แขวงอุดมไซ
อุดมไซ (ลาว: ອຸດົມໄຊ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ
แขวงอุดมไซ ແຂວງອຸດົມໄຊ | |
---|---|
แผนที่แขวงอุดมไซ | |
แผนที่ประเทศลาวเน้นแขวงอุดมไซ | |
พิกัด: 20°42′00″N 101°49′00″E / 20.7°N 101.816667°E | |
ประเทศ | ลาว |
เมืองเอก | เมืองไซ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 15,370 ตร.กม. (5,930 ตร.ไมล์) |
ประชากร (สำมะโน พ.ศ. 2558) | |
• ทั้งหมด | 307,622 คน |
• ความหนาแน่น | 20 คน/ตร.กม. (52 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+07 |
รหัส ISO 3166 | LA-OU |
HDI (2560) | 0.532[1] ต่ำ · อันดับที่ 15 |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
ประวัติ
แขวงนี้แยกออกมาจากแขวงหลวงพระบางเมื่อ พ.ศ. 2506 เมื่อแรกตั้งแขวงนี้มีชื่อว่า "แขวงล้านช้าง" จากนั้นในปี พ.ศ. 2508 เปลี่ยนชื่อเป็น "แขวงเมืองไซ" และในปี พ.ศ. 2512 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "แขวงอุดมไซ" มาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 จึงได้โอนเมืองปากทาและเมืองผาอุดมไปขึ้นกับแขวงบ่อแก้ว
แขวงอุดมไซนั้นตั้งอยู่ในวงล้อมของแขวงพงสาลี หลวงพระบาง ไชยบุรี และหลวงน้ำทา ในสมัยสงครามกู้ชาติและเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทางหลวงหมายเลข 1 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 4 เคยเป็นศูนย์กลางที่จีนใช้ส่งความช่วยเหลือผ่านไปยังขบวนการปะเทดลาวในช่วงปี พ.ศ. 2513 แต่ในปัจจุบัน อาคารกงสุลเก่าของจีนได้เปลี่ยนแปลงเป็นโรงแรมไปแล้ว รัฐบาลลาวตอบแทนจีนที่ยอมเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างถนนด้วยการให้สัมปทานไม้ในเขตหุบเขาแขวงอุดมไซ ส่งผลให้ป่าไม้บริเวณนี้ถูกทำลายลง ปัจจุบันจีนยังมีอิทธิพลทางการค้า มีตลาดใหญ่ ๆ ขายของมากมาย
การปกครอง
แขวงนี้มีการแบ่งเขตการปกครอง ดังนี้:[2]
แผนที่ | รหัส | ชื่อ | ภาษาลาว | ประชากร (2558) |
---|---|---|---|---|
04-01 | เมืองไซ | ເມືອງໄຊ | 79,535 | |
04-02 | เมืองหลา | ເມືອງຫຼາ | 17,173 | |
04-03 | เมืองนาหม้อ | ເມືອງນາໝໍ້ | 38,826 | |
04-04 | เมืองงา | ເມືອງງາ | 30,938 | |
04-05 | เมืองแบ่ง | ເມືອງແບ່ງ | 37,491 | |
04-06 | เมืองฮุน | ເມືອງຮຸນ | 74,254 | |
04-07 | เมืองปากแบ่ง | ເມືອງປາກແບ່ງ | 29,405 |
ประชากร
ประชากรในแขวงตามสำมะโน พ.ศ. 2558 มี 307,622 คน[3]
กลุ่มชาติพันธุ์ในแขวงนี้มีประมาณ 14 กลุ่ม ตามรายงานจากกรการปกครองแขวง กลุ่มชนเหล่านี้ ได้แก่: ขมุร้อยละ 60–80, ลาวลุ่มร้อยละ 25, ม้งร้อยละ 15 ชนกลุ่มน้อยในแขวงนี้ ได้แก่: อาข่า, ภูไท, ภูน้อย, ลาวห้วย, Phouan, Ly, Yang, Ikho และ Ho[4]
สถานที่ท่องเที่ยว
- วัดสินจงแจ้ง
- พูพระธาตุ
- น้ำตกตาดสิบเอ็ด
- พระธาตุ
- ตลาดเช้า
อ้างอิง
บรรณานุกรม
- Burke, Andrew; Vaisutis, Justine (1 August 2007). Laos 6th Edition. Lonely Planet. p. 73. ISBN 978-1-74104-568-0.
- Let's Go Inc. (13 December 2004). Let's Go Southeast Asia 9th Edition. Macmillan. pp. 310–. ISBN 978-0-312-33567-0.
- Levinson, David; Christensen, Karen (2002). Encyclopedia of modern Asia. Charles Scribner's Sons. p. 304. ISBN 978-0-684-31242-2.