ตำบลเชิงแส

ตำบลในอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย

เชิงแส เป็นตำบลในอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เป็นที่ตั้งสถานีตำรวจภูธรกระแสสินธุ์ ที่ทำการไปรษณีย์กระแสสินธุ์ สหกรณ์การเกษตรอำเภอกระแสสินธุ์ โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยาซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ และโรงพยาบาลกระแสสินธุ์ เป็น 1 ใน 2 ตำบลของอำเภอที่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล

ตำบลเชิงแส
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Choeng Sae
ประเทศไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอกระแสสินธุ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด28.3 ตร.กม. (10.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด2,746 คน
 • ความหนาแน่น97.03 คน/ตร.กม. (251.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 90270
รหัสภูมิศาสตร์900803
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลเชิงแส
ทต.เชิงแสตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา
ทต.เชิงแส
ทต.เชิงแส
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลเชิงแส
พิกัด: 7°37′54.4″N 100°19′48.2″E / 7.631778°N 100.330056°E / 7.631778; 100.330056
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอกระแสสินธุ์
จัดตั้ง • 22 พฤษภาคม 2517 (สภาตำบลเชิงแส)
 • 25 ธันวาคม 2539 (อบต.เชิงแส)
 • 27 ตุลาคม 2552 (ทต.เชิงแส)
พื้นที่
 • ทั้งหมด28.3 ตร.กม. (10.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด2,746 คน
 • ความหนาแน่น97.03 คน/ตร.กม. (251.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05900802
ที่อยู่
สำนักงาน
หมู่ที่ 3 ถนนเกาะใหญ่-ระโนด ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา 90270
เว็บไซต์www.cherngsae.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตำบลเชิงแส มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]

ประวัติ

ตำบลเชิงแสเดิมเป็นตำบลที่ขึ้นกับอำเภอจะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา ปี พ.ศ. 2460 ได้มีผู้ลอบวางเพลิงที่ว่าการอำเภอปละท่า จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอปละท่าเสียเป็น "อำเภอจะทิ้งพระ"[3] พร้อมกับยุบเมืองระโนด ตั้งเป็นกิ่งอำเภอระโนด และให้ขึ้นกับอำเภอจะทิ้งพระ และปรับเปลี่ยนพื้นที่โดยโอนตำบลเชิงแส ตำบลเกาะใหญ่ ตำบลบ่อตรุ และตำบลวัดสน ของอำเภอจะทิ้งพระ (ในขณะนั้น) ไปขึ้นกิ่งอำเภอระโนด[4] ก่อนที่ปี พ.ศ. 2466 กรมหลวงลพบุรีราเมศร อุปราชปักษ์ใต้เห็นว่าการคมนาคมไม่สะดวก จึงยุบอำเภอจะทิ้งพระ เป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอเมืองสงขลา ส่วนกิ่งอำเภอระโนดเดิมที่ขึ้นอำเภอจะทิ้งพระ ให้ยกฐานะเป็น อำเภอระโนด[5] ตำบลเชิงแสจึงย้ายมาขึ้นกับอำเภอระโนดแทนอำเภอจะทิ้งพระ

ในปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้แยกพื้นที่หมู่บ้านด้านทิศเหนือของตำบลเชิงแส ได้แก่ หมู่ 5 บ้านโคกพระ, หมู่ 6 บ้านกาหรำ, หมู่ 7 บ้านโคกแห้ว และหมู่ 8 บ้านโรง รวม 4 หมู่บ้าน ตั้งขึ้นเป็น ตำบลโรง[6] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2521 ทางตำบลเกาะใหญ่ได้ขอแยกการปกครองออกจากอำเภอระโนดเป็นกิ่งอำเภอ 1 แห่ง โดยมีการรวมพื้นที่ตำบลข้างเคียงอีก 2 ตำบล คือ ตำบลเชิงแสและตำบลโรง เนื่องจากการติดต่อราชการกับกิ่งอำเภอใหม่มีระยะทางเพียง 1.9 กิโลเมตร ซึ่งอำเภอสังกัดเดิมต้องใช้ระยะทาง 18 กิโลเมตร จึงรวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอกระแสสินธุ์[7] และยกฐานะเป็น อำเภอกระแสสินธุ์ ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537[8] ตำบลเชิงแสจึงย้ายมาขึ้นกับทางอำเภอและเป็นตำบลลำดับที่ 3 ของทางอำเภอกระแสสินธุ์

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

ตำบลเชิงแสแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1บ้านเขาใน(Ban Khao Nai)
หมู่ 2บ้านรัดปูน(Ban Rat Pun)
หมู่ 3บ้านเชิงแส(Ban Choeng Sae)
หมู่ 4บ้านเชิงแส(Ban Choeng Sae)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ตำบลเชิงแสทั้งตำบลอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเชิงแส เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลเชิงแส ในปี พ.ศ. 2517[9] ก่อนที่จะได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลใน พ.ศ. 2539[10] แล้วจึงได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2552[11]

ประชากร

พื้นที่ตำบลเชิงแสประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 4 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 2,746 คน แบ่งเป็นชาย 1,372 คน หญิง 1,374 คน (เดือนธันวาคม 2566)[12] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 3 ในอำเภอกระแสสินธุ์

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้านพ.ศ. 2566[12]พ.ศ. 2565[13]พ.ศ. 2564[14]พ.ศ. 2563[15]พ.ศ. 2562[16]พ.ศ. 2561[17]พ.ศ. 2560[18]
เชิงแส (หมู่ 3)900909929933924935924
เชิงแส (หมู่ 4)796806812814832825840
รัดปูน659665669684694694687
เขาใน391390396394400405410
รวม2,7462,7702,8062,8252,8502,8592,861

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย