ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลภานุวัธน์

พลโท ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลภานุวัธน์ หรือ ขุนปลด ปรปักษ์ เป็นอดีต รัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร

ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลภานุวัธน์
รัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 16 มกราคม พ.ศ. 2493
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
16 มกราคม พ.ศ. 2493 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 มิถุนายน พ.ศ. 2445
อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
เสียชีวิต22 ธันวาคม พ.ศ. 2496

ประวัติ

ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลภานุวัธน์ เป็นบุตรของนายฟื้น กับนางปุ่น ภาณุสะวะ เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2445 ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เขาสมรสกับนางแอร่ม (สกุลเดิม ฉายอุไรกร) มีบุตรธิดา 6 คน

พล.ท.ปลด เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2461 ได้รับยศเป็นนายสิบตรีในกรมยุทธศึกษาทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2465 จนจบชั้นสูงสุดของโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี พ.ศ. 2466 จึงเข้าประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ จนได้เลื่อนยศและดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ เจ้ากรมป้องกันต่อสู้อากาศยาน ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 1 ตำแหน่งสุดท้ายคือ ประจำกรมเสนาธิการทหาร อัตราพลตรี

ในปี พ.ศ. 2477 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1[1] และเป็นราชองครักษ์เวร ในปี พ.ศ. 2480 และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 อีกสมัย ในปี พ.ศ. 2483 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3 และเป็นสมาชิกในพฤฒสภา พ.ศ. 2489[2]

ในปี พ.ศ. 2492 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง[3] และในปีต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[4] และในปี พ.ศ. 2492 พล.ท.ปลด ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2492 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494[5] รวมทั้งได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมในตำแหน่งดังกล่าว

พล.ท.ปลด เคยปฏิบัติราชการในการสงครามถึง 2 ครั้ง คือ สงครามอินโดจีน พ.ศ. 2483 และสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ. 2488[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร