โมแจงสตูดิโอส์

(เปลี่ยนทางจาก Mojang)

โมแจงสตูดิโอส์ (อังกฤษ: Mojang Studios)[nb 1] เป็นบริษัทพัฒนาเกมสัญชาติสวีเดนและเป็นบริษัทลูกของเอกซ์บอกซ์เกมสตูดิโอส์ ตั้งอยู่ที่เมืองสต็อกโฮล์ม ก่อตั้งโดยมาร์คุส แพร์ช็อน ในปี พ.ศ. 2552 ภายใต้ชื่อ มุเย็งสเปซิฟิเคชันส์ (Mojang Specifications) ซึ่งเป็นการสารต่อชื่อจากกิจการวิดีโอก่อนหน้าที่เขาได้ออกมาเมื่อ 2 ปีก่อน บริษัทได้เริ่มพัฒนาเกมแซนด์บอกซ์อย่างไมน์คราฟต์ในปีเดียวกันกับที่ก่อตั้งบริษัท (ปัจจุบันเกมดังกล่าวได้กลายเป็นเกมที่มียอดขายสูงที่สุดตลอดกาลและประสบความสำเร็จในแพลตฟอร์มต่าง ๆ) ต่อมาในช่วงปลายปี พ.ศ. 2553 แพร์ช็อนได้ร่วมมือกับยาค็อบ พอร์เชียร์ (Jakob Porsé) ดำเนินบริษัทภายใต้ชื่อ มุเย็ง เอบี (Mojang AB) และจ้างคาร์ล มานเนห์ (Carl Manneh) มาเป็นประธานบริหาร เวลาผ่านไปแพร์ช็อนต้องการเลิกทำงานพัฒนาไมน์คราฟต์ จึงเสนอขายสินทรัพย์บริษัท ไมโครซอฟท์ได้เข้าซื้อบริษัทผ่านเอกซ์บอกซ์เกมสตูดิโอส์ (ในเวลานั้นเรียกว่า ไมโครซอฟท์สตูดิโอส์) ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เป็นผลทำให้แพร์ช็อน พอร์เชียร์ และมานเนห์ลาออกจากบริษัท และต่อมาในปี พ.ศ. 2563 บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น โมแจงสตูดิโอส์

โมแจงสตูดิโอส์
ชื่อเดิม
  • มุเย็งสเปซิฟิเคชัน (2552–2553)
  • มุเย็ง เอบี (2553–2563)
  • โมแจง สตูดิโอส์ (2563-ปัจจุบัน)
ประเภทบริษัทในเครือ
อุตสาหกรรมวิดีโอเกม
ก่อตั้งพ.ศ. 2552 (อายุ 15 ปี)
ผู้ก่อตั้งมาร์คุส แพร์ช็อน
สำนักงานใหญ่สต็อกโฮล์ม, ประเทศสวีเดน
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์
พนักงาน
70[1] (2559)
บริษัทแม่เอกซ์บอกซ์เกมสตูดิโอส์ (2557–ปัจจุบัน)
เว็บไซต์mojang.com

ในช่วงปี พ.ศ. 2559 บริษัทมีพนักงานจำนวน 70 คน โดยโยนัส มอร์เทนซ็อน เป็นประธานบริหาร และวู บุย เป็นประธานฝ่ายปฏิบัติการ[5] นอกจากไมน์คราฟต์แล้ว บริษัทยังได้พัฒนาเกมการ์ดสะสมแบบดิจิทัลอย่างคอลเลอรส์เบน (Caller's Bane), เกมวางแผนการรบประเภททีละรอบอย่างคราวน์แอนด์เคาน์ซิล (Crown and Council) และเกมภาคแยกอย่างไมน์คราฟต์เอิร์ท (Minecraft Earth) และไมน์คราฟต์ดันเจียนส์ (Minecraft Dungeons)

เกมที่พัฒนา

ปี (พ.ศ.)ชื่อเกมประเภทเกมแพลตฟอร์มเชิงอรรถอ้างอิง
2554ไมน์คราฟต์
(Minecraft)
แซนด์บอกซ์แอนดรอยด์ ไฟร์โอเอส, ไอโอเอส, ลินุกซ์, แมคโอเอส, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, ราสป์เบอร์รีพาย, ทีวีโอเอส, วินโดวส์โฟน[6]
2557คอลเลอรส์เบน
(Caller's Bane)
เกมการ์ดสะสมแบบดิจิทัลแอนดรอยด์, แมคโอเอส, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ชื่อเก่าคือ สกรอลส์ (Scrolls)

แต่ใน google play store ยังใช้เกมชื่อ สกรอลส์

[7][8]
2559คราวน์แอนด์เคาน์ซิล
(Caller's Bane)
เกมวางแผนการรบลินุกซ์, แมคโอเอส,วินโดวส์[9][10]
2562ไมน์คราฟต์คลาสสิก
(Minecraft Classic)
แซนด์บอกซ์เบราว์เซอร์เป็นการปล่อยไมน์คราฟต์รุ่นแรกเริ่มให้เล่นอีกครั้ง[11]
ไมน์คราฟต์เอิร์ท
(Minecraft Earth)
Augmented reality (AR)แอนดรอยด์, ไอโอเอสอยู่ในช่วงเออร์ลีแอ็กเซส (early access)

ปัจจุบันได้ปิดตัวไปแล้วเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2021

[12]
2563ไมน์คราฟต์ดันเจียนส์
(Minecraft Dungeons)
Dungeon crawlerวินโดวส์, นินเท็นโด สวิตช์, เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์วัน[13]
2566ไมน์คราฟต์เลเจนด์

(Minecraft Legend )

เกมแอ็กชันนินเท็นโด สวิตช์,เพลย์สเตชัน 4 ,เพลย์สเตชัน 5 , วินโดวส์ , เอกซ์บอกซ์วัน , เอกซ์บอกซ์ซีรีส์เอกซ์และซีรีส์เอส[14]

เกมที่จัดจำหน่าย

ปี (พ.ศ.)ชื่อเกมแพลตฟอร์มผู้พัฒนาอ้างอิง
2559โคบอลต์
(Cobalt)
ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, เอกซ์บอกซ์ 360, เอกซ์บอกซ์วันออกซายเกมสตูดิโอ
(Oxeye Game Studio)
[15]
2560โคบอลต์ดับเบิลยูเอเอสดี
(Cobalt WASD)
ไมโครซอฟท์ วินโดวส์[16]

เชิงอรรถ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง