การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566

การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไทยครั้งที่ 27

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เป็นการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไทยครั้งที่ 27 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[10] หลังจากที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยชุดที่ 25 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566[11] ภายหลังการเลือกตั้งปรากฎว่าประเทศไทยไม่สามารถมีนายกรัฐมนตรี​ได้ โดยประธานรัฐสภากล่าวว่าการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี​อาจจะมีอีกครั้งในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566[12] ซึ่งครบ 100 วันหลังเลือกตั้ง ส่งผลให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่ประเทศไทยรอนายกรัฐมนตรีเป็นระยะเวลานานเป็นอันดับที่สองนับตั้งแต่มีการเลือกตั้งในประเทศ[13]

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566

← พ.ศ. 256214 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[1][2]ครั้งถัดไป →

ทั้งหมด 500 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ต้องการ 251 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ลงทะเบียน52,238,594 [3]
ผู้ใช้สิทธิ75.71% (เพิ่มขึ้น 1.02 จุด)
 First partySecond partyThird party
 
Pita Limjaroenrat September 2023.jpg
Paetongtarn Shinawatra.jpg
Anutin Charnvirakul - 2023 (52638148766) (cropped).jpg
ผู้นำพิธา ลิ้มเจริญรัตน์แพทองธาร ชินวัตรอนุทิน ชาญวีรกูล
พรรคก้าวไกลเพื่อไทย

ภูมิใจไทย

ผู้นำตั้งแต่14 มีนาคม 256328 ตุลาคม 256414 ตุลาคม 2555
เขตของผู้นำบัญชีรายชื่อ (#1)ไม่ลงเลือกตั้งบัญชีรายชื่อ (#1)
เลือกตั้งล่าสุด81 ที่นั่ง, 17.80%[a]136 ที่นั่ง, 22.16%51 ที่นั่ง, 10.50%
ที่นั่งก่อนหน้า45[4]117[4]63[4]
ที่นั่งที่ชนะ15114171
ที่นั่งเปลี่ยนเพิ่มขึ้น 70เพิ่มขึ้น 5เพิ่มขึ้น 20
คะแนนเสียง14,438,85110,962,5221,138,202
%36.5427.742.88

 Fourth partyFifth partySixth party
 
Prawit Wongsuwan (2018) (cropped).jpg
Prayut 2022.jpg
Jurin Laksanawisit 2011.jpg
ผู้นำประวิตร วงษ์สุวรรณประยุทธ์ จันทร์โอชา[5]จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
พรรคพลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติประชาธิปัตย์

ผู้นำตั้งแต่27 มิถุนายน 25639 มกราคม 256615 พฤษภาคม 2562
เขตของผู้นำบัญชีรายชื่อ (#1)ไม่ลงเลือกตั้ง[6]บัญชีรายชื่อ (#1)
เลือกตั้งล่าสุด116 ที่นั่ง, 23.74%53 ที่นั่ง, 11.13%
ที่นั่งก่อนหน้า79[4]250[4]
ที่นั่งที่ชนะ403625
ที่นั่งเปลี่ยนลดลง 76พรรคใหม่ลดลง 28
คะแนนเสียง537,6254,766,408925,349
%1.3612.062.34

 Seventh partyEighth partyNinth party
 
Varawut Silpa-archa in 2023.png
Wan_Muhamad_Noor_Matha-2023-12-10.jpg
Sudarat Keyuraphan in 2019.png
ผู้นำวราวุธ ศิลปอาชาวันมูหะมัดนอร์ มะทาสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
พรรคชาติไทยพัฒนา

ประชาชาติ

ไทยสร้างไทย
ผู้นำตั้งแต่3 ตุลาคม 25652 มีนาคม 25619 กันยายน 2565
เขตของผู้นำบัญชีรายชื่อ (#1)บัญชีรายชื่อ (#1)บัญชีรายชื่อ (#1)
เลือกตั้งล่าสุด10 ที่นั่ง, 2.20%7 ที่นั่ง, 1.35%พรรคใหม่
ที่นั่งก่อนหน้า10[4]7[4]-
ที่นั่งที่ชนะ1096
ที่นั่งเปลี่ยนSteady 0เพิ่มขึ้น 2พรรคใหม่
คะแนนเสียง192,497602,645340,178
%0.511.610.91

แผนที่แสดงผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ

แผนที่แสดงพรรคการเมืองที่ได้คะแนนในระบบบัญชีรายชื่อสูงสุดในแต่ละเขตเลือกตั้ง

องค์ประกอบของสภาผู้แทนราษฎรหลังจากการเลือกตั้ง

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

ประยุทธ์ จันทร์โอชา
รวมไทยสร้างชาติ[b]

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

เศรษฐา ทวีสิน
เพื่อไทย

ปฏิทินการเลือกตั้ง[7][8][9]
20 มี.ค.พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎรมีผลบังคับใช้
27 มี.ค. – 13 เม.ย.วันลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า
3 – 7 เม.ย.วันรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
7 พ.ค.วันใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า
14 พ.ค.วันเลือกตั้งทั่วไป

คณะกรรมการการเลือกตั้งแถลงผลอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ผลปรากฏว่า พรรคก้าวไกลได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด ส่วนพรรคเพื่อไทยได้ที่นั่งรองลงมา[14][15] การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้มาใช้สิทธิ์มากถึงร้อยละ 75.71 ทำลายสถิติของการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 ที่มีผู้มาใช้สิทธิ์ร้อยละ 75.03[16] การเลือกตั้งครั้งนี้นับเป็นการเลือกตั้งที่หาเสียงโดยพูดเรื่องเงินมากที่สุดครั้งหนึ่ง หลายพรรคเสนอจำนวนเงินเป็นตัวเลข การหาเสียงในป้ายหาเสียงมีแต่จำนวนเงิน อาทิ บำนาญผู้สูงอายุ 3,000 บาทต่อเดือน[17] และโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท สำหรับใช้จ่ายในพื้นที่ที่กำหนด[18]

เบื้องหลัง

หลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง กองทัพได้ก่อการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เพื่อขับไล่รัฐบาลรักษาการพลเรือน คณะนายทหารที่รู้จักกันในชื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ขึ้นสู่อำนาจภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2559 คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จสิ้นและจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญ พวกเขาห้ามวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญและห้ามติดตามผลประชามติ นักเคลื่อนไหวต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญถูกจับกุม ควบคุมตัว และดำเนินคดีในศาลทหาร[19] ขณะที่ผู้ออกมาแสดงเจตนาคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญก็ถูกรัฐบาลทหารจับกุมและดำเนินคดีเช่นกัน[20]

ในปี พ.ศ. 2562 หลังจากเกิดความล่าช้าหลายครั้ง ในที่สุดรัฐบาลทหารก็จัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม การเลือกตั้งครั้งนี้ถูกมองว่าพลเอกประยุทธ์มีข้อได้เปรียบ เนื่องจากวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งทั้งหมดโดยรัฐบาลทหารและการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ในช่วงนาทีสุดท้าย[21][22]

พลเอกประยุทธ์เริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562[23] ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่งได้เพียง 8 ปีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การสิ้นสุดวาระนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เนื่องจากมีการตีความมากมายเกี่ยวกับการเริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[24][25][26] เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำพิพากษาให้วาระการดำรงตำแหน่งของพลเอกประยุทธ์เริ่มในปี พ.ศ. 2560 ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หมายความว่าเขาอาจดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงปี พ.ศ. 2568 หากเขาได้รับเลือกจากรัฐสภาอีกครั้ง

ปลายปี พ.ศ. 2565 เกิดการแตกแยกในพรรคพลังประชารัฐระหว่างพลเอกประยุทธ์กับรองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่สนิทคือ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หลังจากที่พลเอกประวิตรแสดงจุดยืนต่อพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 พลเอกประยุทธ์ได้ประกาศความสนใจที่จะสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ และสมัครเป็นสมาชิกแบบตลอดชีพของพรรคดังกล่าวในเดือนถัดมา มีการคาดหมายว่าเขาจะเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนเดียวของพรรครวมไทยสร้างชาติ ด้านพรรคภูมิใจไทย มีผู้ดำรงตำแหน่ง ส.ส. ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านบางส่วน รวมถึงนักการเมืองอีกจำนวนหนึ่ง ได้ลาออกจากพรรคเดิมที่ตัวเองสังกัดไปร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย เพื่อเพิ่มโอกาสชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้

ระบบเลือกตั้ง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ระบุว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คนจะได้รับเลือกโดยใช้ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะลงคะแนนเสียงด้วยบัตรใบเดียว เพื่อเลือก ส.ส. 350 ที่นั่งจากเขตเลือกตั้ง และอีก 150 ที่นั่งจะเป็นการจัดสรรตามคะแนนของพรรคการเมืองทั้งประเทศ[27] หลังการเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎร 500 ที่นั่ง จะลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีในการประชุมร่วมกับวุฒิสภาอีก 250 ที่นั่ง วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งโดยคสช. จะอยู่ในวาระจนถึงปี 2567 จึงคาดว่าสมาชิกวุฒิสภาจะมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งครั้งนี้เช่นกัน[28]

เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2564 ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ได้มีการลงคะแนนเสียง 472 ต่อ 33 เสียง (งดออกเสียง 187 เสียง) เพื่อกลับมาใช้การลงคะแนนระบบคู่ขนานที่เคยใช้เมื่อช่วงก่อนปี 2560 ในระบบนี้ จะมี ส.ส. 400 ที่นั่งที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และลดจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อลงเหลือ 100 ที่นั่ง จากเดิม 150 ที่นั่ง[29] ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะต้องลงคะแนนโดยใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เพื่อเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขตและพรรคการเมืองที่ตนต้องการ[29] ต่างจากระบบก่อนหน้าที่ผู้มีสิทธิ์แต่ละคนลงคะแนนเสียงเพียงครั้งเดียวเพื่อเลือก ส.ส. ทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ[30] อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยพรรคการเมืองขนาดเล็ก เนื่องจากระบบนี้จะทำให้พรรคดังกล่าวได้ที่นั่งในสภายากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อพรรคพลังประชารัฐ และพรรคเพื่อไทยที่เป็นฝ่ายค้าน

ในช่วง พ.ศ. 2565 มีการถกเถียงว่าจะใช้สูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อแบบใดระหว่าง "สูตรหาร 100" กับ "สูตรหาร 500" ซึ่งถ้าใช้สูตรหาร 500 จะทำให้เกิดที่นั่งส่วนเกิน (Overhanging seat) แบบเดียวกับในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2562 และทำให้คะแนนเสียงพึงมีของ ส.ส. 1 ที่นั่งต่ำลง ซึ่งเอื้อต่อการตีความให้พรรคเล็กได้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคม 2565 มีการใช้กลยุทธ์ไม่มาประชุมจนสภาขาดองค์ประชุม ทำให้การพิจารณาแก้ไขเป็นสูตรหาร 500 ต้องตกไป และกลับไปใช้สูตรหาร 100 โดยปริยาย[31]

จากการเปลี่ยนระบบเลือกตั้งดังกล่าว ทำให้พรรคขนาดเล็กเสียเปรียบในสนามเลือกตั้ง จึงนำไปสู่การเจรจาควบรวมพรรค และจัดตั้งพันธมิตรทางการเมืองของพรรคขนาดเล็กต่าง ๆ ได้แก่ การควบรวมพรรคชาติพัฒนาและพรรคกล้าเป็นพรรคชาติพัฒนากล้า,[32] การจับมือระหว่างพรรคไทยสร้างไทยและพรรคสร้างอนาคตไทย[33][34] รวมไปถึงเกิดการย้ายพรรคของนักการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการย้ายเข้าพรรคภูมิใจไทย นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าการใช้เงินซื้อตัวผู้สมัคร ส.ส. และระบบ "บ้านใหญ่" หรือตระกูลที่มีอิทธิพลทางการเมืองในท้องถิ่นจะกลับมามีบทบาท[35]

เดือนมกราคม 2566 มีการผ่านกฎหมายเลือกตั้ง 2 ฉบับ[36] คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2566 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566[37] สาระสำคัญของ พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน[38] มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2566 ซึ่งรัฐบาลจะยุบสภาทันทีเลยก็ได้ หรืออยู่ครบวาระซึ่งจะครบเทอมในวันที่ 24 มีนาคม 2566[39] ไม่ว่าจะวิธีการใด คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องจัดให้มีระยะเวลาสำหรับเตรียมการเลือกตั้งประมาณ 45 วัน (พิจารณารูปแบบแบ่งเขต 25 วัน, คัดสรรผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 20 วัน)[40]

การเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง

หลังจากที่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยปรับสัดส่วนจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตเป็น 400 เขต เพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้าที่มี 350 เขต[29] เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีการส่งหนังสือด่วนถึงผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดต่าง ๆ และกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในแต่ละพื้นที่เตรียมแบ่งเขตเลือกตั้งไว้เป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 3 รูปแบบ[41]

ในกุมภาพันธ์ 2566 กกต. ออกประกาศ เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด กำหนดให้คำนวณจำนวนราษฎรเฉลี่ย 165,226 คนต่อ ส.ส. 1 คน โดยใช้ข้อมูลจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เป็นฐานในการคำนวณ พร้อมทั้งระบุจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่พึงมีในแต่ละพื้นที่ โดยแบ่งเป็นรายจังหวัดดังนี้[42]

พื้นที่จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร33
นครราชสีมา16
ขอนแก่นและอุบลราชธานี11
ชลบุรี, เชียงใหม่ และบุรีรัมย์10
นครศรีธรรมราช, ศรีสะเกษ, สงขลา และอุดรธานี9
เชียงราย, นนทบุรี, ร้อยเอ็ด, สมุทรปราการ และสุรินทร์8
ชัยภูมิ, ปทุมธานี, สกลนคร และสุราษฎร์ธานี7
กาฬสินธุ์, นครปฐม, นครสวรรค์, เพชรบูรณ์ และมหาสารคาม6
กาญจนบุรี, นราธิวาส, พระนครศรีอยุธยา, พิษณุโลก, ระยอง, ราชบุรี และสุพรรณบุรี5
กำแพงเพชร, ฉะเชิงเทรา, ตรัง, ตาก, นครพนม, ปัตตานี, ลพบุรี, ลำปาง, เลย, สมุทรสาคร, สระบุรี และสุโขทัย4
กระบี่, จันทบุรี, ชุมพร, น่าน, บึงกาฬ, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, พะเยา, พัทลุง, พิจิตร, เพชรบุรี, แพร่, ภูเก็ต, ยโสธร, ยะลา, สระแก้ว, หนองคาย, หนองบัวลำภู และอุตรดิตถ์3
ชัยนาท, นครนายก, พังงา, มุกดาหาร, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, สตูล, อ่างทอง, อำนาจเจริญ และอุทัยธานี2
ตราด, ระนอง, สิงห์บุรี และสมุทรสงคราม1

อย่างไรก็ตาม จำนวน ส.ส. เขตที่พึงมีในแต่ละจังหวัด ที่ กกต. เคยประกาศไว้เมื่อกุมภาพันธ์ 2566 มีการนับรวมบุคคลต่างด้าวมาใช้เป็นฐานในการคำนวณ[43] ต่อมา 3 มีนาคม 2566 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่ให้นำผู้ที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยมาร่วมเป็นฐานในการคำนวณ[44] กกต. จึงได้มีการพิจารณาแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ให้เป็นตามคำวินิจฉัยของศาล และในวันเดียวกัน ก็ออกประกาศเปลี่ยนแปลงจำนวนเขตเลือกตั้งพึงมีของแต่ละจังหวัด โดย นครศรีธรรมราช, อุดรธานี, ลพบุรี และปัตตานี มี ส.ส. เพิ่มขึ้นจังหวัดละ 1 คน ขณะที่ เชียงใหม่, เชียงราย, ตาก และสมุทรสาคร มี ส.ส. ลดลงจังหวัดละ 1 คน และค่าเฉลี่ยประชากรต่อ ส.ส. เขต 1 คนลดลงเหลือ 162,766 คน[45]

จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่พึงมีในแต่ละพื้นที่ หลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 3 มีนาคม 2566 มีดังนี้[45][46]

พื้นที่จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร33
นครราชสีมา16
ขอนแก่นและอุบลราชธานี11
ชลบุรี, เชียงใหม่, นครศรีธรรมราช, บุรีรัมย์ และ อุดรธานี10
ศรีสะเกษและสงขลา9
นนทบุรี, ร้อยเอ็ด, สมุทรปราการ และสุรินทร์8
ชัยภูมิ, เชียงราย, ปทุมธานี, สกลนคร และสุราษฎร์ธานี7
กาฬสินธุ์, นครปฐม, นครสวรรค์, เพชรบูรณ์ และมหาสารคาม6
กาญจนบุรี, นราธิวาส, ปัตตานี, พระนครศรีอยุธยา, พิษณุโลก, ระยอง, ราชบุรี, ลพบุรี และสุพรรณบุรี5
กำแพงเพชร, ฉะเชิงเทรา, ตรัง, นครพนม, ลำปาง, เลย, สระบุรี และสุโขทัย4
กระบี่, จันทบุรี, ชุมพร, ตาก, น่าน, บึงกาฬ, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, พะเยา, พัทลุง, พิจิตร, เพชรบุรี, แพร่, ภูเก็ต, ยโสธร, ยะลา, สมุทรสาคร, สระแก้ว, หนองคาย, หนองบัวลำภู และอุตรดิตถ์3
ชัยนาท, นครนายก, พังงา, มุกดาหาร, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, สตูล, อ่างทอง, อำนาจเจริญ และอุทัยธานี2
ตราด, ระนอง, สิงห์บุรี และสมุทรสงคราม1
หมายเหตุ: คือ จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. เขต ลดลง 1 คน, คือ จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. เขต เพิ่มขึ้น 1 คน
จำนวนที่นั่ง ส.ส. แบบแบ่งเขตที่พึงมีของแต่ละจังหวัด
จำนวนที่นั่ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งครั้งก่อน
▇  เพิ่ม 3 ที่นั่ง, ▇  เพิ่ม 2 ที่นั่ง
  เพิ่ม 1 ที่นั่ง,   ไม่เปลี่ยนแปลง
เขตเลือกตั้งทั้ง 400 เขต

การย้ายสังกัดพรรคการเมือง

พรรคเพื่อไทย(34)

ย้ายไปพรรคก้าวไกล

  1. พงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร

ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย

  1. ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ อดีต ส.ส. กรุงเทพมหานคร
  2. นิยม ช่างพินิจ อดีต ส.ส. พิษณุโลก
  3. นพ ชีวานันท์ อดีต ส.ส. พระนครศรีอยุธยา
  4. สุชาติ ภิญโญ อดีต ส.ส. นครราชสีมา
  5. รังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ อดีต ส.ส. เชียงราย
  6. นคร มาฉิม อดีต ส.ส. พิษณุโลก
  7. จักรพรรดิ ไชยสาส์น อดีต ส.ส. อุดรธานี
  8. ธีระ ไตรสรณกุล อดีต ส.ส. ศรีสะเกษ
  9. ปวีณ แซ่จึง อดีต ส.ส. ศรีสะเกษ
  10. ผ่องศรี แซ่จึง อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ
  11. วุฒิชัย กิตติธเนศวร อดีต ส.ส. นครนายก
  12. สามารถ แก้วมีชัย อดีต ส.ส.เชียงราย
  13. ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  14. วินัย ภัทรประสิทธิ์ อดีต ส.ส.พิจิตร
  15. วันชัย เจริญนนทสิทธิ์ อดีต ส.ส.นนทบุรี

ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ

  1. องอาจ วงษ์ประยูร อดีต ส.ส. สระบุรี
  2. บัลลังก์ อรรณนพพร อดีต ส.ส. ขอนแก่น
  3. ประกิจ พลเดช อดีต ส.ส.บุรีรัมย์

ย้ายไปพรรคไทยสร้างไทย

  1. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร
  2. การุณ โหสกุล อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร
  3. ชวลิต วิชยสุทธิ์ อดีต ส.ส. นครพนม
  4. ณัฐวุฒิ กองจันทร์ดี อดีต ส.ส.หนองบัวลำภู
  5. เจริญ จรรย์โกมล อดีต ส.ส.ชัยภูมิ

ย้ายไปพรรคเสรีรวมไทย

  1. มังกร ยนต์ตระกูล อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด

ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ

  1. พิชัย เกียรติวินัยสกุล อดีต ส.ส.ลพบุรี
  2. ไพโรจน์ ตันบรรจง อดีต ส.ส.พะเยา
  3. ธนิก มาสีพิทักษ์ อดีต ส.ส.ขอนแก่น
  4. สมชอบ นิติพจน์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม
  5. กุสุมาลวตี ศิริโกมุท อดีต ส.ส.มหาสารคาม
  6. จิรวุฒิ สิงห์โตทอง อดีตผู้สมัคร ส.ส. ชลบุรี

ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา

  1. สุรสิทธิ์ เจียมวิจักษณ์ อดีต ส.ส.เชียงราย

ย้ายไปพรรคประชาธิปัตย์

  1. ประชาธิปไตย คำสิงห์นอก อดีต ส.ส.นครราชสีมา

ย้ายไปพรรคเพื่อชาติ

  1. ร้อยตำรวจเอก นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ


พรรคพลังประชารัฐ (94)

ย้ายไปพรรคเพื่อไทย

  1. สุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1
  2. สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  3. สมศักดิ์ เทพสุทิน อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  4. สรวุฒิ เนื่องจำนงค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชลบุรี
  5. กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร
  6. เชิงชาย ชาลีรินทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชัยภูมิ
  7. พรรณสิริ กุลนาถสิริ อดีต ส.ส. สุโขทัย
  8. ชูศักดิ์ คีรีมาศทอง อดีต ส.ส. สุโขทัย
  9. จักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล อดีต ส.ส. สุโขทัย
  10. กฤชนนท์ อัยยปัญญา อดีตผู้สมัคร ส.ส. กรุงเทพมหานคร
  11. ภูดิศ อินทร์สุวรรณ์ อดีต ส.ส. พิจิตร
  12. แสนคม อนามพงษ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส. จันทบุรี
  13. ชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร อดีต ส.ส.ราชบุรี
  14. สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  15. วารุจ ศิริวัฒน์ อดีต ส.ส.อุตรดิตถ์

ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย

  1. สัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ อดีต ส.ส.ชัยภูมิ
  2. เชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ อดีต ผู้สมัครส.ส. อุบลราชธานี
  3. สุพล ฟองงาม อดีต ส.ส. อุบลราชธานี
  4. โยธากาญจน์ ฟองงาม อดีตผู้สมัคร ส.ส.อุบลราชธานี
  5. สุทธิชัย จรูญเนตร อดีต ส.ส. อุบลราชธานี
  6. ตวงทิพย์ จินตะเวช อดีตผู้สมัคร ส.ส. อุบลราชธานี
  7. ภิญโญ นิโรจน์ อดีต ส.ส. นครสวรรค์
  8. วีระกร คำประกอบ อดีต ส.ส. นครสวรรค์
  9. พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  10. พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ อดีต ส.ส. กรุงเทพมหานคร
  11. ภาดาท์ วรกานนท์ อดีต ส.ส. กรุงเทพมหานคร
  12. กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา อดีต ส.ส. กรุงเทพมหานคร
  13. กษิดิ์เดช ชุติมันต์ อดีต ส.ส. กรุงเทพมหานคร
  14. จักรพันธ์ พรนิมิตร อดีต ส.ส. กรุงเทพมหานคร
  15. พิกิฏ ศรีชนะ อดีต ส.ส. ยโสธร
  16. ธวัชชัย อนามพงษ์ อดีต ส.ส. จันทบุรี
  17. เจริญ เรี่ยวแรง อดีต ส.ส.นนทบุรี
  18. ฉลอง เรี่ยวแรง อดีต ส.ส.นนทบุรี
  19. ประทวน สุทธิอำนวยเดช อดีต ส.ส.ลพบุรี
  20. พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ อดีต ส.ส. กาญจนบุรี
  21. สมเกียรติ วอนเพียร อดีต ส.ส. กาญจนบุรี
  22. ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ อดีต ส.ส. กาญจนบุรี
  23. อัฏฐพล โพธิพิพิธ อดีต ส.ส. กาญจนบุรี
  24. กฤษณ์ แก้วอยู่ อดีต ส.ส.เพชรบุรี
  25. สุชาติ อุสาหะ อดีต ส.ส.เพชรบุรี
  26. ปฐมพงศ์ สูญจันทร์ อดีต ส.ส.นครปฐม
  27. มณเฑียร สงฆ์ประชา อดีต ส.ส.ชัยนาท
  28. เวียง วรเชษฐ์ อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด
  29. เอกสิทธิ์ คุณานันทกุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  30. อลงกต มณีกาศ อดีต ส.ส.นครพนม
  31. ชูกัน กุลวงษา อดีต ส.ส.นครพนม
  32. วันชัย บุษบา อดีต ส.ส.เลย
  33. ปารีณา ไกรคุปต์ อดีต ส.ส.ราชบุรี (ส่งพี่ชายลงสมัครแทน)
  34. ยศศักดิ์ ชีววิญญู อดีต ส.ส.ราชบุรี
  35. บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ อดีต ส.ส.นครราชสีมา
  36. องอาจ ปัญญาชาติรักษ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  37. ผกามาศ เจริญพันธ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.สุรินทร์

ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ

  1. กุลวลี นพอมรบดี อดีต ส.ส.ราชบุรี
  2. ชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์ อดีต ส.ส.ฉะเชิงเทรา
  3. ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยอนันต์ อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร
  4. พันตำรวจตรี ฐนภัทร กิตติวงศา อดีต ส.ส.จันทบุรี
  5. ธนกร วังบุญคงชนะ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  6. นิโรธ สุนทรเลขา อดีต ส.ส.นครสวรรค์
  7. ประสิทธิ์ มะหะหมัด อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร
  8. พยม พรหมเพชร อดีต ส.ส.สงขลา
  9. พิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  10. ไพลิน เทียนสุวรรณ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ
  11. ภาคิน สมมิตรธนกุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  12. มานัส อ่อนอ้าย อดีต ส.ส.เพชรบุรี
  13. รณเทพ อนุวัฒน์ อดีต ส.ส.ชลบุรี
  14. วัชระ ยาวอฮาซัน อดีต ส.ส.นราธิวาส
  15. ศาสตรา ศรีปาน อดีต ส.ส.สงขลา
  16. สมบัติ อำนาคะ อดีต ส.ส.สระบุรี
  17. สมพงษ์ โสภณ อดีต ส.ส.ระยอง
  18. สัญญา นิลสุพรรณ อดีต ส.ส.นครสวรรค์
  19. สาธิต อุ๋ยตระกูล อดีต ส.ส.เพชรบุรี
  20. สุชาติ ชมกลิ่น อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
  21. สายัณห์ ยุติธรรม อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช
  22. สุรชาติ ศรีบุศกร อดีต ส.ส.พิจิตร
  23. อนุชา นาคาศัย อดีต รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  24. ร.ต.อ.อรุณ สวัสดี อดีต ส.ส.สงขลา
  25. วัฒนา สิทธิวัง อดีต ส.ส.ลำปาง (ถูกใบเหลืองจากการเลือกตั้งซ่อม)
  26. สันติ ตันสุหัช อดีต ส.ส.เชียงใหม่
  27. ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข อดีต ส.ส.เลย
  28. เปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข อดีต ส.ส.เลย
  29. ธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา อดีต ส.ส.สุรินทร์ (เสียชีวิต)
  30. จำลอง ครุฑขุนทด อดีต ส.ส.นครราชสีมา
  31. ทิพานัน ศิริชนะ อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ย้ายไปพรรคประชาธิปัตย์

  1. วทันยา บุนนาค อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  2. บุญเลิศ ครุฑขุนทด อดีต ส.ส.นครราชสีมา
  3. ทวีศักดิ์ ประทุมลี อดีตผู้สมัคร ส.ส.มุกดาหาร
  4. ยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา อดีต ส.ส.จันทบุรี
  5. สุวัฒน์ ม่วงศิริ อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร

ย้ายไปพรรคไทยสร้างไทย

  1. อดุลย์ นิลเปรม อดีต ส.ส.อุบลราชธานี
  2. นิพนธ์ ศรีธเรศ อดีต ส.ส.กาฬสินธุ์
  3. บัวสอน ประชามอญ อดีต ส.ส.เชียงราย
  4. รำพูล ตันติวณิชชานนท์ อดีตผู้สมัคร ส.ส. อุบลราชธานี

ย้ายไปพรรคชาติพัฒนากล้า

  1. พรศักดิ์ เปี่ยมคล้า อดีต ส.ส.นครปฐม

ย้ายไปพรรครวมแผ่นดิน

  1. รณฤทธิชัย คานเขต อดีต ส.ส.ยโสธร

พรรคประชาธิปัตย์ (51)

ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย

  1. แนน บุณย์ธิดา สมชัย อดีต ส.ส. อุบลราชธานี
  2. เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  3. สุชาดา แทนทรัพย์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  4. ปารเมศ โพธารากุล อดีต ส.ส.กาญจนบุรี
  5. พงศ์เวช เวชชาชีวะ อดีต ส.ส.จันทบุรี (ส่งภรรยาลงสมัครแทน)
  6. พีระเดช ศิริวันสาณฑ์ อดีต ส.ส.นครสวรรค์
  7. ไพร พัฒโน อดีต ส.ส. สงขลา

ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ

  1. ชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ อดีต ส.ส.ราชบุรี
  2. ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  3. อันวาร์ สาและ อดีต ส.ส.ปัตตานี
  4. อภิชัย เตชะอุบล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  5. นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต ส.ส.พัทลุง
  6. เกียรติศักดิ์ ส่องแสง อดีต ส.ส.ปทุมธานี
  7. รำรี มามะ อดีต ส.ส.นราธิวาส
  8. จำลอง ภูนวนทา ส.ส.กาฬสินธุ์

ย้ายไปพรรคเพื่อไทย

  1. พิมพ์พิชชา ชัยศุภกิจเจริญ (ปานทิพย์ ศุภกิจเจริญ) อดีตผู้สมัคร ส.ส.พิษณุโลก
  2. วิชัย ล้ำสุทธิ อดีต ส.ส.ระยอง
  3. รัฐพงษ์ ระหงษ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร

ย้ายไปพรรคก้าวไกล

  1. พริษฐ์ วัชรสินธุ อดีต ผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร
  2. นัฏฐิกา โล่ห์วีระ อดีต ผู้สมัครส.ส.ชัยภูมิ

ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ

  1. ไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีต รองนายกรัฐมนตรี
  2. ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  3. เจือ ราชสีห์ อดีต ส.ส.สงขลา
  4. ชุมพล จุลใส อดีต ส.ส.ชุมพร
  5. พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช
  6. พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค อดีต เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  7. พ.ท.สินธพ แก้วพิจิตร อดีต ส.ส.นครปฐม
  8. อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ อดีต ส.ส.ราชบุรี
  9. จุติ ไกรฤกษ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  10. เจือ ราชสีห์ อดีต ส.ส.สงขลา
  11. สมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล อดีต ส.ส.ตรัง
  12. ปรีชา มุสิกุล อดีต ส.ส.กำแพงเพชร
  13. สุขวิชชาญ มุสิกุล อดีต ส.ส.กำแพงเพชร
  14. วิรัตน์ วิริยะพงษ์ อดีต ส.ส.สุโขทัย
  15. สุชีน เอ่งฉ้วน อดีตผู้สมัครส.ส.กระบี่
  16. วิทยา แก้วภราดัย อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช
  17. พ.อ.เฟื่องวิชชุ์ อนิรุทธเทวา อดีตผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  18. พงษ์มนู ทองหนัก อดีตผู้สมัคร ส.ส.พิษณุโลก
  19. เกรียงยศ สุดลาภา อดีต ส.ส.กทม.
  20. ชุมพล กาญจนะ อดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี
  21. สามารถ มะลูลีม อดีต ส.ส. กทม.
  22. สุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช
  23. สมัย เจริญช่าง อดีต ส.ส.กทม.

ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา

  1. กนก วงษ์ตระหง่าน อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ

ย้ายไปพรรคชาติพัฒนากล้า

  1. กรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง
  2. อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร

ย้ายไปพรรคเสรีรวมไทย

  1. สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตผู้สมัคร ส.ส.สมุทรสาคร

ย้ายไปพรรคไทยภักดี

  1. พุฒิพงศ์ สงวนวงษ์ชัย อดีต ส.ส.
  2. อิสระพงษ์ สงวนวงษ์ชัย อดีต ผู้สมัคร ส.ส.
  3. ถาวร เสนเนียม อดีตรัฐมนตรี

ย้ายไปพรรคประชาชาติ

  1. สุรเชษฐ์ แวอาแซ อดีต ส.ส.นราธิวาส

พรรคเศรษฐกิจใหม่ (4)

ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ

  1. ภาสกร เงินเจริญกุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  2. ศุภดิช อากาศฤกษ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ

ย้ายไปพรรคเพื่อไทย

  1. นิยม วิวรรธนดิษฐกุล อดีต ส.ส.แพร่ และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ

ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ

  1. มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และอดีต รัฐมนตรี

พรรคก้าวไกล (11)

ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ

  1. ทศพร ทองศิริ อดีตส.ส.กรุงเทพมหานคร
  2. วินท์ สุธีรชัย อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ
  3. เชษฐา ไชยสัตย์ อดีตผู้สมัครนายกอบจ.อุบลราชธานี

ย้ายไปพรรคเพื่อไทย

  1. จิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ อดีตส.ส.กรุงเทพมหานคร
  2. กฤษณ์กมล แพงศรี อดีต ผู้สมัคร ส.ส.ปราจีนบุรี

ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา

  1. สมเกียรติ ถนอมสินธุ์ อดีตส.ส.กรุงเทพมหานคร

ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย

  1. เกษมสันต์ มีทิพย์ อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ
  2. ขวัญเลิศ พานิชมาท อดีตส.ส.ชลบุรี
  3. คารม พลพรกลาง อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ
  4. เอกภพ เพียรพิเศษ อดีตส.ส.เชียงราย
  5. พีรเดช คำสมุทร อดีตส.ส.เชียงราย

พรรครวมพลัง (5)

ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ

  1. เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  2. สุพล จุลใส อดีต ส.ส.ชุมพร

ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย

  1. อนุสรี ทับสุวรรณ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ

ย้ายไปพรรคประชาธิปัตย์

  1. จักษ์ พันธ์ชูเพชร อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  2. เจะอามิง โตะตาหยง อดีต ส.ส.นราธิวาส

พรรคภูมิใจไทย (15)

ย้ายไปพรรคเพื่อไทย

  1. อภิชา เลิศพชรกมล อดีต ส.ส.นครราชสีมา
  2. วีระศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  3. มานิตย์ ภาวสุทธิ์ อดีต ส.ส.ชลบุรี
  4. ไกร ดาบธรรม อดีต ส.ส.เชียงใหม่
  5. วิรัช พิมพะนิตย์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กาฬสินธุ์
  6. วิชัย ด่านรุ่งโรจน์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พิจิตร และสว.พิจิตร
  7. สมเกียรติ ตันดิลกตระกูล ส.ส.นครราชสีมา และอดีตรองนายก อบจ.
  8. นรเสฎฐ์ ศิริโรจนกุล อดีต ผู้สมัคร ส.ส.นครราชสีมา

ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ

  1. บรรจบ รุ่งโรจน์ อดีต ส.ส.ชลบุรี
  2. สุนทรี ชัยวิรัตนะ อดีต ส.ส.ชัยภูมิ และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  3. สุชาติ ศรีสังข์ อดีต ส.ส. มหาสารคาม

ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ

  1. ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ อดีต ส.ส.ชัยภูมิ
  2. ณัฐพล เกียรติวินัยสกุล อดีต ส.ส.ลพบุรี

ย้ายไปพรรคไทยสร้างไทย

  1. ฟารีดา สุไลมาน อดีต ส.ส.สุรินทร์
  2. วันเพ็ญ เศรษฐรักษา อดีต ผู้สมัคร ส.ส.กาฬสินธุ์

ย้ายไปพรรคเพื่อไทรวมพลัง

  1. จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล อดีต ส.ส.นครราชสีมา

พรรคเศรษฐกิจไทย (17)

กลับมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ

  1. เกษม ศุภรานนท์ อดีต ส.ส.นครราชสีมา
  2. จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ อดีต ส.ส.สมุทรสาคร
  3. จีรเดช ศรีวิราช อดีต ส.ส.พะเยา
  4. ทัศนาพร เกษเมธีการุณ อดีต ส.ส.นครราชสีมา
  5. ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า อดีต ส.ส.พะเยา
  6. ปัญญา จีนาคำ อดีต ส.ส.แม่ฮ่องสอน
  7. ไผ่ ลิกค์ อดีต ส.ส.กำแพงเพชร
  8. พรชัย อินทร์สุข อดีต ส.ส.พิจิตร
  9. ภาคภูมิ บูลย์ประมุข อดีต ส.ส.ตาก
  10. พลตำรวจเอก ยงยุทธ เทพจำนงค์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  11. ยุทธนา โพธสุธน อดีต ส.ส.สุพรรณบุรี และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  12. สะถิระ เผือกประพันธุ์ อดีต ส.ส.ชลบุรี
  13. สมศักดิ์ คุณเงิน อดีต ส.ส.ขอนแก่น
  14. บุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ

ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย

  1. ธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ อดีต ส.ส.ตาก
  2. ธนะสิทธิ์ โควสุรัตน์ อดีต ส.ส.อุบลราชธานี
  3. ณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์ อดีต ส.ส.สุรินทร์

พรรคพลังท้องถิ่นไท (5)

ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ

  1. กวินนาถ ตาคีย์ อดีต ส.ส.ชลบุรี

ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ

  1. จารึก ศรีอ่อน อดีต ส.ส.จันทบุรี
  2. โกวิท พวงงาม อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  3. ชัชวาลล์ คงอุดม อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ.

ย้ายไปพรรคเพื่อไทย

  1. นพดล แก้วสุพัฒน์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ

พรรคประชาภิวัฒน์ (1)

ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย

  1. นันทนา สงฆ์ประชา อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ

พรรคสร้างอนาคตไทย (5)

กลับมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ

  1. วิเชียร ชวลิต อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  2. สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
  3. อุตตม สาวนายน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา

  1. สันติ กีระนันทน์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ

ย้ายพรรคประชาธิปัตย์

  1. ร.ต.ปรพล อดิเรกสาร อดีต ส.ส.สระบุรี

พรรคเพื่อชาติ (5)

ย้ายไปพรรคเพื่อไทย

  1. สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  2. ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ

ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย

  1. อารี ไกรนรา อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ

ย้ายไปพรรคประชาธิปัตย์

  1. พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ อดีต ส.ส.นครราชสีมา

ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ

  1. วิทยา บุตรดีวงค์ อดีต ส.ส.มุกดาหาร

พรรคพลังปวงชนไทย (1)

ย้ายไปพรรคเพื่อไทย

  1. นิคม บุญวิเศษ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ

พรรคชาติไทยพัฒนา (6)

ย้ายไปพรรคเพื่อไทย

  1. อนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ อดีต ส.ส.สมุทรสาคร
  2. อมรเทพ สมหมาย อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ

ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย

  1. ปัญญา ชวนบุญ อดีตผู้สมัคร ส.ส.สมุทรสาคร
  2. ศักดิ์ชัย จินตะเวช อดีต ส.ส.อุบลราชธานี

ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ

  1. ณริยา บุญเศรฐ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พิจิตร

ย้ายไปพรรคไทยสร้างไทย

  1. วิสันต์ เดชเสน อดีต ส.ส.ยโสธร

พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย (1)

ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ

  1. รัฐกร เจนกิจณรงค์ อดีต ส.ส.นครปฐม

พรรคไทยสร้างไทย (1)

ย้ายไปพรรคประชาธิปัตย์

  1. สาคร พรหมภักดี อดีต ส.ส.สกลนคร

พรรคประชาชาติ (1)

ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย

  1. นัจมุดดีน อูมา อดีต ส.ส.นราธิวาส

ระบบบัญชีรายชื่อ

การเลือกตั้งครั้งนี้ใช้การลงคะแนนระบบคู่ขนาน โดยใช้บัตรเลือกตั้งจำนวนสองใบ ซึ่งหมายเลขประจำพรรคการเมืองในระบบบัญชีรายชื่อจะเป็นหมายเลขเดียวกันทั้งประเทศ ขณะที่หมายเลขของผู้สมัครในระบบแบ่งเขตจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละเขตเลือกตั้งทั้ง 400 เขต แม้จะอยู่พรรคการเมืองเดียวกันก็ตาม

การเลือกตั้งครั้งนี้มีพรรคการเมืองที่สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อทั้งหมด 67 พรรค โดยหมายเลขประจำพรรคการเมืองมาจากการจับสลากจำนวน 49 หมายเลข และถัดจากนั้นเรียงลำดับตามช่วงเวลาสมัครก่อน-หลัง ซึ่งหมายเลขของแต่ละพรรคการเมืองมีดังต่อไปนี้[47][48]

หมายเลขพรรคการเมือง
1
พรรคใหม่
2
พรรคประชาธิปไตยใหม่
3
พรรคเป็นธรรม
4
พรรคท้องที่ไทย
5
พรรคพลังสังคมใหม่
6
พรรคครูไทยเพื่อประชาชน
7
พรรคภูมิใจไทย
8
พรรคแรงงานสร้างชาติ
9พรรคพลัง
10
พรรคอนาคตไทย
11
พรรคประชาชาติ
12
พรรคไทยรวมไทย
13
พรรคไทยชนะ
14
พรรคชาติพัฒนากล้า
15
พรรคกรีน
16
พรรคพลังสยาม
17
พรรคเสมอภาค
18
พรรคชาติไทยพัฒนา
19
พรรคภาคีเครือข่ายไทย
20
พรรคเปลี่ยน
21
พรรคไทยภักดี
22
พรรครวมไทยสร้างชาติ
23
พรรครวมใจไทย
24
พรรคเพื่อชาติ
25
พรรคเสรีรวมไทย
26
พรรคประชาธิปัตย์
27
พรรคพลังธรรมใหม่
28
พรรคไทยพร้อม
29
พรรคเพื่อไทย
30พรรคทางเลือกใหม่
31
พรรคก้าวไกล
32
พรรคไทยสร้างไทย
33 พรรคไทยเป็นหนึ่ง
34 พรรคแผ่นดินธรรม
หมายเลขพรรคการเมือง
35
พรรครวมพลัง
36
พรรคเพื่อชาติไทย
37
พรรคพลังประชารัฐ
38
พรรคเพื่อไทรวมพลัง
39 พรรคมิติใหม่
40พรรคประชาภิวัฒน์
41 พรรคไทยธรรม
42
พรรคไทยศรีวิไลย์
43 พรรคพลังสหกรณ์
44
พรรคราษฎร์วิถี
45 พรรคแนวทางใหม่
46
พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล
47
พรรครวมแผ่นดิน
48 พรรคเพื่ออนาคตไทย
49
พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย
50
พรรคพลังปวงชนไทย
51
พรรคสามัญชน
52
พรรคชาติรุ่งเรือง
53 พรรคพลังสังคม
54
พรรคภราดรภาพ
55 พรรคไทยก้าวหน้า
56 พรรคประชาไทย
57 พรรคพลังเพื่อไทย
58
พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย
59 พรรคช่วยชาติ
60
พรรคความหวังใหม่
61 พรรคคลองไทย
62 พรรคพลังไทยรักชาติ
63
พรรคประชากรไทย
64
พรรคเส้นด้าย
65 พรรคเปลี่ยนอนาคต
66 พรรคพลังประชาธิปไตย
67
พรรคไทยสมาร์ท

ก่อนการเลือกตั้ง

ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2566 พรรคการเมืองต่าง ๆ เริ่มมีการขึ้นป้ายหาเสียงล่วงหน้า เช่น พรรคเพื่อไทย[49], พรรคประชาธิปัตย์[50], พรรครวมไทยสร้างชาติ[51] และพรรคก้าวไกล[52] เป็นต้น เวลาเดียวกันมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวนหนึ่งได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยส่วนใหญ่เป็นอดีต ส.ส. สังกัดพรรคพลังประชารัฐ[53] ในช่วงต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ


ต่อมาปลายเดือนธันวาคม 2565 ผู้นำฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลโดยไม่มีการลงมติโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับความไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินได้ตามคำแถลงนโยบายต่อรัฐสภา[54] ในวันที่ 30 ธันวาคม 2565 นาย ธวัชชัย เทอดเผ่าไทย คณะกรรมการการเลือกตั้ง พ้นจากตำแหน่งและต่อมาในวันที่ 12 มกราคม 2566 ปดิพัทธ์ สันติภาดา เปิดเผยว่าหลานของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีส่วนเกี่ยวข้องกับ "คดีทุนจีนสีเทา"[55] ในเดือนเดียวกันมีการวิเคราะห์ว่าพลเอกประยุทธ์จะประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน หลังปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์[56] บ้างก็คาดเดาว่าเขาอาจยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลี่ยงการอภิปรายทั่วไปของฝ่ายค้าน[57] ด้าน นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย คาดการณ์ว่าอาจมีการยุบสภาในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม[58] ส่วน ดร.ทักษิณ ชินวัตร กล่าวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ว่าที่พลเอกประยุทธ์ยังไม่ยุบสภานั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่เกี่ยวกับความพร้อมของพรรครวมไทยสร้างชาติมากกว่า[59] ในช่วงกลางเดือนดังกล่าว หลังการอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติของฝ่ายค้านในรัฐสภา พลเอกประยุทธ์ระบุว่ามีแนวโน้มจะยุบสภาในเดือนถัดจากนั้น[60]

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย วิเคราะห์ว่าหากเครือข่ายประยุทธ์ชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[61] และต่อมา กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวว่าหากนายกรัฐมนตรีเป็นคนดี ก็ไม่ควรจำกัดวาระไว้ที่ 8 ปี[62] ด้าน ดร.ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า นั่นเป็นความเห็นส่วนตัวของกิตติศักดิ์ และต้องผ่านกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามปกติ[63]

ในเดือนมกราคม 2566 มีการเปิดตัว "เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งปี 2566" ซึ่งประกอบด้วยองค์การนอกภาครัฐกว่า 100 แห่ง และออกแถลงการณ์เชิญชวนประชาชนให้ร่วมกันสังเกตการณ์การเลือกตั้ง เพราะมีความกังวลในเรื่องความเป็นธรรมและความโปร่งใสของการเลือกตั้ง[64]

ในเดือนเดียวกัน ยังมีการอดอาหารประท้วงของเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองและเรียกร้องพรรคการเมืองต่าง ๆ ให้มีนโยบายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ 116[65] พรรคการเมืองฝ่ายค้านมีมติร่วมกันตามข้อเรียกร้อง 2 ข้อโดยไม่กล่าวถึงข้อเรียกร้องการปฏิรูปกฎหมายอาญา 2 มาตราดังกล่าว[66] ต่อมามีผู้ชุมนุมเดินทางไปที่พรรคเพื่อไทยเพื่อเรียกร้องให้พรรครับข้อเสนอแก้ไขกฎหมายดังกล่าวด้วย[67]

เดือนกุมภาพันธ์ 2566 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้แบ่งเขตเลือกตั้ง โดยมีการนำบุคคลต่างด้าวและผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งมาคำนวณ ซึ่งคาดการณ์ว่าอาจส่อให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ[68] ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ได้ให้ความคิดเห็นว่า คำว่า “จำนวนราษฎรตามประกาศมหาดไทย”[69] ที่ กกต. อ้างว่ารัฐธรรมนูญกำหนดให้ใช้ หมายรวมถึงคนไทยและคนต่างด้าวมาคิดคำนวณสูตรแบ่งเขตเลือกตั้ง และอาจหวั่นซ้ำรอยเลือกตั้งปี 2549[70] รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล และโฆษกพรรค ระบุถึงประเด็นนี้ว่า กกต. ไม่ควรนับรวมคนต่างด้าวในการคำนวณแบ่งเขตเลือกตั้ง ควรดูจากประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งเป็นหลัก[71] ต่อมา กกต. แถลงประเด็นนี้ว่า สถานะของราษฎรที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย อาจอยู่สถานะ “รอการพิสูจน์” เพื่อลำดับขั้นตอนสู่การมีสัญชาติ[72] และตอบประเด็นนี้ว่า “ราษฎร” คือบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียน หรือต่างชาติที่เข้าเงื่อนไขตามกฎหมาย แต่ไม่นับกลุ่มต่างด้าว[73] ส่วน พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ระบุว่าวิธีการคำนวณดังกล่าวเป็นการใช้เพื่อกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร[74] และการแบ่งเขตเลือกตั้งเท่านั้น[75]วันที่ 26 กุมภาพันธ์ มีคนร้ายขับรถชน นายติรานนท์ เวียงธรรม ผู้สมัครพรรคก้าวไกล ซึ่งเสียชีวิตในอีกสามวันหลังเกิดเหตุ

3 มีนาคม 2566 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดพึงมี คำว่า "ราษฎร" ไม่ได้หมายรวมถึงผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย[76] ตามคำตัดสินดังกล่าวส่งผลให้ 8 จังหวัด มีจำนวน ส.ส.เขต เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ กกต. เคยประกาศไว้เมื่อกุมภาพันธ์ 2566[c][77][46]

ในวันที่ 20 มีนาคม เพียง 3 วันก่อนการครบวาระสภา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรี [78] โดยให้เหตุผลว่าอายุสภาผู้แทนราษฎรใกล้สิ้นสุดลง และเพื่อคืนอำนาจให้แก่ประชาชน[79] อย่างไรก็ตามมีข้อวิจารณ์ว่าการยุบสภาก่อนสภาหมดวาระเพียงไม่กี่วันไม่ใช่การเร่งคืนอำนาจให้ประชาชน แต่เป็นการอาศัยเงื่อนไขตามกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้นักการเมือง และยื้อเวลาให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นได้ช้าลง[80] และในวันรุ่งขึ้น (21 มีนาคม) คณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม[81] วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีอธิบายว่า หากยุบสภาได้ในวันที่ 20 มีนาคมก็ควรจะยุบ เพราะสภาจะหมดวาระในวันที่ 23 มีนาคม รวมถึงคณะรัฐมนตรีมีสถานะเป็นรักษาการนับตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม แต่ในทางกฎหมาย จะไม่เรียก “ครม.รักษาการ” เพราะสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเคยตีความไว้เมื่อหลายปีก่อนแล้วว่า “ถ้าเรียกอาจจะเกิดปัญหา” จึงไม่ใช่คำนี้ในภาษาราชการ[82]

ในเดือนเมษายน 2566 โค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งปรากฎว่าพรรคการเมืองได้นำประเด็นเรื่องสถาบันมาอภิปราย โดย พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ได้อภิปรายตอนหนึ่งว่าจะจัดการขั้นเด็ดขาดกับพวกชังชาติ[83] ในขณะที่พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ในเวทีเลือกตั้ง 66 เปลี่ยนใหม่หรือไปต่อ[84] แสดงจุดยืนแก้ไขกฎหมายความผิดต่อพระมหากษัตริย์ไทย การโจมตีเด็กและเยาวชนเริ่มมีมากขึ้นก่อนการเลือกตั้ง เช่น วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 คมสันชัย สุขพิพัฒน์มงคล นักพากษ์การ์ตูน ได้กล่าวโจมตีบุคคลที่ไม่ยืนในโรงหนังในขณะเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี

ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ได้ปราศัยที่ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรีเกี่ยวกับความผิดพลาดในวงการทหารตำรวจ อาทิ กรณี ส.ต.ท.หญิง กรศศิร์ บัวแย้ม คนเคยสนิท[85] ธานี อ่อนละเอียด ทำร้ายร่างกายทหารรับใช้[86] เรือหลวงสุโขทัย เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 และกล่าวโจมตี ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ภายหลังปล่อยคลิปของพรรครวมไทยสร้างชาติที่มีเนื้อหาเชิงตำหนิเยาวชนอกตัญญู[87]

และก่อนการเลือกตั้ง ได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับผู้สมัครดังต่อไปนี้

  • 4 กุมภาพันธ์ ตี๋ใหญ่ พูนศรีธนากูล สส.สุรินทร์ เขต 4 พรรคเพื่อไทย และเป็นว่าที่ผู้สมัครในการเลือกตั้งครั้งใหม่ เสียชีวิตกะทันหันด้วยโรคหัวใจวาย ขณะเดินทางจากจังหวัดนครราชสีมาเพื่อไปยังกรุงเทพมหานคร[88] โดยมีการเปลี่ยนตัวผู้สมัครเป็น พรเทพ พูนศรีธนากูล แทน
  • 26 กุมภาพันธ์ ติรานนท์ เวียงธรรม ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.แพร่ เขต 1 พรรคก้าวไกล ประสบอุบัติเหตุหลังกลับจากการลงพื้นที่หาเสียง และเสียชีวิตในช่วงเช้าของวันที่ 2 มีนาคม โดยระบุว่าเป็นอุบัติเหตุถูกรถชน แต่ไม่สามารถจับตัวผู้ก่อเหตุได้[89] โดยมีการเปลี่ยนตัวผู้สมัครเป็น วิทูรย์ สุรจิตต์ แทน
  • 22 เมษายน ธีระทัศน์ เตียวเจริญ ผู้สมัคร ส.ส.สุรินทร์ เขต 6 พรรครวมไทยสร้างชาติ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง[90] ทำให้ไม่มีผู้สมัครของพรรครวมไทยสร้างชาติในเขตเลือกตั้งนั้น


บทบาทของทหาร

ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2566 ก่อนวันเลือกตั้งล่วงหน้า 2 วัน (7 พฤษภาคม) กองทัพบกเผยแพร่วิดีโอกรมดุริยางค์ทหารบกขับร้องเพลง "หนักแผ่นดิน" ซึ่งทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง และต้องลบวิดีโอดังกล่าวหลังเผยแพร่ได้เพียง 2 ชั่วโมง[91][92] ในวันที่ 8 พฤษภาคม กองทัพภาคที่ 2 เผยแพร่ภาพพร้อมข้อความว่า "ทหารมีไว้ทำไม" ซึ่งทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน[93][94]

ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก ยืนยันว่า จะไม่ก่อรัฐประหารหลังการเลือกตั้ง และสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พร้อมเชิญชวนทหารไปเลือกตั้ง[95] วันเดียวกันมีทหารสังกัดกองทัพภาคที่ 4 ถูกลงโทษขัง 30 วัน เนื่องจากโพสต์หาเสียงเลือกตั้งในกลุ่มไลน์ โดยกองทัพระบุว่า เป็นการประพฤติไม่เป็นกลางทางการเมือง[96][97]

ชื่อบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี

มีพรรคการเมืองจำนวน 42 พรรค เสนอชื่อบุคคลผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง จำนวนรวม 61 คน โดยมีพรรคการเมืองเสนอ 3 ชื่อ จำนวน 5 พรรค เสนอ 2 ชื่อ จำนวน 7 พรรค ที่เหลือเสนอพรรคละ 1 ชื่อ

เมื่อการเลือกตั้งเสร็จสิ้น มีพรรคการเมืองจำนวน 6 พรรคที่มีสิทธิ์ในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีต่อรัฐสภา รวมทั้งหมด 9 คน ดังรายชื่อดังต่อไปนี้

พรรคก้าวไกลพรรคประชาธิปัตย์พรรคพลังประชารัฐพรรคเพื่อไทย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ประวิตร วงษ์สุวรรณแพทองธาร ชินวัตรเศรษฐา ทวีสินชัยเกษม นิติสิริ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(2562–2566)
รองนายกรัฐมนตรี
(2562–2566)
รองนายกรัฐมนตรี
(2557–2566)
กรรมการมูลนิธิไทยคม
(ตั้งแต่ 2550)
ประธานอำนวยการ บมจ.แสนสิริ
(2564[98]–2566)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(2556–2557)
พรรคภูมิใจไทยพรรครวมไทยสร้างชาติ
อนุทิน ชาญวีรกูลประยุทธ์ จันทร์โอชาพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
รองนายกรัฐมนตรี
(ตั้งแต่ 2562)
นายกรัฐมนตรี
(2557–2566)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(2551–2554)

ผลสำรวจ

พรรคที่ต้องการ

กราฟแสดงคะแนนความนิยมในพรรคการเมือง
ระยะเวลาการสำรวจองค์กรที่สำรวจกลุ่มตัวอย่างคะแนนความนิยมพรรค (%)คะแนนนำ (%)
พปชร.พท.ก.ก.ปชป.ภท.สร.ทสท.รทสช.ยังไม่ตัดสินใจอื่น ๆ
28 เมษายน–3 พฤษภาคม 2566เนชั่นโพล115,3993.1839.8329.183.974.840.820.997.457.092.6510.65
24–28 เมษายน 2566นิด้าโพล2,5001.2837.9235.363.322.361.601.6812.841.242.402.66
22–28 เมษายน 2566โพลเดลินิวส์ x มติชน78,5832.4633.6550.291.050.701.011.016.050.962.8216.64
10–20 เมษายน 2566สวนดุสิตโพล162,4547.4941.3719.327.309.551.742.418.482.3422.35
8–14 เมษายน 2566โพลเดลินิวส์ x มติชน84,0761.5538.8932.371.833.301.631.7312.842.213.656.52
7–12 เมษายน 2566เนชั่นโพล39,6871.5835.7516.023.503.800.690.714.5032.271.183.48
3–7 เมษายน 2566นิด้าโพล2,0001.8047.0021.854.503.002.652.1011.402.353.3525.15
1–17 มีนาคม 2566สวนดุสิตโพล10,6145.1746.1615.437.7111.120.411.438.731.9030.73
2–8 มีนาคม 2566นิด้าโพล2,0002.3049.8517.154.952.552.852.6012.152.353.2532.70
17–22 ธันวาคม 2565นิด้าโพล2,0004.0042.9516.605.355.253.403.256.958.303.9526.35
15–21 กันยายน 2565นิด้าโพล2,5005.5634.4413.567.562.322.563.0424.006.9620.88
20–23 มิถุนายน 2565นิด้าโพล2,5007.0036.3617.886.322.563.042.9618.685.2018.48
10–15 มีนาคม 2565นิด้าโพล2,0207.0325.8916.247.971.882.282.1828.867.672.97
15–21 ธันวาคม 2564นิด้าโพล2,5048.9923.5213.187.151.322.431.6037.144.6713.62
25–28 ตุลาคม 2564สวนดุสิตโพล1,18624.6132.9425.216.184.286.787.73
20–23 กันยายน 2564นิด้าโพล2,0189.5122.5015.117.781.142.681.9335.682.2813.18
11–16 มิถุนายน 2564นิด้าโพล2,51510.7019.4814.519.542.432.902.4732.682.8213.20
23–26 มีนาคม 2564นิด้าโพล2,52216.6522.1313.487.103.253.8129.823.767.69
20–23 ธันวาคม 2563นิด้าโพล2,53317.8023.6114.927.461.823.0026.494.902.88
18–23 กันยายน 2563นิด้าโพล2,52712.3919.3912.707.441.581.7041.593.2122.20
22–24 มิถุนายน 2563นิด้าโพล2,51715.7320.7013.477.751.432.5032.386.0411.68
18–20 ธันวาคม 2562นิด้าโพล2,51116.6919.9530.2710.832.432.0313.464.3411.00
24 มีนาคม 2562การเลือกตั้ง 256223.7422.1617.8011.1310.502.321.5810.771.58

นายกรัฐมนตรีที่ต้องการ

ระยะเวลาการสำรวจองค์กรที่สำรวจกลุ่มตัวอย่างคะแนนนิยม (%)คะแนนนำ (%)
ประยุทธ์สุดารัตน์แพทองธารเศรษฐาพิธาจุรินทร์เสรีพิศุทธ์กรณ์อนุทินยังไม่ตัดสินใจอื่น ๆ
28 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2566เนชั่นโพล115,3998.851.2327.5513.2829.372.491.110.384.055.354.221.82
24–28 เมษายน 2566นิด้าโพล2,50014.842.4829.206.7635.441.801.681.321.363.002.126.24
22–28 เมษายน 2566โพลเดลินิวส์ x มติชน78,5836.521.0419.5915.5449.170.841.740.641.183.7429.58
8–14 เมษายน 2566โพลเดลินิวส์ x มติชน84,07613.721.9023.2316.6929.421.082.252.941.402.973.156.19
7–12 เมษายน 2566เนชั่นโพล เก็บถาวร 2023-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน39,6878.131.6733.817.4516.872.591.421.092.7022.581.6911.23
3–7 เมษายน 2566นิด้าโพล2,00013.604.1535.706.0520.252.203.451.952.556.104.0015.45
ระยะเวลาการสำรวจองค์กรที่สำรวจกลุ่มตัวอย่างประยุทธ์สุดารัตน์แพทองธารชลน่านพิธาจุรินทร์เสรีพิศุทธ์กรณ์อนุทินยังไม่ตัดสินใจอื่น ๆคะแนนนำ
2–8 มีนาคม 2566นิด้าโพล2,00015.655.1038.201.6015.752.354.451.401.559.454.5022.45
17–22 ธันวาคม 2565นิด้าโพล2,00014.056.4534.002.6013.252.306.002.655.008.255.4519.95
15–21 กันยายน 2565นิด้าโพล2,50010.129.1221.602.2010.561.686.282.122.4024.169.762.56
20–23 มิถุนายน 2565นิด้าโพล2,50011.686.8025.282.9213.241.566.603.761.5218.687.9612.04
10–15 มีนาคม 2565นิด้าโพล2,02012.678.2212.533.9613.422.587.032.771.6327.627.5714.20
15–21 ธันวาคม 2564นิด้าโพล2,50416.935.5110.552.2410.741.844.832.6336.548.1919.61
25–28 ตุลาคม 2564สวนดุสิตโพล1,18621.2719.3528.6730.717.40
ระยะเวลาการสำรวจองค์กรที่สำรวจกลุ่มตัวอย่างประยุทธ์สุดารัตน์สมพงษ์พิธาจุรินทร์เสรีพิศุทธ์กรณ์อนุทินยังไม่ตัดสินใจอื่น ๆคะแนนนำ
20–23 กันยายน 2564นิด้าโพล2,01817.5411.152.3311.051.549.072.581.2432.6110.8915.07
11–16 มิถุนายน 2564นิด้าโพล2,51519.3213.640.875.451.478.713.622.3537.656.9218.33
23–26 มีนาคม 2564นิด้าโพล2,52228.7912.091.906.260.998.722.702.0230.106.431.31
20–23 ธันวาคม 2563นิด้าโพล2,53330.3213.461.037.740.637.501.651.3432.104.231.78
ระยะเวลาการสำรวจองค์กรที่สำรวจกลุ่มตัวอย่างประยุทธ์สุดารัตน์สมพงษ์พิธาอภิสิทธิ์จุรินทร์เสรีพิศุทธ์กรณ์อนุทินยังไม่ตัดสินใจอื่น ๆคะแนนนำ
18–23 กันยายน 2563นิด้าโพล2,52718.6410.571.075.703.921.540.6754.133.7635.49
22–24 มิถุนายน 2563นิด้าโพล2,51725.478.070.993.930.950.834.571.670.4444.069.0218.59
ระยะเวลาการสำรวจองค์กรที่สำรวจกลุ่มตัวอย่างประยุทธ์สุดารัตน์สมพงษ์ธนาธรอภิสิทธิ์จุรินทร์เสรีพิศุทธ์กรณ์อนุทินยังไม่ตัดสินใจอื่น ๆคะแนนนำ
18–20 ธันวาคม 2562นิด้าโพล2,51123.7411.950.4031.420.672.473.900.041.0817.327.017.68
เลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562
12 กุมภาพันธ์ – 20 มีนาคม 2562กรุงเทพโพลล์10,06228.7020.6019.2014.804.801.003.207.708.10


เอกซิตโพล

องค์กรที่สำรวจ/พรรคเพื่อไทยพลังประชารัฐก้าวไกลประชาธิปัตย์ภูมิใจไทยเสรีรวมไทยชาติไทยพัฒนาชาติพัฒนากล้ารวมไทยสร้างชาติไทยสร้างไทย
สวนดุสิต246221062845292254
ศรีปทุม180–20020–40110–13020–4040–602–43–545–654–6
นิด้า164–17253–6180–8833–4172–800–17–112–645–535–9
เลือกตั้ง 25621361168153511010300


การเลือกตั้ง

การจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ใช้งบประมาณแผ่นดินสูงถึง 5.9 พันล้านบาท[99] แต่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความผิดปกติและข้อผิดพลาดในการทำงานของ กกต.[99] ส่งผลให้แฮชแท็ก "#กกตมีไว้ทำไม" และ "#กกตต้องติดคุก" ขึ้นอันดับที่หนึ่งในทวิตเตอร์ พร้อมมีการล่ารายชื่อถอดถอน กกต.[100]

การเลือกตั้งครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เฝ้าระวัง โดยเกิดขึ้นแต่ในกรุงเทพมหานครที่มีการติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิดเฝ้าหีบบัตรเลือกตั้งทุกจุดไว้ตลอดเวลา และจัดตั้งศูนย์ควบคุมระบบดังกล่าวขึ้นที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร พร้อมอำนวยความสะดวกให้ประชาชนดูภาพจากกล้องวงจรปิดได้ตามเวลาจริงผ่านทางลิงก์ของกรุงเทพมหานคร[101][102][103]

การเลือกตั้งล่วงหน้า

ในการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 เกิดปัญหาหลายประการ เช่น ระบบคิวอาร์โค้ดล่มตั้งแต่เปิดหีบ[104] เจ้าหน้าที่กรอกข้อมูลในบัตรหรือซองเลือกตั้งผิด ทำให้ประชาชนวิตกว่า จะกลายเป็นบัตรเสียหรือเป็นคะแนนที่ไม่ตรงตามเจตนา[105] เช่น ในจังหวัดนนทบุรี มีบัตรถึง 100 ใบที่เจ้าหน้าที่กรอกข้อมูลผิด[106] และไปรษณีย์ไทยแถลงว่า มีบัตรกว่า 1 หมื่นซองที่ไม่สามารถอ่านลายมือของเจ้าหน้าที่ออก จึงต้องส่งคืน กกต. ไปวินิจฉัย[107][108][109] นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังไม่ยอมติดประกาศแนะนำพรรคการเมืองให้ครบทุกพรรค โดยมีรายงานว่า พรรคก้าวไกลหายไปมากที่สุด[106] และ กกต. ปฏิเสธที่จะรายงานผลการเลือกตั้งตามเวลาจริง[110] ทำให้สื่อมวลชนกว่า 50 องค์กรต้องร่วมมือกันรายงานผลให้แก่ประชาชนเอง[111]

การเลือกตั้งใหม่

กกต. สั่งให้เลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้งที่ 10 เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดนครปฐม เนื่องจากพายุฝนทำให้การเลือกตั้งในวันเลือกตั้งทั่วไปติดขัด การเลือกตั้งใหม่มีในวันที่ 21 พฤษภาคม 2566[112] โดยพรรคก้าวไกลชนะในหน่วยเลือกตั้งดังกล่าว แต่ไม่มีผลต่อจำนวน ส.ส. ในเขตเลือกตั้งนั้น[113]


การเลือกตั้งทั่วไป

ผลการเลือกตั้ง

ภาพรวม

151252610364071141
ก้าวไกลปชป.อื่น ๆชพน.รทสช.พปชร.ภูมิใจไทยเพื่อไทย
e • d ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566
(ซ้าย) แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง, (ขวา) พรรคที่ได้คะแนนแบบบัญชีรายชื่อสูงสุดจำแนกตามเขตเลือกตั้ง

      ก้าวไกล       เพื่อไทย       ภูมิใจไทย       พลังประชารัฐ       รวมไทยสร้างชาติ
      ประชาธิปัตย์       ชาติไทยพัฒนา       ประชาชาติ       ไทยสร้างไทย       เพื่อไทรวมพลัง       ชาติพัฒนากล้า

พรรคแบ่งเขตบัญชีรายชื่อที่นั่งรวม
คะแนนเสียง%ที่นั่งคะแนนเสียง%ที่นั่ง
ก้าวไกล9,665,43325.98
11214,438,85138.48
39
151 / 500
เพื่อไทย9,340,08225.11
11210,962,52229.22
29
141 / 500
ภูมิใจไทย5,133,44113.80
681,138,2023.03
3
71 / 500
พลังประชารัฐ4,186,44111.25
39537,6251.43
1
40 / 500
รวมไทยสร้างชาติ3,607,5759.70
234,766,40812.70
13
36 / 500
ประชาธิปัตย์2,278,8576.12
22925,3492.47
3
25 / 500
ชาติไทยพัฒนา585,2051.57
9192,4970.51
1
10 / 500
ประชาชาติ334,0510.89
7602,6451.61
2
9 / 500
ไทยสร้างไทย872,8932.34
5340,1780.91
1
6 / 500
ชาติพัฒนากล้า297,9460.80
1212,6760.57
1
2 / 500
เพื่อไทรวมพลัง94,3450.26
266,8300.17
0
2 / 500
เสรีรวมไทย277,0070.74
0351,3760.94
1
1 / 500
ประชาธิปไตยใหม่13,5830.03
0273,4280.73
1
1 / 500
ใหม่1,3650.00
0249,7310.67
1
1 / 500
ท้องที่ไทย1,2020.00
0201,4110.54
1
1 / 500
เป็นธรรม9,6530.00
0184,8170.49
1
1 / 500
พลังสังคมใหม่20,3530.05
0177,83790.47
1
1 / 500
ครูไทยเพื่อประชาชน4,4640.01
0175,1820.47
1
1 / 500
อื่น ๆ466,17514.61
04,191,25510.15
0
0 / 500
คะแนนสมบูรณ์37,190,07194.1240037,522,74694.96100500
คะแนนเสีย1,457,8993.691,509,8363.82
ไม่ประสงค์ลงคะแนน866,8852.19482,3031.22
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง39,514,97375.7139,514,96475.71
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง52,238,594100.0052,238,594100.00
ที่มา: คณะกรรมการการเลือกตั้ง[114]

ผลการเลือกตั้งรายจังหวัด

จังหวัดที่นั่งรวมพรรคที่ชนะ
ก.ก.พ.ท.ภท.พปชร.รทสช.ปชป.ชทพ.ปชชทสท.ชพก.พทล.อื่น ๆ
กระบี่33
กรุงเทพมหานคร33321
กาญจนบุรี541
กาฬสินธุ์6411
กำแพงเพชร44
ขอนแก่น11362
จันทบุรี33
ฉะเชิงเทรา412
ชลบุรี107111
ชัยนาท211
ชัยภูมิ7322
ตรัง4112
ชุมพร33
เชียงราย734
เชียงใหม่10721
ตราด11
ตาก321
นครนายก22
นครปฐม6213
นครพนม422
นครราชสีมา163121
นครศรีธรรมราช102116
นครสวรรค์611211
นนทบุรี88
นราธิวาส51211
น่าน33
บึงกาฬ312
บุรีรัมย์1010
ปทุมธานี761
ประจวบคีรีขันธ์312
ปราจีนบุรี312
ปัตตานี5113
พระนครศรีอยุธยา523
พะเยา33
พังงา211
พัทลุง312
พิจิตร33
พิษณุโลก5221
เพชรบุรี312
เพชรบูรณ์66
แพร่33
ภูเก็ต33
มหาสารคาม651
มุกดาหาร211
แม่ฮ่องสอน211
ยโสธร3111
ยะลา33
ร้อยเอ็ด85111
ระนอง11
ระยอง55
ราชบุรี532
ลพบุรี5122
ลำปาง431
ลำพูน211
เลย431
ศรีสะเกษ972
สกลนคร7511
สงขลา91116
สตูล22
สมุทรปราการ88
สมุทรสงคราม11
สมุทรสาคร33
สระแก้ว312
สระบุรี41111
สิงห์บุรี11
สุโขทัย44
สุพรรณบุรี55
สุราษฎร์ธานี716
สุรินทร์835
หนองคาย321
หนองบัวลำภู33
อ่างทอง22
อำนาจเจริญ22
อุดรธานี10172
อุตรดิตถ์33
อุทัยธานี22
อุบลราชธานี1143112
บัญชีรายชื่อ10039293113312117
รวม500151141714036251096227
ที่มา: Thai PBS

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศผลครบ 400 เขตเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ยกเว้นหน่วยเลือกตั้งที่ 10 เขต 1 จังหวัดนครปฐม ที่ประสบวาตภัยทำให้ไม่สามารถลงคะแนนได้ ซึ่ง กกต. กำหนดให้การลงคะแนนในหน่วยดังกล่าวใหม่อีกสามวันหลังจากนั้น หลังจากนั้นจึงประกาศผลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ มีผู้มาใช้สิทธิ์คิดเป็น 75.71% สูงที่สุดนับตั้งแต่ กกต. จัดการเลือกตั้ง มีพรรคการเมืองที่ได้ ส.ส. จำนวน 18 พรรค ในจำนวนนี้มี 10 พรรค ได้ ส.ส. ทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อ, มี 1 พรรค ได้ ส.ส. เฉพาะแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง นอกนั้นได้ ส.ส. เฉพาะแบบบัญชีรายชื่อเท่านั้น[115]

พรรคก้าวไกลได้ที่นั่งในสภามากที่สุด 151 ที่นั่ง[116] มากกว่าคู่แข่งหลักคือพรรคเพื่อไทยถึง 10 ที่นั่ง นักวิเคราะห์ตีความว่านี่เป็นแผ่นดินไหวทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในความคิดเห็นของประชาชน ในขณะที่ผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกลและนักวิเคราะห์การเมือง เรียกปรากฏการณ์ที่เกิดในการเลือกตั้งครั้งนี้ว่าเป็น "สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง" และ "รุ่งอรุณแห่งยุคใหม่"[117] พรรคก้าวไกลทำสำเร็จเหนือความคาดหมาย เอาชนะพรรคเพื่อไทยที่ตั้งเป้าจะชนะขาดลอย ทำลายสถิติของพรรคเพื่อไทยที่เป็นพรรคที่มี ส.ส. มากที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 (ตั้งแต่ พรรคไทยรักไทย และ พรรคพลังประชาชน)[118] ทั้งนี้ พรรคฝ่ายค้านเก่า 2 พรรคหลัก คือ พรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย ได้ตกลงจัดตั้งรัฐบาลผสมที่ 'สนับสนุนประชาธิปไตย' พร้อมกับอีก 6 พรรค คือ พรรคประชาชาติ, พรรคไทยสร้างไทย, พรรคเสรีรวมไทย, พรรคเป็นธรรม, พรรคพลังสังคมใหม่ และพรรคเพื่อไทรวมพลัง[119] โดยมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[120] อย่างไรก็ตามในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อไทยได้ขอถอนตัวออกจากการร่วมมือจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคก้าวไกล รวมทั้งจะเสนอชื่อนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี และจะไม่มีพรรคก้าวไกลเป็นพรรคร่วมรัฐบาล โดยให้เหตุผลว่า พรรคก้าวไกลไม่ยอมถอยเรื่องแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทำให้พรรคบางพรรคและสมาชิกวุฒิสภาไม่โหวตสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาล[121] โดยท้ายที่สุด ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อไทยสามารถรวบรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลได้ 315 เสียง จากพรรคร่วมทั้งสิ้น 12 พรรค (พรรคเพื่อไทย 141 เสียงกับอีก 11 พรรค[d]) ส่วนการแบ่งตำแหน่งรัฐมนตรีจะใช้เกณฑ์ 9 ที่นั่งต่อ 1 ตำแหน่งรัฐมนตรี[122]

สติธร ธนานิธิโชติ วิเคราะห์ว่าผลการเลือกตั้งครั้งนี้คือความพ่ายแพ้ของฝ่ายอนุรักษนิยม ส่วน รองศาตราจารย์ ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ อดีตรองคณบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าคะแนนเสียงนี้ส่งเสียงเตือนไปยังสมาชิกวุฒิสภามิให้ลงมติฝืนมติมหาชน บีบีซีไทยวิเคราะห์ว่าความพ่ายแพ้นี้เกิดจากการตัดคะแนนกันเองระหว่างพรรคพลังประชารัฐและรวมไทยสร้างชาติ, ระบบเลือกตั้งที่ไม่เอื้อต่อพรรคเกิดใหม่, ความเบื่อหน่ายต่อการบริหารประเทศของประยุทธ์ รวมถึงการหาเสียงของพรรคฝ่ายค้านเดิมที่ต้องการตัดวงจรของทหารออกจากการเมืองอย่างเด็ดขาด[123] นอกจากนี้ยังวิเคราะห์ว่า การที่พรรคเพื่อไทยพลาดเป้า "แลนด์สไลด์" นั้น เกิดจากการวางแผนที่ผิดพลาด, จุดยืนทางการเมืองที่ไม่ชัดเจน, การไม่ลงดีเบตเองของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี รวมถึงการประกาศพร้อมกลับประเทศไทยของทักษิณ ชินวัตร ทำให้พรรคเพื่อไทยเสียคะแนนในพื้นที่ กทม. และหัวเมือง[124]

วาสนา นาน่วม วิเคราะห์ว่าคะแนนของพรรคก้าวไกลบางส่วนที่มาจากพลทหารและนักเรียนนายร้อย อาจสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการปฏิรูปกองทัพของบุคคลกลุ่มดังกล่าว[125]

การเลือกตั้งซ่อม

หลังการเลือกตั้ง

คำร้องคัดค้านการเป็น สส.

15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 มีเอกสารที่นำเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ประกาศผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ครั้งที่ 1 ปรากฎว่ามี ว่าที่ ส.ส.ที่ประกาศผลรับรอง 329 คน ขณะที่มี 71 เขต ที่มีเรื่องร้องคัดค้าน มีรายงานว่า เอกสารดังกล่าวอาจเป็นเอกสารสรุปของฝ่ายปฏิบัติการ แจ้งเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ที่ยังไม่ได้นำเสนอต่อที่ประชุม กกต.[126] มีทั้งสิ้น 8 พรรค โดยมีดังนี้

สีแสดงสิ้นสภาพการเป็น สส.
ศาลฎีการับคำร้อง และถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่
อยู่ระหว่างยื่นคำร้อง
ถูกยกคำร้อง
ลำดับรายชื่อ สส.เขตที่ลงเลือกตั้งข้อกล่าวหาสถานะปัจจุบัน
พรรคก้าวไกล
1รักชนก ศรีนอกกรุงเทพมหานคร เขต 28โพสต์พาดพิงอดีตผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ในเฟซบุ๊ก
เหตุจากการถูกผู้สนับสนุนพรรคดังกล่าวปล่อยข่าวเท็จ[127]
ยังดำรงตำแหน่ง
2ชริน วงศ์พันธ์เที่ยงพระนครศรีอยุธยา เขต 2ยังดำรงตำแหน่ง
3ปดิพัทธ์ สันติภาดาพิษณุโลก เขต 1ยังดำรงตำแหน่ง
4จรัส คุ้มไข่น้ำชลบุรี เขต 8ยังดำรงตำแหน่ง
5ยอดชาย พึ่งพรชลบุรี เขต 9ยังดำรงตำแหน่ง
6เพชรรัตน์ ใหม่ชมภูเชียงใหม่ เขต 1ยังดำรงตำแหน่ง
7สมชาติ เตชถาวรเจริญภูเก็ต เขต 1ยังดำรงตำแหน่ง
พรรคไทยสร้างไทย
1สุภาพร สลับศรียโสธร เขต 1ยังดำรงตำแหน่ง
2หรั่ง ธุระพลอุดรธานี เขต 3ยังดำรงตำแหน่ง
พรรคประชาธิปัตย์
1อวยพรศรี เชาวลิตนครศรีธรรมราช เขต 9ยังดำรงตำแหน่ง
2สุพัชรี ธรรมเพชรพัทลุง เขต 1ยังดำรงตำแหน่ง
3เดชอิศม์ ขาวทองสงขลา เขต 5โฆษณาหาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพ หรือการรื่นเริงต่างๆยังดำรงตำแหน่ง
(ยกคำร้อง)[128]
พรรคพลังประชารัฐ
1ไผ่ ลิกค์กำแพงเพชร เขต 1ยังดำรงตำแหน่ง
2สะถิระ เผือกประพันธุ์ชลบุรี เขต 10ยังดำรงตำแหน่ง
3อัครแสนคีรี โล่ห์วีระชัยภูมิ เขต 7ยังดำรงตำแหน่ง
4นเรศ ธำรงค์ทิพยคุณเชียงใหม่ เขต 9ยังดำรงตำแหน่ง
5ทวี สุระบาลตรัง เขต 2ยังดำรงตำแหน่ง
6ฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์พังงา เขต 2ยังดำรงตำแหน่ง
7จักรัตน์ พั้วช่วยเพชรบูรณ์ เขต 2ยังดำรงตำแหน่ง
8วันเพ็ญ พร้อมพัฒน์เพชรบูรณ์ เขต 5ยังดำรงตำแหน่ง
9อัคร ทองใจสดเพชรบูรณ์ เขต 6ยังดำรงตำแหน่ง
10วิริยะ ทองผามุกดาหาร เขต 1ยังดำรงตำแหน่ง
11รัชนี พลซื่อร้อยเอ็ด เขต 3ทุจริตแจกเงินชมรมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน จูงใจลงคะแนนสมัย
เลือกตั้งซ่อมนายก อบจ. พ.ศ. 2565[129]
ยังดำรงตำแหน่ง[e]
12ชัยมงคล ไชยรบสกลนคร เขต 5ยังดำรงตำแหน่ง
13ขวัญเรือน เทียนทองสระแก้ว เขต 1ยังดำรงตำแหน่ง
14โชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์สิงห์บุรี เขต 1ยังดำรงตำแหน่ง
พรรคเพื่อไทย
1อัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์กาญจนบุรี เขต 1ยังดำรงตำแหน่ง
2ศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์กาญจนบุรี เขต 4การขุดบ่อผิดแบบและส่อทุจริต เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่ง
อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล[130]
ยังดำรงตำแหน่ง
3ศักดิ์ชาย ตันเจริญฉะเชิงเทรา เขต 3ใช้อาชีพพิธีกรของ คชาภา ตันเจริญ พี่ชายของตน
ปราศรัยหาเสียงเอื้อประโยชน์ จูงใจคนลงคะแนนเลือกตั้ง
ยังดำรงตำแหน่ง
(ยกคำร้อง)[131]
4ศิวะ พงศ์ธีระดุลย์ชัยภูมิ เขต 5ยังดำรงตำแหน่ง
5ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์นครพนม เขต 1ยังดำรงตำแหน่ง
6มนพร เจริญศรีนครพนม เขต 2ยังดำรงตำแหน่ง
7สมเกียรติ ตันดิลกตระกูลนครราชสีมา เขต 5ยังดำรงตำแหน่ง
8อภิชา เลิศพชรกมลนครราชสีมา เขต 10ยังดำรงตำแหน่ง
9นรเสฎฐ์ ศิริโรจนกุลนครราชสีมา เขต 12ยังดำรงตำแหน่ง
10ไชยวัฒนา ติณรัตน์มหาสารคาม เขต 2ยังดำรงตำแหน่ง
11เลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุลเลย เขต 1ยังดำรงตำแหน่ง
12ศรัณย์ ทิมสุวรรณเลย เขต 2ยังดำรงตำแหน่ง
13สมเจตน์ แสงเจริญรัตน์เลย เขต 4ยังดำรงตำแหน่ง
14ธเนศ เครือรัตน์ศรีสะเกษ เขต 1ยังดำรงตำแหน่ง
15สุรชาติ ชาญประดิษฐ์ศรีสะเกษ เขต 2ยังดำรงตำแหน่ง
16วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์อุบลราชธานี เขต 1ยังดำรงตำแหน่ง
17กิตติ์ธัญญา วาจาดีอุบลราชธานี เขต 4ยังดำรงตำแหน่ง
18สุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภอุบลราชธานี เขต 7ยังดำรงตำแหน่ง
19พัฒนา สัพโสสกลนคร เขต 4โพสต์หาเสียงเกินเวลาในเฟซบุ๊ก[132]ยังดำรงตำแหน่ง
20สรวงศ์ เทียนทองสระแก้ว เขต 3ยังดำรงตำแหน่ง
พรรคเพื่อไทรวมพลัง
1สมศักดิ์ บุญประชมอุบลราชธานี เขต 10ยังดำรงตำแหน่ง
พรรคภูมิใจไทย
1ยศวัฒน์ มาไพศาลสินกาญจนบุรี เขต 3โพสต์เข้าข่ายหาเสียงเกินเวลาในเฟซบุ๊กยังดำรงตำแหน่ง
(ยกคำร้อง)[133]
2สัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ชัยภูมิ เขต 3ยังดำรงตำแหน่ง
3เอกราช ช่างเหลาขอนแก่น เขต 4ยังดำรงตำแหน่ง
4องอาจ ฉัตรชัยพลรัตน์ขอนแก่น เขต 11ยังดำรงตำแหน่ง
5ษฐา ขาวขำนครศรีธรรมราช เขต 7ยังดำรงตำแหน่ง
6มุกดาวรรณ เลื่องสีนิลนครศรีธรรมราช เขต 8การซื้อเสียง[134]ยังดำรงตำแหน่ง
7สุวรรณา กุมภิโรบึงกาฬ เขต 2ยังดำรงตำแหน่ง
8รังสิกร ทิมาตฤกะบุรีรัมย์ เขต 4การซื้อเสียง[135]ยังดำรงตำแหน่ง
9โสภณ ซารัมย์บุรีรัมย์ เขต 5ยังดำรงตำแหน่ง
10ศักดิ์ ซารัมย์บุรีรัมย์ เขต 6ยังดำรงตำแหน่ง
11พรชัย ศรีสุริยันโยธินบุรีรัมย์ เขต 7ยังดำรงตำแหน่ง
12พิมพฤดา ตันจรารักษ์พระนครศรีอยุธยา เขต 3ยังดำรงตำแหน่ง
13ประดิษฐ์ สังขจายพระนครศรีอยุธยา เขต 5ยังดำรงตำแหน่ง
14อรรถพล ไตรศรีพังงา เขต 1ยังดำรงตำแหน่ง
15ภัทรพงศ์ ภัทรประสิทธิ์พิจิตร เขต 1การซื้อเสียงยังดำรงตำแหน่ง
(ยกคำร้อง)[136]
16ฤกษ์ อยู่ดีเพชรบุรี เขต 2ยังดำรงตำแหน่ง
17สังคม แดงโชติประจวบคีรีขันธ์ เขต 1ยังดำรงตำแหน่ง
18ธนา กิจไพบูลย์ชัยศรีสะเกษ เขต 3ยังดำรงตำแหน่ง
19อาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพศรีสะเกษ เขต 8ยังดำรงตำแหน่ง
20สุขสมรวย วันทนียกุลอำนาจเจริญ เขต 1ยังดำรงตำแหน่ง
21ญาณีนาถ เข็มนาคอำนาจเจริญ เขต 2ทำร้ายร่างกายอดีตผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐ[137]ยังดำรงตำแหน่ง
พรรครวมไทยสร้างชาติ
1พิมพ์ภัทรา วิชัยกุลนครศรีธรรมราช เขต 10ยังดำรงตำแหน่ง
2พงษ์มนู ทองหนักพิษณุโลก เขต 3ยังดำรงตำแหน่ง
3พิพิธ รัตนรักษ์สุราษฎร์ธานี เขต 2ยังดำรงตำแหน่ง


แต่ถึงกระนั้น กกต. ก็ประกาศรับรอง สส. ทั้ง 500 คนก่อน โดยได้ชี้แจงว่าจะดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง

ยื่นศาลตัดสิทธิ์ผู้สมัคร และ สส.

หลังการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งมีการให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครดังต่อไปนี้

ถูกตัดสิทธิ์แล้ว

  • เกศกานดา อินช่วย ผู้สมัคร สส. กรุงเทพมหานคร เขต 16 พรรคประชาธิปัตย์ (ข้อกล่าวหา - ซื้อเสียง)[138]
  • สมชาย ภิญโญ ผู้สมัคร สส. จังหวัดนครราชสีมา เขต 6 พรรคภูมิใจไทย (ข้อกล่าวหา - ซื้อเสียง)[139]
  • พรวิศิษฐ์ แจ่มใส ผู้สมัคร สส. จังหวัดนครสวรรค์ เขต 5 พรรคพลังประชารัฐ (ข้อกล่าวหา - ซื้อเสียง)[140]

อยู่ระหว่างการยื่นคำร้อง

  • มุกดาวรรณ เลื่องสีนิล สส. จังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 8 พรรคภูมิใจไทย (ข้อกล่าวหา - ซื้อเสียง)
  • รัชนี พลซื่อ สส. จังหวัดร้อยเอ็ด เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ (ข้อกล่าวหา - ซื้อเสียงสมัยเลือกตั้งซ่อมนายก อบจ. พ.ศ. 2565)

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง