ฟาโรห์อินโยเทฟที่ 4

เซเฮเทปคาเร อินเทฟ เป็นผู้ปกครองที่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับพระองค์เล็กน้อย ซึ่งทรงครองราชย์ช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบสามในช่วงปลายสมัยราชอาณาจักรกลาง

พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมมฟิสในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งแน่ชัดว่าไม่ถึงสิบปี ระหว่าง 1759 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 1749 ปีก่อนคริสตกาล หรือราว ๆ 1710 ปีก่อนคริสตกาล[3][4]

หลักฐานยืนยัน

ปรากฏหลักฐานยืนยันเกี่ยวกับพระองค์ คือ ช่วงครึ่งล่างของรูปสลักนั่ง[5] จากกลุ่มวิหารของเทพีเรเนนูเทตที่เมดิเนต มาดิในฟัยยูม[6]

ปรากฏพระนามของพระองค์ในบันทึกพระนามแห่งตูรินในรายการที่ 7.22 (โดยรีโฮลต์) หรือ 6.22 (โดยอลัน การ์ดิเนอร์ และเยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธ) ในบันทึกพระนามฯ ได้บันทึกพระนามของพระองค์อยู่ระหว่างพระนามของฟาโรห์อิมิเรเมสอาวและฟาโรห์เซธ เมอร์อิบเร นอกจากนี้ พระนามของพระองค์ยังปรากฏอยู่ในบันทึกพระนามแห่งคาร์นักอีกด้วย[3]

ตำแหน่งตามลำดับเวลาและรัชสมัย

ตำแหน่งตามลำดับเวลาที่แน่นอนของพระองค์ในราชวงศ์ที่สิบสามยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด เนื่องจากความไม่แน่นอนในตำแหน่งฯ ที่ส่งผลต่อมาจากผู้ปกครองพระองค์ก่อนหน้าของราชวงศ์ ดาร์เรล เบเกอร์ ได้พิจารณาให้พระองค์เป็นผู้ปกครองพระองค์ที่ยี่สิบสามของราชวงศ์ ส่วน คิม ไรโฮลต์ ให้พระองค์เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ยี่สิบสี่ และเยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธ เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบเก้า นอกจากนี้ ไรโฮลต์ เชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่ห้าที่ทรงพระนาม "อินเทฟ" ดังกล่าว จึงเรียกพระองค์ว่า อินเทฟที่ 5 ในขณะที่ไอแดน ด็อดสัน, ฟอน เบ็คเคอราธ และดาร์เรล เบเกอร์ เชื่อว่าพระองค์คือ อินเทฟที่ 4[7][8]

ระยะเวลาการครองราชย์ของพระองค์หายไปในบันทึกพระนามปาปิรุสและไม่สามารถกู้คืนได้ เว้นแต่ส่วนท้ายของบันทึกที่ปรากฏว่า "...[และ] 3 วัน"[8] คิม ไรโฮลต์สันนิษฐานว่าการครองราชย์รวมกันของ ฟาโรห์อิมิเรเมสอาว, ฟาโรห์เซเฮเทปคาเร อินเทฟ และฟาโรห์เซธ เมอร์อิบเรนั้นเป็นระยะเวลาสิบปี หลักฐานอีกชิ้นที่เกี่ยวข้องกับรัชสมัยของพระองค์ที่พบในบันทึกปาปิรุสโบลัก หมายเลข 18 จากช่วงราชวงศ์ที่สิบสาม ซึ่งบันทึกเหนือสิ่งอื่นใดถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องราชวงศ์ที่ประกอบด้วยพระภคินีและพระขนิษฐนาของกษัตริย์จำนวนสิบพระองค์ พระญาติของกษัตริย์ที่ไม่ระบุจำนวน พระราชธิดาจำนวนสามพระองค์ของกษัตริย์ พระราชโอรสพระนามว่า เรดิเอนเอฟ และพระราชินีพระนามว่า อายา ถึงแม้ว่าพระนามของกษัตริย์จะสูญหายไปในส่วนที่เสียหาย แต่การวิเคราะห์บันทึกปาปิรุสของไรโฮลต์คงเหลือเพียงฟาโรห์มิมิเรเมสอาวและฟาโรห์เซเฮเทปคาเร อินเทฟเท่านั้นที่เป็นไปได้[3] ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเพราะบันทึกปาปิรุสดังกล่าวได้บันทึกระยะเวลาไว้ในช่วงปีที่ 3 และปีที่ 5 ของกษัตริย์พระองค์นี้ นอกจากนี้ วันที่ "ครองราชย์ปีที่ 5 เดือนที่ 3 ของเชมู วันที่ 18" เป็นที่รู้จักจากกลุ่มพีระมิดที่ยังสร้างไม่เสร็จใกล้กับพีระมิดของฟาโรห์เคนด์เจอร์ ซึ่งอาจสร้างขึ้นโดยผู้ปกครองพระองค์เดียวกัน ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์อันใกล้ชิดของฟาโรห์เคนด์เจอร์ หรือบางทีอาจจะเป็นฟาโรห์อินเทฟเอง[3]

ไม่ทราบสถานการณ์ที่แน่นอนของการสิ้นสุดรัชสมัยของพระองค์ แต่ความจริงที่ว่าผู้สืบทอดตำแหน่งพระราชบัลลังก์พระนามว่า เซธ เมอร์อิบเร ที่ทรงไม่ได้ใช้พระนามที่มีความเกี่ยวข้องกับพระนามของผู้ปกครองก่อนหน้า ซึ่งชี้ไปที่ฟาโรห์เซธ เมอร์อิบเรว่าเดิมทรงไม่ได้เป็นเชื้อพระวงค์ ด้วยเหตุนี้ ไรโฮลต์จึงสันนิษฐานว่า พระองค์ทรงเป็นผู้แย่งชิงบัลลังก์[3]

อ้างอิง


🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร