รัล์ฟ รังนิค

ผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวเยอรมัน

รัล์ฟ รังนิค (เยอรมัน: Ralf Rangnick; เกิด 29 มิถุนายน ค.ศ. 1958) เป็นผู้จัดการทีมชาวเยอรมัน ผู้อำนวยการกีฬา และอดีตนักฟุตบอล[3][4] ปัจจุบันเป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติออสเตรีย

รัล์ฟ รังนิค
รังนิคในปี 2019
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็มรัล์ฟ รังนิค
วันเกิด (1958-06-29) 29 มิถุนายน ค.ศ. 1958 (65 ปี)
สถานที่เกิดบัคนัง เยอรมนีตะวันตก
ส่วนสูง1.81 m (5 ft 11 12 in)[1]
ตำแหน่งกองกลางตัวรับ
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
ออสเตรีย (ผู้จัดการทีม)
สโมสรอาชีพ*
ปีทีมลงเล่น(ประตู)
1976–1979เฟาเอ็ฟเบ ซตุทท์การ์ท 2
1979–1980Southwick
1980–1982VfR Heilbronn66(6)
1982–1983Ulm 184632(0)
1983–1985FC Viktoria Backnang
1987–1988TSV Lippoldsweiler
จัดการทีม
1983–1985วิคทอเรีย บัคนัง
1987–1988TSV Lippoldsweiler
1988–1990เอ็สเซ คอร์พ
1995–1996เอ็สเอ็สเฟา รียูทนิเทน
1997–1999อุล์ม 1846
1999–2001เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท
2001–2004ฮันโนเฟอร์ 96
2004–2005ชัลเคอ 04
2006–20101899 ฮ็อฟเฟินไฮม์
2011ชัลเคอ 04
2015–2016แอร์เบ ไลพ์ซิช
2018–2019แอร์เบ ไลพ์ซิช
2021–2022[2]แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ชั่วคราว)
2022–ออสเตรีย
* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

ภายหลังจากไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพนักฟุตบอล รังนิคได้เริ่มต้นอาชีพผู้ฝึกสอนใน ค.ศ. 1983 ในวัย 25 ปี ต่อมาใน ค.ศ. 1997 เขาได้รับการจ้างจากสโมสร เอสเอสวี อุล์ม 1846 ซึ่งเป็นสโมสรที่เขาเคยเล่นอาชีพ โดยรังนิคสามารถพาทีมชนะเลิศการแข่งขันลีกได้ในฤดูกาลแรกที่คุมทีม ก่อนจะย้ายไปคุมทีมเฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท สโมสรในบุนเดิสลีกา และพาทีมชนะเลิศยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพใน ค.ศ. 2000 แต่ก็ถูกปลดในเวลาต่อมาจากผลงานอันย่ำแย่ ต่อมาใน ค.ศ. 2001 รังนิคไปคุมทีมฮันโนเฟอร์ 96 ในซไวเทอบุนเดิสลีกา แต่ก็ถูกปลดใน ค.ศ. 2004 ต่อมา รังนิคไปร่วมงานกับชัลเคอ 04 ในช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนจะไปคุมทีมเทเอ็สเก 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์ ใน ค.ศ. 2006 ซึ่งเขาพาทีมเลื่อนชั่นขึ้นมาสู่บุนเดิสลีกาได้สำเร็จ ก่อนจะลาทีมใน ค.ศ. 2011 เพื่อกลับไปร่วมงานกับชัลเคอ 04 และพาทีมชนะเลิศเดเอ็ฟเบ-โพคาล[5] และเข้าถึงรอบรองชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในปีนั้น ก่อนจะไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการกีฬาให้กับสโมสรเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คในออสเตรีย และแอร์เบ ไลพ์ซิชในเยอรมนี และยังทำหน้าที่ผู้ฝึกสอนให้แก่แอร์เบ ไลพ์ซิชสองครั้งในฤดูกาล 2015–16 และ 2018–19

ในระหว่างการร่วมงานกับเร็ดบุล รังนิคมีส่วนสำคัญในการวางรากฐานและระบบทีมเพื่อแข่งขันในฟุตบอลยุโรป เขามีบทบาทในการดูแลระบบเยาวชน รวมถึงการเป็นแมวมองในการค้นหาผู้เล่นทักษะดีเข้ามาสู่ทีม และยังเป็นผู้นำปรัชญาการเล่นเกมรุกอันดุดันมาสู่สโมสร[6] ส่งผลให้สโมสรเร็ดบุลมีผลงานที่ดีขึ้น และยังมีมูลค่าการตลาดเพิ่มขึ้นจาก 120 ล้านยูโรเป็น 1.2 พันล้านยูโรในช่วงที่เขาทำงานให้สโมสร[7] รวมถึงการช่วยให้สโมสรแอร์เบ ไลพ์ซิช ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนด้วยผลกำไรมหาศาล และยกระดับทีมขึ้นมาเป็นหนึ่งในทีมชั้นนำของบุนเดิสลีกามาถึงปัจจุบัน[8] ซึ่งรังนิคยังได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายกีฬาและการพัฒนาของสโมสรใน ค.ศ. 2019 ก่อนจะลาออกในปีต่อมา[9] รังนิคเข้ารับตำแหน่งเป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวให้สโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2021 โดยเซ็นสัญญาไปจนสิ้นสุดฤดูกาล 2021–22

รังนิคได้รับการยกย่องในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้พัฒนาระบบการเล่นแบบเกเกนเพรสซิ่ง[a] (Gegenpressing)[10] และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้จัดการทีมที่มีปรัชญาในการทำทีมที่ชัดเจน[11] มีความสามารถในการวางระบบและการพัฒนาศักยภาพนักเตะ เขายังถือเป็นบุคคลผู้มีอิทธิพลในการพัฒนาทักษะการคุมทีมของผู้ฝึกสอนหลายคน อาทิ แอ็นสท์ ฮัพเพิล, อาร์ริโก ซาคคี และ ซเดนเยค เซมัน [12] และยังเป็นผู้ฝึกสอนต้นแบบของผู้จัดการทีมชาวเยอรมันชื่อดังมากมาย อาทิ โทมัส ทุคเคิล, ยูลีอาน นาเกิลส์มัน, รัล์ฟ ฮาเซินฮึทเทิล และ เยือร์เกิน คล็อพ[13]

อาชีพผู้ฝึกสอน

ช่วงแรก

รังนิคเริ่มต้นอาชีพการเป็นผู้ฝึกสอนในช่วงทศวรรษ 1980 โดยสโมสรแรกที่เขาคุมทีมคือ Viktoria Backnang สโมสรในบ้านเกิดของเขาที่เมืองบัคยัง, เยอรมนี ซึ่งเขาเซ็นสัญญาในฐานะผู้เล่น-ผู้จัดการทีม ตามด้วยการย้ายไปคุมทีมสำรองของเฟาเอ็ฟเบ ซตุทท์การ์ท[14] และ Lippoldsweiler ตามลำดับ

ต่อมาใน ค.ศ. 1988 รังนิคไปคุมทีมเอสซี คอร์ป เป็นเวลาสองฤดูกาล ก่อนจะกลับมาร่วมงานกับซตุทท์การ์ทในฐานะผู้จัดการทีมรุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี และพาทีมชนะเลิศการแข่งขันบุนเดิสลีการะดับเยาวชนใน ค.ศ. 1991 ก่อนจะลาทีมเพื่อไปคุมสโมสร SSV Reutlingen 05 ในลีกสมัครเล่นของเยอรมนี และพาทีมจบอันดับ 4 ได้ในฤดูกาลแรก[15] และรังนิคได้อำลาทีมในฤดูกาล 1997 เพื่อคุมอุล์ม 1846 อดีตสโมสรซึ่งเขาเคยเล่นอาชีพ[16]

การคุมทีมนัดแรกอย่างเป็นทางการในฐานะผู้จัดการทีมของอุล์ม จบลงด้วยความพ่ายแพ้ต่อกร็อยเทอร์เฟือร์ท 0–2 และรังนิคพาทีมจบฤดูกาลแรกด้วยอันดับ 6 ก่อนจะพาทีมคว้าแชมป์ลีกระดับ 3 ได้ในฤดูกาล 1997–98 และยังพาทีมทำผลงานยอดเยี่ยมอย่างต่อเนื่องในซไวเทอบุนเดิสลีกา และมีส่วนสำคัญในการวางระบบการเล่นใหม่ ๆ ของทีมรวมถึงการหาผู้เล่นฝีเท้าดีเข้าสู่ทีม ส่งผลให้สโมสรสามารถเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุดอย่างบุนเดิสลีกาได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ใน ค.ศ. 2000

อย่างไรก็ตาม รังนิคได้เจรจากับเฟาเอ็ฟเบ ซตุทท์การ์ทในช่วงกลางฤดูกาลที่สองที่เขาทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมของอุล์ม และทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงร่วมกันในการดึงตัวรังนิคไปคุมทีมในฤดูกาลถัดไป และข่าวนี้ได้รั่วไหลสู่สาธารณชนในในเวลาต่อมา ส่งผลให้รังนิคลาออกจากการคุมทีมอุล์ม และเซ็นสัญญากับซตุทท์การ์ทในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1999

เฟาเอ็ฟเบ ซตุทท์การ์ท

รังนิคเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 และคุมทีมในช่วง 5 นัดสุดท้ายของฤดูกาล และพาทีมชนะได้ 2 จาก 5 นัด จบในอันดับ 11[17] ต่อมา เขาได้คุมทีมเต็มฤดูกาลในฤดูกาลถัดมา และพาทีมจบอันดับ 8 ต่อมา เขาพาทีมคว้าแชมป์ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ ได้ในฤดูกาลที่สาม รวมถึงเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายยูฟ่าคัพ และรอบรองชนะเลิศเดเอ็ฟเบ-โพคาล แต่รังนิคได้ถูกปลดในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 จากผลงานย่ำแย่ของทีม โดยอันดับของซตุทท์การ์ทได้ตกลงไปท้ายตาราง[18]

ฮันโนเฟอร์ 96

รังนิคย้ายมาร่วมงานกับฮันโนเฟอร์ 96 ในซไวเทอบุนเดิสลีกา และสามารถพาทีมเลื่อนชั้นสู่บุนเดิสลีกาได้เป็นครั้งแรกในรอบ 13 ปี[19] ในฤดูกาลต่อมา ฮันโนเฟอร์ 96 จบในอันดับ 11 แต่รังนิคได้ถูกปลดกลางฤดูกาล 2003–04 เนื่องจากทีมมีผลงานย่ำแย่โดยตกลงไปอยู่อันดับ 15 ของตาราง[20]

ชัลเคอ 04

รังนิคได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีม ชัลเคอ 04 ในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2004 โดยมาแทนที่ยุพ ไฮน์เคิส และพาทีมผ่านเข้ารอบแพ้คัดออกในยูฟ่าคัพได้ ก่อนจะแพ้ชัคตาร์ดอแนตสก์ และยังพาทีมเข้าชิงชนะเลิศเดเอ็ฟเบ-โพคาล แต่แพ้ไบเอิร์นมิวนิก 1–2[21] รวมถึงการจบฤดูกาลด้วยตำแหน่งรองแชมป์บุนเดิสลีกา เป็นรองเพียงไบเอิร์นมิวนิก

ในฤดูกาล 2005–06 รังนิคพาทีมคว้าแชมป์เดเอ็ฟเอ็ล-ลีกาโพคาล โดยเอาชนะเฟาเอ็ฟเบ ซตุทท์การ์ท สโมสรเก่าของเขา 1–0 และในฤดูกาลนี้ชัลเคอ 04 ยังได้ร่วมแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก แต่ไม่ผ่านรอบแบ่งกลุ่ม และผลงานของทีมก็ย่ำแย่ลงอย่างต่อเนื่องนับจากนั้น โดยอันดับในลีกได้ตกลงไปกลางตาราง รวมถึงการตกรอบฟุตบอลถ้วยเดเอ็ฟเบ-โพคาล โดยแพ้ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ทไปถึง 0–6 ส่งผลให้รังนิคถูกปลดในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2005[22]

เทเอ็สเก 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์

รังนิคใน ค.ศ. 2007

รังนิคย้ายมาร่วมงานกับสโมสรเทเอ็สเก 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์ในฤดูกาล 2006–07 โดยสโมสรเล่นอยู่ในเรกิโอนาลลีกา (ลีกระดับ 3) ในขณะนั้น[23] และเขาพาทีมเลื่อนชั้นขึ้นสู่ซไวเทอบุนเดิสลีกาได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และยังทำผลงานยอดเยี่ยมต่อเนื่องด้วยการพาทีมจบอันดับ 2 ในฤดูกาลต่อมา เลื่อนชั้นสู่บุนเดิสลีกาได้สำเร็จ และยังเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายเดเอ็ฟเบ-โพคาล และในฤดูกาล 2008–09 เขาพาฮ็อฟเฟินไฮม์จบอันดับ 7 ในบุนเดิสลีกา

ในฤดูกาล 2009–10 ฮ็อฟเฟินไฮม์จบอันดับ 11[24] ต่อมา รังนิคได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม ค.ศ. 2011 เนื่องจากไม่พอใจที่สโมสรขายลูอิส กุสตาวู กองกลางคนสำคัญให้แก่ไบเอิร์นมิวนิกโดยไม่ผานการตัดสินใจของเขา[25]

ชัลเคอ 04 (ครั้งที่สอง)

รังนิคกลับมาเป็นผู้จัดการทีมให้กับ ชัลเคอ 04 อีกครั้ง โดยมาแทนที่ เฟลิคส์ มากัท และชาลเคอทำผลงานในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเอาชนะอินเตอร์มิลานในรอบ 8 ทีมสุดท้ายด้วยผลประตูรวม 7–3 ก่อนจะแพ้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในรอบรองชนะเลิศ[26]

ถัดมาในฤดูกาล 2011–12 ชัลเคอ 04 คว้าแชมป์เดเอ็ฟเอ็ล-ซูเพอร์คัพได้ เอาชนะจุดโทษโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์[27] ก่อนที่รังนิคจะลาออกอย่างกะทันหันในเดือนกันยายน ค.ศ. 2011 โดยให้เหตุผลว่าตนเองมีอาการล้าเรื้อรัง จากการทำงานหนักและสะสมความเครียดเป็นเวลานาน[28][29][30]

แอร์เบ ไลพ์ซิช

รังนิคในฐานะผู้จัดการทีมแอร์เบ ไลพ์ซิช ในฤดูกาล 2018–19

หลังจากหยุดพักจากการคุมทีมไปหลายปี รังนิคซึ่งรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการกีฬาให้กับสโมสรเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คในออสเตรียในขณะนั้น ประกาศว่าเขาจะกลับมารับทำหน้าผู้จัดการทีมให้สโมสรแอร์เบ ไลพ์ซิช ในฤดูกาล 2015–16 ซึ่งเขาพาทีมเลื่อนชั้นขึ้นสู่บุนเดิสลีกาได้สำเร็จ และรัล์ฟ ฮาเซินฮึทเทิลเข้ามารับช่วงต่อจากเขา

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 รังนิคกลับมารับตำแหน่งผู้จัดการทีมไลพ์ซิชเป็นครั้งที่สอง[31] และพาทีมทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม โดยจบอันดับสามในบุนเดิสลีกา ได้สิทธิ์แข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ รวมทั้งเข้าชิงชนะเลิศเดเอ็ฟเบ-โพคาล ก่อนจะแพ้ไบเอิร์นมิวนิก รวมถึงทำผลงานในยูโรปาลีกได้ดีพอสมควร[32] รังนิคได้ลาทีมเมื่อจบฤดูกาล[33] และผู้ที่มาคุมทีมต่อจากเขาคือ ยูลีอาน นาเกิลส์มัน

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2021 รังนิคได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในพรีเมียร์ลีก โดยเขาจะคุมทีมไปจนสิ้นสุดฤดูกาล 2021–22 และจะรับตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาให้แก่สโมสรไปอีกสองปีหลังจากหมดสัญญา[34] รังนิคประเดิมการคุมทีมนัดแรกในเกมพรีเมียร์ลีกวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2021 ซึ่งยูไนเต็ดเปิดโอล์ดแทรฟฟอร์ดเอาชนะคริสตัล พาเลซ 1–0[35] แต่ต่อมาทางสโมสรได้ประกาศว่ารังนิคจะไม่ทำหน้าที่ที่ปรึกษาสโมสร โดยเขาจะไปรับงานเป็นผู้จัดการทีมชาติออสเตรีย[36]

สถิติการคุมทีม

ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2022
สโมสรวันที่รับตำแหน่งสิ้นสุดสถิติ
จำนวนนัดชนะเสมอแพ้เปอร์เซ็นต์ในการชนะ
เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท
(ทีมสำรอง)
1 กรกฎาคม 198530 มิถุนายน 198770281626040.00
Reutlingen 051 กรกฎาคม 199531 ธันวาคม 199651261213050.98
อุล์ม 18461 มกราคม 199716 มีนาคม 199975361821048.00
เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท3 พฤษภาคม 1999[37]24 กุมภาพันธ์ 200186361634041.86
ฮันโนเฟอร์ 9623 พฤษภาคม 20018 มีนาคม 2004[38]98442232044.90
ชัลเคอ 0428 กันยายน 2004[39]12 ธันวาคม 200565361514055.38
เทเอ็สเก 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์22 มิถุนายน 20062 มกราคม 2011[40]166794344047.59
ชัลเคอ 0421 มีนาคม 201122 กันยายน 2011[41]2310310043.48
แอร์เบ ไลป์ซิก29 พฤษภาคม 201516 พฤษภาคม 2016[42]362178058.33
แอร์เบ ไลป์ซิก9 กรกฎาคม 201830 มิถุนายน 201952291310055.77
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ชั่วคราว)29 พฤศจิกายน 2021[43]23 พฤษภาคม 20222711106040.74
รวม749356175218047.53

เกียรติประวัติ

ผู้จัดการทีม[44]

เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี

  • บุนเดิสลีการุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี; ชนะเลิศ: 1990–91

อุล์ม 1846

  • เรกิโอนาลลีกา; ชนะเลิศ: 1997–98

เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท

ฮันโนเฟอร์ 96

ชัลเคอ 04

แอร์เบ ไลป์ซิก

  • เดเอ็ฟเบ-โพคาล; รองชนะเลิศ: 2018–19

เชิงอรรถ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักเอฟเอคัพองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อสมทสโมสรฟุตบอลเชลซีสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดพระบรมสารีริกธาตุพิเศษ:ค้นหาสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีเฟซบุ๊กไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)สโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาอสุภญีนา ซาลาสสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลยูเวนตุสเอซี มิลานนางทาสหัวทองโอลด์แทรฟฟอร์ดยลดา สวนยศคิม ซู-ฮย็อนสโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ดอามาด ดียาโลสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีชาลี ไตรรัตน์สโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งประเทศไทยสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์