ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2514

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2514 เป็นฤดูกาลที่ไม่การกำหนดขอบเขตอย่างเป็นทางการ โดยดำเนินอยู่ภายในปี พ.ศ. 2514 แต่พายุหมุนเขตร้อนส่วนใหญ่มีแนวโน้มก่อตัวขึ้นภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม วันเหล่านี้ถือเป็นธรรมเนียมในการกำหนดขอบเขตของแต่ละฤดูกาล เมื่อพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2514
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว8 มกราคม พ.ศ. 2514
ระบบสุดท้ายสลายตัว30 ธันวาคม พ.ศ. 2514
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อเออร์มา
 • ลมแรงสูงสุด285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 1 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด885 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด55 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด35 ลูก
พายุไต้ฝุ่น24 ลูก
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น6 ลูก (ไม่เป็นทางการ)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมดอย่างน้อย 617 คน
ความเสียหายทั้งหมด57.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 1971)
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก
2512, 2513, 2514, 2515, 2516

ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งเขตวันสากล ส่วนพายุใดที่ก่อตัวขึ้นทางฝั่งตะวันออกของเส้นดังกล่าวจะเรียกว่า พายุเฮอร์ริเคน (ดูที่ ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2514) ในช่วงเวลานี้ พายุใดที่ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในมหาสมุทรตะวันตกจะได้รับชื่อจากศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ส่วนพายุดีเปรสชันเขตร้อนใดที่ก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้จะได้รับการกำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียก ส่วนพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกใดที่ก่อตัวขึ้นหรือเคลื่อนตัวเข้าไปภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ พายุลูกนั้นจะได้รับชื่อจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ หรือ PAGASA ด้วย ด้วยเหตุนี้พายุเพียงหนึ่งลูก อาจมีชื่อถึงสองชื่อก็ได้

ภาพรวมฤดูกาล

ตามที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมสหรัฐระบุไว้ ฤดูกาลปี พ.ศ. 2514 นี้เคยเป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมมากที่สุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 โดยมีพายุโซนร้อนถูกติดตามทั้งหมดถึง 35 ลูกภายในปีนี้[1] นอกจากพายุโซนร้อนทั้ง 35 ลูกแล้ว กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังถือว่า พายุดีเปรสชันเขตร้อน 25W เป็นพายุโซนร้อนด้วย แม้ว่าศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจะจัดเป็นเพียงพายุดีเปรสชันเขตร้อนก็ตาม[2]

พายุ

พายุโซนร้อนกำลังแรงซาราห์

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา8 – 11 มกราคม
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

วันที่ 8 มกราคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้น ห่างจากเมืองเงรุลมุด ปาเลาไปทางทิศตะวันออกประมาณ 500 กม.[3] อีกสองสามวันต่อมา ระบบมีการพัฒนาขึ้นและมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกค่อนไปทางเหนือ ก่อนที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจะจัดให้ระบบเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ ซาราห์ (Sarah) ภายหลังจากที่อากาศยานของกองทัพเรือสหรัฐได้พบการจัดระบบของพายุ[3][4] ระบบพายุค่อย ๆ เคลื่อนตัวโค้งขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ และถูกจัดให้เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นในวันที่ 10 มกราคม[5] ในวันนั้น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็ได้รายงานว่าระบบมีกำลังแรงสูงสุด โดยมีลมพัดต่อเนื่อง 1 นาทีเร็ว 95 กม./ชม.[4] อีกสองสามวันต่อมา ระบบอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนในวันที่ 11 มกราคม[4] เศษที่หลงเหลือของพายุนอกเขตร้อนซาราห์ยังคงเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ และพัดขึ้นฝั่งที่ประเทศแคนาดา และสลายตัวไปเหนือเทือกเขาในรัฐบริติชโคลัมเบียเมื่อวันที่ 17 มกราคม[4]

พายุโซนร้อนเทลมา (เบเบง)

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา16 – 21 มีนาคม
ความรุนแรง85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเวรา (การิง)

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา6 – 19 เมษายน
ความรุนแรง165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นวานดา (ดีดิง)

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา22 เมษายน – 5 พฤษภาคม
ความรุนแรง140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

วันที่ 23 เมษายน พายุโซนร้อนวานดา (Wanda) เริ่มก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมันเคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะและลงสู่ทะเลจีนใต้ในวันที่ 25 เมษายน จากนั้นพายุมีทิศทางการเคลื่อนตัวโค้งขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ และทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นบริเวณแนวชายฝั่งประเทศเวียดนามในวันที่ 1 พฤษภาคม ต่อมาคลื่นกระแสลมฝั่งตะวันตกได้พัดให้วานดาเคลื่อนไปทางเหนือ และทางตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ จากนั้นจึงอ่อนกำลังลง กระทั่งสลายตัวไปใกล้กับเกาะไหหนันในวันที่ 4 พฤษภาคม

พายุนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 56 คน (สูญหาย 14 คน) และสร้างความเสียหาย 7 แสนดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2514) จากอุทกภัยครั้งใหญ่ทั่วประเทศฟิลิปปินส์[6] ขณะที่วานดาเคลื่อนตัวไปตามแนวชายฝั่งของประเทศเวียดนามนั้น กองทัพบกสหรัฐได้นำอากาศยานส่วนใหญ่ลงจอดในพื้นที่ทางเหนือ และลดการปะทะกันเล็กน้อยในสงครามเวียดนามลงชั่วคราว จนพายุนั้นผ่านพ้นไป[7] โดยในจังหวัดกว๋างหงาย มีผู้เสียชีวิตจำนวน 23 คน[8]

พายุไต้ฝุ่นเอมี

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา27 เมษายน – 7 พฤษภาคม
ความรุนแรง280 กม./ชม. (175 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
890 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.28 นิ้วปรอท)

จากเส้นทางเดินพายุที่ดีที่สุด (best track) ของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เอมีก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในวันที่ 29 เมษายน และทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อนได้ในเวลาไม่นาน จากนั้นทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันที่ 1 พฤษภาคม พายุนี้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 โดยมีความเร็วลมแรงสุดใน 1 นาที 280 กม./ชม. ในวันที่ 2 พฤษภาคม ส่วนกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นประมาณความกดอากาศต่ำสุดที่ศูนย์กลางที่ 890 มิลลิบาร์[9] แม้ว่าศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจะประมาณไว้สูงกว่าที่ 895 มิลลิบาร์ก็ตาม พร้อมทั้งยังมีการสังเกตถึงตาพายุขนาดเล็กประมาณ 10 ไมล์ทะเล[10] แม้ว่าเอมีจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 ในวันที่ 3 พฤษภาคม แต่มันได้ทวีกำลังกลับขึ้นเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 อีกครั้งในวันต่อมา โดยมีความเร็วลมรอบศูนย์กลางสูงสุดใน 1 นาทีที่ 260 กม./ชม. และความกดอากาศที่ศูนย์กลาง 900 มิลลิบาร์ พายุเริ่มอ่อนกำลังลงตั้งแต่วันที่ 4 เป็นต้นมา และถูกบันทึกไว้ท้ายสุดด้วยแรงลมระดับพายุโซนร้อนในวันที่ 7 พฤษภาคม[11] ก่อนที่เอมีจะถูกดูดซึมเข้าไปโดยแนวปะทะอากาศ[10] เอมีเป็นหนึ่งในพายุที่ทรงพลังที่สุดที่บันทึกได้ในเดือนพฤษภาคม[12]

ในอะทอลล์ทรุก (Truk Atoll) ซึ่งในปัจจุบันรู้จักกันในชื่ออะทอลล์ชุก (Chuuk Atoll) มีผู้เสียชีวิตหนึ่งรายจากการถูกต้นมะพร้าวโค่นทับ[13] วันที่ 18 พฤษภาคม สหพันธรัฐไมโครนีเชียถูกประกาศให้เป็นเขตภัยพิบัติโดยสำนักจัดการภาวะฉุกเฉินกลาง[14] บนอะทอลล์นาโมนุยโต สถานีตรวจอากาศและบ้านเรือนมากกว่า 2,250 หลังถูกทำลายลง[10]

พายุโซนร้อนกำลังแรงเบบ (เอตัง)

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา2 – 7 พฤษภาคม
ความรุนแรง100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงคาร์ลา (เฮนิง)

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา17 – 23 พฤษภาคม
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
995 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.38 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นไดนาห์ (เฮร์มิง)

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา23 – 31 พฤษภาคม
ความรุนแรง165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)

พายุได้พัดผ่านประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 13 คน และสูญหายอีก 14 คน สร้างความเสียหายถึง 4 ล้านเปโซฟิลิปปินส์[6]

พายุโซนร้อนเอ็มมา (อีซิง)

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา27 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน
ความรุนแรง65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นฟรีดา (ลูดิง)

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา9 – 19 มิถุนายน
ความรุนแรง140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นกิลดา (มาเมง)

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา22 – 28 มิถุนายน
ความรุนแรง165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

ในประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้เสียชีวิตจำนวน 1 คน และมีความเสียหายเกิดขึ้นถึง 8 ล้านเปโซฟิลิปปินส์[6]

พายุไต้ฝุ่นแฮเรียต (เนเนง)

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา30 มิถุนายน – 8 กรกฎาคม
ความรุนแรง230 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วปรอท)

ในประเทศฟิลิปปินส์ แฮเรียตทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งราย[15]

พายุได้พัดขึ้นฝั่งใกล้กับเขตปลอดทหารระหว่างประเทศเวียดนามเหนือและประเทศเวียดนามใต้ ในฐานะของพายุไต้ฝุ่นที่ทรงพลังมาก พายุไต้ฝุ่นแฮเรียตเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้สงครามเวียดนามชะงักลง ปฏิบัติการทางทหารของทั้งสองฝั่งต้องยุติลงชั่วคราว โดยเฮลิคอปเตอร์ทุกลำของสหรัฐต้องกลับลงฐาน การเคลื่อนพลบนบกเป็นได้อย่างจำกัด แม้พายุจะทรงพลังมาก แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นค่อนข้างเบา โดยที่ค่ายอีเกิล (Camp Eagle) มีรายงานหลังคาปลิวไปตามลม เนื่องจากลมพัดแรง 120 กม./ชม.[16] ในเมืองดานัง วัดปริมาณน้ำฝนได้ 8 ถึง 10 นิ้ว (200 ถึง 250 มม.) และมีลมพายุพัดแรงในพื้นที่[17] ส่วนฝนสะสมสูงที่สุดใน 24 ชั่วโมงวัดที่ 10.16 นิ้ว (258 มม.) ที่ค่ายอีแวนส์ (Camp Evans) ทั่วทั้งประเทศเวียดนาม มีผู้เสียชีวิตจำนวนสี่ราย และมีรายงานผู้สูญหายจำนวนสิบสี่ราย ที่จังหวัดเถื่อเทียน มีความเสียหายเกิดขึ้นค่อนข้างมาก โดยบ้านเรือนประมาณ 2,500 หลังถูกทำลายหรือได้รับความเสียหาย[15]

พายุโซนร้อนกำลังแรงไอวี

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา4 – 8 กรกฎาคม
ความรุนแรง110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงคิม (โอเนียง)

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา8 – 14 กรกฎาคม
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นจีน (เปปัง)

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา8 – 19 กรกฎาคม
ความรุนแรง155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นลูซี (โรซิง)

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา13 – 24 กรกฎาคม
ความรุนแรง240 กม./ชม. (150 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
910 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.87 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดของปีที่พัดผ่านประเทศฟิลิปปินส์ พายุหมุนเขตร้อนลูกนี้เคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ มาจากบริเวณมาเรียนา ลมกระโชกฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ส่งผลกระทบกับบางส่วนของเกาะวิซายัสและลูซอน รวมถึงกรุงมะนิลาด้วย โดยพายุเคลื่อนผ่านพื้นที่ดังกล่าวในวันที่ 21 กรกฎาคม ลมแรงสุด 190 กม./ชม. ถูกบันทึกได้ในเมืองบัสโก จังหวัดบาตาเนส ฝนตกหนักเกิดขึ้น ปริมาณฝนสะสมสูงสุด 24 ชั่วโมงวัดได้ 379.5 มิลลิเมตรในนครบาเกียว ฝนที่ตกอย่างหนักทำให้เกิดอุทกภัยและแผ่นดินถล่มในส่วนตอนบนและตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์[18]

พายุไต้ฝุ่นแมรี

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา16 – 21 กรกฎาคม
ความรุนแรง150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเนดีน (ซีซัง)

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา19 – 27 กรกฎาคม
ความรุนแรง280 กม./ชม. (175 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเนดีน ก่อตัวขึ้นในวันที่ 20 กรกฎาคม ต่อมาวันที่ 24 กรกฎาคม มันทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีกำลังสูงสุดที่ 282 กม./ชม. โดยพายุได้อ่อนกำลังลงเล็กน้อยขณะเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ และขึ้นฝั่งที่ด้านตะวันออกของเกาะไต้หวันในวันที่ 25 กรกฎาคม ที่ลมพัดแรงมากกว่า 200 กม./ชม. เนดีนอ่อนกำลังลงในวันรุ่งขึ้นในประเทศจีน หลังจากทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 28 คน (สูญหายอีก 25 ราย) และสร้างความเสียหายอย่างหนักในเกาะไต้หวันจากอุทกภัย เนดีนยังเป็นสาเหตุให้อากาศยานขนส่งสินค้าแพนอเมริกาตก และทำให้ลูกเรือจำนวนสี่รายเสียชีวิต

พายุไต้ฝุ่นโอลีฟ

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา24 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม
ความรุนแรง155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
935 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.61 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นโอลีฟก่อตัวขึ้นในวันที่ 29 กรกฎาคม ใกล้กับบริเวณศูนย์สูตร และเคลื่อนตัวไปส่งผลกระทบกับด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 4 สิงหาคม จากนั้นพายุมีทิศทางมุ่งหน้าไปทางเหนือต่อ และกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนบริเวณทะเลญี่ปุ่น ฝนที่ตกหนักจากโอลีฟทำให้เกิดโคลนถล่มจำนวนมาก มีผู้เสียชีวิตจำนวน 69 คน และยังไปขัดขวางการจัดงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่สิบสาม ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพในครั้งนั้น

พายุโซนร้อนกำลังแรงพอลลี (ตรีนิง)

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา3 – 11 สิงหาคม
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นโรส (ยูริง)

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา6 – 17 สิงหาคม
ความรุนแรง220 กม./ชม. (140 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)

พื้นที่การไหลเวียนขนาดเล็กก่อตัวขึ้นใกล้กับชุก จะจัดระบบขึ้นเป็นพายุโซนร้อนโรส (Rose) ในวันที่ 10 สิงหาคม โดยเป็นระบบพายุขนาดเล็กสุดขั้วที่มีสนามลมกว้างเพียง 150 ไมล์ทะเล (280 กิโลเมตร) โรสได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันถัดไป และต่อมาได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนในวันที่ 11 สิงหาคม แต่กลับมาทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นอีกครั้งในตอนที่มันเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก ในวันที่ 13 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นโรสพัดขึ้นฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะลูซอนด้วยความเร็วลมรอบศูนย์กลางกว่า 210 กม./ชม. มันอ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นกำลังอ่อนเนื่องจากพัดผ่านพื้นที่ที่เป็นภูเขา แต่เมื่อเคลื่อนตัวลงทะเลจีนใต้ โรสได้กลับมาทวีกำลังแรงอย่างรวดเร็วอีกครั้ง โดยมีความเร็วลมสูงสุดถึง 230 กม./ชม. ในวันที่ 16 สิงหาคม บริเวณใกล้กับชายฝั่งของฮ่องกง โดยกระแสพัดเข้าเริ่มถูกขัดขวาง แต่โรสยังคงสถานะเป็นพายุไต้ฝุ่นที่ความเร็วลม 200 กม./ชม. ได้อยู่ในวันที่ 16 สิงหาคม โดยพายุไต้ฝุ่นสลายตัวลงในวันถัดไป พายุทำให้มีผู้เสียชีวิตในฮ่องกงถึง 130 ราย ผู้คนกว่า 5,600 คนต้องไร้ที่อยู่ โดยมีเรือเฟอร์รีของมาเก๊าอัปปางลง ทำให้ลูกเรือและผู้โดยสารจำนวน 88 คนเสียชีวิต

พายุไต้ฝุ่นเชอร์ลีย์

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา10 – 17 สิงหาคม
ความรุนแรง165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
955 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.2 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นทริกซ์

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา19 สิงหาคม – 1 กันยายน
ความรุนแรง185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.02 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำขั้นบนก่อตัวขึ้นเป็นพายุโซนร้อนทริกซ์ (Trix) ในวันที่ 20 สิงหาคม จากนั้นพายุได้เคลื่อนตัวโค้งไปทางเหนือ จากนั้นโค้งไปยังตะวันตกเพื่อตอบสนองต่อการก่อตัวของแนวสันกึ่งเขตร้อน ทริกซ์ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างช้า ๆ หลังจากเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันที่ 21 สิงหาคม และมีความเร็วลมสูงสุด 185 กม./ชม. ในวันที่ 28 สิงหาคม ทริกซ์เคลื่อนตัวโค้งไป และขึ้นฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 29 สิงหาคม ในฐานะพายุไต้ฝุ่นที่มีความเร็วลม 153 กม./ชม. จากนั้นพายุได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนทางตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 30 สิงหาคม เพียงอาทิตย์เดียวหลังพายุไต้ฝุ่นโอลีฟ พายุทริกซ์ทิ้งปริมาณน้ำฝนมหาศาลลงในประเทศญี่ปุ่น มากถึง 43 นิ้ว (1,100 มม.) ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 44 คน สร้างความเสียหายถึง 50.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 25W

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา23 – 29 สิงหาคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเวอร์จิเนีย

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา1 – 8 กันยายน
ความรุนแรง185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
955 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.2 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเวนดี

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา4 – 13 กันยายน
ความรุนแรง260 กม./ชม. (160 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.02 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 28W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา13 – 15 กันยายน
ความรุนแรง45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นแอกเนส (วาร์ลิง)

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา10 – 19 กันยายน
ความรุนแรง140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเบสส์ (ยายัง)

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา16 – 23 กันยายน
ความรุนแรง260 กม./ชม. (160 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงคาร์เมน

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา22 – 26 กันยายน
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเดลลา (อาดิง)

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา24 กันยายน – 1 ตุลาคม
ความรุนแรง130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

พายุเอเลน (บารัง)

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา1 – 9 ตุลาคม
ความรุนแรง185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงเฟย์-กลอเรีย (กรีซิง-ดาดัง)

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา4 – 15 ตุลาคม
ความรุนแรง120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเฮสเตอร์ (โกยิง)

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา18 – 24 ตุลาคม
ความรุนแรง165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)

ระบบก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในวันที่ 18 ตุลาคม ใกล้กับเกาะปาเลา โดยระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนเฮสเตอร์ (Hester) ขณะเคลื่อนไปทางตะวันตกสู่ประเทศฟิลิปปินส์[19][20] และเคลื่อนตัวข้ามประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนหกราย และมีความเสียหายกว่า 5 ล้านเปโซฟิลิปปินส์[6] หลังจากเคลื่อนผ่านเกาะมินดาเนาและหมู่เกาะวิซายัสในฐานะพายุโซนร้อนในระหว่างวันที่ 20 ถึง 21 ตุลาคม พายุโซนร้อนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นก่อนขึ้นฝั่งในจังหวัดปาลาวัน เมื่อลงสู่ทะเลจีนใต้แล้ว เฮสเตอร์ทวีกำลังแรงขึ้น และมีกำลังสูงสุดที่ความเร็วลม 165 กม./ชม. ในวันที่ 23 ตุลาคมพายุพัดขึ้นฝั่งใกล้กับเมืองเว้ ประเทศเวียดนามใต้ เมื่ออยู่บนแผ่นดิน เฮสเตอร์อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วและสลายตัวไปเหนือประเทศลาวในวันที่ 24 ตุลาคม[19][20]

ความเสียหายที่สำคัญจากพายุไต้ฝุ่นเฮสเตอร์ในประเทศเวียดนามใต้ ลมที่แรงกว่า 155 กม./ชม. สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับฐานของกองทัพบกสหรัฐหลายฐาน ฐานที่เสียหายมากที่สุดอยู่คือฐานจูลาย โดยมีชาวอเมริกันสามรายเสียชีวิต โครงสร้างของฐานอย่างน้อย 75 เปอร์เซ็นต์ได้รับความเสียหาย อากาศยาน 123 ลำถูกทำลายหรือได้รับความเสียหาย[19] หนังสือพิมพ์รายงานว่าชาวเวียดนามจำนวน 100 คนเสียชีวิตจากพายุ รวมถึงจากเหตุอากาศยานตกใกล้เมืองกวีเญิน[21][22]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนโฮบิง

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (PAGASA)
ระยะเวลา4 – 5 พฤศจิกายน
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1001 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.56 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเออร์มา (อีนิง)

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา7 – 16 พฤศจิกายน
ความรุนแรง285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
885 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.13 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นที่ทรงพลังที่สุดของฤดูกาล เออร์มา (Irma) มีความเร็วลมถึง 290 กม./ชม. ในวันที่ 11 พฤศจิกายน แต่มันเคลื่อนตัวอยู่เพียงในทะเลเท่านั้น ส่งผลกระทบเพียงกับเรือ และสร้างความเสียหายเล็กน้อยกับหมู่เกาะในแปซิฟิกตะวันตก ในเวลานั้น พายุไต้ฝุ่นนี้ถูกบันทึกว่าทวีกำลังแรงขึ้นเร็วที่สุดในระยะเวลา 24 ชั่วโมง โดยความกดอากาศลดต่ำลงจาก 980 มิลลิบาร์เหลือเพียง 885 มิลลิบาร์[23]

พายุโซนร้อนกำลังแรงจูดี

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา15 – 19 พฤศจิกายน
ความรุนแรง85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุอื่น

ในระหว่างวันที่ 7-8 มกราคม PAGASA ได้ติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนอูริง[24] และนอกเหนือจากรายการพายุด้านบนนั้นแล้ว กรมอุตุนิยมวิทยาจีนยังติดตามพายุหมุนเขตร้อนอีกหลายลูก ประกอบด้วยพายุโซนร้อนหนึ่งลูก และพายุโซนร้อนกำลังแรงอีกสองลูก

  • 3 – 7 เมษายน ความเร็วลม 55 กม./ชม. ความกดอากาศ 1008 มิลลิบาร์[25]
  • 16 – 19 พฤษภาคม ความเร็วลม 55 กม./ชม. ความกดอากาศ 1005 มิลลิบาร์[26]
  • 13 – 17 มิถุนายน ความเร็วลม 55 กม./ชม. ความกดอากาศ 996 มิลลิบาร์[27]
  • 20 – 21 กรกฎาคม ความเร็วลม 75 กม./ชม. ความกดอากาศ 990 มิลลิบาร์ กรมอุตุนิยมวิทยาจีนรายงานว่าพายุนี้เป็นระบบทุติยภูมิในช่องแคบไต้หวัน ที่สัมพันธ์กับพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นลูซี[28]
  • 8 – 10 สิงหาคม ความเร็วลม 45 กม./ชม. ความกดอากาศ 995 มิลลิบาร์[29]
  • 28 สิงหาคม – 1 กันยายน ความเร็วลม 55 กม./ชม. ความกดอากาศ 1002 มิลลิบาร์[30]
  • 12 – 15 กันยายน ความเร็วลม 45 กม./ชม. ความกดอากาศ 1000 มิลลิบาร์[31]
  • 13 – 17 กันยายน ความเร็วลม 55 กม./ชม. ความกดอากาศ 996 มิลลิบาร์[32]
  • 25 – 30 กันยายน ความเร็วลม 55 กม./ชม. ความกดอากาศ 1001 มิลลิบาร์[33]
  • 5 – 7 ตุลาคม ความเร็วลม 95 กม./ชม. ความกดอากาศ 1002 มิลลิบาร์[34]
  • 10 – 17 ตุลาคม ความเร็วลม 110 กม./ชม. ความกดอากาศ 988 มิลลิบาร์[35]
  • 4 – 8 พฤศจิกายน ความเร็วลม 55 กม./ชม. ความกดอากาศ 1002 มิลลิบาร์[36]
  • 5 – 8 พฤศจิกายน ความเร็วลม 45 กม./ชม. ความกดอากาศ 1006 มิลลิบาร์[37]
  • 20 – 24 พฤศจิกายน ความเร็วลม 55 กม./ชม. ความกดอากาศ 1006 มิลลิบาร์[38]
  • 27 – 30 พฤศจิกายน ความเร็วลม 55 กม./ชม. ความกดอากาศ 1002 มิลลิบาร์[39]
  • 27 – 30 พฤศจิกายน ความเร็วลม 45 กม./ชม. ความกดอากาศ 1005 มิลลิบาร์[40]

นอกจากนี้ ยังมีพายุอีกสองระบบที่ถูกบันทึกไว้ในรายการฐานข้อมูลเส้นทางเดินพายุที่ดีที่สุดสากล ลูกหนึ่งเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และอีกลูกเป็นพายุโซนร้อน

  • 11 – 12 มิถุนายน ความเร็วลม 45 กม./ชม.[41]
  • 12 – 14 กันยายน ความเร็วลม 65 กม./ชม.[42]

ผลกระทบ

ตารางนี้รวมเอาทั้งหมดของระบบพายุที่ก่อตัวภายใน หรือ เคลื่อนตัวเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งวันสากล ภายในปี พ.ศ. 2514 ตารางนี้ยังมีภาพรวมของความรุนแรงของระบบ ระยะเวลา บริเวณที่มีผลกระทบกับแผ่นดิน และจำนวนความเสียหายหรือจำนวนผู้เสียชีวิตใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบพายุทั้งทางตรง และทางอ้อม (เช่นอุบัติเหตุทางการจราจรอันเนื่องจากพายุ) ความเสียหายและผู้เสียชีวิตรวมถึงพายุที่กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน คลื่น หรือหย่อมความกดอากาศต่ำ ความเสียหายทั้งหมดเป็นค่าเงินปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) ส่วนชื่อในวงเล็บเป็นชื่อที่กำหนดโดย PAGASA

ชื่อช่วงวันที่ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความกดอากาศพื้นที่ผลกระทบความเสียหาย
(ดอลลาร์สหรัฐ)
ผู้เสียชีวิตอ้างอิง
อูริง7 – 8 มกราคมพายุดีเปรสชันเขตร้อนไม่ได้ระบุไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
ซาราห์8 – 11 มกราคมพายุโซนร้อนกำลังแรง990 hPa (29.23 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD9 – 11 กุมภาพันธ์พายุดีเปรสชันเขตร้อน1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
เทลมา
(เบเบง)
16 – 21 มีนาคมพายุโซนร้อน994 hPa (29.35 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD4 – 5 เมษายนพายุดีเปรสชันเขตร้อน1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
เวรา
(การิง)
6 – 19 เมษายนพายุไต้ฝุ่น965 hPa (28.50 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
วานดา
(ดีดิง)
22 เมษายน – 5 พฤษภาคมพายุไต้ฝุ่น980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์
เวียดนามเหนือ
เวียดนามใต้
ตอนใต้ของจีน
>&0000000000700000000000700 พันดอลลาร์สหรัฐ79
TD25 – 28 เมษายนพายุดีเปรสชันเขตร้อน1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD28 เมษายน – 1 พฤษภาคมพายุดีเปรสชันเขตร้อน997 hPa (29.44 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD30 เมษายนพายุดีเปรสชันเขตร้อน1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
เอมี27 เมษายน – 7 พฤษภาคมพายุไต้ฝุ่น890 hPa (26.28 นิ้วปรอท) ไมโครนีเชีย
หมู่เกาะมาเรียนา
&00000000064000000000006.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ1
เบบ
(เอตัง)
2 – 7 พฤษภาคมพายุโซนร้อนกำลังแรง990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD14 – 16 พฤษภาคมพายุดีเปรสชันเขตร้อน1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD16 – 19 พฤษภาคมพายุดีเปรสชันเขตร้อน1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
คาร์ลา
(เฮนิง)
17 – 23 พฤษภาคมพายุโซนร้อนกำลังแรง995 hPa (29.38 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
ไดนาห์
(เฮร์มิง)
23 – 31 พฤษภาคมพายุไต้ฝุ่น960 hPa (28.35 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์
จีนตอนใต้
ไม่ทราบ13
เอ็มมา
(อีซิง)
27 พฤษภาคม – 3 มิถุนายนพายุโซนร้อน1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
ฟรีดา
(ลูดิง)
9 – 19 มิถุนายนพายุไต้ฝุ่น980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์
ไต้หวัน
ตะวันออกเฉียงใต้ของจีน
ไม่ทราบ7
TD12 – 17 มิถุนายนพายุดีเปรสชันเขตร้อน1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD14 – 14 มิถุนายนพายุดีเปรสชันเขตร้อน1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
กิลดา
(มาเมง)
22 – 28 มิถุนายนพายุไต้ฝุ่น975 hPa (28.79 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์
จีนตอนใต้
ไม่ทราบ1
แฮเรียต
(เนเนง)
30 มิถุนายน – 8 กรกฎาคมพายุไต้ฝุ่น925 hPa (27.32 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์
เวียดนามเหนือ
เวียดนามใต้
ไม่ทราบ5
ไอวี4 – 8 กรกฎาคมพายุโซนร้อนกำลังแรง990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่นไม่ทราบ1
คิม
(โอเนียง)
8 – 14 กรกฎาคมพายุโซนร้อนกำลังแรง980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์
จีนตอนใต้
เวียดนามเหนือ
เวียดนามใต้
ไม่ทราบไม่มี
จีน
(เปปัง)
8 – 19 กรกฎาคมพายุไต้ฝุ่น975 hPa (28.79 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์
จีนตอนใต้
เวียดนามเหนือ
เวียดนามใต้
ลาว
ไม่ทราบไม่มี
ลูซี
(โรซิง)
13 – 24 กรกฎาคมพายุไต้ฝุ่น910 hPa (26.87 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์
ไต้หวัน
จีน
ไม่ทราบ2
แมรี16 – 21 กรกฎาคมพายุไต้ฝุ่น975 hPa (28.79 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
เนดีน
(ซีซัง)
19 – 27 กรกฎาคมพายุไต้ฝุ่น900 hPa (26.58 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา
ฟิลิปปินส์
ไต้หวัน
จีน
ไม่ทราบ32
โอลีฟ24 กรกฎาคม – 7 สิงหาคมพายุไต้ฝุ่น935 hPa (27.61 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่นไม่ทราบ69
พอลลี
(ตรีนิง)
3 – 11 สิงหาคมพายุโซนร้อนกำลังแรง980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) จีนไม่ทราบไม่มี
TD7 สิงหาคมพายุดีเปรสชันเขตร้อน1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD8 – 11 สิงหาคมพายุดีเปรสชันเขตร้อน1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
โรส
(อูริง)
6 – 17 สิงหาคมพายุไต้ฝุ่น960 hPa (28.35 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์
จีน
ไม่ทราบ130
เชอร์ลีย์10 – 17 สิงหาคมพายุไต้ฝุ่น955 hPa (28.20 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
ทริกซ์19 สิงหาคม – 1 กันยายนพายุไต้ฝุ่น955 hPa (27.02 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น&000000005060000000000050.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ45
25W23 – 29 สิงหาคมพายุโซนร้อน992 hPa (29.29 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD27 – 31 สิงหาคมพายุดีเปรสชันเขตร้อน1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD30 สิงหาคมพายุดีเปรสชันเขตร้อน1010 hPa (29.83 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
เวอร์จิเนีย1 – 8 กันยายนพายุไต้ฝุ่น955 hPa (28.20 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่นไม่ทราบ56
TD4 กันยายนพายุดีเปรสชันเขตร้อน1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
เวนดี4 – 13 กันยายนพายุไต้ฝุ่น915 hPa (27.02 นิ้วปรอท)เกาะเวกไม่ทราบไม่มี
TD6 – 8 กันยายนพายุดีเปรสชันเขตร้อน1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD9 – 11 กันยายนพายุดีเปรสชันเขตร้อน1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD12 – 15 กันยายนพายุดีเปรสชันเขตร้อน1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
28W13 – 15 กันยายนพายุดีเปรสชันเขตร้อน996 hPa (29.41 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD14 กันยายนพายุดีเปรสชันเขตร้อน1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
แอกเนส
(วาร์ลิง)
10 – 19 กันยายนพายุไต้ฝุ่น975 hPa (28.79 นิ้วปรอท) ไต้หวัน
จีน
ไม่ทราบ1
เบสส์
(ยายัง)
16 – 23 กันยายนพายุไต้ฝุ่น905 hPa (26.72 นิ้วปรอท) หมู่เกาะรีวกีว
ไต้หวัน
จีน
ไม่ทราบ32
คาร์เมน22 – 26 กันยายนพายุโซนร้อนกำลังแรง990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่นไม่ทราบ20
TD24 – 29 กันยายนพายุดีเปรสชันเขตร้อน1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
เดลลา
(อาดิง)
24 กันยายน – 1 ตุลาคมพายุไต้ฝุ่น980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์
จีนตอนใต้
เวียดนามเหนือ
เวียดนามใต้
ลาว
ไม่ทราบไม่มี
เอเลน
(บารัง)
1 – 9 ตุลาคมพายุไต้ฝุ่น965 hPa (28.50 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์
จีนตอนใต้
เวียดนามเหนือ
เวียดนามใต้
ไม่ทราบ29
เฟย์
(กรีซิง)
4 – 15 ตุลาคมพายุโซนร้อนกำลังแรง985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ไม่ทราบ13
TD6 – 7 ตุลาคมพายุดีเปรสชันเขตร้อน1003 hPa (29.62 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD7 – 8 ตุลาคมพายุดีเปรสชันเขตร้อน1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TS 713311 – 14 ตุลาคมพายุโซนร้อน992 hPa (29.29 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD11 ตุลาคมพายุดีเปรสชันเขตร้อน998 hPa (29.47 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD16 – 17 ตุลาคมพายุดีเปรสชันเขตร้อน1010 hPa (29.83 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
เฮสเตอร์
(โกยิง)
18 – 24 ตุลาคมพายุไต้ฝุ่น970 hPa (28.64 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์
เวียดนามเหนือ
เวียดนามใต้
ลาว
>&00000000036000000000003.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ119
TD26 – 27 ตุลาคมพายุดีเปรสชันเขตร้อน1012 hPa (29.88 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD31 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายนพายุดีเปรสชันเขตร้อน1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD2 – 7 พฤศจิกายนพายุดีเปรสชันเขตร้อน1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD4 – 8 พฤศจิกายนพายุดีเปรสชันเขตร้อน1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD4 – 5 พฤศจิกายนพายุดีเปรสชันเขตร้อน1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD5 – 8 พฤศจิกายนพายุดีเปรสชันเขตร้อน1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
เออร์มา
(อีนิง)
7 – 16 พฤศจิกายนพายุไต้ฝุ่น885 hPa (26.13 นิ้วปรอท) ไมโครนีเชีย
หมู่เกาะรีวกีว
ไม่ทราบไม่มี
จูดี15 – 19 พฤศจิกายนพายุโซนร้อนกำลังแรง1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท)ไม่มีไม่มีไม่มี
TD18 – 20 พฤศจิกายนพายุดีเปรสชันเขตร้อน1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD19 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคมพายุดีเปรสชันเขตร้อน1004 hPa (29.77 นิ้วปรอท)ไม่มี&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
TD28 – 29 ธันวาคมพายุดีเปรสชันเขตร้อน1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์&0000000000000000000000 ไม่มีไม่มี
สรุปฤดูกาล
69 ลูก8 มกราคม – 29 ธันวาคม885 hPa (26.13 นิ้วปรอท)&000000006130000000000061.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ642


ดูเพิ่ม

  • พายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก
  • ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2514
  • ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2514
  • ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2514

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย