ไทยสยาม

ชาวสยาม (อังกฤษ: Siamese)[27][28][29][30][31] หรือ คนไทยภาคกลาง[b] โดยทั่วไปหมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่อาศัยอยู่ภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์

ชาวไทย
Khon
คนไทยในพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่
ประชากรทั้งหมด
ป. 52–59 ล้านคน[a]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 ไทย ป. 51–57.8 ล้านคน[nb 1][1][2][3]
ชาวไทยพลัดถิ่น
ป. 1.1 ล้านคน
 สหรัฐ488,000[4] (2020)
 ออสเตรเลีย100,856[5] (2020)
 ญี่ปุ่น86,666[6] (2020)
 ไต้หวัน82,608[7] (2020)
 สวีเดน74,101[8] (2020)
 เยอรมนี59,130[9] (2020)
 สหราชอาณาจักร45,884[10] (2020)
 เกาหลีใต้32,861[11] (2020)
 นอร์เวย์31,387[12] (2020)
 อิสราเอล26,641[13] (2020)
 ฝรั่งเศส30,000[13] (2019)[14]
 มาเลเซีย51,000–70,000[13][15] (2012)
 ลิเบีย24,600[13] (2011)
 สิงคโปร์47,700[13] (2012)
 เนเธอร์แลนด์20,106[16] (2017)
 แคนาดา19,010[17] (2016)
 ลาว15,497[18] (2015)
 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์14,232[13] (2012)
 รัสเซีย14,087[19] (2015)
 ฟินแลนด์13,687[20] (2019)
 เดนมาร์ก12,947[21] (2020)
 ฮ่องกง11,493[22] (2016)
 ซาอุดีอาระเบีย11,240[13] (2012)
 นิวซีแลนด์10,251 (เกิด), ประมาณ 50,000 (บรรพบุรุษ)[23] (2018)
 สวิตเซอร์แลนด์9,058[24] (2015)
 จีน8,618[13] (2012)
 อิตาลี5,766[25] (2016)
 บรูไน5,466[13] (2012)
 เบลเยียม3,811[13] (2012)
 ออสเตรีย3,773[13] (2012)
 อินเดีย3,715[13] (2012)
 แอฟริกาใต้3,500[13] (2012)
 กาตาร์2,500[13] (2012)
 บาห์เรน2,424[13] (2012)
 คูเวต2,378[13] (2012)
 อียิปต์2,331[13] (2012)
ส่วนอื่นของโลกป. 47,000[26]
ภาษา
ไทย
ศาสนา
ส่วนใหญ่ :
พุทธเถรวาทและศาสนาผี 97.6%
ส่วนน้อย:
อิสลามนิกายซุนนี 1.6%
คริสต์ (คาทอลิกและโปรเตสแตนต์) 0.8%
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ไทยเชื้อสายจีน, มาเลเซียเชื้อสายไทย

ในความหมายทางชาติพันธุ์ ใช้เฉพาะเจาะจงถึงชาวไทภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย หรือกลุ่มชาติพันธุ์ไทนอกบริเวณดังกล่าวที่มีความเกี่ยวดองทางวัฒนธรรมโดยตรงเช่น ไทโคราช, ชาวโยดะยา, ไทยเขตตะนาวศรี, ไทยเกาะกง แต่ในความหมายทางรัฐชาตินิยมรวมถึงชาติพันธุ์ไทอื่นทั้งในและนอกอาณาจักรด้วยเช่น ไทยอีสาน, ชาวไทยวน, ไทยเชื้อสายจีน, ไทยเชื้อสายเปอร์เซีย, ไทยเชื้อสายเขมร, ไทยเชื้อสายมลายู, ไทยเชื้อสายมอญ, และ ไทยเชื้อสายอินเดีย เป็นต้น

ประวัติ

ประชากรที่อาศัยในภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบันมาจากการผสมผสานระหว่างชาวไทกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ทั้งที่เป็นชนพื้นเมืองเดิมในภูมิภาคนี้และชนที่เคลื่อนย้ายเข้ามาใหม่[32] จดหมายเหตุลาลูแบร์ระบุว่าชาวต่างชาติเรียกชนกลุ่มนี้ว่าชาวสยาม แต่ชาวสยามเรียกตนเองว่าไทน้อย[33] ต่อมาจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้ออก ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยรัฐนิยม ใช้ชื่อประเทศ, ประชาชน และสัญชาติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ให้เรียกประชาชนว่าไทย[34] ต่อมาวันที่ 2 สิงหาคม ได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยรัฐนิยม ฉบับที่ ๓ เรื่อง การเรียกชื่อชาวไทย ให้เลิกการเรียกแบ่งแยกคนไทยออกเป็นหลายพวกหลายเหล่า เช่น ไทยเหนือ ไทยอีสาน ไทยใต้ ไทยอิสลาม แต่ใช้คำว่าไทยแก่ชาวไทยโดยทั้งหมดทั้งมวลโดยไม่แบ่งแยก[35]

คนเชื้อชาติ-สัญชาติไทยในต่างแดน

ประชากรชาวไทยสยามในต่างแดนทั่วโลก

ชาวไทยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศไทยแม้ว่าชาวไทยบางส่วนสามารถพบได้ในส่วนอื่นๆของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 51–57 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น[36]ในขณะที่ชุมชนขนาดใหญ่ของชาวไทยสามารถพบได้ใน สหรัฐ, จีน, ลาว, ไต้หวัน, มาเลเซีย, สิงคโปร์, กัมพูชา, พม่า, เกาหลีใต้, เยอรมนี, สหราชอาณาจักร, แคนาดา, ออสเตรเลีย, สวีเดน, สวีเดน, ลิเบีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

สังคมและวัฒนธรรม

ชาวไทยในวันสงกรานต์
นักเรียนชาวไทยแสดงความกตัญญูโดยการโอบกอดผู้ปกครอง

ภาษา

ชาวไทยสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ในภูมิภาคด้วยความหลากหลายของภาษาไทย กลุ่มเหล่านี้รวมถึง ภาษาไทยกลาง (รวมถึงความหลากหลายของมาตรฐานภาษาและวัฒนธรรม), ภาษาไทยถิ่นใต้, ภาษาอีสาน (ซึ่งมีเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับภาษาลาวมาตรฐานของลาวมากกว่าภาษาไทยมาตรฐาน), คำเมือง (ภาษาไทยภาคเหนือ) และภาษายาวีซึ่งเป็นภาษาไทยแบบมาเลย์มีที่ใช้ในกลันตัน-ปัตตานี

ภาษาไทยกลางยุคใหม่มีความโดดเด่นมากขึ้นเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อดูดซับและรวมความแตกต่างของคนไทยแม้จะมีความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมระหว่างคนที่ไม่ได้พูดภาษาไทยกับชุมชน

การแต่งกาย

ชาวไทยนิยมใส่ชุดไทยซึ่งสามารถสวมใส่โดยผู้ชายผู้หญิงและเด็ก ชุดไทยสำหรับผู้หญิงโดยทั่วไปประกอบด้วย ผ้านุ่ง หรือ โจงกระเบน, เสื้อและสไบ ผู้หญิงในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออาจสวมซิ่นแทนผ้านุ่งและโจงกระเบน และสวมชุดด้วยเสื้อหรือ เสื้อปัด ส่วนชุดไทยสำหรับผู้ชายรวมถึง โจงกระเบน หรือกางเกง, เสื้อราชปะเตน พร้อมถุงเท้ายาวเข่าสีขาวเสริม ชุดไทยสำหรับผู้ชายชาวไทยภาคเหนือประกอบด้วย กางเกงชาวเล แจ็คเก็ตสไตล์แบบจีนสีขาวและบางครั้ง มักจะมีผ้าโพกหัว ส่วนในโอกาสทางการผู้คนอาจเลือกสวมใส่ชุดประจำชาติไทยหรือชุดไทยพระราชนิยม

ศาสนา

คณะสามเณรกำลังเดินบิณฑบาตในตอนเช้า

ชาวไทยยุคใหม่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและระบุอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของพวกเขาอย่างยิ่งด้วยการปฏิบัติทางศาสนาของพวกเขาซึ่งรวมถึงแง่มุมของการบูชาบรรพบุรุษในหมู่ความเชื่ออื่นๆของคติความเชื่อของไทย ซึ่งชาวไทยส่วนใหญ่ (มากกว่า 90%) เป็นที่ยอมรับว่าตนเองเป็นชาวพุทธ ตั้งแต่การปกครองของพ่อขุนรามคำแหงของอาณาจักรสุโขทัยและอีกครั้งตั้งแต่ "การปฏิรูปศาสนา" ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในศตวรรษที่ 19 การปฏิรูปยึดแบบศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกาแบบดั้งเดิมเป็นแม่แบบ อย่างไรก็ตามความเชื่อพื้นบ้านของคนไทยคือ การผสานความเชื่อของชาวพุทธอย่างเป็นทางการเข้ากับศาสนาผีและศาสนาฮินดู[37] ที่ได้รับอิทธิพลมาจากจากอินเดียส่วนหนึ่งและอีกส่วนได้รับมรดกมาจากจักรวรรดิเขมรแห่งอังกอร์[38]

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

อ้างอิง

เชิงอรรถ
บรรณานกรม
  • กรมศิลปากรประวัติศาสตร์ชาติไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2558. ISBN 978-616-283-225-3
  • ซีมง เดอ ลา ลูแบร์จดหมายเหตุ ลาลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2552. 688 หน้า. ISBN 974-93533-2-3
  • ยรรยง จิระนคร (เจีย แยนจอง). คนไทไม่ใช่คนไทย แต่เป็นเครือญาติชาติภาษา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2548. ISBN 974-323-484-5
  • Girsling, John L.S., Thailand: Society and Politics (Cornell University Press, 1981).
  • Terwiel, B.J., A History of Modern Thailand (Univ. of Queensland Press, 1984).
  • Wyatt, D.K., Thailand: A Short History (Yale University Press, 1986).

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักเอฟเอคัพองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อสมทสโมสรฟุตบอลเชลซีสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดพระบรมสารีริกธาตุพิเศษ:ค้นหาสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีเฟซบุ๊กไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)สโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาอสุภญีนา ซาลาสสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลยูเวนตุสเอซี มิลานนางทาสหัวทองโอลด์แทรฟฟอร์ดยลดา สวนยศคิม ซู-ฮย็อนสโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ดอามาด ดียาโลสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีชาลี ไตรรัตน์สโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งประเทศไทยสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์