ฟาโรห์ฮอรัส ซา

ฮอรัส ซา (หรือ ซา) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในสมัยราชวงศ์ตอนต้น พระองค์อาจจะทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงราชวงศ์ที่สองหรือสามของอียิปต์ การมีอยู่ของพระองค์เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และการตีหมายของวัตถุโบราณซึ่งจะเป็นเครื่องยืนยันการมีอยู่ของพระองค์

หลักฐานยืนยัน

ฟาโรห์ฮอรัส ซาทรงเป็นที่รู้จักมาจากเศษภาชนะที่มีจารึกพระนามของพระองค์ด้วยหมึกสีดำ ภาชนะดังกล่าวถูกพบในห้องโถงทางทิศตะวันออกใต้พีระมิดของฟาโรห์ดโจเซอร์ที่ซักกอเราะฮ์ เป็นคำจารึกขนาดสั้นและเขียนด้วยลายมือแบบเล่นหาง พระนามของฟาโรห์ "ฮอรัส ซา" ไม่ได้ปรากฏในเซเรคและมีการโต้แย้งในการระบุว่าเป็นพระนามฮอรัส[1][2]

พระนาม "ฮอรัส ซา" ปรากฏอยู่ในจารึก Ḥwt-k3 Ḥrw-z3 ("เรือนแห่งดวงวิญญาณของฮอรัส ซา") ซึ่งพบร่วมกับนามของอินิคนุมและมา'อา-อาเพอร์-มิน ซึ่งทั้งสองคนเป็นขุนนางตำแหน่งระดับสูงที่ทำหน้าที่ในเรือนแห่งดวงวิญญาณ (Ka-house) ในช่วงสมัยต้นราชวงศ์ของอียิปต์ เรือนแห่งดวงวิญญาณนั้นเป็นต้นแบบของวิหารบูชาพระบรมศพในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทำพิธีบูชาดวงวิญญาณ (Ka) ของฟาโรห์ที่เสด็จสวรรคต คำจารึกเพิ่มเติมของ Ḥwt-k3 Ḥrw-z3 ถูกพบในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ที่ซักกอเราะฮ์ ในบริเวณหลุมฝังศพของมายา และซึ่งใกล้กับหลุมฝังศพของเมริรา-เมรินิธอย่างมาก[3] โดยมายาและเมริรา-เมรินิธเป็นขุนนางราชสำนักในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบแปด ซึ่งนำสุสานจากสมัยราชวงศ์ที่สองกลับมาใช้ใหม่สำหรับตัวเอง ประมาณ 1,500 ปี หลังจากการตายของเจ้าของเดิม[3][4]

การระบุตัวตน

เยือร์เกิน ฟ็อน เบ็คเคอราธ, ดีทริช วิลดุง และปีเตอร์ คาพลอนี ได้เสนอว่า "ซา" เป็นคำย่อของพระนามฮอรัสว่า ซานัคต์[5] ส่วนว็อล์ฟกัง เฮ็ลท์คได้ปฏิเสธข้อสันนิษฐานดังกล่าวโดยให้เหตุผลว่าจารึกหมึกจากห้องโถงใต้ดินทางตะวันออกของพีระมิดแห่งดโจเซอร์ที่ซักกอเราะฮ์ ส่วนใหญ่แล้วมาจากรัชสมัยของฟาโรห์นิเนทเจอร์หรือหลังจากนั้นไม่นาน ในขณะที่ฟาโรห์ซานัคต์​ทรงครองราชย์ในช่วงกลางราชวงศ์ที่สาม นอกจากนี้ จารึกที่กล่าวถึง "เรือนแห่งดวงวิญญาณของโฮเทปเซเคมวี" ซึ่งมีลักษณะโวหารที่คล้ายกับของฟาโรห์ฮอรัส ซา ซึ่งจะระบุให้ฟาโรห์ซาทรงอยู่ในราชวงศ์ที่สอง เนื่องจากฟาโรห์โฮเทปเซเคมวีทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์แรกของราชวงศ์ที่สอง ดังนั้น เฮ็ลท์คจึงเสนอว่า ฮอรัส ซา เป็นพระนามฮอรัสของผู้ปกครองที่ยังคลุมเครืออีกพระองค์หนึ่งของราชวงศ์ที่สองซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับฟาโรห์เวเนก ซึ่งยังไม่ทราบพระนามฮอรัส[6]

โจเชม คาห์ล นักไอยคุปต์วิทยาเพิ่งได้ตั้งข้อสงสัยกับข้อสมมติฐานดัง โดยระบุฟาโรห์เวเนกเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ราเนบ[7] ส่วนคาพลอนียังได้สร้างพระนามฮอรัสของฟาโรห์เวเนกขึ้นใหม่จากชิ้นส่วนของศิลาแห่งปาแลร์โมว่า เวเนกเซเคมวี[8] ในทั้งสองกรณีดัลกล่าวในข้างต้น ฮอรัส ซา ไม่สามารถเป็นพระนามฮอรัสของฟาโรห์เวเนกได้ และทั้งสองข้อนี้จะไม่ระบุว่าเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกัน ด้วยเหตุนี้ คาพลอนีจึงเปรียบฮอรัส ซากับฟาโรห์ njswt-bity Wr-Za-Khnwm, "กษัตริย์แห่งอียิปต์บนและล่าง เวอร์ซาคนุม" และให้ระบุระยะเวลาแห่งการครองราชย์อยู่ที่ 2 เดือน 23 วัน ในช่วงเวลาว่างกษัตริย์ระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์คาเซเคมวีและรัชสมัยของฟาโรห์ดโจเซอร์[9] อย่างไรก็ตาม สมมติฐานของคาพลอนีได้ถูกโต้แย้งโดยการค้นพบตราดินเหนียวของฟาโรห์ดโจเซอร์ในหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์คาเซเคมวี ซึ่งบ่งชี้ว่าเกิดการขึ้นครองราชย์ในทันทีและฟาโรห์คาเซเคมวีทรงถูกฝังพระบรมศพในภายหลัง[10] ฮอรัส ซา อาจจะเป็นพระนามฮอรัสของฟาโรห์เซเนดจ์หรือฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สอง ซึ่งทรงปกครองเมืองเมมฟิสในช่วงเวลาที่มีปัญหาหลังจากรัชสมัยของฟาโรห์นิเนทเจอร์[11]

อย่างไรก็ตาม นักไอยคุปต์วิทยาอย่าง ฌ็อง-ฟิลิปป์ เลาเออร์, ปีแยร์ ลาโค และอิโลนา เรกูลสกี ได้โต้แย้งให้ระมัดระวังในการอ่านจารึกอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัญลักษณ์รูปนกบนรูปเรือนแห่งดวงวิญญาณ ซึ่งอาจจะเป็นสัญลักษณ์รูปนกนางแอ่น ซึ่งจะทำให้จารึกอ่านว่า เวอร์-ซา-ฮุต-คา (Wer-sa-hut-Ka, "มหาพิทักษ์ของเรือนแห่งดวงวิญญาณ") แต่เรกูลสกีเห็นว่าน่าจะอ่านเป็นสัญลักษณ์รูปนกฮอรัสมากกว่า ถึงแม้ว่าจะไม่ทราบอย่างชัดเจนว่าพระนามดังกล่าวจะเป็นพระนามของฟาโรห์ แต่เรกูลสกีได้ระบุช่วงจารึกของจารึกจนถึงช่วงปลายของรัชสมัยฟาโรห์คาเซเคมวี[1]

สถานที่ฝังพระบรมศพ

ไม่ทราบสถานที่ฝังพระบรมศพของฟาโรห์ฮอรัส ซา แต่นาบิล สเวลิมได้เชื่อมโยงฟาโรห์ฮอรัส ซา กับพื้นที่เขตกำแพงล้อมที่ยังไม่เสร็จของกิสร์ อัมมุดิร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของซักกอเราะฮ์ แต่ข้อสมมติฐานดังกล่าวไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและกิสร์ อัมมุดิร์ได้มีการอ้างถึงกับฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สองหลายพระองค์ โดยเฉพาะฟาโรห์คาเซคเอมวี หรืออีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง นักไอยคุปต์วิทยา โยริส ฟาน วอเทอริง ได้เสนอว่าหลุมฝังศพของมหาปุโรหิตแห่งอาเตน นามว่า เมริรา-เมรินิธ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของซักกอเราะฮ์ เดิมที่แล้วหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ฮอรัส ซา เนื่องจากมีการค้นพบจารึก Ḥwt-k3 Ḥrw-z3 ในบริเวณใกล้เคียงหลุมฝังศพดังกล่าว[3][4]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen, Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3
  • Pierre Lacau & Jean-Philippe Lauer: La Pyramide à Degrés V. – Inscriptions Gravées sur les Vases: Fouilles à Saqqarah, Service des antiquités de l'Égypte, Kairo 1936
  • Wolfgang Helck: Untersuchungen zur Thinitenzeit. Harrassowitz, Wiesbaden 1987, ISBN 3-447-02677-4
  • Nabil Swelim: Some Problems on the History of the Third Dynasty, Archaeology Society, Alexandria 1983
  • Ilona Regulski: Second dynasty ink inscriptions from Saqqara paralleled in the Abydos material from the Royal Museums of Art and History in Brussels. In: Stan Hendrickx, R.F. Friedman, Barbara Adams & K. M. Cialowicz: Egypt at its origins. Studies in memory of Barbara Adams. Proceedings of the international Conference „Origin of the State, Predynastic and Early Dynastic Egypt“, Kraków, 28th August – 1st September 2002 (= Orientalia Lovaniensia analecta. Vol. 138). Peeters Publishers, Leuven (NL) 2004, ISBN 90-429-1469-6.
🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร