ฟาโรห์คามูเร

คามูเร เป็นผู้ปกครองในพื้นที่บางส่วนของอียิปต์โบราณในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 17 ก่อนคริสตกาล และน่าจะอยู่ในช่วงราชวงศ์ที่สิบสี่[3][4] เช่นนี้พระองค์จะทรงปกครองจากที่เมืองอวาริส โดยครอบคลุมดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออก และอาจจะไปถึงดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำตะวันฝั่งตกด้วย ตำแหน่งและตัวตนตามลำดับเวลาของพระองค์ยังไม่ชัดเจน

หลักฐานยืนยัน

พระองค์เป็นหนึ่งในฟาโรห์เพียงไม่กี่พระองค์ในราชวงศ์ที่สิบสี่ที่ปรากฏตราประทับสคารับจำนวนสองชิ้นที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ ซึ่งไม่ทราบที่มาตราประทับทั้งสองชิ้น[3][4] ปัจจุบันตราประทับชิ้นหนึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์เพตรี แค็ตตาล็อกหมายเลข 11819[5][6] ในขณะที่อีกชิ้นถูกขายทอดตลาดที่โรงแรมลอตเต้นิวยอร์กพาเลซในเดือนธันวาคม ค.ศ.1991[7]

ตราประทับสคารับที่พิพิธภัณฑ์เพตรีมีลักษณะพิเศษตรงที่ด้านหลังมีการตกแต่งอย่างประณีตและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งบ่งชี้ว่ามันถูกมอบให้กับบุคคลระดับสูง[3] ตราประทับสคารับชิ้นนี้สลักตัวอักษรว่า คามูเร ซึ่งนำหน้าด้วยฉายาว่า เนทเจอร์ เนเฟอร์ ซึ่งแปลว่า "เทพเจ้าอันดีงาม" ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คามูเร เป็นพระนามนำหน้าของฟาโรห์พระองค์นี้[3] ซึ่งหมายความว่า ไม่ปรากฏพระนามของพระองค์ส่วนที่หลงเหลืออยู่ของบันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งเป็นบันทึกพระนามของฟาโรห์ที่มีอายุตั้งแต่สมัยรามเสสและจะบันทึกเพียงเฉพาะพระนามนำหน้าของฟาโรห์เท่านั้น

การพิสูจน์ตัวตน

นักโบราณคดี โอลกา ทัฟเนลล์ และวิลเลียม อาเทอร์ วอร์ด ให้เหตุผลว่าพระนามที่เขียนบนตราประทับสคารับที่พิพิธภัณฑ์เพตรี จริงๆ แล้วคือ "อัมมู" ซึ่งอาจระบุว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับ 'อัมมู อาโฮเทปเร ซึ่งเป็นฟาโรห์ที่ค่อยทราบข้อมูลพระองค์ในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง[5][8][9] นักไอยคุปต์วิทยา คิม ไรโฮลท์ และดาร์เรล เบเกอร์ปฏิเสธการอ่านพระนามดังกล่าว เนื่องจากมีสัญลักษณ์ N5 ของการ์ดิเนอร์ (รูปสัญลักษณ์รัศมีดวงอาทิตย์) ปรากฏบนตราประทับ[3][4] ส่วนเพอร์ซี นิวเบอร์รีก็ยอมรับว่า คามูเร เป็นการอ่านพระนามบนตราประทับที่ถูกต้อง[1][2]

ถึงแม้ว่าตำแหน่งตามลำดับเวลาของพระองค์ยังคงไม่แน่นอน แต่ไรโฮลท์ได้เสนอว่า พระองค์ทรงปกครองในช่วงราชวงศ์ที่สิบสี่ในช่วงเวลาหนึ่งก่อนหน้ารัชสมัยของฟาโรห์ยาคุบ-ฮาร์และฟาโรห์ยาคาเรบ ข้อสันนิษฐานดังกล่าวอ้างอิงตามการเรียงลำดับตราประทับที่มีอายุย้อนไแตั้งแต่ช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง[3]

อ้างอิง


🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร