ฟ้อนโยคีถวายไฟ

ฟ้อนโยคีถวายไฟ การฟ้อนชนิดหนึ่งที่มีที่มาจากคุ้มเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ คือ “ฟ้อนโยคีถวายไฟ” เรื่องราวของฟ้อนชนิดนี้ อาจารย์ธีรยุทธ ยวงศรี ได้เขียนไว้ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 9 หน้า 4886

ประวัติ

ฟ้อนโยคีถวายไฟ เป็นกระบวนฟ้อนชุดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากดำริของเจ้าแก้วนวรัฐฯ ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายของเชียงใหม่ เป็นการคิดขึ้นเพื่อเตรียมรับเสด็จฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจฯ เมื่อปีพ.ศ. 2463 โดยจ้างครูฟ้อนชาวพม่ามาถ่ายทอดให้ แล้วมอบหมายหน้าที่ให้ พ่อเลี้ยงน้อยสม สมุทรนาวี คหบดีชาวเชียงใหม่ดำเนินการทั้งหมด การฟ้อนครั้งแรกคราวนั้นใช้ผู้แสดงเป็นชายทั้งหมดเพราะเพลงที่ใช้ร้องเป็นบทร้องของผู้ชาย และท่าฟ้อนเกือบทั้งหมดจะใช้การเคลื่อนไหว ด้วยการเต้นเป็นส่วนใหญ่ มีการแสดงเพียงครั้งเดียว

ต่อมาประมาณปีพ.ศ. 2477 จังหวัดเชียงใหม่ได้รับเชิญไปร่วมแสดงในงานเผยแพร่ วัฒนธรรมประจำภาคที่ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร เจ้าแก้วนวรัฐฯ จึงได้ฟื้นฟูการแสดงชุดนี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยมอบหมายให้พ่อเลี้ยงน้อยสมเป็นผู้จัดการเช่นเดิม พ่อเลี้ยงน้อยสมได้มอบหมายให้ นางทวีลักษณ์ สามะบุตร หลานสาวเป็นผู้ฝึกหัดช่างฟ้อนชุดใหม่โดยเปลี่ยนเป็น “หญิง” ทั้งหมด เพราะนางเป็นคนหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากครูพม่าคนแรก จุดประสงค์ครั้งแรกของพ่อเลี้ยงน้อยสม สมุทรนาวี (เดิมชื่อ อูลานดู่) ต้องการให้บุตรหลานแสดงต้อนรับกรมพระนครสวรรค์ฯ แต่แม่เลี้ยงบุญปั๋น ผู้เป็นภรรยาไม่ยอมให้บุตรหลานสาวๆ ออกแสดงฟ้อนโยคีถวายไฟ โดยช่างฟ้อนหญิงนี้ เคยจัดให้มีขึ้นอีกก่อนไปแสดงที่กรุงเทพฯ ในงานประจำปีที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2475 ทางโรงเรียนทูลเชิญพระราชชายาฯ เสด็จไปเป็นประธานฯ ทอดพระเนตรชุดนี้ด้วย และทรงพอพระทัยจึงเรียกนางทวีลักษณ์ไปสอนให้ตัวละครของพระองค์ อันได้แก่ นางสมพันธ์ โชตนา นางขิมทอง ณ เชียงใหม่ นางยุพดี สุขเกษม นางอัญชัน ปิ่นทอง นางนวลฉวี เสนาคำ นางสมหมาย ยุกตยุตร นางสมพร สุรจินดา เป็นเหตุให้แพร่หลายมาจนทุกวันนี้

ลักษณะ

การแต่งกายของผู้แสดงชุดนี้ แต่งเป็นชายพม่า โพกผ้า นุ่งโสร่งป้าย (ข้าง) หน้า มือถือไม้เท้า ใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการฟ้อน แต่ไม่มีการร้อง และมักจัดผู้แสดงฟ้อนเป็นคู่ จัดรูปการแสดงแบบปกติ คือ คู่หน้าหรือคู่ที่หนึ่ง อยู่หน้าสุดติดขอบเวที คู่ที่สอง แสดงอยู่ต่ำลงมา ผู้แสดงทั้งสองจะยืน (ระยะ) แคบลงมา คู่ที่สาม แสดงอยู่ต่ำกว่าคู่ที่สอง ยืนแสดงแคบกว่าคู่ที่สอง ในวงการนักแสดงนักวิชาการนาฏศิลป์ เรียกว่า “ยืนเป็นรูปปาก (ปลา) ฉลาม” ท่ารำส่วนมากเป็นการเต้นตามจังหวะเพลงมากกว่ารำ

การฟ้อนโยคีถวายไฟดังกล่าว จะเห็นได้ว่าก่อนนั้นเป็นการแสดงเชิงนาฏศิลป์ทั่วไป ภายหลังพบว่ามีการนำไปแสดงหน้าเมรุก่อนมีการเผาศพ ด้วยเห็นว่ามีคำว่า “ถวายไฟ” และได้เห็นตัวอย่างจากการแสดงโขนหน้าไฟของภาคกลางด้วย

ปัจจุบันฟ้อนชนิดนี้หาดูได้ยาก อาจเป็นเพราะคิดกันไปว่าเป็นการแสดงหน้าศพซึ่งเป็นงานอวมงคล จึงเป็นสาเหตุให้ลดความนิยมลงไป

อ้างอิง

  • สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 9 หน้า 4886
🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร