มนูญ บริสุทธิ์

มนูญ บริสุทธิ์ เป็นนักการเมืองชาวจังหวัดสุพรรณบุรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1 เป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี (คนแรก) อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

มนูญ บริสุทธิ์
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2512
ก่อนหน้าศริ เพ็ชรบุล
ถัดไปพลตำรวจตรี สง่า กิตติขจร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513
นายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
นายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
นายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 มิถุนายน พ.ศ. 2451
ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอท่าพี่เลี้ยง จังหวัดสุพรรณบุรี
เสียชีวิต18 สิงหาคม พ.ศ. 2521 (70 ปี)
ลายมือชื่อ

ประวัติ

มนูญ บริสุทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ที่ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอท่าพี่เลี้ยง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของนายทองอยู่ กับนางทองคำ บริสุทธิ์ มีพี่น้องรวม 6 คน เป็นน้องชาย นาย สนิท บริสุทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 4 จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สอบได้เป็นเนติบัณฑิตลำดับที่หนึ่ง ในขณะที่มีอายุน้อยที่สุดเพียง 19 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2470 และจบการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 4

การทำงาน

มนูญ บริสุทธิ์ เป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีคนแรกภายใต้โครงสร้างที่มีเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นข้าราชการประจำแต่เพียงฝ่ายเดียว[1] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 จนถึงปี พ.ศ. 2512 เป็นเวลากว่า 10 ปีในการดำรงตำแหน่งนี้

มนูญ บริสุทธิ์ เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2476 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 จึงลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และต่อในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2513 ได้มีการปรับคณะรัฐมนตรี เขาจึงไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม แทนพลโท อัมพร ศรีไชยยันต์ ซึ่งถึงแก่อนิจกรรม[3] จนกระทั่งในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลของตนเอง

ในปี พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4] และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2517[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร