ฟาโรห์เนโชที่ 1

เมนเคเปอร์เร เนโคที่ 1 (อียิปต์โบราณ: เนคาอู,[6] กรีก: Νεχώς Α' หรือ Νεχώ Α', อัคคาเดียน: Nikuu[7] หรือ Nikû[8]) (ครองราชย์ระหว่าง ? – 664 ปีก่อนคริสตกาล ใกล้เมืองเมมฟิส) เป็นผู้ปกครองเมืองอียิปต์โบราณ โดยปกครองอยู่ที่เมืองซาอิส พระองค์เป็นฟาโรห์ท้องถิ่นพระองค์แรกจากราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์ที่ได้รับการยืนยันการมีตัวตน ซึ่งพระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 8 ปี (ระหว่าง 672–664 ปีก่อนคริสตกาล) ตามที่บันทึกไว้ในงานเขียนแอจิปเทียกาของมาเนโธ และฟาโรห์ซามาเจิกที่ 1 ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์ ทรงได้รวบรวมพระราชอาณาจักรอียิปต์ได้อีกครั้ง

พระราชประวัติ

ในช่วง 672 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์เนโคได้ทรงเป็นผู้ปกครองเมืองซาอิส โดยสันนิษฐานจากพระนามของพระองค์และอีกหนึ่งปีต่อมาชาวอัสซีเรียที่นำโดยกษัตริย์เอซาร์ฮัดดอนได้เข้ามาบุกรุกอียิปต์ ทำให้ฟาโรห์เนโคได้ทรงกลายเป็นหนึ่งในข้าราชบริพารของของกษัตริย์เอซาร์ฮัดดอน ซึ่งในภายหลัก็ได้รับการยืนยันจากตำแหน่งและทรัพย์สินของพระองค์ เช่นเดียวกับการพระราชทานดินแดนใหม่แก่พระองค์ ซึ่งอาจรวมถึงเมืองเมมฟิสด้วย[9]

ในช่วง 669 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์ทาฮาร์กาแห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งอียิปต์ทรงกำลังเคลื่อนตัวจากทางใต้ไปยังบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่อย่างเป็นทางการ โดยกษัตริย์เอซาร์ฮัดดอนทรงเตรียมกลับไปยังอียิปต์เพื่อขับไล่ผู้บุกรุก แต่ทรงเสด็จสวรรคตยังกะทันหัน การสวรรคตของกษัตริย์เอซาร์ฮัดดอนทำให้เกิดวิกฤตทางการเมืองในจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ แต่ท้ายที่สุด กษัตริย์อัชเชอร์บานิปาล ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์ก็ทรงมากลายเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่อย่างสมบูรณ์ การโต้กลับที่วางแผนไว้โดยพระราชบิดาของพระองค์เกิดขึ้นในช่วง 667–666 ก่อนคริสตกาล[10][11]

ฟาโรห์ทาร์ฮากาทรงพ่ายแพ้และทรงถูกขับไล่กลับไปที่ไปยังเมืองทีบส์ แต่กษัตริย์อัชเชอร์บานิปาลทรงทราบว่าฟาโรห์ที่หลบหนีไปและผู้ปกครองบางส่วนของอียิปต์ล่างนามว่า เปกรูร์แห่งพิชาปตู (เพร-ซอปดู), ชาร์รูลูดาริแห่งซินู (อาจเป็นเมืองเปลูเซียม) และนิคูอู (เนโคที่ 1) กำลังวางแผนต่อต้านพระองค์ กษัตริย์อัสซีเรียจึงทรงโปรดให้จับกุมผู้สมรู้ร่วมคิด สังหารประชากรส่วนหนึ่งในเมืองที่พวกเขาปกครอง และเนรเทศนักโทษไปยังเมืองนีนะเวห์[12]

แต่ไม่คาดคิด ในภายหลังฟาโรห์เนโคทรงได้รับการพระราชทานอภัยโทษจากกษัตริย์อัสซีเรีย และทรงถูกส่งตัวพระองค์กลับคืนมาที่เมืองซาอิส พร้อมด้วยทรัพย์สินเดิมของพระองค์และดินแดนใหม่มากมายเป็นของพระราชทาน ในขณะที่พระราชโอรสของพระองค์นามว่า ซามาเจิก (หรือเรียกว่า นาบูเซซิบันนิ ในภาษาอัคคาเดียน) ทรงได้รับแต่งตั้งให้ขึ้นเป็นผู้ปกครองเมืองอะธริบิส[13][7] มีคนแสดงความเห็นว่าด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของพระองค์ ทำให้กษัตริย์อัชเชอร์บานิปาลทรงหวังที่จะพึ่งพาความภักดีของพันธมิตรในดินแดนอียิปต์ กรณีที่มีการรุกรานอีกครั้งนำโดยฟาโรห์จากราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า และบางทีอาจเป็นการกระตุ้นและสร้างการแข่งขันทางอำนาจระหว่างราชวงศ์ของชาวคุช (ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า) กับราชวงศ์ที่ปกครองเมืองซาอิส (ราชวงศ์ที่ยี่สิบหก)[13] ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ ฟาโรห์เนโคที่ 1 ทรงถูกสังหารในช่วง 664 ปีก่อนคริสตกาลในบริเวณใกล้กับเมืองเมมฟิส ในขณะที่ปกป้องพระราชอาณาจักรของพระองค์จากการรุกรานใหม่ของชาวคุชที่นำโดยกษัตริย์ทันต์อมานิ ซึ่งทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์ทาร์ฮากา[13][7][14] ในขณะที่เจ้าชายซามาเจิกทรงหนีไปยังเมืองนีนะเวห์ภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์อัชเชอร์บานิปาล โดยการบุกรุกของชาวนิวเบียในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอียิปต์ในเวลาต่อมา (ระหว่าง 664 – 663 ปีก่อนคริสตกาล) ถูกขับไล่โดยชาวอัสซีเรียที่มุ่งหน้าไปทางใต้สู่อียิปต์บนและทำการปล้นเมืองทีบส์อย่างน่าอดสู[15]

เมื่อดินแดนบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์กลับมาสู่ความสงบอีกครั้ง ฟาโรห์ซามาเจิกที่ 1 ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อและดินแดนจากพระราชบิดาผู้เสด็จสวรรคตไปแล้ว ต่อมาในที่สุดพระองค์ก็ทรงประสบความสำเร็จในการรวมพระราชอาณาจักรอียิปต์อีกครั้งภายใต้การปกครองของพระองค์[16]

พระราชวงศ์

นักอียิปต์วิทยาชาวเดนมาร์ก คิม รีฮอล์ตได้อ้างอิงถึงเกี่ยวกับฟาโรห์นาโคที่ 1 จากการศึกษาบันทึกปาปิรุสจากเมืองเทบตูนิส โดยเขากล่าวว่า ฟาโรห์เนโคที่ 1 เป็นพระราชโอรสของผู้ปกครงนามว่า เทฟนัคต์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็น ฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 2[5] และรีฮอล์ตยังกล่าวถึงการมีอยู่ของฟาโรห์เนคาอูบา ซึ่งเป็นผู้ปกครองก่อนของพระองค์ และอาจจะเป็นพระเชษฐาของพระองค์ ซึ่งรีฮอล์ตได้แสดงความเห็นว่าเอกสารที่น่าสงสัยไม่กี่ฉบับเกี่ยวกับฟาโรห์เนคาอูบา ควรจะนำมาประกอบกับฟาโรห์เนโคที่ 2 ซึ่งขึ้นมาปกครองภายหลังแทน และฟาโรห์เนโคที่ 1 ทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์โดยตรงของฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 2[2]

นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส คริสตียง เซต์ติปานี เชื่อว่า ฟาโรห์เนโคทรงอภิเษกสมรสกับพระนางอิสเตมาเบต และเป็นพระราชบิดาและพระราชมารดาของฟาโรห์ซามาเจิกที่ 1[4]

ตามคำกล่าวของนักอียิปต์วิทยาชาวอังกฤษ เคนเนธ คิทเชน เป็นไปได้ว่าเจ้าหญิงตา-เคเรด-เอน-ตา-อิเฮต-[เวเรต] เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์เนโค ซึ่งได้อภิเษกสมรสเพื่อการเมืองกับผู้ปกครองท้องถิ่นของเฮราคลีโอโพลิสนามว่า เปดิเอซิ[17]

ทับหลังหินปูนที่หายไปในขณะนี้จากเมืองลักซอร์แสดงภาพของนักสวดสตรีแห่งเทพอามุน นามว่า เมอร์เอสอามุน พร้อมกับเทพโอซิริสศิลปะแบบซาอิสและเชเปนูเปตที่ 2 ซึ่งรั้งตำแหน่งผู้บูชาแห่งเทพอามุนอันศักดิ์สิทธิ์ โดยเมอร์เอสอามุนได้ถูกเรียกว่า "พระราชธิดาของกษัตริย์แห่งสองดินแดน เน[...]ค" ซึ่งส่วนหลังจะเป็นพระนามที่เขียนอยู่ในคาร์ทูช และดูเหมือนว่าพระราชบิดาของเมอร์เอสอามุนจะไม่ใช่ใครอื่นนอกจาก ฟาโรห์เนโคที่ 1 ที่ทรงส่งพระราชธิดาของพระองค์ไปที่ขัณฑสีมาแห่งอามุน-เร ในหมู่วิหารคาร์นัก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอิทธิพลของราชวงศ์แห่งซาอิสในเมืองทีบส์[18]

หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

รูปหล่อท่าคุกเข่าของฟาโรห์เนโค ซึ่งอาจจะหมายถึงฟาโรห์นาโคที่ 1 หรือ 2 จากพิพิธภัณฑ์บรูคลิน (acc.no. 71.11)[19]

ฟาโรห์เนโคที่ 1 เป็นที่ทราบมาจากเอกสารของอัสซีเรียเป็นหลัก แต่ก็ยังทราบจากวัตถุในอียิปต์จำนวนสองสามชิ้นด้วยกันคือ รูปปั้นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบของเทพฮอรัส ซึ่งประกอบด้วยคารทูชของพระองค์ และมีการกัลปนาวัตถุโบราณให้กับเทพีนิธแห่งซาอิส[9][20] โดยจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เพทรี (UC 14869)[6], ทับหลังของเมอร์เอสอามุนที่หายไปนานดังกล่าวนี้เคยถูกถ่ายภาพในตลาดโบราณวัตถุที่เมืองลักซอร์[18] รูปหล่อทองสัมฤทธิ์นั่งคุกเข่าของฟาโรห์เนโค ซึ่งตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บรูคลิน (หมายเลข 71.11) แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นรูปหล่อของฟาโรห์เนโคที่ 1 หรือฟาโรห์เนโคที่ 2[21] และพระองค์ยังถูกกล่าวถึงในบันทึกเดโมติกหลายเรื่อง[8]

ปีที่ 2 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เนโคที่ 1 ได้รับการยืนยันจากจารึกที่ได้รับบริจาคอย่างลับ ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกโดยโอลิวิเยร์ เปร์ดู โดยในจารึกได้บันทึกการกัลปนาที่ดินจำนวนมากให้แต่พระตรีเทพโอซิริส (ประกอบด้วยเทพโอซิริส, เทพีไอซิส และเทพฮอรัส) แห่งเพอร์-เฮบายัต (หรือเบฮ์เบอิต อัล-ฮาการ์ ในปัจจุบันใกล้กับเมืองเซเบนนิโตส) โดย "นักบวชแห่งเทพีไอซิส, เทพีแห่งเฮบายัต, ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ... บุตรชายแห่งไออูพุด, อากาโนช"[22]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Coulon, Laurent; Payraudeau, Frédéric (2015). "Une princesse saïte à Thèbes sous la XXVe dynastie ?". Revue d'Égyptologie. 66: 21–31.
  • Kitchen, Kenneth (1996). The Third Intermediate Period in Egypt (1100–650 BC) (3rd ed.). Warminster: Aris & Phillips Limited. ISBN 0-85668-298-5.
  • Lloyd, Alan B. (2001). "Necho I". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, vol. II. Oxford: University Press.
  • Perdu, Olivier (2002). "De Stéphinatès à Néchao ou les débuts de la XXVIe dynastie". CRAIBL. 146 (4): 1215–1244. doi:10.3406/crai.2002.22514.
  • Petrie, Flinders (1917). Scarabs and cylinders with names. London: University College Press.
  • Picchi, Daniela (1997). Il conflitto tra Etiopi ed Assiri nell'Egitto della XXV dinastia [The war between Kushites and Assyrians in Egypt during the 25th Dynasty] (ภาษาอิตาลี). Imola: La Mandragora. ISBN 88-86123-34-5.
  • Ryholt, Kim (2004). "The Assyrian Invasion of Egypt in Egyptian Literary Tradition". ใน Dercksen, J.G. (บ.ก.). Assyria and Beyond: Studies Presented to Mogens Trolle Larsen. Leiden: Nederlands Instituut voor het Nabije Oosten. pp. 483–510.
  • Ryholt, Kim (2011a). "New light on the legendary King Nechepsos of Egypt". Journal of Egyptian Archaeology. 97: 61–72. doi:10.1177/030751331109700104. S2CID 190499542.
  • Ryholt, Kim (2011b). "King Necho I son of king Tefnakhte II". ใน F. Feder; L. Morenz; G. Vittmann (บ.ก.). Von Theben nach Giza. Festmiszellen für Stefan Grunert zum 65. Geburtstag. Göttinger Miszellen Beihefte. Vol. 10. Göttingen.
  • Settipani, Christian (1991). Nos ancêtres de l'Antiquité, Étude des possibilités de liens généalogiques entre les familles de l'Antiquité et celles du haut Moyen Âge européen [Our ancient ancestors: study into possible genealogical links between families in Antiquity and those in the Middle Ages of Europe] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. ISBN 2864960508.
  • Spalinger, Anthony J. (2001). "Psamtik I". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, vol. III. Oxford: University Press.
  • von Beckerath, Jürgen (1999). Handbuch der Ägyptischen Königsnamen. Münchner Ägyptologische Studien 49. Mainz: Philip von Zabern. ISBN 3-8053-2591-6.


🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร