บีสต์บัสเตอส์

บีสต์บัสเตอส์ (ญี่ปุ่น: ビーストバスターズ; อังกฤษ: Beast Busters) เป็นเกมอาร์เคดแนวเกมยิงที่ไม่ต้องเดินที่เปิดตัวโดยบริษัทเอสเอ็นเคใน ค.ศ. 1989 และพอร์ตสู่ระบบคอมโมดอร์อามิกา รวมถึงอาตาริ เอสที ใน ค.ศ. 1990

บีสต์บัสเตอส์
ใบปลิวเวอร์ชันอเมริกาเหนือ
ผู้พัฒนาฮามาจิ, ปะปา และทีม, อิมเมจส์ดีไซน์
ผู้จัดจำหน่ายเอสเอ็นเค, ยู.เอส. โกลด์, แอ็กติวิชัน
ออกแบบมิตซูโซะ.ไอ, เค็ง, มูโรโมโตะ, ซากาอิ, มิโอชิ, มาเอดะ, ฟูจิวาระ
เครื่องเล่นอาร์เคด, คอมโมดอร์อามิกา, อาตาริ เอสที
วางจำหน่ายค.ศ. 1989 (อาร์เคด), ค.ศ. 1990 (คอมโมดอร์อามิกา, อาตาริ เอสที)
แนวเกมยิงที่ไม่ต้องเดิน
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, ผู้เล่นสูงสุด 3 คนพร้อมกัน

รูปแบบการเล่น

บีสต์บัสเตอส์เป็นเกมยิงที่ไม่ต้องเดิน ที่ผู้เล่นต้องยิงเหล่าซอมบี

ในเกมดังกล่าว ผู้เล่นจะควบคุมหนึ่งในสามทหารอาสาที่ชื่อจอห์นนี จัสติซ, พอล แพทริออต และแซมมี สเตตลี ซึ่งต้องยิงหาทางออกจากเมืองที่ถูกบุกรุกโดยอันเดด เครื่องอาร์เคดดั้งเดิมอนุญาตให้มีผู้เล่นสูงสุดสามคนเล่นเกมพร้อมกัน ส่วนปืนถูกติดตั้งเข้ากับเครื่องและดูเหมือนปืนกล ผู้เล่นสามารถรับพาวเวอร์-อัป ได้หลายครั้งในแต่ละด่านเพื่อช่วยพวกเขาในการต่อสู้ เช่น จรวด, ระเบิดมือ, เกราะ, เฮลธ์แพ็ก และกระสุน[1]

เกมดังกล่าวมีเจ็ดตอนให้ผู้เล่นยิงตลอดรอดฝั่ง ในระหว่างด่าน ผู้เล่นจะได้เห็นคัตซีนที่อธิบายเหตุการณ์การบุกรุกของซอมบีที่ครอบงำเมือง แต่ละด่านมีบอสย่อยและบอสสุดท้ายที่ต้องเอาชนะ ทั้งหมดนั้นมี 2 รูปแบบให้กำจัด เกมดังกล่าวขึ้นชื่อว่ามีบอสที่ไม่ธรรมดา เช่น ซอมบีพังก์ที่กลายพันธุ์เป็นสุนัข หรือรถจี๊ปที่เริ่มมีชีวิตขึ้นมา รวมถึงมีด่านหนึ่งจบลงด้วยกองทหารอาสาที่ต้องช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ซีไอเอหญิงจากบอสของด่านนั้น

การตอบรับ

ในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนได้ระบุในฉบับวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1990 ของพวกเขาว่าบีสต์บัสเตอส์เป็นหน่วยอาร์เคดแบบตั้งตรงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งปี[2]

เกมดังกล่าวมีการเปรียบเทียบกับโอเปอเรชันธันเดอร์โบลต์, ไลน์ออฟไฟเออร์ และเมคาไนด์แอตแทกของเอสเอ็นเคเอง ส่วนนิตยสารเอซีอีได้ตอบรับในเชิงบวกต่อธีมและเรื่องราวสยองขวัญของเกม โดยกล่าวถึงเกมนี้ว่าเป็นโอเปอเรชันวูล์ฟพบสแพลตเทอร์เฮาส์[3]

ตามที่พอล เธอโร เผย ไมเคิล แจ็กสัน ได้เป็นเจ้าของเครื่องอาร์เคดบีสต์บัสเตอส์ และมักจะนำเครื่องไปกับเขาด้วยการเดินทางโดยเครื่องบินคาร์โก[4]

ภาคแยกและภาคต่อ

ภาคต่อที่มีชื่อว่าบีสต์บัสเตอส์: เซคันด์ไนต์แมร์ ได้รับการเปิดตัวใน ค.ศ. 1999 สำหรับระบบไฮเปอร์นีโอจีโอ 64

ส่วนเกมภาคแยกในระบบมือถือมีชื่อว่าดาร์กอามส์: บีสต์บัสเตอร์ เปิดตัวใน ค.ศ. 1999 สำหรับนีโอจีโอพอกเกตคัลเลอร์ในรูปแบบของเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาท

และบีสต์บัสเตอส์ฟีเจอริงเคโอเอฟได้รับการเปิดตัวเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2014 สำหรับระบบปฏิบัติการไอโอเอสและแอนดรอยด์ โดยสิ้นสุดการให้บริการในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2015

ดูเพิ่ม

เลเซอร์โกสต์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย