ฟาโรห์เมนคาเร

เมนคาเร เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่แปดพระองค์ที่หนึ่งหรือสอง[1] พระองค์อาจครองราชย์เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างสมัยราชอาณาจักรเก่าและสมัยช่วงระหว่างกลางที่ 1 ในช่วงต้นศตวรรษที่ 22 ก่อนคริสตกาล[2] การขึ้นครองราชย์ต่ออย่างรวดเร็วของฟาโรห์ที่มีรัชสมัยสั้น ๆ บ่งบอกถึงในช่วงเวลาขณะนั้นเกิดความทุกข์ยาก ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการเกิดความแห้งแล้งอย่างกว้างขวางในบริเวณตะวันออกกลาง หรือที่รู้จักในชื่อเหตุการณ์ 4.2 พันปี ในฐานะที่เป็นฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่แปด ตามคำกล่าวของมาเนโท ศูนย์กลางการปกครองของฟาโรห์เมนคาเรน่าจะเป็นเมืองเมมฟิส

หลักฐานรับรอง

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่หลงเหลือเพียงชิ้นเดียวของฟาโรห์เมนคาเร คือ บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส ซึ่งเป็นบันทึกพระนามที่บันทึกขึ้นในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์เซติที่ 1 เพื่อจุดประสงค์ทางศาสนาและปัจจุบันทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์เบื้องต้นสำหรับฟาโรห์ในสมัยต้นช่วงระหว่างกลางที่ 1 พระนามของฟาโรห์เมนคาเรปรากฏในรายการที่ 41 ของบันทึกพระนามฯ และบันทึกพระนามกษัตริย์อีกบันทึกหนึ่ง ซึ่งบันทึกขึ้นในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 คือ บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินที่อาจจะบันทึกพระนามฟาโรห์เมนคาเรไว้ด้วย แต่ที่น่าเสียดายที่ในบันทึกพระนามดังกล่าวเกิดความเสียหายขนาดใหญ่ขึ้นในบริเวณซึ่งที่น่าจะบันทึกพระนามของพระองค์ไว้[3]

หลักฐานชั้นต้นร่วมสมัย

หลุมฝังพระศพของพระราชินีนิธในซัคคาราใต้มีภาพสลัก ซึ่งเป็นภาพที่พระราชินีทรงยืนอยู่หน้าคาร์ทูธที่เสียหาย เพอร์ซี นิวเบอร์รี นักไอยคุปต์วิทยาได้เสนอว่าคาร์ทูธดังกล่าวน่าจะเป็นของฟาโรห์เมนคาเร ซึ่งอาจจะเป็นหลักฐานชั้นต้นเพียงชิ้นเดียวที่สามารถยืนยันการมีอยู่ของพระองค์ที่หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน[4] และความคิดเห็นนี้ถูกเผยแพร่กาเอ กัลเลนเดอร์ ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบจารึกของกุสตาฟ เฌอกิเออร์ใหม่[5]

หลักฐานจากสมัยภายหลัง

หลักฐานที่เป็นไปได้อีกชิ้นหนึ่งที่แม้จะไม่ได้เกิดขึ้นร่วมสมัยกัน แต่สามารถยืนยันการมีอยู่ของฟาโรห์เมนคาเรได้คือ ตราประทับทรงกระบอกที่ทำจากหินสบู่เคลือบ ซึ่งขณะนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์บริติช หมายเลข 30557 และจารึกข้อความว่า "พระเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้ปกครองแห่งสองดินแดน เมนคาเร" [6][7] โดยตราประทับดังกล่าวมีอายุย้อนไปถึงราชวงศ์ที่ยี่สิบหกหรือประมาณราว 1700 ปีหลังจากการสวรรคตของพระองค์ และไม่ทราบที่มาของตราประทับดังกล่าว เนื่องจากพระองค์เป็นฟาโรห์ที่ค่อนข้างคลุมเครือ นักวิชาการบางคนได้เสนอว่าตราประทับนั้นมีข้อผิดพลาด และที่จริงแล้วอาจหมายถึงฟาโรห์เมนเคาเรที่รู้จักกันว่าเป็นฟาโรห์ที่โปรดให้สร้างพีระมิดแห่งที่สามของกิซา[2]

การระบุตัวตนที่ถูกหักล้างกับพระราชินีนิโทคริส

ในข้อสมมติฐานเก่า ฟลินเดอร์ส เพทรี นักไอยคุปต์วิทยาได้เสนอว่าฟาโรห์เมนคาเร น่าจะเป็นพระองค์เดียวกับพระราชินีนิโทคริส ซึ่งเป็นบุคคลในตำนานที่ปรากฏใน งานเขียน เดอะฮิสทอรีส Histories ของเฮโรโดตัส และ แอจิปเทียกา (Aegyptiaca) ของมาเนโท และเชื่อว่ามีพระชนม์ชีพอยู่ใกล้กับรัชสมัยของฟาโรห์เมนคาเร ข้อสันนิษฐานของเพทรีน่าจะมีเค้ามูลตามข้อเท็จจริงของมาเนโทที่ว่า พระราชินีนิโทคริสมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างพีระมิดแห่งที่สามของกิซา แต่ที่จริงแล้วพีระมิดนี้สร้างขึ้นโดยฟาโรห์เมนเคาเร โดยเพทรีสันนิษฐานว่ามาเนโทคงจะสับสนระหว่างฟาโรห์เมนคาเรกับฟาโรห์เมนเคาเร[8] ในทำนองเดียวกัน ตราประทับในข้างต้นก็ดูเหมือนจะเกิดจากความสับสนเช่นกัน สมมติฐานของเพทรีถูกหักล้างอย่างสมบูรณ์ โดยการวิเคราะห์สมัยใหม่ของบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินและในปัจจุบันนี้ พระราชินีนิโทคริสเป็นที่ทราบจากพระนามของผู้ปกครองที่แท้จริงก็คือ ฟาโรห์เนทเจอร์คาเร ซิพทาห์[3] ส่วนตราประทับดังกล่าวยังไม่ทราบถึงที่มา[2]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร