชื่อเดียวกัน เป็นเกมที่ให้ผู้เล่นใช้ปืนยิงกระสุนวัคซีนใส่สมาชิกวงที่เป็นซอมบี้ ในเกมยังมีโหมดพิเศษคือ โหมดริทึ่ม ที่ให้สมาชิกที่เป็นซอมบี้เต้นไปมา[159] ในเดือนเมษายน 2014 เกมแนวริทึ่ม AKB48 Group tsuini koushiki-on gee demashita ปล่อยออกมาบนแอนดรอยด์และไอโอเอส ที่ให้ผู้เล่นสามารถเลือกสมาชิกวงคนโปรดไปเต้นแข่งขันกันกับผู้เล่นอื่น[160]

รายการโทรทัศน์

ผู้บริหารของวงได้ก่อตั้งรายการโทรทัศน์มาเป็นจำนวนหลายรายการด้วยกันเพื่อทำการประชาสัมพันธ์ให้กับวง AKBingo!, AKB48 Show!AKB to XX, และ Nemōsu TV เป็นรายการวาไรตีหลักของวง Majisuka Gakuen[161] และ Sakura Karano Tegami เป็นรายการซีรีส์ที่นำเสนอเรื่องดรามา นอกจากนี้สมาชิกวง AKB48 ยังไปเป็นตัวละครหลักของรายการ Mecha-Mecha Iketeru!Waratte Iitomo! และ SMAPxSMAP[ต้องการอ้างอิง]

การตอบรับ

อิกุโอะ มิเนะวะกิ ประธานเจ้าหน้าที่ของทาวเวอร์เร็กคอร์ดส์เจแปน (Tower Records Japan) อธิบายว่าเอเคบีโฟร์ตีเอตเป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยม[162] และถือเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมในญี่ปุ่น[163] ในปี 2012 ทางวงมียอดขายในญี่ปุ่นรวมกันกว่า 7,000 ล้านบาท[164][13], มากกว่า 4,000 ล้านบาทในปี 2013, และมากกว่า 3,000 ล้านบาทในปี 2015[165][166] ซึ่งหากนับตั้งแต่วันเปิดตัวจนถึงวันที่ 6 มกราคม 2012 ทางวงได้ขายซิงเกิลไปแล้วเป็นจำนวนมากกว่า 11,787,000 ชุด ทำให้เป็น "กลุ่มดนตรีหญิงที่มียอดขายซิงเกิลสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น"[167] จากนั้นยอดขายซิงเกิลก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมากกว่า 36 ล้านชุด[168] ทำให้ทางวงเป็น "กลุ่มดนตรีที่ทำยอดขายซิงเกิลสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น"[168] ปัจจบันวงมียอดขายซิงเกิลรวมกันกว่า 50 ล้านชุด[169] และยอดขายอัลบั้มกว่า 6 ล้านชุด[170] นอกจากนี้ หากนับตั้งแต่ซิงเกิลลำดับที่ 14 เป็นต้นไป ซิงเกิลทุกชุดหลังจากนั้นก็ได้รับอันดับ 1 มาโดยตลอดบนชาร์ตออริคอนรายอาทิตย์ ในปี 2010 "บีกินเนอร์" (Beginner) และ "เฮฟวีโรเทชัน" (Heavy Rotation) ได้รับอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับบนชาร์ตซิงเกิลที่มียอดขายสูงที่สุดประจำปี[171] จากนั้น ตั้งแต่ปี 2010 ถึง 2016 ซิงเกิลของวงได้อยู่ในอันดับ 1 ถึง 5 มาโดยตลอดบนชาร์ตออริคอนรายปี[172][173][174][175][176][177] ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2015 ทางวงได้ขายซิงเกิลไปแล้วกว่า 40 ล้านชุด[168][170] นับตั้งแต่ซิงเกิลลำดับที่ 21 "เอฟวรีเดย์คะชูชะ" (Everyday, Katyusha) ในปี 2011 ซิงเกิลทุกชุดหลังจากนั้นก็ขายได้เกิน 1 ล้านชุดมาโดยตลอดภายในอาทิตย์แรก แต่ว่าซิงเกิลลำดับที่ 42 ของวง "คุจิบิรุนิบีมายเบบี้" (Kuchibiru ni Be My Baby) ไม่สามารถขายได้มากกว่า 1 ล้านชุดภายในอาทิตย์แรกได้ ทำให้ซิงเกิลที่มียอดขายเกิน 1 ล้านชุดของวงภายในอาทิตย์แรกติดต่อกันอยู่ที่ 21 ซิงเกิล[178] ซิงเกิลที่มียอดขายสูงที่สุดคือ "สึบาซะวะอิราไน" (Tsubasa wa Iranai) ซึ่งทำยอดขายไปกว่า 2.5 ล้านชุดในปี 2016[179]

นอกจากนี้ทางวงยังได้รับการบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ (Guinness World Record) หลายรางวัลด้วยกัน อาทิเช่น "กลุ่มดนตรีป็อปที่มีขนาดใหญ่ที่สุด" ในวันที่ 1 ธันวาคม 2010 เมื่อมีสมาชิกทั้งหมด 48 คน[10][180] นอกจากนี้ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2012 ทางวงได้รับการขนานนามว่า "มีผลงานโฆษณาโทรทัศน์มากที่สุดในเวลา 24 ชั่วโมง" หลังจากที่สมาชิก 90 คนปรากฏตัวในโฆษณา 90 ชิ้นที่ออกอากาศในภูมิภาคคันโต, คันไซ, และโทะไก ในประเทศญี่ปุ่น[181] สถานทูตญี่ปุ่นในสหรัฐอเมริกา อิจิโร ฟุจิซะกิ กล่าวในระหว่างที่พบกับวงในวอชิงตันดี.ซี. ว่า "AKB" หมายถึง "Adorable, Kind, Beauty" (ความน่ารัก, ความอ่อนโยน, และความงดงาม)[13] เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2012 เจแปนโพสต์ได้ออกสแตมป์ที่เป็นอนุสรณ์ให้กับวง[182]

แนวเพลง

แนวเพลงของวงได้รับการเปรียบเปรยว่าเหมือน "บับเบิลกัมป็อป" ทำให้เป็นที่ชื่นชอบสำหรับเด็กหญิงในช่วงวัยรุ่นและชายวัยกลางคนที่มีทรัพย์ซื้อสินค้าของวง[183] มะริ ยะมะกุจิ จากแอสโซซิเอเทตเพรส (Associated Press) กล่าวว่า "เมื่อสมาชิกกำลังร้องและเต้น แฟน ๆ ก็มักที่จะร้องและส่งเสียงเชียร์ไปกับพวกเธอกันอย่างมีจังหวะ" เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของแฟน ๆ กับผู้ชมของการแสดงคะบุกิ[184] นอกจากนี้ โมนิกา เฮสเซ จาก เดอะวอชิงตันโพสต์ (The Washington Post) ได้อธิบายแนวเพลงของวงว่า "เหมือนกับถ้านำ ไมลีย์ ไซรัส, เทย์เลอร์ สวิฟต์, และนักแสดงทุกคนจากเรื่องทไวไลต์ มาผสมรวมกันในกระทะและเคี่ยวจนไม่มีอะไรหลงเหลือนอกจากความหวานที่เหนียวหนึบ"[13]

แอนดรูว์ จอยซ์ และ เคนเนธ แม็กซ์เวล จาก เดอะวอลล์สตรีตเจอร์นอล (The Wall Street Journal) ได้อธิบายเช่นกันว่าเป็น "แนวเพลงป็อปที่เคลือบด้วยน้ำตาลที่มีข้อคิดในเนื้อเพลงเป็นครั้งคราว" และได้พูดอีกว่า "สมาชิกแสดงบทประพันธ์ที่เรียบง่ายซ้ำไปซ้ำมาต่อหน้าผู้ชมที่ 95% เป็นผู้ชาย โดยแนวเพลงนั้นก็เหมือนพลงป็อปญี่ปุ่นที่มีจังหวะเร็ว เสียงสูง และท่อนฮุกที่ร้องตามได้"[185]

กิจกรรมการกุศล

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2011 ทางวงได้ปล่อยซิงเกิลการกุศลออกมาในชื่อ "ดะเระกะโนะทะเมะนิ-ว็อตแคนไอดูฟอร์ซัมวัน?-" (Dareka no Tameni -What Can I Do for Someone?-) เพื่อนำเงินไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ[186] และซิงเกิลลำดับที่ 23 ของวง "คะเซะวะฟุอิเตรุ" (Kaze wa Fuiteiru) แต่งขึ้นเพื่ออุทิศแด่ผู้ประสบภัยและมีเนื้อเพลงไปในทางปลอบประโลม[187][188] ในเดือนกุมภาพันธ์ 2012 ทางวงบริจาคเงินจำนวน 150 ล้านบาทให้กับสภากาชาดญี่ปุ่น ซึ่งเงินบริจาคทั้งหมดสำหรับผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวและคลื่นสึนะมิจากวงนั้นมีจำนวนรวมกันมากกว่า 350 ล้านบาท[189] ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2013 ทางวงได้ปล่อยเพลงใหม่ออกมา "เทะโนะฮิระกะคะตะรุโคะโตะ" (Tenohira ga Kataru Koto) เพลงอีกเพลงที่อุทิศให้กับผุ้ประสบภัยในเดือนมีนาคม 2011 และสามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่เสียเงินผ่านทางเว็บไซต์.[190] หลังจากนั้น เมื่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวผ่านไปครบสองปี ทางวงและวงน้องสาวในประเทศญี่ปุ่นได้เยี่ยมเยือนเขตประสบภัย แสดงในโรงเรียนและที่โรงละครของ AKB48, SKE48, NMB48, และ HKT48 โดยนำรายได้ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยต่อไป[191]

ข้อวิจารณ์

เพลง "เซฟุกุกะจะมะโอะซุรุ" (Seifuku ga Jama o Suru) ของวงถูกวิจารณ์ว่ามีเนื้อเพลงที่ส่อไปทางเพศ และถูกมองโดยนักข่าวฝั่งตะวันตกว่าไม่เหมาะสมสำหรับสมาชิกของวงบางคนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมื่อ แอนนา โคเรน นักข่าวจากซีเอ็นเอ็น ถาม ยะซุชิ อะกิโมะโตะ (ผู้ประพันธ์เนื้อเพลงของวง) เกี่ยวกับประเด็นนี้ อะกิโมะโตะตอบว่าเนื้อเพลงของเขา "แสดงถึงความเป็นจริง" และเป็นตัวกระตุ้นให้คนสนใจถึงปัญหาที่มีอยู่ในโลกนี้ [192][193]

หนึ่งในมิวสิกวีดีโอของวง "เฮฟวีโรเทชัน" (Heavy Rotation) ก็ตกเป็นประเด็นของสังคมเช่นกัน นักข่าวฝั่งตะวันตกวิจารณ์ว่ามิวสิกวีดีโอของเพลงนี้มีแต่การแสดงชุดชั้นในของสมาชิก การสวมกอด[183] การจูบ และการร่วมอาบน้ำในอ่างเดียวกัน ซึ่งผู้กำกับของเพลงนี้ มิกะ นินะงะวะ กล่าวว่าเหตุผลที่การถ่ายทำเป็นแบบนี้เนื่องจากเธออยากจะแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์และความสนุกสนานของเพลง และเธอต้องการที่จะให้เป็นที่ชื่นชอบของทั้งผู้ชายและผู้หญิง เนื่องจากความนิยมของวงได้เพิ่มมากขึ้น[194] แต่ในบทสัมภาษณ์ เธอกลับยอมรับผิดถึงปัญหานี้โดยบอกว่า "คุณอะกิโมะโตะทิ้งทุกอย่างไว้ให้ฉัน แต่เขาไม่ได้ให้เงินเพิ่มเลยด้วยซ้ำ... ฉันพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่า AKB48 เป็นอย่างไรในโลกความเป็นจริง เพราะในห้องแต่งตัวของเธอ ฉันก็เห็นว่าพวกเธอก็ดูสนิทสนมกันดี ฉันจึงคิดไอเดียนี้มาได้"[195]

ในโฆษณาโทรทัศน์สำหรับลูกอมพุชโชที่เปิดตัวเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2012 มีการปรากฏตัวของสมาชิกวงในชุดนักเรียนที่ส่งลูกอมให้กันแบบปากต่อปาก โดยพวกเธอใช้ฟันกัดลูกอมเอาไว้ก่อนที่จะส่งให้คนอื่น ผู้ชมบางคนมองว่าเป็นการ "สนับสนุนพฤติกรรมทางเพศ" "ไม่ถูกสุขลักษณะ" และ "เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อเด็ก ๆ"[183][196][197][198]

ในเดือนมกราคม 2013 ทางวงถูกวิจารณ์อีกครั้งเมื่อรูปของ โทะโมะมิ คะไซ ในนิตยสาร ชุกังยังแม็กกาซีน ปรากฏตัวในสาธารณะ คะไซในรูปนั้นไม่สวมเสื้อบน และมีเด็กคนหนึ่งใช้มือปิดหน้าอกของเธอ ซึ่งรูปดังกล่าวจะนำมาใส่เป็นหน้าปกของหนังสือรวมภาพของคะไซเอง แต่ทางบริษัทก็ได้เลื่อนการปล่อยนิตยสารนี้จากวันที่ 12 เป็นวันที่ 23 มกราคม[199][200][201]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 สมาชิกวง มินะมิ มิเนะงิชิ ได้โกนหัวตัวเองโดยปรากฏตัวผ่านทางวีดีโอเพื่อที่จะขอโทษกับสังคมหลังจากที่มีข่าวว่าเธอแอบไปค้างคืนกับผู้ชาย และเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เธอถูกลดขั้นไปเป็นเค็งคิวเซย์ ถึงแม้ว่าการโกนหัวของเธอนั้นจะทำด้วยความตั้งใจของเธอเองที่อยากให้แฟน ๆ รับรู้ว่าเธอรู้สึกผิดจริง แต่เหตุการณ์นี้ก็ชักจูงให้นักวิจารณ์หลาย ๆ คนออกมาประณามการกระทำนี้และการแก้ไขปัญหาของวง[202]

สารคดีจากเอ็นเอชเคในปี 2016 กล่าวว่าความนิยมของงานจับมือได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้หนุ่มสาวญี่ปุ่นและ "ชายฉกรรจ์" ละทิ้งการหาคู่ในชีวิตจริง เป็นเหตุให้มีข้อโต้เถียงเป็นจำนวนมาก เนื่องจากแฟน ๆ ต้องการที่จะจับมือกับไอดอลที่พวกเขาโปรดปรานมากกว่าการหาคู่รัก[203]

ในงานเลือกตั้งเซ็มบัตสึ​ ปี 2017 เอเคบีโฟร์ตีเอตมีผู้ติดอันดับ16คนแรกเพียง 4 คนตั้งแต่มีงานเลือกตั้งเซ็มบัตสึซึ่งนับว่าน้อยที่สุดโดย12คนที่เหลือมาจากวงน้องสาว

ผลงาน

ผลงานของ AKB48 ประกอบด้วยสตูดิโออัลบั้ม 8 ชุด คอนเสิร์ตอัลบั้ม 32 ชุด มิวสิกวีดีโอ 109 เพลง ซิงเกิล 64 ชุด และเพลงประกอบภาพยนตร์ 1 เพลง

เชิงอรรถ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง