บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

(เปลี่ยนทางจาก BBC)

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ[2] หรือ บีบีซี[2] (อังกฤษ: British Broadcasting Corporation, BBC) เป็นองค์การกระจายเสียงสาธารณะของสหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2465 โดยนายจอห์น รีท มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่บรอดคาสติงเฮาส์ในกรุงลอนดอน และมีศูนย์ผลิตรายการอยู่ที่เมืองซอลฟอร์ด เบลฟัสต์ เบอร์มิงแฮม บริสตอล คาร์ดิฟฟ์ และกลาสโกว์ รวมทั้งยังมีศูนย์ผลิตรายการย่อยอีกจำนวนมากอยู่ทั่วอังกฤษ บีบีซียังเป็นองค์กรด้านสถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดและยังเป็นสถานีออกอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพนักงานจำนวนกว่า 23,000 คน[3][4][5]

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ
ชื่อท้องถิ่น
British Broadcasting Corporation
ประเภทรัฐวิสาหกิจ
โดยได้รับพระบรมราชานุญาต
อุตสาหกรรมสื่อสารมวลชน
ก่อนหน้าบริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ (British Broadcasting Company)
ก่อตั้ง18 ตุลาคม พ.ศ. 2465 (101 ปีที่แล้ว) ในนามบริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ
1 มกราคม พ.ศ. 2470 (97 ปีที่แล้ว) ในนามบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ
ผู้ก่อตั้งรัฐบาลในสมเด็จฯ
สำนักงานใหญ่
บรอดคาสติงเฮาส์
ถนนพอร์ตแลนด์ กรุงลอนดอน
,
สหราชอาณาจักร
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
ริชาร์ด ชาร์ป
(ประธาน)
ทิม เดวี
(ผู้อำนวยการ)
ผลิตภัณฑ์เว็บท่า
บริการ
  • โทรทัศน์
  • วิทยุ
  • ออนไลน์
รายได้เพิ่มขึ้น 5,064 พันล้านปอนด์สเตอร์ลิง (พ.ศ. 2564)
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 290 ล้านปอนด์ (พ.ศ. 2564)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 227 ล้านปอนด์ (พ.ศ. 2564)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 2.11 พันล้านปอนด์ (พ.ศ. 2564)
เจ้าของบริษัทมหาชน[1]
พนักงาน
ลดลง 22,219 คน (พ.ศ. 2564)
เว็บไซต์bbc.co.uk bbc.com

บีบีซีเป็นหน่วยงานด้านสถานีวิทยุและโทรทัศน์ที่จัดตั้งขึ้นโดยได้รับพระบรมราชานุญาต (Royal Charter)[6] และดำเนินกิจการตามข้อตกลงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม สื่อ และกีฬา[7] การดำเนินงานของบรรษัทได้รับการอุดหนุนด้านการเงินเป็นหลักจากค่าธรรมเนียมการรับชมโทรทัศน์ซึ่งเรียกเก็บจากครัวเรือน บริษัท และองค์กรทุกแห่งในสหราชอาณาจักรที่ใช้อุปกรณ์ใด ๆ ก็ตามในการรับชมการแพร่ภาพโทรทัศน์[8] รัฐบาลสหราชอาณาจักรเป็นผู้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา[9]

ประวัติ

การกำเนิดของการกระจายเสียงของอังกฤษ ค.ศ. 1920 ถึง 1922

การถ่ายทอดสดสาธารณะครั้งแรกของสหราชอาณาจักรเกิดขึ้นจากโรงงานของบริษัทวิทยุโทรเลขมาร์โกนี ในเมืองเชล์มสฟอร์ด ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1920 โดยได้รับการสนับสนุนจาก ไวเคานต์นอร์ทคลิฟ (Lord Northcliffe) แห่งหนังสือพิมพ์เดลีเมล์ และดำเนินรายการโดย เนลลี เมลบา (Dame Nellie Melba) นักร้องเสียงโซปราโนที่มีชื่อเสียงชาวออสเตรเลีย การออกอากาศของเมลบาดึงดูดจินตนาการของผู้คนและเป็นจุดเปลี่ยนในทัศนคติต่อวิทยุของสาธารณชนชาวอังกฤษ[10] อย่างไรก็ตาม ความกระตือรือร้นของสาธารณชนนี้ไม่ได้ถูกยอมรับในแวดวงทางการที่มองว่าการออกอากาศดังกล่าวขัดขวางการสื่อสารทางการทหารและพลเรือนที่สำคัญ ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1920 ความกดดันจากหน่วยงานเหล่านี้และความไม่สะดวกใจในหมู่เจ้าหน้าที่ของที่ทำการไปรษณีย์ทั่วไป (General Post Office) ซึ่งเป็นหน่วยงานออกใบอนุญาต ก็เพียงพอแล้วที่จะนำไปสู่การห้ามการออกอากาศที่เชล์มสฟอร์ดต่อไป[11]

แต่ในปี ค.ศ. 1922 ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วไปได้รับคำขอใบอนุญาตออกอากาศเกือบ 100 รายการ[12] และทำการยกเลิกการสั่งห้ามเมื่อมีการเกิดขึ้นของสมาคมไร้สาย 63 แห่งซึ่งมีสมาชิกมากกว่า 3,000 ราย[13] ด้วยความกังวลและพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการขยายตัวที่วุ่นวายแบบเดียวกับที่เคยมีประสบการณ์ในสหรัฐอเมริกา หน่วยงานที่ทำการไปรษณีย์ทั่วไปเสนอว่าจะออกใบอนุญาตกระจายเสียงให้กับบริษัทที่กลุ่มผู้ผลิตเครื่องรับไร้สายชั้นนำเป็นเจ้าของร่วมกัน ซึ่งรู้จักกันในชื่อบริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ (British Broadcasting Company Ltd.) จอห์น รีท (John Reith) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทั่วไปในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1922 ไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่บริษัททำการออกอากาศครั้งแรกอย่างเป็นทางการ[14] ลีโอนาร์ด สแตนตัน เจฟเฟอรีส์ (Leonard Stanton Jefferies) เป็นผู้อำนวยการด้านดนตรีคนแรก[15] บริษัทจะได้รับเงินทุนจากค่าภาคหลวงในการขายชุดรับสัญญาณไร้สายของบีบีซีจากผู้ผลิตในประเทศที่ได้รับอนุมัติ[16] ขณะนั้นบีบีซีตั้งเป้าที่จะปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของรีท คือเพื่อ "แจ้งข่าว ให้ความรู้ และให้ความบันเทิง"[17]

ค.ศ. 1922–1939

ป้ายสีน้ำเงินที่พระราชวังอเล็กซานดรา เป็นสถานีโทรทัศน์ความละเอียดสูงแห่งแรกในโลก

ค.ศ. 1939–2000

บีบีซี เทเลวิชันเซ็นเตอร์ สำนักงานใหญ่ที่ไวต์ซิตี ลอนดอนตะวันตก เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. 1960 และปิดทำการเมื่อ ค.ศ. 2013

ค.ศ. 2011–ปัจจุบัน

บรอดคาสติงเฮาส์ สำนักงานใหญ่แห่งใหม่ในกรุงลอนดอน เริ่มเปิดทำการใน ค.ศ. 2012–2013

บริการ

บีบีซีให้บริการกระจายเสียงและแพร่ภาพตลอดจนสื่อประสม ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

  1. ข่าวบีบีซี (BBC News)
  2. วิทยุบีบีซี (BBC Radio)
  3. โทรทัศน์บีบีซี (BBC Television)
  4. เว็บไซต์บีบีซี (www.bbc.co.uk)

ตราสัญลักษณ์ของบีบีซี

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง