พอลตายแล้ว

"พอลตายแล้ว" (อังกฤษ: Paul is dead) เป็นเรื่องเล่าที่กล่าวหาว่า พอล แม็กคาร์ตนีย์ สมาชิกวงร็อกอังกฤษ เดอะบีเทิลส์ ได้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1966 และวงได้เปลี่ยนสมาชิกโดยผู้ที่หน้าตาละม้ายคล้ายเขาแทน โดยในเดือนกันยายน ค.ศ. 1969 นักศึกษาอเมริกาได้ตีพิมพ์บทความที่อ้างถึงร่องรอยว่าแม็กคาร์ตนีย์เสียชีวิตแล้ว สามารถพบได้จากเนื้อเพลงและภาพบนแผ่นเสียงของเดอะบีตเทิลส์ ซึ่งการล่าหาหลักฐานนี้ได้แพร่กระจายและภายในไม่กี่สัปดาห์ก็ได้เป็นปรากฏการณ์ในระดับนานาชาติ แต่ต่อมาแม็กคาร์ตนีย์ได้ออกมาสัมภาษณ์และปฏิเสธข่าวลือ ตีพิมพ์ในนิตยสารไลฟ์ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1969[2] ในวัฒนธรรมสมัยนิยมยังคงมีการอ้างถึงเรื่องเล่านี้ในบางครั้ง

The cover of a 1969 magazine titled 'Paul McCartney Dead; The Great Hoax'
นิตยสารนำเสนอข่าวลือ[1]

จุดเริ่มต้น

จุดเริ่มต้นของข่าวลือมีที่มาไม่ชัดเจน ขณะที่สาธารณชนได้กังวลเกี่ยวกับสุขภาพของแม็กคาร์ตนีย์หลัง ค.ศ. 1967[2] หลังจากที่เขาประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ก็เป็นไปได้ว่าข่าวลือในปี ค.ศ. 1969 นี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง[3] เหมือนกับจากข่าวลือในลักษณะเดียวกับบ็อบ ดีแลนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์[1] ในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1969 วงเดอะบีตเทิลส์กำลังอยู่ในช่วงกำลังแตกวง งานของแม็กคาร์ตนีย์กับสาธารณชนที่น้อยและเขาอยู่ในระหว่างการถอนตัวเพื่อทำผลงานอัลบั้มเดี่ยวที่กำลังจะมีขึ้น[4][5]

วันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1969 บทความหัวข้อ "พอล แม็กคาร์ตนีย์ จากเดอะบีตเทิลส์ ตายแล้วหรือ" ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์นักเรียน ของมหาวิทยาลัยเดรก ในไอโอวา โดยบทความอธิบายถึงข่าวลือที่แพร่สะพัดในมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการตายของพอล ในข่าวลือนั้นยังรวมถึงร่องรอยในอัลบั้มล่าสุดของเดอะบีตเทิลส์ เมื่อเล่นเพลง "Revolution 9" ในอัลบั้ม White Album กลับหลังจะมีข้อความว่า "turn me on, dead man" (หันมาที่ฉัน คนตายแล้ว)[6] ในรายงานข่าวทางวิทยุในวันที่ 11 ตุลาคม โดยเจ้าหน้าที่สื่อของบีตเทิลส์ เดเรก เทย์เลอร์ ได้โต้ตอบข่าวลือว่า "ล่าสุดเราได้คำถามอย่างมากมายเกี่ยวกับข่าวลือว่าพอลตายแล้ว เราได้ข่าวลือนี้มาหลายปี แน่นอนว่า หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้รับข้อสงสัยจากที่สำนักงานและที่บ้าน ตั้งแต่เช้าถึงค่ำ หรือแม้แต่ได้รับสายโทรศัพท์จากดีเจและที่อื่นในสหรัฐอเมริกา"[7]

แพร่สะพัด

ในวันที่ 12 ตุลาคม สายเข้าในสถานีวิทยุดีทรอยต์ คลื่น WKNR ได้เล่าให้ดีเจ รัส กิบ เกี่ยวกับข่าวลือและร่องรอย และผู้ที่โทรเข้ามาสายอื่นก็ได้อภิปรายเกี่ยวกับข่าวลือนี้ในชั่วโมงถัดมา หลังจากนั้น 2 วัน หนังสือพิมพ์ เดอะมิชิแกนเดลี ตีพิมพ์เกี่ยวกับการเปรียบเปรยของอัลบั้ม Abbey Road ของนักเรียนมหาวิทยาลัยมิชิแกน ชื่อ เฟรด ลาบัวร์ ในหัวข้อเรื่อง "แม็กคาร์ตนีย์ตายแล้ว หลักฐานสู่ความกระจ่าง"[8] โดยบรรยายถึงร่องรอยต่าง ๆ ถึงการตายของแม็กคาร์ตนีย์บนปกอัลบั้ม รวมถึงหลักฐานใหม่ของอัลบั้มที่เพิ่งออกชุด Abbey Road โดยลาบัวร์ได้ตั้งข้อสังเกต โดยเขารู้สึกตกใจเมื่อเรื่องราวที่เขาเขียนได้ถูกหนังสือพิมพ์เอาไปเขียนทั่วสหรัฐอเมริกา[9] คลื่น WKNR ได้เติมไฟให้ข่าวลือโดยการทำรายการความยาว 2 ชั่วโมงเต็มในหัวข้อนี้ โดยออกอากาศวันที่ 19 ตุลาคม

ในเช้าวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1969 โรบี ยอนจ์ ดีเจสถานีวิทยุในนิวยอร์กคลื่น WABC ได้อภิปรายข่าวลือออกอากาศมากกว่า 1 ชั่วโมง ซึ่งประสบความสำเร็จในเวลาอันสั้น ในช่วงคืนนั้นคลื่นของสถานีได้ครอบคลุมคนฟังไป 38 รัฐ รวมถึงไปถึงประเทศอื่น[10] ต่อมาเจ้าหน้าที่สื่อของเดอะบีตเทิงส์ ได้ออกแถลงข่าวปฏิเสธเกี่ยวกับข่าวลือที่แพร่สะพัดในระดับนานาชาติและสื่อนานาชาติ

ร่องรอย

ปกอัลบั้ม Abbey Road

เรื่องทึกทักว่าจริงในการตายของแม็กคาร์ตนีย์ที่รายงานออกมาจากทั้งแฟนและเรื่องราว เช่นข้อความเมื่อฟังเพลงย้อนกลับหลัง หรือตีความสัญลักษณ์จากทั้งเนื้อเพลงและปกอัลบั้ม[11] อีกหนึ่งตัวอย่างที่ถูกอ้างถึงบ่อยคือข้อสังเกตของคำพูดจากเพื่อนร่วมวง อย่างจอห์น เลนนอน ในส่วนสุดท้ายของเพลง "Strawberry Fields Forever" ที่กล่าวว่า "I buried Paul" (ฉันได้ฝังศพพอล) ซึ่งต่อมาแม็กคาร์ตนีย์ได้อธิบายคำนี้ว่าคือ "น้ำซอสแครนเบอร์รี"[12] อีกหนึ่งการตีความเกี่ยวกับปกอัลบั้ม Abbey Road ที่แสดงถึงการเดินขบวนในงานศพ ฮาร์บิดจ์ได้อธิบายไว้ว่า "จอห์นแต่งตัวขาวบริสุทธิ์ หมายถึง พระหรือความเหนือมนุษย์ ริงโกแต่งตัวชุดดำเต็มชุด หมายถึง ผู้ไว้อาลัย จอร์จในชุดยีนส์เก่าและใส่เสื้อเชิร์ตหมายถึง สัปเหร่อ ส่วนพอลแต่งตัวชุดสูงล้าหลังเก่า ๆ กับเท้าเปล่า หมายถึง ศพ"[11]

เรื่องราว

ร่องรอยที่มีได้นำไปสู่เรื่องราว คือ 3 ปีก่อนหน้านี้ (วันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1966) แม็กคาร์นีย์ที่ทะเลาะในระหว่างการบันทึกเสียงกับเดอะบีตเทิลส์ แล่นรถออกไปด้วยความโกรธ เขาประสบอุบัติเหตุรถชนจนเสียชีวิต เพื่อขจัดปัญหา ทางวงได้แทนที่เขาด้วย วิลเลียม แคมป์เบล ผู้ชนะจากการประกวดคนหน้าเหมือนแม็กคาร์ตนีย์[11]

ข้อโต้แย้ง

นิตยสารไลฟ์ออกมาโต้แย้งเกี่ยวกับข่าวลือ

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1969 เจ้าหน้าที่สื่อของวงเดอะบีตเทิลส์ได้ออกมาปฏิเสธข่าวลือ "เป็นเรื่องไร้สาระเก่า ๆ"[13] และกล่าวว่า "เรื่องราวนี้ได้แพร่สะพัดมานานราว 2 ปี เราได้รับจดหมายประเภทนี้จากทุกแหล่ง แต่พอลก็ยังอยู่กับเรา"[14] จนข่าวลือก็ลดลงไปเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969 เมื่อนิตยสารไลฟ์ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ล่าสุดของแม็กคาร์ตนีย์ โดยเขาพูดว่า

บางทีข่าวลืออาจเริ่มต้นเพราะว่า ผมไม่ค่อยออกสื่อในช่วงที่ผ่านมา ผมได้ออกสื่อมาพอแล้วตลอดชีวิตของผม ผมไม่ต้องการพูดอะไรในวันนี้ ผมมีความสุขที่อยู่กับครอบครัวของผมและผมจะทำงานอีกครั้ง ผมทำงานมาแล้ว 10 ปีแล้วและผมไม่เคยเลิกทำงาน ผมสามารถเลิกทำงานเมื่อใดก็ได้ที่ต้องการ แต่ผมก็อยากจะให้ชื่อเสียงของผมน้อยลงกว่านี้[5]

สิ่งที่ตามมา

ในวัฒนธรรมสมัยนิยมเรื่อง Batman

ก่อนสิ้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 1969 มีเพลงออกมา 2 เพลงที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้อง คือเพลง "The Ballad of Paul" ของมีสทรีทัวร์ และเพลง "So Long Paul" ของเวิร์บลีย์ ฟินสเตอร์ เขียนโดยโคเซ เฟลีซีอาโน

รายการโทรทัศน์ ที่มีพิธีกรคือทนายผู้มีชื่อเสียงชื่อ เอฟ. ลี ไบลีย์ ออกอากาศทาง WOR ในนิวยอร์กเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ได้พิจารณาตรวจสอบข่าวลือจากลาบัวร์และพยานคนอื่น แต่เขาก็ได้ให้ผู้ชมได้สรุปตัดสินเอาเอง โดยก่อนการบันทึก ลาบัวร์บอกไบลีย์ว่าบทความที่เขาเขียนนั้นเขียนขึ้นมาเพื่อเป็นเรื่องขำขัน ไบลีย์ถอนหายใจและบอกว่า "เรามีเวลา 1 ชั่วโมง คุณต้องดำเนินไปพร้อมกับมัน"[9]

แม็กคาร์ตนีย์ได้ออกผลงานที่เกี่ยวข้องกับข่าวลือนี้ โดยตั้งชื่ออัลบั้มในการแสดงสดปี ค.ศ. 1993 ที่ชื่อ Paul Is Live และปกอัลบั้มยังล้อเลียนปกอัลบั้ม Abbey Road[15]

นอกจากนี้ยังมีพูดถึงในหนังสือหลายเล่ม[16][17] ภาพยนตร์หลายเรื่อง[18][19][20] รวมถึงบทวิเคราะห์ต่าง ๆ[3][21] ยังมีการอ้างถึงในวัฒนธรรมสมัยนิยม ตัวอย่างเช่นเรื่องล้อเลียนในหนังสือการ์ตูนแบทแมน ในปี ค.ศ. 1970[22] ได้นำมาล้อเลียนในรายการโทรทัศน์เช่นใน The Simpsons (1990)[23] และ Battlestar Galactica (2006)[24]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย