สัลเลขนา

สัลเลขนา (IAST: sallekhanā, จากสันสกฤต: สฺลลิขิต) หรือชื่ออื่น สังเลหนา (samlehna), สมาธิมรณะ หรือ สันยาสมรณะ[1] เป็นการสาบานเพิ่มเติมในข้อจริยธรรมของศาสนาไชนะ สัลเลขนา หมายถึงการอดอาหารจนถึงแก่ชีวิตโดยสมัครใจ โดยค่อย ๆ ลดการทานอาหารและน้ำลง[2] ในทางไชนะมองว่าการทำเช่นนี้เป็นการลดการยึดมั่นในความเป็นตัวตนลง[3] และเป็นอีกวิธีที่สามารถทำลายกรรมที่ก่อการเวียนว่ายตายเกิดผ่านการเลิกกิจกรรมทางกายและทางจิตไปโดยสิ้นเชิง[2] นักวิชาการไชนะไม่ถือว่าการทำเช่นนี้เป็นการฆ่าตัวตายเพราะการทำ สัลเลขนา ไม่ใช่ทั้งการที่กระทำไปด้วยตัณหา (act of passion) และไม่ได้ใช้ยาพิษหรืออาวุธในการทำ[2] หลังกล่าวสาบานตนทำ สัลเลขนา แล้ว การเตรียมเชิงพิธีกรรมและการกระทำ สัลเลขนา อาจกินระยะเวลาเป็นปี ๆ[1]

Nishidhi stone with 14th century old Kannada inscription from Tavanandi forest
นิษิธิ (ನಿಷಿಧಿ) ศิลาระลึกจากศตวรรษที่ 14 บันทึกถึงการสาบานตนกระทำ สัลเลขนา จารึกด้วยอักษรกันนาดาเก่า พบที่ป่าตวนันท์ รัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย

สัลเลขนา เป็นการสาบานตนที่สามารถกระทำได้ทั้งนักพรตและคฤหัสถ์[4] หลักฐานทางประวัติศาสตร์เช่นจารึก นิษิธิ (nishidhi) เสนอว่ามีการทำ สัลเลขนา ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ไปจนถึงราชินีในประวัติศาสตร์ของไชนะ[1] ในขณะที่ปัจจุบันนี้ การเสียชีวิตจาก สัลเลขนา สามารถพบได้ยากมาก[5]

มีการถกเถียงเกี่ยวกับการทำ สัลเลขนา โดยอิงสิทธิในการมีชีวิต และเสรีภาพทางศาสนา ในปี 2015 ศาลสูงรัฐราชสถานสั่งห้ามการทำ สัลเลขนา โดยระบุว่าเป็นการฆ่าตัวตาย กระนั้นในปีถัดมา ศาลสูงสุดอินเดียมีคำสั่งให้ระงับคำสั่งของศาลสูงรัฐราชสถานไว้ และถือเป็นการยกเลิกการห้ามการทำ สัลเลขนา[6]

การสาบาน

มีการสาบานตนอันยิ่งใหญ่ห้าประการ (มหวฺรต; Five Great vows) ที่ศาสนิกชนของศาสนาไชนะต้องกระทำ ได้แก่ อหิงสา (ไม่กระทำความรุนแรง), สัตยะ (ไม่โกหก), อสเตยะ (ไม่ลักขโมย), พรหมจรรยะ (การยึดไว้ซึ่งความบริสุทธิ์) และ อปริคฤห์ (การไม่ยึดถือในวัตถุ)[7] นอกจากนี้ยังมีการสาบานตนเพิ่มเติมอีกเจ็ดประการ (อนุวฺรต; seven supplementary vows) ในจำนวนนี้สามข้อเป็น คุณวฺรต (guna vrata; สาบานที่เป็นบุญ) และสี่ข้อเป็น ศึกษาวฺรต (Shiksha vrata; สาบานที่เป็นการประพฤติ) คุณวฺรต สามประการ ได้แก่ ทิควฺรต (Digvrata; ลดการเคลื่อนไหว), โภโคปโภคปริมาณา (Bhogopabhogaparimana; จำกัดทั้งวัตถุที่บริโภคได้และบริโภคไม่ได้) และ อนรฺถ-ทณฺฑฺวิกฺรมฺนา (Anartha-dandaviramana; เลิกทำบาปที่ไร้เป้าหมาย) ส่วน ศึกษาวฺรต ได้แก่ สามยิกะ (Samayika; นั่งสมาธิและจดจ่อเป็นช่วงที่จำกัด), เทสวรฺต (Desavrata; จำกัดการเคลื่อนไหวและพื้นที่ทำกอจกรรมเป็นช่วงที่จำกัด), โปฺรสโธปวาส (Prosadhopavāsa; อดอาหารเผ็นช่วงที่จำกัด) และ อติถิ-สามวิภาค (Atithi-samvibhag; ถวายอาหารแด่นักพรต)[8][9][10] สัลเลขนา เป็นการสาบานเพิ่มเติมจากการสาบานทั้งสิบสองที่กล่าวมาข้างต้น กระนั้น คุรุไชนะบางท่าน เช่น กุนทกุนทะ, เทวเสนา, ปัทมนันทิน และ วสุนันทิน จัดให้ สัลเลขนา เป็นหนึ่งใน ศึกษาวรฺต[11]

เงื่อนไข

สัลเลขนา สาธกในคัมภีร์ไชนะ รัตนกรันท์ ศราวกาจาร (Ratnakaranda śrāvakācāra)

สัลเลขนา สามารถทำได้ทั้งใน คฤหัสถ์ และ นักพรต และในคัมภีร์ของไชนะมีการระบุถึงเงื่อนไขที่บุคคลหนึ่งจะกระทำได้โดยเหมาะสม[1][12][13] เป็นต้นว่า หากคฤหัสถ์จะกระทำ ต้องมีนักพรตควบคุมประกอบด้วย[14]

สัลเลขนา เป็นการกระทำโดยสมัครใจทุกครั้ง และกระทำหลังการประกาศสาบานตนในสาธารณะ และห้ามมีเครื่องมือหรือสารอื่นมาเกี่ยวข้องในการกระทำ เนื่องจากการทำ สัลเลขนา จะสิ้นสุดที่การตาย ผู้ที่จะทำจะต้องมีมิตรสหายหรือคุรุทางจิตวิญญาณรับรู้ด้วย[15] ในบางกรณี ศาสนิกชนไชนะที่ป่วยด้วยโรคที่อยู่ในระยะสุดท้ายอาจทำ สัลเลขนา ซึ่งจะต้องขออนุญาตจากคุรุของตนก่อน[16][note 1] การกระทำ สัลเลขนา ที่สำเร็จลุล่วงจะต้องเป็นการตายที่ "ทำไปโดยบริสุทธิ์", โดยสมัครใจ, วางแผนไว้ก่อน, กระทำด้วยความสงบ สันติ และสุข และทำไปด้วยการชจัดสิ่งทางโลกออกและเพ่งไปที่จิตวิญญาณ[4][2]

กระบวนการ

ระยะเวลาของการทำ สัลเลขนา อาจยาวนานเป็นวันถึงเป็นปี[1][18] ในส่วนที่หกของ รัตนกรันทะ ศราวกาจาระ (Ratnakaranda śrāvakācāra) สาธกถึง สัลเลขนา และขั้นตอนการทำไว้[19] ว่า

พึงละทิ้งอาหารแข็งทีละนิด พึงเปลี่ยนเป็นนมและหางนมแทน จากนั้นละทิ้งเสีย พึงเปลี่ยนเป็นน้ำอุ่นหรือน้ำปรุงกลิ่น [จากนั้น] ละทิ้งน้ำเสียเช่นกัน และอดอาหารด้วยความมานะเต็มที่ พึงละทิ้งร่างกาย[กายหยาบ] ทำทุกวิธีทางเพื่อให้จิตใจคำนึงถึงเพียงปัญจนมัสการมนตร์

— รัตนกรันทะ ศราวกาจาระ (127–128)[19]

นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามห้าประการ (อติจาร) ได้แก่: ความต้องการจะเกิดใหม่อีกเป็นมนุษย์, ความต้องการจะเกิดใหม่อีกเป็นเทวดา, ความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป, ความต้องการที่จะตายโดยเร็ว และ ความต้องการที่จะมีชีวิตที่มีความรู้สึก (sensual life) ในชาติหน้า นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามอื่น ๆ ได้แก่ การระลึกถึงความเมตตาจากมิตร, การระลึกถึงความสุขที่มี และการยืดยาวความสุขต่อไปในอนาคต[20][21][22]

ในวรรณกรรม

อจรงคสูตร (ป. 500 ปีก่อนคริสต์กาล –  100 ปีก่อนคริสต์กาล) สาธกถึงการปฏิบัติ สัลเลขนา สามแบบไว้ คัมภีร์ของเศวตามพรในยุคแรก[note 2] ศราวกปัชญาปตี (Shravakaprajnapti) ระบุว่าการทำ สัลเลขนา กระทำได้รวมถึงผู้ที่ไม่ใช่นักพรตด้วย ใน ภควตีสูตร (2.1) สาธกถึง สัลเลขนา อย่างละเอียด ระบุว่าสกันทกัตยยาน (Skanda Katyayana) นักพรตของมหาวีระก็กระทำ สัลเลขนา คัมภีร์ยุคศตวรรษที่ 4 รัตนกรันทศราวกาจาร และ นวบทปฺรกรณ (Nava-pada-prakarana) ของเศวตามพร มีสาธกถึงรายละเอียดไว้เช่นกัน นวบทปฺรกรณ ระบุสิบเจ็ดวิธีของการ "ตายโดยสมัครใจเลือก" ที่ซึ่งรับรองไว้แค่สามวิธีที่เข้ากันกับคำสอนของไชนะ[11]

Panchashaka ระบุคร่าว ๆ ถึงการทำ สัลเลขนา ส่วน Dharmabindu ไม่มีเขียนถึง ทั้งสองเล่มที่กล่าวมานี้เป็นงานประพันธ์ของหริภัทร (ป. ศตวรรษที่ 5) คัมภีร์จากศตวรรษที่ 9 "อาทิปุราณะ" โดย ชินเสนา มีระบุถึงการทำ สัลเลขนา สามแบบ คัมภีร์จากศตวรรษที่ 10 Yashastilaka โดย โสมเทพ มีสาธกถึงการทำ สัลเลขนา เช่นกัน เหมจันทระ (ป. ศตวรรษที่ 11) บรรยายถึง สัลเลขนา ไว้สั้น ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็เล่าถึงการกระทำ สัลเลขนา ในคฤหัสถ์ (ศราวกาจาร) โดยละเอียด[1][11][2]

ในกฎหมาย

ในวันที่ 31 สิงหาคม 2015 ศาลสูงสุดอินเดียรับคำอุทธรณ์จาก อขิล ภารัต วรรษิย ทิคัมพร ไชน ปริษัท (Akhil Bharat Varshiya Digambar Jain Parishad) สั่งยกเลิกคำสั่งของศาลสูงรัฐราชสถานที่ให้การทำ สัลเลขนา ผิดกฎหมายไปเมื่อปีก่อน[6][23][24][25]

หมายเหตุ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย