โองการปีศาจ

โองการปีศาจ (อังกฤษ: The Satanic Verses) เป็นนวนิยายเล่มที่สี่ของนักประพันธ์ชาวอังกฤษ-อินเดีย ซัลมัน รัชดี ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1988 โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากมุฮัมมัด ผู้ส่งสารพระเจ้าและศาสดาของศาสนาอิสลาม เนื้อหาของเรื่องดำเนินไปด้วยรูปแบบสัจนิยมมหัศจรรย์ (magical realism) และมีภูมิหลังเป็นเหตุการณ์และบุคคลร่วมสมัย ชื่อของหนังสือเป็นการสื่อถึง "กวีนิพนธ์ปีศาจ" ซึ่งเป็นชุดกวีนิพนธ์ในอัลกุรอานที่กล่าวถึงเทพีของชาวมักกะฮ์ยุคนอกศาสนา สามองค์ ได้แก่: อัลลอต, อัลอุซซา และ มะนอต[1] เนื้อหาส่วนที่กล่าวถึง "กวีนิพนธ์ปีศาจ" นี้อ้างมาจากงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ อัลวะกีดี และ อัลตะบอรี[1]

โองการปีศาจ  
หน้าหลังปกของ โองการปีศาจ ฉบับลักลอบแปลและเผยแพร่ในประเทศอิหร่าน
ผู้ประพันธ์ซัลมัน รัชดี
ประเทศสหราชอาณาจักร
ภาษาอังกฤษ
ประเภทสัจนิยมมหัศจรรย์
พิมพ์1988
ชนิดสื่อพิมพ์
หน้า546 (พิมพ์ครั้งที่ 1)
ISBN0-670-82537-9
OCLC18558869
823/.914
LC ClassPR6068.U757 S27 1988
เรื่องก่อนหน้าShame 
เรื่องถัดไปHaroun and the Sea of Stories 

ในสหราชอาณาจักร โองการปีศาจ ได้รับเสียงตอบรับค่อนไปทางบวก และยังได้รับเลือกเข้าสู่รางวัลบุคเคอร์ปี 1988 ในรอบสุดท้าย ก่อนจะแพ้ให้กับ Oscar and Lucinda โดย พีเทอร์ คารี และชนะ รางวัลไวท์เบรด ปี 1988 สาขานวนิยายแห่งปี[2] อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้นำไปสู่ข้อถกเถียงครั้งใหญ่ โดยชาวมุสลิมมองว่าเป็นหนังสือหมิ่นประมาทและล้อเลียนศาสนาอิสลาม ความโกรธเคืองในบรรดาชาวมุสลิมนี้นำไปสู่การเรียกร้องให้สังหารผู้ประพันธ์หนังสือ ซัลมัน รัชดี โดยแอแยตอลลอฮ์ รูฮอลอฮ์ ฆอเมนี ผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่าน ในปี 1989 ซึ่งต่อมาทำให้เกิดการพยายามลอบสังหารรัชดีหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ จนรัชดีได้รับการคุ้มครองภายใต้ตำรวจโดยรัฐบาลสหราชอาณาจักรเป็นผู้ดูแล นอกจากนี้นังนำไปสู่การโจมตีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ ซึ่งรวมถึงการฆาตกรรม ฮิโตชิ อิการาชิ ผู้แปลหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาญี่ปุ่น

หนังสือถูกห้ามเผยแพร่ในประเทศอินเดียภายใต้เหตุผลสร้างความเกลียดชังต่อชาวมุสลิม[3][4]

บทวิพากษ์วิจารณ์

ในภาพรวม หนังสือได้รับเสียงตอบรับในทางบวกจากนักวิจารณ์วรรณกรรม ในบทวิจารณ์การงานด้านวรรณกรรมของรัชดีในปี 2003 โดยนักวิจารณ์วรรณกรรมชื่อดัง ฮาโรลด์ บลูม ระบุให้ โองการปีศาจ เป็น "ความสำเร็จทางสุนทรีย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของรัชดี"[5]

หลังเกิดข้อถกเถียงกรณีหนังสือ นักวิชาการจำนวนหนึ่งที่คุ้นเคยดีกับหนังสือเล่มนี้และผลงานโดยรวมของรัชดี เช่น เอ็ม.ดี. เฟล็ตเชอร์ (M. D. Fletcher) มองว่าผลตอบรับในแง่ต่อต้านหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องออกไปทางประชดประชัน (ironic) เฟล็ตเชอร์เขียนไว้ว่า "นี่น่าจะเป็นเรื่องประชดที่เกี่ยวกัน (relevant irony) ที่เสียงตอบรับต่อหนังสือในทางหวังร้ายต่อรัชดีมาจากพวกที่รัชดีเขียนถึง"[6]

ข้อถกเถียง

หนังสือเล่มนี้ถูกต้องโทษข้อหาหมิ่นศาสนา (blasphemy) จากการอ้างถึงเนื้อหาวรรคปีศาจในอัลกุรอาน ปากีสถานประกาศให้การซื้อขายหรือมีหนังสือเล่มนี้ในครอบครองผิดกฎหมายเมื่อพฤศิกจายน 1988 ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1989 ผู้ประท้วงจำนวน 10,000 คนรวมตัวกันประท้วงรัชดีและหนังสือในอิสลามาบาด มีการโจมตีศูนย์วัฒนธรรมอเมริกัน (American Cultural Center) เป็นผลให้มีผู้ประท้วงเสียชีวิตหกราย และมีการบุกรุกทำลายสำนักงานของอเมริกันเอกซเพรส (American Express) ความรุนแรงนี้แพร่กระจายไปถึงอินเดีย จนเป็นผลให้ทางการอินเดียสั่งให้หนังสือเล่มนี้เป็นสิ่งผิดกฎหมายตามมา[7]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง