สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

พระมเหสีในรัชกาลที่ 10

พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี (พระนามเดิม: พลเอกหญิง ท่าน​ผู้หญิง​สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ติดใจ); พระราชสมภพ: 3 มิถุนายน พ.ศ. 2521)[3] เป็นสมเด็จพระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[4] พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา
พัชรสุธาพิมลลักษณ
พระบรมราชินี
พระอัครมเหสี
ดำรงพระยศ1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน
ราชาภิเษก4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ก่อนหน้าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระราชสมภพ3 มิถุนายน พ.ศ. 2521 (45 พรรษา)
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
สุทิดา ติดใจ
พระราชสวามีพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ราชวงศ์จักรี (ราชาภิเษกสมรส)
พระราชบิดาคำ ติดใจ[1]
พระราชมารดาจั่งเฮียง ติดใจ[2]
ศาสนาพุทธเถรวาท
ลายพระอภิไธย
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
ประจำการ2553–2562
ชั้นยศ พลเอก
บังคับบัญชารองผู้บัญชาการ, หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
ทหารรักษาพระองค์, ส่วนมกุฎราชกุมาร
ทหารรักษาพระองค์, หน่วยรบพิเศษ

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงเข้ารับราชการทหารในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ)[5] นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์เวรในพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์[6]

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[7]พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต[8] จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์[9] ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสุทิดา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี[4]

สมเด็จพระบรมราชินีแห่ง
ราชวงศ์จักรี
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา

พระราชประวัติ

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2521[10][11]ณ ตำบลบ้านพรุ [12]อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีพระนามเดิมว่า สุทิดา ติดใจ เป็นธิดาของนายคำ ติดใจ กับคุณหญิงจั่งเฮียง ติดใจ ครอบครัวของพระองค์เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ทรงเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จากนั้นจึงทรงเข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) (เทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) ที่พณิชยการพระนคร ต่อมาได้ทรงศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จนจบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2543[13][14] และทรงเข้าเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท แจลเวย์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2546 และทรงเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2551[15]

สมเด็จพระบรมราชินี

ป้ายพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ประดับพร้องธงประจำพระองค์ ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพมหานคร

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 มีพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสและสถาปนาสมเด็จพระราชินี ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต[8] โดยในวันเดียวกันนั้น เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชโองการ ประกาศสถาปนาสมเด็จพระราชินี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับ พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา ถูกต้องตามกฎหมาย และราชประเพณีโดยสมบูรณ์ทุกประการแล้ว [7] จึงมีพระราชโองการให้สถาปนา พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา พระอัครมเหสี เป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์[9]

ต่อมา ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสุทิดา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี[4]

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมการบังคับบัญชาหน่วยราชการในพระองค์ ข้าราชการและข้าราชบริพารในกรมกิจการในพระบรมวงศานุวงศ์ ขึ้นตรงกับ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการปฏิบัติราชการ ดังนี้

  1. กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  2. กองราชสำนักสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  3. กองศิลปาชีพ
  4. สถาบันสิริกิติ์
  5. มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
  6. นางสนองพระโอษฐ์และคุณข้าหลวงในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป[16]

พระราชกรณียกิจ

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น "พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา" ทรงดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ)[5] รวมทั้งยังทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์เวรในพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์[6][17]

วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานวันสตรีไทย ประจำปี 2562 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี เป็นพระราชกรณียกิจด้วยพระองค์เองเป็นครั้งแรกภายหลังการสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินี[18]ในงานดังกล่าว ทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่จะสืบสานพระราชปณิธานของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง[19]

วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็นองค์ประธานที่ปรึกษาโครงการอนุรักษ์ช้างป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ในภาคตะวันออก[20]และองค์ประธานที่ปรึกษาโครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ จังหวัดกาญจนบุรี[21]

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร[22]

วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็นองค์ประธานที่ปรึกษาโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ[23]

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ ตามคำทูลเชิญของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ระหว่างวันที่ 4 – 7 พฤษภาคม 2566 เพื่อทรงร่วมพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และสถาปนาสมเด็จพระราชินีคามิลลา ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน นับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศครั้งแรกอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่การพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 และเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างทั้งสองราชวงศ์และสองประเทศนี้ให้แน่นแฟ้นยั่งยืนสืบไป[24] นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ยังทรงกระเป๋าย่านลิเภา ของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และได้สร้างพลังแห่งศิลปะหัตถกรรมของไทย ด้วยลวดลายที่สวยงามของกระเป๋าย่านลิเภาสร้างความโด่งดังภายในชั่วข้ามคืน[ต้องการอ้างอิง]

การรับราชการ

  • พ.ศ. 2553 ทรงดำรงตำแหน่ง รักษาราชการนายทหารยุทธการ ฝ่ายยุทธการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยการมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองกิจการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ สำนักงานฝ่ายเสนาธิการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[25]
  • พ.ศ. 2555 ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[26]
  • พ.ศ. 2555 ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับกองพันฝึกทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยฝึกทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ โรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[27]
  • ก่อน 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับการโรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (๒) และผู้บังคับการหน่วยฝึกทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[28]
  • 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ทรงดำรงตำแหน่ง นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด (อัตรา พลตรี)[29]
  • 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการโรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด (อัตรา พลตรี)[30]
  • 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลตรี)[31]
  • 5 เมษายน พ.ศ. 2558 ทรงดำรงตำแหน่งราชองครักษ์เวร[32]
  • 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ทรงดำรงตำแหน่ง นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลโท)[33]
  • 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอก)[34]
  • 14 เมษายน พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน ทรงดำรงตำแหน่ง ราชองครักษ์เวร[35]
  • 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ทรงดำรงตำแหน่ง รองสมุหราชองครักษ์ กรมราชองครักษ์ (อัตราเงินเดือน น.๙)[36]
  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ)[5]

ประสบการณ์ทางทหาร

ด้านการทหาร

[37]

  • 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิชาทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ของโรงเรียน และศูนย์ฝึกหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
  • 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ชั้นนายร้อย-ชั้นนายพัน หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ของโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
  • พ.ศ. 2556 ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรหลักประจำ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 91
  • พ.ศ. 2557 ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรหลักประจำ วิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 59
  • 24 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ส่งทางอากาศ ของโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ
  • 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ส่งทางอากาศนาวิกโยธิน ของโรงเรียนทหารนาวิกโยธิน ด้วยการกระโดดร่มลงทะเลในเวลากลางคืน ที่สัตหีบ ซึ่งโรงเรียนทหารนาวิกโยธินไม่เคยมีการฝึกมาก่อน เพราะปกติแล้วจะทำการฝึกกระโดดในเวลากลางวันเท่านั้น พระองค์จึงทรงเป็นนายทหาร และนายทหารหญิงพระองค์แรก ที่ทำการฝึกหลักสูตรนี้[38]
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตร Combat Qualifying Course Jungle Warfare ของหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
  • เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ทรงจบหลักสูตรการยิงปืนพกในระบบต่อสู้ภายใต้สภาวะกดดันของกองบังคับการปราบปราม

ด้านการบิน

[39]

  • 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ทรงสำเร็จการฝึกและศึกษาตามหลักสูตรการบินของหน่วยฝึกการบินพลเรือนกองทัพอากาศ ทรงทำการบินกับเครื่องบินแบบ Cessna T 41
  • 16 มกราคม พ.ศ. 2554 ทรงสำเร็จการฝึกและศึกษาตามหลักสูตรศิษย์การบินทหารบกอากาศยาน ปีกติดลำตัว ชั้นมัธยม ของโรงเรียนการบินทหารบก ทรงทำการบินกับเครื่องบิน แบบ Cessna T 41
  • 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ทรงสำเร็จการฝึกและศึกษาตามหลักสูตรการบินของโรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ ทรงทำการบินกับเครื่องบิน แบบ CT-4E และ PC-9
  • เสด็จฯ ไปทรงฝึกและศึกษาการบินเพิ่มเติม ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทรงผ่านการทดสอบและได้รับใบอนุญาตนักบินของสหภาพยุโรป ออกใบอนุญาต โดย สำนักงานการบินพลเรือน แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ดังนี้ ใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล PPL(A) ทรงทำการบินกับเครื่องบินแบบ Cessna 172, Mooney M-20, Piper PA-34 Seneca ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี CPL(A) โดยมี Type Rating ของเครื่องบินแบบ Boeing 737 300-900 และใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก (ATPL-Theory)
  • ทรงได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก จากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

ปัจจุบัน ทรงปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนักบินผู้ช่วย ทำการบินกับเครื่องบินพระราชพาหนะ Boeing 737-400 และ Boeing 737-800

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา
พัชรสุธาพิมลลักษณ
พระบรมราชินี
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
ธงประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท [40]
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้าขอรับ/เพคะ
ลำดับโปเจียม3

พระอิสริยยศ

  • สุทิดา ติดใจ (3 มิถุนายน พ.ศ. 2521 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553)
  • สุทิดา วชิราลงกรณ์ (14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[41] – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559)
  • สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา (26 สิงหาคม พ.ศ. 2559[9][42] – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560)
  • ท่านผู้หญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา (13 ตุลาคม พ.ศ. 2560[9] – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  • สมเด็จพระราชินีสุทิดา (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[9] – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  • สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[4] – ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยยศราชูปโภค

ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พุทธศักราช 2562 นั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเครื่องราชอิสริยยศราชูปโภคสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสีให้แก่สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี โดยเครื่องราชอิสริยยศราชูปโภคเหล่านี้ประกอบด้วย

  • พานพระศรี (พานใส่หมากพลู) ทองคำลงยา
  • กาน้ำทองคำลงยา
  • ขันน้ำพระสุธารสเย็น พร้อมจอกลอยทองคำลงยา
  • หีบพระศรีทองคำลงยา พร้อมพานรอง
  • พระสุพรรณศรี (กระโถนเล็ก) ทองคำลงยา
  • ขันสรงพระพักตร์ทองคำลงยา พร้อมคลุมปัก
  • พระฉาย (กระจกส่องหน้า) ทองคำลงยา
  • พานเครื่องพระสำอาง พร้อมพระสางวงเดือน พระสางเสนียด และพระกรัณฑ์ทองคำลงยา สำหรับบรรจุเครื่องพระสำอาง
  • ราวพระภูษาซับพระพักตร์ทองคำลงยารูปพญานาค พร้อมผ้าซับพระพักตร์จีบริ้วพาดที่ราว 2 ผืน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระยศทหาร

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
รับใช้  ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2553 –ปัจจุบัน
ชั้นยศ พลเอกหญิง
  • 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ร้อยตรีหญิง[51]
  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ร้อยโทหญิง[41]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2554 ร้อยเอกหญิง[52]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 พันตรีหญิง[53]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2555 พันโทหญิง[54]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 พันเอกหญิง[55]
  • 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 พลตรีหญิง[56]
  • 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559 พลโทหญิง[42]
  • 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พลเอกหญิง[57]

พระเกียรติคุณ

ปริญญากิตติมศักดิ์

  1. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย[61]มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร และมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  2. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  3. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  4. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  5. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  6. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  7. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการ(วิชาเอกธุรกิจการบิน) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี[62]
  8. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารและการพัฒนาชุมชน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  9. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธุรกิจการบิน ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  10. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม[63]
  11. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  12. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  13. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  14. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  15. นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  16. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช [64]
  17. บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  18. บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  19. บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่[65]
  20. ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[66]

เหรียญที่ระลึก และเหรียญเฉลิมพระเกียรติ

  • เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 คณะรัฐมนตรี เห็นชอบจัดสร้างเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส 1 พฤษภาคม 2562 ตามที่กระทรวงการคลังขอพระบรมราชานุญาตเพื่อเฉลิมพระเกียรติ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว-สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี” มีทั้งสิ้น 4 ประเภท[67]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้าสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีถัดไป
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ

พระอัครมเหสีไทย
(1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน)
​ยังอยู่ในพระอิสริยยศ
ก่อตั้งครั้งแรก
รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
(1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560
1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในตำแหน่ง
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง