ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐประชาชนจีน

(เปลี่ยนทางจาก ตราประจำชาติจีน)

ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน: 中华人民共和国国徽) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงภาพของประตูทางเข้าพระราชวังต้องห้ามที่จัตุรัสเทียนอันเหมินภายในวงกลมที่คล้ายพวงมาลาพื้นสีแดง เหนือประตูดังกล่าวมีรูปดาว 5 ดวงซึ่งปรากฏอยู่บนธงชาติ หมายถึงความสามัคคีของคนในชาติจากชนเชื้อชาติต่าง ๆ 5 เชื้อชาติหลักในประเทศจีน โดยนัยหนึ่งอาจหมายถึงชนชั้นทั้ง 5 ระดับตามทฤษฎีการปฏิวัติก็ได้[1] รอบขอบวงกลมมีรูปรวงข้าวโอบล้อมทั้งสองด้าน สะท้อนถึงปรัชญาการปฏิวัติทางเกษตรกรรม ส่วนที่ตรงกลางด้านล่างสุดของของตราเป็นรูปฟันเฟืองเป็นสัญลักษณ์แทนแรงงานอุตสาหกรรม รูปเหล่านี้เป็นสีทอง

ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐประชาชนจีน
รายละเอียด
ผู้ใช้ตรารัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน
เริ่มใช้20 กันยายน พ.ศ. 2493 (รับรอง)
1 ตุลาคม พ.ศ. 2493 (ประกาศใช้ครั้งแรก)
เครื่องยอดดาวทอง 5 ดวงบนธงชาติ
โล่ประตูทางเข้าพระราชวังต้องห้ามที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน
ประคองข้างรวงข้าวสุกเป็นรูปวงพระจันทร์
การใช้รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน

ตราสัญลักษณ์นี้ได้รับการออกแบบโดย คณาจารย์ภาควิชาโยธา มหาวิทยาลัยชิงหัว ภายใต้การนำของศาสตราจารย์เหลียงซือเฉิง สถาปนิกชื่อดังของจีน ที่ประชุมสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของจีนได้ให้การรับรองแบบของตราแผ่นดินเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2493 และประกาศใช้ครั้งแรกในวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน พร้อมกับเพลงชาติและธงชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร