โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม

โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม โรงเรียนในสวัสดิการแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นโรงเรียนรัฐบาลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 (ปทุมธานี สระบุรี) (สังกัดเดิมคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1) ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่ที่ 10 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 ริมถนนพหลโยธิน ใกล้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และเป็นโรงเรียนประจำอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม
Thammasat Klongluang Witayakom School
ที่ตั้ง
แผนที่
69 หมู่ 10 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
ข้อมูล
ชื่ออื่นธ.ค. (TK)
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญนตฺถิ ปัญญา สมาอาภา
แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญาไม่มี
สถาปนา4 มิถุนายน พ.ศ. 2516
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1001130201
ผู้อำนวยการนายเจริญ บัวลี (7 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน)
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
สี███ แดง███ สีน้ำเงิน
เพลงเพลงมาร์ชโรงเรียนธรรมศาสตร์
เว็บไซต์http://thk.ac.th/

ประวัติโรงเรียน

  • พ.ศ. 2516 ได้รับอนุญาตจากกรมสามัญศึกษาให้เปิดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนคลองหลวงวิทยาคม" โดยใช้ศาลาการเปรียญวัดบางขันและเปิด สอนนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1
  • พ.ศ. 2518 กรมสามัญศึกษาได้รับมองที่ดินจากกรมส่งเสริมสหกรณ์จำนวน 50 ไร่ ใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียน โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคมได้ย้ายมาอยู่ที่ปัจจุบันเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน
  • พ.ศ. 2521 เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและโรงเรียนได้รับพิจารณาคัดเลือก จากกรมสามัญศึกษา ให้เป็นโรงเรียนเข้าอยู่ในโครงการปรับปรุงโรงเรียนมัธยมชนบท รุ่นที่ 14 (คมช)
  • พ.ศ. 2524 เข้าอยู่ในโครงการปรับปรุงส่งเสริมการบริหารโรงเรียนให้ถึงเกณฑ์มาตรฐาน (ปบม.) และได้รับพระราชทานโรงเรียนดีเด่นขนาดกลาง
  • พ.ศ. 2526 ได้รับประกาศนียบัตรจากสำนักงานเขตการศึกษา 1 เป็นโรงเรียนที่ปรับปรุงการบริหารโรงเรียนรวม 6 หมวดงานถึงเกณฑ์มาตรฐานอยู่ในระดับดีมาก
  • พ.ศ. 2529 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนคลองหลวงวิทยาคมเป็น โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคมเป็นโรงเรียนในโครงการร่วมระหว่าง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และกรมสามัญศึกษา
  • พ.ศ. 2533 ได้รับเลือกเป็นโรงเรียนตัวอย่างการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอาชีพ
  • พ.ศ. 2535 กระทรวงศึกษาธิการให้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาพาณิชยกรรมสาขาวิชาพาณิชยการ
  • พ.ศ. 2543 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศให้เป็นโรงเรียนสวัสดิการแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2546 เป็นโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1 กระทรวงศึกษาธิการและได้เปลี่ยนหลักสูตร ปวช. ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาพาณิชยการ เป็นสาขาธุรกิจคอมพิวเตอร์
  • พ.ศ. 2552 โรงเรียนได้เปิดการเรียนการสอนห้องเรียนคุณภาพ วิทย์–คณิตพิเศษ (GEP) และห้องเรียนคุณภาพ อังกฤษพิเศษ English Program (EP) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 เป็นรุ่นแรกจำนวน 4 ห้อง
  • พ.ศ. 2553 โรงเรียนได้เปิดการเรียนการสอนห้องเรียนคุณภาพเพิ่มอีก 4 ห้อง รวมเป็น 8 ห้อง
  • พ.ศ. 2554 โรงเรียนได้เปิดการเรียนการสอนห้องเรียนคุณภาพเพิ่มอีก 4 ห้อง รวมเป็น 12 ห้อง ปัจจุบันมีนักเรียน 4,045 คน
  • พ.ศ. 2558 โรงเรียนได้เปิดสอนหลักสูตรทวิภาคีร่วมกับกลุ่มบริษัท CP ALL และสำนักงานคณะกรรมการศึกษา

อาคารและสิ่งปลูกสร้างภายในโรงเรียน

10 อาคาร

  • อาคาร 2

(กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ อังกฤษ, จีน ,ญี่ปุ่น) มี 2 ชั้น และใต้ถุน 1 ชั้น

  • อาคาร 3

อาคารเรียนที่ใหญ่ที่สุด มี 6 ชั้น

  • อาคาร 4 มี 2 ชั้น และใต้ถุน 1 ชั้น

(สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม)

  • อาคาร 5 มี 3 ชั้น

(ห้องประชุมพลอยอินทนิล–ศูนย์มัลติมิเดีย ห้องผู้อำนวยการ)

  • อาคาร 1 มี 3 ชั้น

(คอมพิวเตอร์–การงานอาชีพ)และโรงอาหาร มี 3 ชั้น และชั้นลอย 1 ชั้น

  • อาคาร 7

(ดนตรีนาฏศิลป์กีฬา–การงาน)

  • อาคาร 6 มี 4 ชั้น

(วิทยาศาสตร์)

  • อาคาร 9 มี 2 ชั้น

(เกษตร-วงโยธวาทิต)

  • อาคาร 8 มี 4 ชั้น

(คณิตศาสตร์-ภาษาไทย)

  • อาคาร 10

(อาคารเอนกประสงค์ หอประชุม)

  • อาคาร ฝ่ายปกครอง
  • อาคาร ประชาสัมพันธ์
  • อาคาร เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
  • อาคาร คหกรรม
  • อาคาร ช่างอุตสาหกรรม ช่างไม้

ผู้บริหารโรงเรียน

ลำดับชื่อพ.ศ.ที่ดำรงตำแหน่ง
1นาย สมาน รักษาศีลพ.ศ. 2516–2531
2นาย วันชาติ เฟื่องรัตน์พ.ศ. 2531–2542
3นาย สุวิทย์ พ่วงลาภ5 มกราคม–9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
4นาย ปรีชา จิตรสิงห์พ.ศ. 2543–2544
5นาย เดชา ธรรมศิริพ.ศ. 2544–2551
6นาย จรัญ ดีงามพ.ศ. 2551–2554
7นาย ชัยชนะ ใจแก้วพ.ศ. 2554–2556
8นาย สุรชัย ภิญโญชีพพ.ศ. 2557–2560
9ว่าที่ร้อยตรี เริงฤทธิ์ ผดุงพันธ์พ.ศ. 2561–2565
10นาย เจริญ บัวลีพ.ศ. 2565–ปัจจุบัน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

14°05′06″N 100°36′29″E / 14.084939°N 100.608064°E / 14.084939; 100.608064

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย