ฟาโรห์ยากบิม เซเคมเร

เซคาเอนเร ยากบิม หรือ ยากบมู[4] เป็นผู้ปกครองในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองของอียิปต์โบราณ ถึงแม้ว่ายังมีข้อถกเถียงเกี่ยวลำดับของราชวงศ์หรือช่วงเวลารัชสมัยของพระองค์อยู่ แต่นักไอยคุปต์วิทยาชาวเดนมาร์ก คิม ไรโฮลต์ เชื่อว่าพระองค์น่าจะทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบสี่ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากดินแดนลิแวนต์[1] ในขณะที่การศึกษาเก่าส่วนใหญ่เชื่อว่าพระองค์เป็นผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์[5]

ข้อพิสูจน์ตัวตน

พระนามของพระองค์ไม่เคยปรากฏอยู่ในคาร์ทูช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เฉพาะในการเขียนพระนามของฟาโรห์ อย่างไรก็ตาม บนตราประทับของพระองค์ ซึ่งปรากฏพระนามว่า "เทพเจ้าอันดีงาม เซคาเอนเร" (หรือเรียกอย่างง่า ว่า "เซคาเอนเร") และ "พระราชโอรสแห่งรา, ยากบิม"[5]

ไม่ปรากฏหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าพระนามครองราชย์ของพระองค์ คือ เซคาเอนเร โดยทฤษฎีดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากลักษณะของตราประทับและเสนอโดยวิลเลียม แอรส์ วอร์ด[6] และต่อมาได้อธิบายเพิ่มเติมโดยไรโฮลต์[7] แต่ดาฟนา เบน-ทอร์โต้แย้งข้อพิสูจน์ตัวตนดังกล่าว โดยชี้ให้เห็นว่าตราประทับของผู้ปกครองหลายพระองค์ที่ทรงพระชนม์ชีพอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเป็นระยะเวลาใกล้เคียงกันเกินกว่าจะสร้างความสัมพันธ์ดังกล่าวบนพื้นฐานของลักษณะการออกแบบเพียงอย่างเดียว[4]

ถ้าหากสมมติว่าวอร์ดกล่าวถูก เซคาเอนเร ยากบิม ได้รับการพิสูจน์ตัวตนด้วยตราประทับจำนวน 123 ชิ้น รองจากของผู้ปกครองพระนาม เชชิ[8] ซึ่งมีจำนวน 396 ชิ้นเท่านั้น จากข้อมูลดังกล่าว ไรโฮลต์ประเมินว่าพระองค์จะทรงครองราชย์ได้ประมาณ 25 ปี ในช่วงระหว่าง 1805–1780 ปีก่อนคริสตกาล[3]

ราฟาเอล กิเวียน นักไอยคุปต์วิทยาชาวอิสราเอลได้ระบุว่า ยากบิมกับผู้ปกครองอีกพระองค์จากช่วงเวลาเดียวกัน คือ ยาอัมมู นุบวอเซอร์เร ว่าเป็นบุคคลเดียวกัน ในขณะที่เยือร์เกน ฟอน เบ็คเคอราธได้เปรียบเทียบพระองค์กับซาลิทิส ซึ่งทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ตามที่แมนิโธกล่าว[1]

ตราประทับที่ปรากฏพระนามนำหน้าของผู้ปกครองพระองค์นี้ถูกค้นพบในเมืองเทล เอล-อัจจูล ในฉนวนกาซาโดยฟลินเดอรส์ เพตรีในปี ค.ศ. 1933[9]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Ben-Tor, D. (2010). "Sequences and chronology of Second Intermediate Period royal-name scarabs, based on excavated series from Egypt and the Levant". ใน Marcel Marée (บ.ก.). The Second Intermediate Period (Thirteenth–Seventeenth Dynasties): Current Research, Future Prospects. Orientalia Lovaniensa Analecta. Vol. 192. Leuven: Peeters. pp. 91–108. ISBN 9789042922280.
  • Ryholt, K. S. B. (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800-1550 BC. Copenhagen: Museum Tusculanum Press. ISBN 87-7289-421-0.
  • Ward, W. A. (1984). "Royal-name scarabs". ใน Olga Tufnell (บ.ก.). Scarab Seals and their Contribution to History in the Early Second Millennium B.C. Studies on Scarab Seals. Vol. 2. Warminster: Aris & Phillips. pp. 151–192. ISBN 9780856681301.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร