ไอแพดโอเอส

ไอแพดโอเอส (อังกฤษ: iPadOS) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพาที่พัฒนาโดยแอปเปิลสำหรับใช้กับไอแพดซึ่งเป็นแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ของแอปเปิลเอง ซึ่งพัฒนาแยกมาจากไอโอเอส[6] โดยเปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562 ซึ่งในตัวนี้ จะใช้ฐานเดียวกันกับ iOS แต่จะถูกปรับปรุง ให้สามารถทำงานในรูปแบบไอแพตได้อย่างสมบูรณ์ อาทิ ระบบ Multitasking , Apple Pencil , การเชื่อมต่อกับเมาส์หรือแทร็คแพดและคีย์บอร์ดเป็นต้น

iPadOS
หน้าจอหลักของ iPadOS 17 บนอุปกรณ์ ไอแพด
ผู้พัฒนาApple Inc.
เขียนด้วยC, C++, Objective-C, Swift
ตระกูลUnix-like, based on Darwin (BSD), iOS
สถานะCurrent
รูปแบบ
รหัสต้นฉบับ
Closed source
วันที่เปิดตัว24 กันยายน 2019; 4 ปีก่อน (2019-09-24)[1]
ภาษาสื่อสาร40 languages[2][3][4][5]
วิธีการอัปเดตOTA, Software Update, App Store
แพลตฟอร์ม
ที่รองรับ
  • iPad Air (3rd generation)
  • iPad Air (4rd generation)
  • iPad Air (5th generation)
  • iPad (6th generation)
  • iPad (7th generation)
  • iPad (8th generation)
  • iPad (9th generation)
  • iPad (10th generation)
  • iPad Mini 4
  • iPad Mini (5th generation)
  • iPad Mini (6th generation)
  • iPad Pro 9.7-inch
  • iPad Pro 10.5-inch
  • iPad Pro 11-inch (2018) (1st generation)
  • iPad Pro 11-inch (2020) (2nd generation)
  • iPad Pro 11-inch (2021) (3nd generation)
  • iPad Pro 11-inch (2022) (4nd generation)
  • iPad Pro 12.9-inch (2017) (2nd generation)
  • iPad Pro 12.9-inch (2018) (3rd generation)
  • iPad Pro 12.9-inch (2020) (4th generation)
  • iPad Pro 12.9-inch (2021) (5th generation)
  • iPad Pro 12.9-inch (2022) (6nd generation)
ชนิดเคอร์เนลHybrid (XNU)
ส่วนติดต่อผู้ใช้ปริยายCocoa Touch (multi-touch, GUI)
สัญญาอนุญาตProprietary software ยกเว้นส่วนประกอบที่เป็น open-source
รุ่นก่อนหน้าiPadOS 16
เว็บไซต์www.apple.com/ipados/

คุณสมบัติต่างๆ

คุณสมบัติส่วนมากของไอแพดโอเอสนั้นสามารถพบได้บนไอโอเอสได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามไอแพดโอเอสนั้นจะมีคุณสมบัติที่ไม่สามารถพบได้บนไอโอเอส และอาจมีบางคุณสมบัติที่พบที่พบได้บนไอโอเอสอย่างเดียวเช่นกัน

หน้าจอหลัก

ไม่เหมือนกับรุ่นไอโอเอสก่อนหน้า ตารางไอคอนของไอแพดโอเอสจะสามารถแสดงไอคอนมากถึง 5 แถวและ 6 คอลัมน์ ไม่ว่าจะแสดงผลอยู่ในรูปแบบแนวตั้ง หรือแนวนนอนก็ตาม โดยหน้าแรกของหน้าจอหลักนั้นสามารถปรับแต่งให้แสดงถึงคอลัมน์ของวิดเจ็ดได้โดยง่าย โดยสามารถเข้าถึงการค้นหาโดย Spotlight ได้โดยการปัดลงจากหน้าจอหลัก หรือการกด Command + Space บนแป้นพิมพ์ที่ได้เชื่อมต่อ

งานมัลติทาสก์

ไอแพดโอเอสนั้นมีระบบคุณสมบัติงานมัลติทาสก์ที่ถูกพัฒนาให้มีความสามารถที่เหนือกว่าไอโอเอส โดยมีคุณสมบัติเฉพาะเช่น Slide Over และ Split View ที่สามารถทำให้เปิดแอปพลิเคชันหลายแอปพลิเคชันได้พร้อมกัน

ในระหว่างการใช้งานแอปพลิเคชัน การปัดนิ้วขึ้นจากขอบจอด้านล่างเล็กน้อยจะเป็นการเปิดใช้ Dock ซึ่งเป็นที่ที่สามารถใส่แอปพลิเคชันไว้ได้ และสามารถเลือกเปิดได้โดยการกดและลากไปยังพื้นที่ที่ต้องการจะเปิดซึ่งสามารถเปิดแอปพลิเคชันนั้นในรูปของ Split View หรือ Slide Over ได้ โดยการลากแอปพลิเคชันไปยังขอบซ้ายหรือขวาของหน้าจะเป็นการเลือกเปิดแบบ Split View ซึ่งจะสามารถใช้งานแอพพลิเคชั้นทั้งสองให้อยู่ข้างกัน และสามารถใช้งานพร้อมกันได้ โดยขนาดของแอปพลิเคชันทั้งสองที่เปิดนั้นสามารถปรับขนาดได้โดยการลากไอคอนรูปร่างคล้ายเม็ดยาที่บริเวณตรงกลางของส่วนแบ่งแอปพลิเคชัน และลากเพื่อปรับขนาดที่ต้องการได้ หรือลากไปจนสุดของด้านใดด้านหนึ่งของหน้าจอนั้นจะเป็นการปิดแอพพลิคชั่นไปที่สุด แต่ถ้าผู้ใช้ลากแอปพลิเคชันไปยังพื้นที่ตรงกลางของแอปพลิเคชันที่เปิดอยู่แล้ว แอปพลิเคชันที่ลากมากนั้นจะเปิดอยู่มนรูปของหน้าต่างที่ลอยอยู่เรียกว่า Slide Over ซึ่งสามารถลากไปอยู่ที่บริเวณขวา หรือซ้ายของหน้าจอก็ได้ สามารถซ่อนหน้าต่าง Slide Over ได้โดยการปัดหน้าต่างนั้นไปยังขอบขวาสุดของหน้าจอ และสามาาถปัดไปทางซ้ายจากขอบหน้าจอขวาสุดของหน้าจอเพื่อเลิกซ่อนหน้าต่างได้ โดยสามารถเลือกเปิดแอปพลิเคชันที่เปิดในรูป Slide Over ก่อนหน้าได้โดยการปัดจากขอบของหน้าต่างทั้งฝั่งซ้ายและขวาเพื่อกลอกลับไปมาได้ หรือทำการปัดไอคอนรูปร่างคล้ายเม็ดยาที่บริเวณด้านล่างของหน้าจอ Slide Over เพื่อเปิดหน้าต่างเลือกแอปพลิเคชันที่เปิดในรูป Slide Over ก่อนหน้าได้ และการปัดไอคอนรูปร่างคล้ายเม็ดยาที่บริเวณด้านบนของหน้าต่างของแอปพลิเคชันที่เปิดในรูป Split View หรือ Slide Over จะสามารถใช้ในการสลับการเปิดแบบ Split View หรือ Slide Over ได้

ในหลายแอปพลิเคชัน วิดิโอที่เปิดอยู่สามารถย่อไปเป็นหน้าต่างรูปภาพข้างในรูปภาพ (picture-in-picture) ได้ ซึ่งจะสามารถทำให้ผู้ใช้สามารถรับชมวิดิโอในขณะที่ทำสิ่งต่างๆ นอกเหนือแอปพลิเคชันวิดิโอนั้นนั้นได้ ซึ่งสามารถเลือกที่จะซ่อนหน้าต่างนี้ได้โดยการปัดหน้าต่างไปยังขอบของหน้าจอ และหน้าต่างนั้นจะแสดงเครื่องหมายลูกศรที่ขอบของหน้าต่าง ซึ่งการปัดกลับมาจะทำให้หน้าต่างกลับมาแสดงผลบนหน้าจออีกครั้ง

Sidecar

Sidecar นั้นจะสามารถทำให้ไอแพดนั้นเป็นหน้าจอแสดงผลที่สองสำหรับอุปกรณ์แม็ค ซึ่งในระหว่างการใช้งาน Sidecar สามารถใช้ Apple Pencil ในการวาดลงไปบนไอแพดได้คล้ายกับใช้งานกราฟิกแท็บเล็ตสำหรับแอปพลิเคชันเช่น Photoshop[7] โดยคุณสมบัตินี้จะรองรับบนไอแพดที่รองรับการใช้งานร่วมกับ Apple Pencil เท่านั้น

การรองรับเมาส์หรือแทร็คแพด

โดยคุณลักษณะการรองรับเมาส์หรือแทร็คแพดนั้นถูกเพิ่มเข้ามาในเวอร์ชัน 13.4[8]

Scribble

คุณสมบัตินี้ถูกเปิดเผยครั้งแรกในไอแพดโอเอส 14 ซึ่ง Scribble จะเป็นการเปลี่ยนข้อความที่เขียนด้วยลายมือโดยการใช้ Apple Pencil ไปเป็นข้อความไปยังช่องข้อความใดๆ ทั่วทั้งระบบ[9] ซึ่งจะรองรับภาษาอังกฤษ และภาษาจีนเท่านั้น

ประวัติของเวอร์ชันต่างๆ

รุ่นเปิดตัวครั้งแรกวันที่ปล่อยอัปเดตรายละเอียดหลักหมายเหตุ
13.1 - 13.X4 มิถุนายน 256224 กันยายน 2562รุ่นแรกที่นำเอา iPadOS แยกมาจาก iOSอัปเดตเป็น iPadOS 13 ได้เป็นซีพียู Apple A8 ขึ้นไป และ แรม 2 จิกะไบต์ขึ้นไป รุ่นไม่ได้รับอัปเดต iPadOS 13 รุ่นไอแพดต่อไปนี้ ไอแพด แอร์ รุ่น1, ไอแพด มินิ 2 และ ไอแพด มินิ 3 เนื่องมาจากใช้ซีพียู Apple A7 และ แรม 1 จิกะไบต์ ยอมรับเวอร์ชันสิ้นสุดไอโอเอส 12
1423 มิถุนายน 256316 กันยายน 2563การอัปเดตหลักของ iPadOS ครั้งแรก-
157 มิถุนายน 2564[10]20 กันยายน 2564[11]เพิ่มสมบัติหลักและการปรับปรุงการทำงาน-
15.227 ตุลาคม 2564[12]13 ธันวาคม 2564[13]เพิ่มคุณสมบัติและการแก้ไขข้อบกพร่องอื่นๆ-
15.326 มกราคม 202226 มกราคม 2022เพิ่มคุณสมบัติและการแก้ไขข้อบกพร่องอื่นๆ-
166 มิถุนายน 202224 ตุลาคม 2022การเพิ่มวิตเจ็ตบนหน้าจอหลัก สภาพอากาศ-
175 มิถุนายน 202318 กันยายน 2023การปรับแต่งหน้าจอล็อก-

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง