จังหวัดปทุมธานี

จังหวัดในภาคกลางในประเทศไทย

ปทุมธานี (เดิมสะกดว่า ประทุมธานี)[5] เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร เทศบาลที่ตั้งศาลากลางจังหวัดคือเทศบาลเมืองปทุมธานี แต่เทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัดคือเทศบาลนครรังสิต ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอธัญบุรี[6]

จังหวัดปทุมธานี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Pathum Thani
คำขวัญ: 
ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ
นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ
สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานีเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานีเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานีเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ภาสกร บุญญลักษม์ [1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2566)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด1,525.856 ตร.กม. (589.136 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 70
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[3]
 • ทั้งหมด1,219,199 คน
 • อันดับอันดับที่ 16
 • ความหนาแน่น799.03 คน/ตร.กม. (2,069.5 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 4
รหัส ISO 3166TH-13
ชื่อไทยอื่น ๆเมืองปทุม
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ทองหลางลาย
 • ดอกไม้บัวหลวง
 • สัตว์น้ำปลาบู่ทราย
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งเลขที่ 1 ถนนปทุมธานีเฉลิมพระเกียรติ ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000[4]
 • โทรศัพท์0 2581 3886, 0 2581 6038
เว็บไซต์www.pathumthani.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติศาสตร์

จังหวัดปทุมธานีมีความเป็นถิ่นฐานบ้านเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า 300 ปี นับตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา คือ เมื่อ พ.ศ. 2202 มังนันทมิตรได้กวาดต้อนครอบครัวมอญ เมืองเมาะตะมะ อพยพหนีภัยจากศึกพม่า เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ครอบครัวมอญเหล่านั้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ชาวมอญได้อพยพหนีพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเป็นครั้งที่ 2 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่บ้านสามโคกอีก และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ได้มีการอพยพชาวมอญครั้งใหญ่จากเมืองเมาะตะมะเข้าสู่ประเทศไทยเรียกว่า "มอญใหญ่" พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญบางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคกอีกเช่นเดียวกัน จากชุมชนขนาดเล็ก บ้านสามโคกจึงกลายเป็น เมืองสามโคก ในเวลาต่อมา

ต่อมาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2358 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองสามโคก เป็น เมืองประทุมธานี และเมื่อ พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำว่า "จังหวัด" แทน "เมือง" และให้เปลี่ยนการสะกดชื่อใหม่จาก "ประทุมธานี" เป็น "ปทุมธานี" กลายเป็น จังหวัดปทุมธานี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2475 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยุบจังหวัดธัญบุรีมาขึ้นกับจังหวัดปทุมธานี จังหวัดปทุมธานีจึงได้แบ่งการปกครองเป็น 7 อำเภอดังเช่นปัจจุบัน

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดปทุมธานีตั้งอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทยและเป็น 1 ใน 5 จังหวัดปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดข้างเคียง คือ

การเมืองการปกครอง

หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

จังหวัดปทุมธานีแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาค (ตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่) ออกเป็น 7 อำเภอ 60 ตำบล 529 หมู่บ้าน แต่หากไม่นับรวมหน่วยการปกครองในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครซึ่งยุบเลิกตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว จะมีทั้งหมด - ตำบล - หมู่บ้าน โดยอำเภอทั้ง 7 อำเภอของจังหวัดปทุมธานี มีรายชื่อและข้อมูลทั่วไปดังนี้

ข้อมูลอำเภอในจังหวัดปทุมธานี
แผนที่
ลำดับ
[# 1][7]
ชื่ออำเภอพื้นที่
(ตร.กม.)[8]
ห่างจากศาลากลางจังหวัด
(ก.ม.)[9][10]
ก่อตั้ง
(พ.ศ.)
ตำบล
[# 2]
หมู่บ้าน
[# 3]
ประชากร
(คน)
(พ.ศ. 2566)
1  เมืองปทุมธานี120.151 -1481220,791 
2  คลองหลวง299.152 22.1 771300,949 
3  ธัญบุรี112.124 18.1 612217,355 
4  หนองเสือ413.632 57.9 76956,676 
5  ลาดหลุมแก้ว188.12 17.9 76172,157 
6  ลำลูกกา297.71 39.4 8114294,207 
7  สามโคก94.967 8.1 115857,064 

การปกครองส่วนท้องถิ่น

พื้นที่จังหวัดปทุมธานีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 65 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 10 แห่ง เทศบาลตำบล 18 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 36 แห่ง[11]

เขตเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี
ข้อมูลเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี
ลำดับชื่อเทศบาลพื้นที่
(ตร.กม.)
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)[# 1]
อำเภอครอบคลุมตำบลประชากร (คน)
(ณ สิ้นปี 2562)[3]
ทั้งตำบลบางส่วนรวม
เทศบาลนคร
1
21.42[12]
2554ธัญบุรี11
  85,260
เทศบาลเมือง
2 (1)
08.89[13]
2479เมืองปทุมธานี11
  23,633
3 (2)
11.53[14]
2539[15]ลำลูกกา11
44,274
4 (3)
60.81[16]
2544[17]คลองหลวง22
78,108
5 (4)
43.19[18]
2547[19]คลองหลวง22
62,615
6 (5)
43.08
2547[20]ธัญบุรี22
31,350
7 (6)
11.65[21]
2550[22]ลำลูกกา11
66,003
8 (7)
20.47 [23]
2554[24]เมืองปทุมธานี11
28,349
9 (8)
15.07[25]
2554[26]ธัญบุรี11
32,708
10 (9)
31.10[27]
2554[28]ลำลูกกา11
65,906
11 (10)
8.30[29]
2563[30]เมืองปทุมธานี11
13,987
เทศบาลตำบล
12 (1)
  เทศบาลตำบลธัญบุรี
32.622542ธัญบุรี22
62,990
13 (2)
  เทศบาลตำบลลำลูกกา
14.602542ลำลูกกา22
18,377
14 (3)
  เทศบาลตำบลลำไทร
02.742542ลำลูกกา11
2,657
15 (4)
  เทศบาลตำบลหนองเสือ
15.662542หนองเสือ11
2,901
16 (5)
  เทศบาลตำบลบางหลวง
05.512542เมืองปทุมธานี33
7,019
17 (6)
  เทศบาลตำบลบางเตย
23.412542สามโคก11
10,828
18 (7)
  เทศบาลตำบลระแหง
18.742542ลาดหลุมแก้ว11
10,445
19 (8)
  เทศบาลตำบลหลักหก
11.212550เมืองปทุมธานี11
21,883
20 (9)
  เทศบาลตำบลคลองพระอุดม
14.642551ลาดหลุมแก้ว11
7,995
21 (10)
  เทศบาลตำบลสามโคก
05.872554สามโคก11
6,963
22 (11)
  เทศบาลตำบลคูขวาง
15.152554ลาดหลุมแก้ว11
6,000
23 (12)
  เทศบาลตำบลบางเดื่อ
10.812554เมืองปทุมธานี11
14,756
24 (13)
  เทศบาลตำบลบางขะแยง
06.212554เมืองปทุมธานี11
14,557
25 (14)
  เทศบาลตำบลบางพูน
09.422554เมืองปทุมธานี11
25,509
26 (15)
  เทศบาลตำบลบ้านใหม่
09.192554เมืองปทุมธานี11
14,447
27 (16)
  เทศบาลตำบลบ้านกลาง
09.322554เมืองปทุมธานี11
12,326
28 (17)
  เทศบาลตำบลเชียงรากใหญ่
10.532563[31]สามโคก11
6,260
29 (18)064.92563หนองเสือ11
11,131

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
ลำดับชื่อเริ่มดำรงตำแหน่งออกจากตำแหน่ง
1พระอารักษ์ประชาราษฎร์ (จำปี)พ.ศ. 2440พ.ศ. 2448
2หม่อมเจ้าขจรศุภสวัสดิ์31 ธันวาคม 24487 พฤษภาคม 2454
3พระยาพิทักษ์ทวยหาร (ทองคำ กฤษณามระ)7 พฤษภาคม 245418 พฤศจิกายน 2457
4พระยาปทุมธานี (ฟื้น กฤษณบัตร์)18 พฤศจิกายน 245725 ตุลาคม 2467
5พระยาสมุทรศักดารักษ์ (เจิม วิเศษรัตน์)25 ตุลาคม 24678 กันยายน 2469
6พระบริรักหารเทพธานี (เฉลิม กาญจนาคม)20 ธันวาคม 2469พ.ศ. 2471
7พระบริรักษ์นครเขตต์ (ท้องย้อย กฤษณจินดา)พ.ศ. 2471พ.ศ. 2473
8พระประแดงบุรี (สิงห์โต สาริกานนท์)พ.ศ. 2473พ.ศ. 2474
9พระยาสุรินทร์ฤๅชัย (จันทร์ ตุงคสวัสดิ์)พ.ศ. 2474ตุลาคม 2476
10พระศรีนคตรคาม (ทอง สุทธพินทุ)25 ตุลาคม 24767 มีนาคม 2478
11หลวงนรกิจกำจร (ชื้น วรคามิน)7 มีนาคม 247827 ตุลาคม 2480
12หลวงทรงสรการ (เล็ก กนิษฐสุด)7 ธันวาคม 24801 พฤษภาคม 2484
13หลวงอุตรดิตถาภิบาล (เนื่อง ปานิกบุตร)1 พฤษภาคม 24847 กันยายน 2487
14นายถนอม วิบูลย์มงคล4 กันยายน 248724 เมษายน 2488
15นายพรหม สูตรสุคนธ์ไม่มีข้อมูลไม่มีข้อมูล
16หลวงศรีนราศัย (ผิว จันทิมาคม)31 กรกฎาคม 248820 สิงหาคม 2490
17หลวงบรรณศาสน์สาธร (สง่า คุปตรักษ์)20 สิงหาคม 249012 ธันวาคม 2490
18นายจำลอง อัศวเวหา23 ธันวาคม 24901 กันยายน 2493
19ขุนนครรัฐเขตต์13 มีนาคม 249330 เมษายน 2494
20ขุนบริบาลบรรพตเขตต์1 พฤษภาคม 249419 กรกฎาคม 2495
21นายปลั่ง ทัศนประดิษฐ์19 กรกฎาคม 249522 พฤษภาคม 2496
22นายเชวง ไชยสุด22 พฤษภาคม 24967 มีนาคม 2497
23นายบุญยฤิทธิ์ นาคีนพคุณ8 มีนาคม 249722 พฤษภาคม 2500
24นายขจรัส ธารีสาร22 พฤษภาคม 25001 กรกฎาคม 2506
25นายพูนสวัสดิ์ กำลังงาม22 กรกฎาคม 250614 เมษายน 2507
26นายเกษม สุขุม15 พฤษภาคม 250719 กุมภาพันธ์ 2508
27นายพล จุฑางกูร1 มีนาคม 250816 พฤศจิกายน 2510
28นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์16 พฤศจิกายน 25108 ตุลาคม 2511
29นายเยือน สมานนท์15 ตุลาคม 25111 ตุลาคม 2514
30นายกำเกิง สุรการ1 ตุลาคม 251430 กันยายน 2515
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี (ต่อ)
ลำดับชื่อเริ่มดำรงตำแหน่งออกจากตำแหน่ง
31นายสุวิทย์ ยิ่งวรพันธ์1 ตุลาคม 251530 กันยายน 2516
32นายเอนก พยัคฆันตร1 ตุลาคม 25164 ตุลาคม 2517
33พลตรี วิทย์ นิ่มนวล1 ตุลาคม 251730 กันยายน 2519
34นายสุธี โอบอ้อม1 ตุลาคม 251930 กันยายน 2521
35หม่อมหลวงภัคศุก กำภู8 ตุลาคม 252127 มิถุนายน 2524
36นายสำรวย พึ่งประสิทธิ์27 มิถุนายน 252430 กันยายน 2528
37นายชูวงศ์ ฉายะบุตร1 ตุลาคม 252830 กันยายน 2531
38นายนิวัฒน์ พิบูลย์1 ตุลาคม 253130 กันยายน 2532
39นายยุวรัตน์ กมลเวชช1 ตุลาคม 253230 กันยายน 2534
40นายประสงค์ รณะนันท์1 ตุลาคม 253421 กรกฎาคม 2535
41ร้อยเอก ศรีรัตน์ หริรักษ22 กรกฎาคม 253530 กันยายน 2537
42นายไพฑูรย์ บุญวัฒน1 ตุลาคม 253730 กันยายน 2540
43นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา1 ตุลาคม 254031 พฤษภาคม 2541
44คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช1 มิถุนายน 254130 กันยายน 2543
45นายภุชงค์ รุ่งโรจน์1 ตุลาคม 254330 กันยายน 2546
46นายวิจิตร วิชัยสาร1 ตุลาคม 25461 ตุลาคม 2547
47นายนิวัฒน์ สวัสดิ์แก้ว1 ตุลาคม 25471 ตุลาคม 2548
48นายนเรศ จิตสุจริตวงศ์1 ตุลาคม 25481 ตุลาคม 2549
49นายเมฆินทร์ เมธาวิกูล13 พฤศจิกายน 254930 ตุลาคม 2551
50นายปรีชา บุตรศรี30 ตุลาคม 255130 กันยายน 2553
51นายธานี สามารถกิจ1 ตุลาคม 25539 มกราคม 2554
52นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า10 มกราคม 255425 ตุลาคม 2554
53นายขจรศักดิ์ สิงโตกุล26 ตุลาคม 255430 กันยายน 2555
54นายศิริพงษ์ ห่านตระกูล8 ตุลาคม 255530 กันยายน 2556
55นายพงศธร สัจจชลพันธ์1 ตุลาคม 255630 กันยายน 2558
56นายสุรชัย ขันอาสา1 ตุลาคม 255830 กันยายน 2560
57นายพินิจ บุญเลิศ1 ตุลาคม 256030 กันยายน 2563
58นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม1 ตุลาคม 256330 กันยายน 2564
59นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร1 ตุลาคม 256421 มิถุนายน 2566
60นายภาสกร บุญญลักษม์1 ตุลาคม 2566ปัจจุบัน

ประชากร

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดปทุมธานี
ปีประชากร±%
2549 856,790—    
2550 896,843+4.7%
2551 929,250+3.6%
2552 956,376+2.9%
2553 985,643+3.1%
2554 1,010,898+2.6%
2555 1,033,837+2.3%
2556 1,053,158+1.9%
2557 1,074,058+2.0%
2558 1,094,249+1.9%
2559 1,111,376+1.6%
2560 1,129,115+1.6%
2561 1,146,092+1.5%
2562 1,163,604+1.5%
2563 1,176,412+1.1%
2564 1,190,060+1.2%
2565 1,201,532+1.0%
2566 1,219,199+1.5%
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[32]

เศรษฐกิจ

ห้างสรรพสินค้าโลตัส ในอำเภอเมืองปทุมธานี

จังหวัดปทุมธานีเป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ โดยมีพื้นที่การเกษตร 506,678 ไร่ หรือร้อยละ 53.03 ของพื้นที่จังหวัด (สำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2546) ในปัจจุบัน นอกจากการเกษตรแล้ว จังหวัดยังเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ มีนิคมอุตสาหกรรมกระจายอยู่ทั้งจังหวัด โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมเกือบร้อยละ 70 ของจังหวัดมาจากภาคอุตสาหกรรม (สำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2543)

พื้นที่การเกษตรมีอยู่ในทุกอำเภอ และมีมากที่สุดในเขตอำเภอหนองเสือ อำเภอลำลูกกา อำเภอลาดหลุมแก้ว และอำเภอคลองหลวงตามลำดับ โดยพื้นที่ของจังหวัดจะมีการทำการเกษตร ส่วนใหญ่เป็นที่นา ไม้ผล และไม้ยืนต้น ตามลำดับ

จังหวัดปทุมธานีมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2543 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อคน 2,064,288 บาทต่อปี นับว่าสูงเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ รองจากจังหวัดระยอง ชลบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และจังหวัดภูเก็ต มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมูลค่า 118,489 ล้านบาท รายได้สูงสุดขึ้นอยู่กับภาคอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ 69.32 คิดเป็นมูลค่า 82,136 ล้านบาท รองลงมา คือ ภาคบริการ ร้อยละ 7.688 คิดเป็นมูลค่า 9,102 ล้านบาท และสาขาการค้าส่งและค้าปลีก ร้อยละ 5.12 คิดเป็นมูลค่า 6,071 ล้านบาท โดยพื้นที่เขตอำเภอคลองหลวงมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมหนาแน่นมากที่สุด รองลงมาคืออำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว และ อำเภอสามโคก ส่วนพื้นที่ที่มีโรงงานน้อยที่สุดได้แก่ อำเภอหนองเสือ

ตลาดขายส่งที่สำคัญในจังหวัดปทุมธานี ได้แก่ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดพูนทรัพย์ ตลาดรังสิต นอกจากนี้ ยังมีนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น นิคมอุตสาหกรรมนวนคร อำเภอคลองหลวง, สวนอุตสาหกรรมบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี, และเทคโนธานี อำเภอคลองหลวง (ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ตั้งของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย)

โครงสร้างพื้นฐาน

สาธารณสุข

  • โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส
  • โรงพยาบาลปทุมธานี
  • โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
  • โรงพยาบาลบางประกอก รังสิต 2
  • โรงพยาบาลการุญเวชปทุมธานี (โรงพยาบาลนวนครเดิม)
  • โรงพยาบาลแพทย์รังสิต
  • โรงพยาบาลแพทย์รังสิตแม่และเด็ก
  • โรงพยาบาลปทุมเวช
  • โรงพยาบาลคลองหลวง
  • โรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว
  • สถาบันธัญญารักษ์
  • โรงพยาบาลลำลูกกา
  • โรงพยาบาลสามโคก
  • โรงพยาบาลธัญบุรี
  • โรงพยาบาลประชาธิปัตย์
  • โรงพยาบาลหนองเสือ
  • โรงพยาบาลแพทย์สมภพ
  • ศูนย์การแพทย์เวชพิทักษ์
  • โรงพยาบาลภัทรธนบุรี
  • โรงพยาบาลเมืองปทุม
  • ศูนย์มหาวชิราลงกรณ์ ธัญบุรี
  • โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล รังสิต
  • โรงพยาบาลราชวิถี รังสิต
  • โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา
  • โรงพยาบาลธนบุรีบูรณา

การศึกษา

รายชื่อสถาบันการศึกษาในจังหวัดปทุมธานีมีดังนี้

โรงเรียน
ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี
สถาบันวิจัย

กีฬา

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

14°01′N 100°31′E / 14.02°N 100.52°E / 14.02; 100.52

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง