ฟาโรห์วาซาส

วาซาด เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง ตามที่นักไอยคุปต์วิทยา คิม ไรโฮลท์ และดาร์เรล เบเกอร์ ระบุว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์ ซึ่งทรงครองราชย์ประมาณ 1700 ปีก่อนคริสตกาล[2] ในฐานะฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสี่ พระทรงจะทรงครองราชย์จากเมืองอวาริสเหนือดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออก และอาจจะครอบคลุมถึงเหนือดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฝั่งตะวันตกด้วย[2] ราชวงศ์ที่สิบสาม ซึ่งมีศูนย์การปกครองอยู่ในเมืองเมมฟิส ก็ปกครองบริเวณอียิปต์ตอนกลางและตอนบนในเวลาเดียวกัน อีกด้านหนึ่ง ตามคำกล่าวของเยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธ และโวล์ฟกัง เฮลค์ พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบหก และเป็นข้าราชบริพารของผู้ปกครองฮิกซอสจากราชวงศ์ที่สิบห้า[3]ซึ่งข้อสันนิษฐานดังกล่าวถูกถกเถียงกันในวิชาไอยคุปต์วิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะไรโฮลต์และคนอื่นๆ โต้แย้งว่าราชวงศ์ที่สิบหกเป็นอาณาจักรอิสระที่ปกครองบริเวณธีบส์ มากกว่าจะเป็นราชวงศ์ท้องถิ่นที่อยู่ใต้การปกครองของฟาโรห์ชาวฮิกซอส

หลักฐานยืนยัน

ปรากฏตราประทับสคารับจำนวนหน้าชิ้นที่มีความเกี่ยวกับพระองค์ ซึ่งทั้งหมดปรากฏพระนามของพระองค์ว่า วาซาด และไม่ปรากฏพระนามนำหน้าของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อมโยงพระองค์กับผู้ปกครองที่กล่าวถึงในบันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งจะบันทึกแค่เพียงพระนามนำหน้าเท่านั้นที่หลงเหลือสำหรับฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบสี่[4] ขณะนี้ตราประทับของพระองค์อยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์แห่งเบอร์ลิน (19/64) ในพิพิธภัณฑ์อังกฤษ (BM EA 32319) ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ (CG 36029) และในชุดสะสมส่วนตัว และชิ้นสุดท้ายถูกขโมยไปเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในที่สุด ส่วนตราประทับซึ่งขณะนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์เพตรี (UC 11617) ที่เคยเชื่อว่าเป็นของพระองค์ในอดีต แต่ปัจจุบันเชื่อกันว่าไม่ใช่ของพระองค์[2][5]

ตำแหน่งตามลำดับเวลา

เนื่องจากปรากฏเพียงพระนาม วาซาด เท่านั้นที่ได้รับการยืนยัน ความพยายามที่จะระบุพระนามนำหน้าที่เกี่ยวข้องกับพระองค์นั้นยังคงเป็นการคาดเดา อย่างไรก็ตาม ไรโฮลท์เสนอว่าลำดับของตราประทับในช่วงราชวงศ์ที่สิบสี่แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์เนเฮซิ[2] นอกจากนี้ "มีฟาโรห์เพียงไม่กี่พระองค์ที่ทรงปกครองระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์เนเฮซิและฟาโรห์ยาคุบ-ฮาร์เท่านั้นที่ได้รับการยืนยันจากแหล่งหลักฐานร่วมสมัย" ไรโฮลท์ตั้งข้อสังเกตว่า อาจจะระบุตัวตนของพระองค์กับหนึ่งในผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์เนเฮซิที่มีการครองราชย์ยาวนานที่สุด ไม่ว่าจะเป็นฟาโรห์เซเฮบเรหรือฟาโรห์เมอร์ดเจฟาเร (ในบันทึกพระนามแห่งตูริน คอลัมน์ที่ 9 บรรทัดที่ 4 และ 5 ตามลำดับ) ฟาโรห์ทั้งสองพระองค์นี้ทรงครองราชย์อยู่สามถึงสี่ปี[2]

ในการศึกษาก่อนหน้านี้ เยือร์เกิน ฟอน เบคเคอราธเชื่อว่า พระองค์เป็น "ฮิกซอสน้อย" ซึ่งเป็นผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบหก และเป็นข้าราชบริพารของราชวงศ์ที่สิบห้า[4][6][7] อย่างไรก็ตาม ไรโฮลท์ได้แสดงให้เห็นว่า ราชวงศ์ที่สิบหกประกอบด้วยฟาโรห์ที่ทรงปกครองธีบส์และภูมิภาคบริเวณนั้นตั้งแต่ 1650 ปีก่อนคริสตกาล จนกระทั่งการพิชิตเมืองโดยกลุ่มชาวฮิกซอสเมื่อราว 1580 ปีก่อนคริสตกาล[2]

อ้างอิง


🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร