มุฮัมมัด ซัยยิด ฏ็อนฏอวี

มุฮัมมัด ซัยยิด ฏ็อนฏอวี (อังกฤษ: Muhammad Sayyid Tantawi; อาหรับ: محمد سيد طنطاوي; 28 ตุลาคม ค.ศ. 1928 - 10 มีนาคม ค.ศ. 2010) ท่องจำกุรอานที่เมืองอะเล็กซานเดรีย เคยดำรงตำแหน่งอิหม่ามคนสำคัญแห่งมัสยิดอัลอัซฮัร และผู้นำสูงสุดแห่งอัซฮัร เสียชีวิตระหว่างการเดินทางเยือนกรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย

มุฮัมมัด ซัยยิด ฏ็อนฏอวี
محمد سيد طنطاوي
แกรนด์อิหม่ามแห่งอัลอัซฮัร
ดำรงตำแหน่ง
27 มีนาคม ค.ศ. 1996 – 10 มีนาคม ค.ศ. 2010
ก่อนหน้ากาด อัลฮัก อะลี กาด อัลฮัก
ถัดไปอะห์มัด มุฮัมมัด อัฏฏ็อยยิบ
แกรนด์มุฟตีแห่งประเทศอียิปต์
ดำรงตำแหน่ง
28 ตุลาคม ค.ศ. 1986 – 27 มีนาคม ค.ศ. 1996
ก่อนหน้าอับดุลละฏีฟ อับดุลฆอนี ฮัมซะฮ์
ถัดไปนัสร์ ฟาริด วะซีล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 ตุลาคม ค.ศ. 1928(1928-10-28)
ซูฮาก, ประเทศอียิปต์
เสียชีวิต10 มีนาคม ค.ศ. 2010(2010-03-10) (81 ปี)
รียาด, ประเทศซาอุดีอาระเบีย
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร

วัยเด็ก

เกิดที่หมู่บ้านซาลีมอัชชัรกียะฮ์ จังหวัดซูฮาจ ประเทศอียิปต์

การศึกษาและทำงาน

จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร คณะวจนะศาสดาและอรรถาธิบายกุรอาน ปี ค.ศ. 1966 ด้วยคะแนนประเมินผลอันดับดีเยี่ยม ได้รับมอบหมายให้เป็นอาจารย์สอนคณะศาสนศาตร์ ประเทศลิเบีย เป็นเวลา 4 ปี ได้รับตำแหน่งเป็นคณบดีคณะศึกษาศาสตร์อิสลาม แห่งมหาลัยอิสลามียะฮ์ ณ นครมะดีนะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย เคยดำรงตำแหน่งมุฟตีผู้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นปัญหาทางศาสนาอิสลามแห่งสาธารณรัฐอิยิปต์ ครั้นปี ค.ศ.1996 จึงได้รับตำแหน่งอธิการบดีแห่งมหาลัยอัลอัซฮัร

มุมมองการวินิจฉัยประเด็นทางศาสนา

ข้อขัดแย้งต่อการคลุมศีรษะของสตรีมุสลิมในฝรั่งเศส

ในช่วงที่รัฐบาลฝรั่งเศสสั่งห้ามสตรีมุสลิมคลุมศีรษะในสถานศึกษา ฏ็อนฏอวีวินิจฉัยว่า อนุญาตให้เปลื้องผ้าคลุมศีรษะ (ฮีญาบ) ได้ขณะกำลังศึกษา

การทำแท้ง

เขากล่าวว่า อณุญาตให้สรีทำแท้งได้ ในกรณีที่นางตั้งครรภ์จากการถูกข่มขึน[1] แม้ว่านี้จะก่อให้เกิดข้อโต้แย้ง กระทั่งอะลี ญุมอะฮ์ ออกมาบริภาษว่า ฏ็อนฏอวี วินิจฉัยผิดพลาด และไม่ว่าชีวิตจะถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร หลังจาก 120 วัน การทำแท้งก็กลายเป็นสิ่งต้องห้าม[note 1] forbidden.[3]

การขลิบอวัยวะเพศหญิง

เขาต่อต้านการขลิบอวัยวะเพศหญิง เขากล่าวว่า การกระทำดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่มาจากอิสลาม และใน ค.ศ. 1997 ปราชญ์ทางศาสนาอิสลาม (อุละมาอ์) มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า การกระทำดังกล่าวไม่ใช่กิจการทางศาสนา ฏ็อนฏอวียังเปิดเผยด้วยว่า บุตรสาวของเขาเองก็ไม่ได้ขลิบอวัยวะเพศ[4]

การระเบิดพลีชีพ

ฏ็อนฏอวีต่อต้านการระเบิดแบบยอมตายของมุสลิมในการต่อสู้กับอิสราเอล ซึ่งเป็นความเห็นที่แตกต่างจากยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวี เขาประณามการระเบิดฆ่าตัวตายต่อชาวอิสราเอล โดยปฏิเสธข้อหล่าวหาที่ว่าชาวอิสราเอลทั้งหมดเป็นเป้าหมาย เพราะในช่วงหนึ่ง พวกเขาจะต้องพกปืน[5] ใน ค.ศ. 2003 เขาประณามการระเบิดพลีชีพว่า "เป็นศัตรูของอิสลาม" และยังกล่าวอีกว่า "ความเชื่อที่แตกต่างกันของผู้คนในสังคม การขัดแย้งและการเป็นปรปักษ์เป็นเหตุทำให้อยู่ร่วมกันไม่ได้ นับเป็นความโง่เขลาอย่างยิ่ง พวกหัวรุนแรงสุดโต่งเป็นศัตรูของอิสลาม ญิฮาดคือการต่อต้านการรุกรานดินแดนและช่วยเหลือกันให้หลุดพ้นจากการถูกกดขี่บังคับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้ความรุนแรงราวฟ้ากับดิน"[6]

การให้สตรีเป็นอิหม่ามนำละหมาด

เขากล่าวว่า มันเป็นสิ่งไม่เหมาะสมสำหรับพวกผู้ชายที่จะมองสัดส่วนของผู้หญิงที่อยู่ด้านหน้า

กรณีสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกที่ 16 กล่าวตำหนิอิสลาม

ฏ็อนฏอวีระบุระบุว่า "เราไม่มีข้อโต้แย้งถ้าพระสันตะปาปาตรัสและประกาศต่อสาธารณชนว่าสิ่งที่จักรพรรดิไบแซนไทน์ตรัสนั้นผิด ในขณะเดียวกันสิ่งที่พระองค์ประกาศต่อสาธารณชน พระองค์ต้องขออภัยอย่างเปิดเผยหรือไม่ก็แสดงเหตุผลสมควรในสิ่งที่เขาพูด"[7]

กรณีการก่อวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544

เขากล่าวว่า "นี่ไม่ใช่ความกล้าหาญที่จะฆ่าผู้บริสุทธิ์เป็นพันศพ รวมทั้งฆ่าผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก"[8] เขากล่าวด้วยว่า "อุซามะฮ์ บิน ลาดิน เรียกการญิฮาดว่าเป็นเพียงการต่อต้านตะวันตกซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และไม่เกี่ยวข้องกับอิสลาม" เขากล่าวเสริมอีกว่า "การฆ่าพลเรือนผู้บริสุทธิ์เป็นการข่มขวัญที่น่ารังเกียจ เป็นการกระทำของพวกไร้ศาสนา ซึ่งเรารับไม่ได้" และยังกล่าวอีกว่า "ผู้กระทำผิดลักษณะเดียวกับกับฏอลิบานและอัลกออิดะฮ์ เป็นสิ่งที่กุรอานไม่อนุญาต"[9]

การเยือนประเทศไทย

ฏ็อนฏอวีได้รับคำเชิญจากรัฐบาลไทยให้เยือนไทยในระหว่างวันที่ 23 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550[ต้องการอ้างอิง] เพื่อกระชับตวามสัมพันธ์ในกิจการด้านศาสนาและเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนาเพื่อสันติสุขชายแดนใต้

เสียชีวิต

ฏ็อนฏอวีเสียชีวิตเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 2010 ด้วยอายุ 81 ปี เนื่องจากหัวใจล้มเหลวขณะเดินทางไปรียาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย[10] ฏ็อนฏอวีเสียชีวิตขณะขึ้นเครื่องกลับอียิปต์ที่ท่าอากาศยานนานาชาติสมเด็จพระราชาธิบดีคอลิด[11] โดยเกิดหัวใจล้มเหลวแล้วล้มลงขณะขึ้นเครื่องบิน[12] ฏ็อนฏอวีพึ่งเข้าร่วมพิธีให้รางวับของ King Faisal International Prize for Service to Islam[13] มีการประกาศว่าเขาเสียชีวิตที่โรงพยาบาลอะมีร ซุลฏอน[14]

การเสียชีวิตของฏ็อนฏอวีเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิด และมีการอธิบายถึงตัวเขาก่อนออกเดินทางว่ามี "รูปร่างและสุขภาพที่ดีเยี่ยม"[15] ทางการอียิปต์กล่าวว่า ร่างของเขาจะถูกฝังที่มะดีนะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นที่ฝังของศาสดามุฮัมมัด ตามคำประสงค์ของครอบครัว พิธีฝังศพที่ญันนะตุลบะเกียะอ์เกิดขึ้นหลังละหมาดศพที่มัสยิดอันนะบะวี[16]

หมายเหตุ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย