พระกุมารชีพ

พระกุมารชีพ (สันสกฤต: कुमारजीव, อักษรโรมัน: Kumārajīva) หรือชื่อในภาษาจีนว่า จิวหมัวหลัวสือ (จีนตัวเต็ม: 鳩摩羅什; จีนตัวย่อ: 鸠摩罗什; พินอิน: Jiūmóluóshí; เวด-ไจลส์: Chiu1 mo2 lo2 shih2; ค.ศ. 344–413)[1] เป็นพระภิกษุ นักวิชาการ และนักแปลจากกูชา (ปัจจุบันอยู่ใน Aksu Prefecture, ซินเจียง ประเทศจีน) พระกุมารชีพถืิอเป็นหนึ่งในนักแปลที่ดีที่สุดของศาสนาพุทธแบบจีน โดยลฺหวี เฉิงกล่าวถึงงานแปลของพระกุมารชีพว่า "ไม่มีใครเทียบได้ทั้งในด้านเทคนิคการแปลหรือระดับความเที่ยงตรง"[2]

พระกุมารชีพ
อนุสาวรีย์ของพระกุมารชีพ หน้าทางเข้าถ้ำคีซิลในเทศมณฑลกูชา เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน
ส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 344
กูชา (ปัจจุบันคือกูชา ประเทศจีน)
มรณภาพค.ศ. 413 (68-69 ปี)
ฉางอัน โฮ่วฉิน (ปัจจุบันคือซีอาน ประเทศจีน
รู้จักจากผู้แปลคัมภีร์ศาสนาพุทธจากภาษาสันสกฤตไปเป็นภาษาจีน ผู้ก่อตั้งสำนักซันลุ่นของศาสนาพุทธนิกายมหายาน
อาชีพภิกษุ, นักวิชาการ, นักแปล และนักปราชญ์

พระกุมารชีพในช่วงแรกศึกษาคำสอนในสำนักสรวาสติวาท ภายหลังศึกษากับพุทธสวามิน และท้ายที่สุดหันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน โดยศึกษามัธยมกะของนาคารชุนะ หลังเชี่ยวชาญในภาษาจีน พระกุมารชีพจึงตั้งถิ่นฐานในฉางอันในฐานะนักแปลและนักวิชาการ (ป. ค.ศ. 401)[3] ท่านเป็นหัวหน้ากลุ่มนักแปล ซึ่งรวมเลขานุการประจำตัวชื่อ Sengrui[4] กลุ่มนักแปลมีส่วนในการแปลคัมภีร์ศาสนพุทธในภาษาสันสกฤตหลายเล่มเป็นภาษาจีน

ชีวิต

ชีวิตช่วงต้น

กุมารยณะ บิดาของพระกุมารชีพ มาจากอินเดียโบราณ น่าจะมาจากบริเวณที่เป็นกัศมีร์ในปัจจุบัน[5][6][7] บิดาเป็นเจ้าชายอินเดีย[8] ผู้เป็นโอรสในรัฐมนตรีระดับสูงที่กษัตริย์แห่งกูชากดดันให้อภิเษกสมรสกับพระขนิษฐภคินี ชีพะ พระขนิษฐภคินีของพระมหากษัตริย์ สมรสกับพระองค์และให้กำเนิดพระกุมารชีพ ชีพะเข้าร่วมในสำนักนางชี Tsio-li ทางเหนือของกูชาตอนพระกุมารชีพอายุ 7 ขวบ[9]

อ้างอิง

ข้อมูล

  • Chandra, Moti (1977), Trade and Trade Routes in Ancient India, Abhinav Publications, ISBN 9788170170556
  • Pollard, Elizabeth (2015), Worlds Together Worlds Apart, New York: W.W. Norton Company Inc, p. 287, ISBN 978-0-393-91847-2
  • Singh, Upinder (2009), A History of Ancient and Early Medieval India: From the Stone Age to the 12th Century, Pearson Education India, ISBN 978-8131716779
  • Smith, David Howard (1971), Chinese Religions From 1000 B.C. to the Present Day, Weidenfeld & Nicolson
  •  บทความนี้รวมเอาข้อความจาก The Chinese recorder and missionary journal, Volume 3, อันเผยแพร่มาแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1871, ปัจจุบันจึงกลายเป็นสาธารณสมบัติในสหรัฐ

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย