ฟาโรห์อีนี

เมนเคเปอร์เร อีนี (หรือ อีนี ซิ-เอเซ เมริอามุน) เป็นกษัตริย์แห่งอียิปต์โบราณที่ทรงครองราชย์ที่เมืองธีบส์ในช่วงศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล ต่อจากฟาโรห์รุดอามุน ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ยี่สิบสามแห่งอียิปต์

การระบุตัวตน

การเสนอพระนาม เมนเคเปอร์เร ของฌ็อง อียอย็อต ให้เป็นพระนามครองราชย์ของกษัตริย์อีนี ซึ่งขึ้นอยู่กับการตรวจสอบร่องรอยที่ยังหลงเหลืออยู่ของพระนามกษัตริย์พระองค์นี้ในจารึกแห่งลูฟวร์ ซึ่งโยโยตเชื่อว่าสอดคล้องกับกษัตริย์พระนามว่า อีนี มากกว่าผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งนิวเบียพระนามว่า พิ(อังค์)อิ หรือ ปิเย ข้อโต้แย้งของโยโยตกลายเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันโดยนักไอยคุปต์วิทยาแทบทุกคน รวมทั้งเยือร์เกิน ฟ็อน เบ็คเคอราธในหนังสือเกี่ยวกับพระนามของฟาโรห์แห่งอียิปต์ในปี ค.ศ. 1999[1]

ก่อนหน้านี้มีการเสนอว่า พระนาม เมนเคเปอร์เร เป็นพระนามครองราชย์หรือพระนามของฟาโรห์ปิเย แต่ข้อเสนอดังกล่าวได้ถูกล้มล้างโดยข้อเท็จจริงที่ว่ากษัตริย์ชาวนิวเบียเป็นที่ทราบกันดีว่าทรงใช้พระนามครองราชย์อื่นอีกสองพระนามในช่วงพระชนม์ชีพของพระองค์ คือ อูซิมาเร และ สเนเฟอร์เร นอกเหนือจากนี้ กษัตริย์อีนีทรงเป็นเพียงผู้ปกครองท้องถิ่นของธีบส์ ซึ่งปกครองอียิปต์พร้อมกับเพฟทจาอูบาสต์แห่งเฮราคลีโอโพลิส และนิมลอตแห่งเฮอร์โมโพลิส กษัตริย์อีนีอาจจะทรงถูกปลดจากพระราชบัลลังก์ในช่วงการรุกรานอียิปต์ในปีที่ 20 ของกษัตริย์ปิเย เนื่องจากพระองค์ไม่ปรากฏในช่วงปีที่ 21 บนจารึกชัยชนะแห่งเกเบล บาร์กัล แต่สมมติฐานดังกล่าวยังคงได้รับยืนยัน เพราะฟาโรห์ปิเยอาจจะทรงอนุญาตให้กษัตริย์อีนียังคงทรงมีพระราชอำนาจในฐานะผู้ปกครองแห่งธีบส์ ซึ่งในกรณีนี้กษัตริย์อีนีน่าจะทรงเป็นข้าหลวงของราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าของชาวนิวเบียในธีบส์ ซึ่งทำให้เกิดผลหระทบดังกล่าวรวมถึงพระนามของพระราชธิดาของกษัตริย์อีนี พระนามว่า มุตอิร์ดิส (ทีที 410) และจารึกแห่งลูฟวร์ ซี 100 ซึ่งเค็นเน็ธ คิตเช่นได้กำหนดช่วงเวลาของจารึกให้อยู่ในช่วงต้นราชวงศ์ยี่สิบห้าของชาวนิวเบีย[2] อย่างไรก็ตาม คาร์ทูชพระนามของกษัตริย์อีนีทั้งสามอันบนจารึกแห่งลูฟวร์ ซี 100 ของพระองค์ได้ถูกลบและรูปสลักพระองค์ได้รับความเสียหายบางส่วน ซึ่งอาจจะหมายความว่า ฟาโรห์ซาบากา ผู้ซึ่งสืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์ปิเย ได้ทรงถอดกษัตริย์อีนีออกจากพระราชอำนาจและดำเนินการสร้างการประณามความทรงจำต่ออนุสาวรีย์ของพระองค์[3] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงมุมมองที่ว่า ภาพสลัก หมาลเลขที่ 11 ได้ถูกแกะสลักไม่นานก่อนที่จะมีการก่อตั้งการปกครองของราชอาณาจักรคุชอย่างเต็มรูปแบบเหนืออียิปต์โดยฟาโรห์ซาบากา ซึ่งทรงจะไม่ยอมให้มีผู้ปกครองอียิปต์พื้นเมืองในเมืองสำคัญอย่างธีบส์ โดยทรงเกรงว่าจะเป็นภัยคุกคามต่อผู้มีอำนาจของราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าของนิวเบีย

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร