อุซามะฮ์ บิน ลาดิน

โอซามะฮ์ บิน โมฮัมเม็ด บิน อาวัด บิน ลาดิน[1][note 1] (อาหรับ: أسا‌مة بن محمد بن عو‌ض بن لا‌د‌ن; 10 มีนาคม ค.ศ. 1957[7] – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2011)[8] เป็นผู้ก่อตั้งองค์กรทหารรวมอิสลาม อัลกออิดะฮ์ ซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เนโท สหภาพยุโรป และอีกหลายประเทศที่ประกาศว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย

อุซามะฮ์ บิน ลาดิน
أسا‌مة بن لا‌د‌ن
บิน ลาดิน ป. ค.ศ. 1997–98
นายพลเอมีร์คนแรกของอัลกออิดะฮ์
ดำรงตำแหน่ง
11 สิงหาคม ค.ศ. 1988 – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2011
ก่อนหน้าก่อตั้งตำแหน่ง
ถัดไปอัยมัน อัซเซาะวาฮิรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
อุซามะฮ์ บิน มุฮัมมัด บิน อะวัฎ บิน ลาดิน[1]

10 มีนาคม ค.ศ. 1957(1957-03-10)
ริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย
เสียชีวิต2 พฤษภาคม ค.ศ. 2011(2011-05-02) (54 ปี)
เอบเฏอบอด, แคว้นแคบาร์ปัคตูนควา, ประเทศปากีสถาน
สาเหตุการเสียชีวิตแผลจากการถูกยิง
สัญชาติซาอุดีอาระเบีย (ค.ศ. 1957–1994)
ความสูง1.95 เมตร (6 ฟุต 5 นิ้ว)[6]
คู่สมรสนัจวา ฆอนิม (สมรส 1974; หย่า 2001)
Khadijah Sharif (สมรส 1983; หย่า 1990)
Khairiah Sabar (สมรส 1985)
Siham Sabar (สมรส 1987)
Amal Ahmed al-Sadah (สมรส 2000)
บุตร20–26 คน; รวมอับดุลลอฮ์, ซะอัด, อุมัร และฮัมซะฮ์
บุพการีมุฮัมมัด บิน อะวัฎ บิน ลาดิน
ฮะมีดะฮ์ อัลอะฏอส
ความสัมพันธ์ครอบครัวบิน ลาดิน
ศาสนาอิสลาม (วะฮาบีย์/ซะละฟี)[2][3][4][5]
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ มักตะบุลคิดมาต (ค.ศ. 1984–1988)
อัลกออิดะฮ์ (1988–2011)
ประจำการค.ศ. 1984–2011
ยศนายพลเอมีร์คนแรกของอัลกออิดะฮ์
ผ่านศึกสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน
  • ยุทธการที่จาจี

สงครามต่อต้านการก่อการร้าย

เขาเคยเป็นพลเมืองซาอุดีอาระเบียจนถึง ค.ศ. 1994 และเป็นสมาชิกของครอบครัวบิน ลาดินที่ร่ำรวย[9] มุฮัมมัด บิน อะวัฎ บิน ลาดิน พ่อของบิน ลาดิน เป็นเศรษฐีพันล้านชาวซาอุดีจากฮัฎเราะเมาต์ ประเทศเยเมน และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทก่อสร้าง ซาอุดีบินลาดินกรุ๊ป[10] ส่วนอาลิยะฮ์ ฆอนิม แม่ของเขา เป็นฆราวาสจากครอบครัวชนชั้นกลางในอัลลาษิกียะฮ์ ประเทศซีเรีย[11] เขาเกิดในประเทศซาอุดีอาระเบียและศึกษาที่มหาวิทยาลัยในประเทศจนถึง ค.ศ. 1979 เมื่อเขาไปเข้าร่วมกองกำลังมุญาฮิดีนที่ปากีสถานสู้รบกับสหภาพโซเวียตที่อัฟกานิสถาน เขาช่วยเหลือพวกมุญาฮิดีนด้วยการส่งอาวุธ เงิน และนักสู้จากโลกอาหรับไปยังอัฟกานิสถาน ทำให้ได้รับความนิยมในชาวอาหรับ[12] ใน ค.ศ. 1988 เขาก่อตั้งกลุ่มอัลกออิดะฮ์[13] จากนั้นจึงถูกเนรเทศออกจากประเทศซาอุดีอาระเบียใน ค.ศ. 1992 และย้ายฐานไปที่ประเทศซูดาน จนกระทั่งสหรัฐบังคับให้เข้าออกจากซูดานใน ค.ศ. 1996 หลังตั้งฐานทัพใหม่ที่อัฟกานิสถาน เขาประกาศสงครามต่อสหรัฐ และเริ่มภารกิจระเบิดกับการโจมตีที่คล้าย ๆ กัน[14] บิน ลาดินอยู่ในรายชื่อสิบผู้หลบหนีที่ต้องการตัวมากที่สุดและผู้ก่อการร้ายที่ต้องการตัวมากที่สุดของสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) จากการระเบิดสถานทูตสหรัฐใน ค.ศ. 1998[15][16][17]

บิน ลาดินเป็นที่รู้จักจากการเป็นผู้ก่อเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คน และทำให้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุชเริ่มต้นสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ตั้งแต่ ค.ศ. 2001 ถึง 2011 บิน ลาดินกลายเป็นเป้าหมายหลักของสหรัฐ เพราะทางเอฟบีไอประกาศนำจับด้วยเงิน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[18] ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2011[19] เนวีซีลของสหรัฐยิงบิน ลาดินจนเสียชีวิต[20]ที่บ้านพักส่วนตัวในเอบเฏอบอด ประเทศปากีสถาน ปฏิบัติการนี้ควบคุมตามคำสั่งของประธานาธิบดีบารัก โอบามา[21] ภายใต้การนำของบิน ลาดิน องค์กรอัลกออิดะฮ์มีส่วนในการโจมตีทั่วโลก[22][23][24]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

อุซามะฮ์ บิน มุฮัมมัด บิน อะวัฎ บิน ลาดิน[1][25]เกิดที่ริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นบุตรของมุฮัมมัด บิน อะวัฎ บิน ลาดิน เจ้าสัวโครงการก่อสร้างมหาเศรษฐีชาวเยเมนที่มีความใกล้ชิดกับราชวงศ์ซะอูด[26] กับฮะมีดะฮ์ อัลอะฏอส (ตอนนั้นมีชื่อว่าอาลิยะฮ์ ฆอนิม) ภรรยาคนที่ 10 ของมุฮัมมัด บิน ลาดินที่เป็นชาวซีเรีย[27] ในการสัมภาษณ์ ค.ศ. 1998 บิน ลาดินกล่าวว่าตนเกิดในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1957[28]

หลังจากที่เขาถือกำเนิด มุฮัมมัด บิน ลาดินหย่ากับฮามิดะฮ์ทันที แล้วแนะนำให้ไปแต่งงานกับมุฮัมมัด อัลอะฏอส ทั้งคู่แต่งงานในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 หรือต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 ปัจจุบันยังคงอยู่ด้วยกัน[29] ทั้งคู่มีลูก 4 คน และบิน ลาดินกลายเป็นสมาชิกใหม่ที่มีกึ่งพี่/น้องชาย 3 คนและกึ่งพี่/น้องสาวคนเดียว[27] ครอบครัวของบิน ลาดินมีรายได้ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในธุรกิจก่อสร้าง ต่อมาอุซามะฮ์ได้รับมรดกกว่า 25-30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[30]

บิน ลาดินถูกเลี้ยงมาให้นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี[31] จาก ค.ศ. 1968 ถึง 1976 เขาเข้าศึกษาที่สถานศึกษาต้นแบบอัษษะฆิร[27][32] แล้วศึกษาต่อในด้านเศรษฐศาสตร์และปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต[33]ที่มหาวิทยาลัยสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ บางรายงานกล่าวแนะว่า เขาได้รับปริญญาสาขาวิศวกรรมโยธาใน ค.ศ. 1979[34] หรือปริญญาในด้านการบริหารรัฐกิจใน ค.ศ. 1981[35] บิน ลาดินเคยเข้าเรียนภาษาอังกฤษที่ออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษใน ค.ศ. 1971[36] ข้อมูลหนึ่งกล่าวถึงเขาว่า "ทำงานหนัก"[37] บางส่วนกล่าวว่า เขาลาออกจากมหาวิทยาลัยในปี 3 โดยไม่ได้รับปริญญาใด ๆ[38] ตอนศึกษาที่มหาวิทยาลัย สิ่งที่บิน ลาดินสนใจคือศาสนา ซึ่งเขามีส่วนร่วมทั้ง "แปลอัลกุรอานกับญิฮาด" และทำงานจิตอาสา[39] ความสนใจอื่น ๆ ของเขาคือ การแต่งกวี[40] การอ่าน และเขาติดตามสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล[41]

ชีวิตส่วนตัว

ใน ค.ศ. 1974 ตอนอายุ 17 บิน ลาดินแต่งงานกับนัจวา ฆอนิมทีอัลลาษิกียะฮ์ ประเทศซีเรีย[42] ทั้งคู่แยกกันก่อนเกิดเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ภรรยาหลายคนเท่าที่รู้จักคือเคาะดีญะฮ์ ชะรีฟ (แต่งงาน ค.ศ. 1983, หย่าในคริสต์ทศวรรษ 1990); Khairiah Sabar (แต่งงานใน ค.ศ. 1985); Siham Sabar (แต่งงานใน ค.ศ. 1987) และ Amal al-Sadah (แต่งงานใน ค.ศ. 2000) บางรายงานกล่าวถึงภรรยาคนที่หก ซึ่งไม่ทราบชื่อ ผู้ที่แต่งงานกับบิน ลาดินจะถูกหย่าหลังพิธี[43] บิน ลาดินเป็นพ่อของลูก ๆ ระหว่าง 20 ถึง 26 คนจากภรรยาของเขา[44][45] หลังจากเหตุการณ์ 11 กันยา ลูก ๆ ของบิน ลาดินหลายคนหนีไปยังประเทศอิหร่าน และข้อมูลเมื่อ 2010 เจ้าหน้าที่อิหร่านยังคงรายงานการเคลื่อนไหวของคนเหล่านี้อยู่ตลอด[46]

นาศิร อัลบะห์รี ผู้เป็นคนคุ้มกันประจำตัวของบิน ลาดินใน ค.ศ. 1997–2001 กล่าวถึงบิน ลาดินในบันทึกว่า เขาเป็นคนประหยัด และเป็นพ่อที่เข้มงวด เขาชอบที่จะพาครอบครัวที่ใหญ่โตของเขาออกเดินทางไปยิงปืนและปิกนิกในทะเลทราย[47]

มุฮัมมัด พ่อของบิน ลาดินเสียชีวิตใน ค.ศ. 1967 จากเหตุการณ์เครื่องบินตกที่ซาอุดีอาระเบีย เมื่อจิม แฮร์ริงตัน นักบินชาวอเมริกัน[48]ตัดสินใจผิดพลาดขณะลงจอด[49] ซาลิม บิน ลาดิน กึ่งพี่ชายคนโตของบิน ลาดิน ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวคนต่อมาได้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1988 ใกล้เมืองแซนแอนโทนีโอ รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ในอุบัติเหตุขณะขับเครื่องบินไปชนสายไฟ[50]

ทางเอฟบีไอบรรยายถึงบิน ลาดินว่า เขาเป็นผู้ใหญ่ที่สูงและผอม มีส่วนสูงระหว่าง 1.93 เมตร (6 ฟุต 4 นิ้ว) ถึง 1.98 เมตร (6 ฟุต 6 นิ้ว) และน้ำหนักประมาณ 73 กิโลกรัม (160 ปอนด์) ถึงแม้ว่าลอว์เรนซ์ ไรต์ ผู้แต่งหนังสือเกี่ยวกับอัลกออิดะฮ์ในเดอะลูมมิงทาวเวอร์ ซึ่งชนะรางวัลพูลิตเซอร์ บันทึกจากข้อมูลคนใกล้ชิดกับบิน ลาดินว่า "เขาสูงมากกว่า 6 ฟุต (1.8 เมตร)"[51] หลังเสียชีวิต มีการวัดว่าเขาสูงประมาณ 1.93 เมตร (6 ฟุต 4 นิ้ว)[52] บิน ลาดินมีผิวสีมะกอกและถนัดมือข้างซ้าย ส่วนใหญ่มักเดินพร้อมกับไม้เท้า และสวมกูฟียะฮ์ขาว[53] มีการกล่าวถึงบิน ลาดินว่าพูดจาไพเราะอ่อนน้อมถ่อมตน[54]

บทบาททางการทหารและการเมือง

บิน ลาดิน ในขณะให้สัมภาษณ์กับ ฮามิด เมียร์ นักข่าวชาวปากีสถานใน ค.ศ. 1997

หลังสหภาพโซเวียตเข้ารุกรานอัฟกานิสถานในปี 1979[55][56] ได้ไม่นาน บิน ลาดิน ได้เดินทางไปพบกับผู้นำกลุ่มติดอาวุธชาวอัฟกันและช่วยหาเงินอุดหนุนการต่อต้านการยึดครองของสหภาพโซเวียต นับแต่ปี 1984 บิน ลาดิน ดำเนินกิจกรรมส่วนใหญ่ในอัฟกานิสถานและปากีสถาน มีส่วนสำคัญในการหาอาสาสมัครชาวอาหรับเพื่อต่อสู้กับทหารโซเวียต ด้วยเงินทุนและชื่อเสียงในความเคร่งศาสนา และความกล้าหาญในสนามรบช่วยเสริมสถานะของเขาในฐานะผู้นำทางทหาร ในปี 1988 เขาได้สร้างฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์รวบรวมรายชื่ออาสาสมัครผู้ร่วมรบในสงครามอัฟกานิสถาน ซึ่งกลายมาเป็นฐานข้อมูลของเครือข่ายทางทหารกลุ่มใหม่ในชื่อ “อัลกออิดะฮ์” (al-Qaeda, ในภาษาอาหรับแปลว่า ฐาน)[57] แม้ว่ากลุ่มติดอาวุธกลุ่มนี้จะยังไม่มีวัตถุประสงค์หรือวาระในการปฏิบัติการที่ชัดเจนเป็นเวลาหลายปีก็ตาม[58]

ในปี 1989 หลังสหภาพโซเวียตถอนทัพออกจากอัฟกานิสถาน บิน ลาดิน เดินทางกลับซาอุดีอาระเบียในฐานะวีรบุรุษ แต่ไม่นานก็ถูกรัฐบาลหมายหัวในฐานะพวกหัวรุนแรงและอาจเป็นภัยต่อความมั่นคง ในปี 1990 รัฐบาลซาอุดีอาระเบียปฏิเสธคำร้องขอให้เครือข่ายนักรบของเขาร่วมปกป้องซาอุดีอาระเบียจากภัยคุกคามของ ซัดดัม ฮุสเซน ผู้นำอิรักในสมัยนั้น เนื่องจากซาอุดีอาระเบียหวังพึ่งกองทัพสหรัฐฯ เป็นกำลังหลัก คำปฏิเสธสร้างความไม่พอใจให้กับ บิน ลาดินอย่างรุนแรง และนั่นเป็นสาเหตุหลักที่เขาหันหน้าให้กับประเทศบ้านเกิด เนื่องจากผิดหวังในความอ่อนแอของรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย เขาเดินทางออกจากซาอุดีอาระเบียไปตั้งหลักอยู่ที่ซูดานในปี 1991[59]

ช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 เขาและเครือข่ายอัลกออิดะฮ์เริ่มวางรูปแบบการต่อต้านด้วยความรุนแรงต่อภัยคุกคามจากอิทธิพลของสหรัฐฯ ในโลกมุสลิม เขาออกมาแสดงความชื่นชมอย่างเปิดเผยต่อการโจมตีสหรัฐฯของกลุ่มหัวรุนแรงต่าง ๆ รวมถึงเหตุโจมตีด้วยระเบิดต่ออาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์กเมื่อปี 1993[60][61] ปีถัดมา บิน ลาดิน เริ่มขยายโครงสร้างของกลุ่มในซูดานเพื่อรองรับการฝึกฝนนักรบอิสลามเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในความขัดแย้งทั่วโลก ไม่นานซาอุดีอาระเบียก็ประกาศถอนสัญชาติและยึดทรัพย์สินของเขาทำให้เขาจำเป็นต้องอาศัยแหล่งเงินทุนจากภายนอก[62]

ในปี 1996 หลังถูกกดดันจากนานาชาติอย่างหนัก ซูดานมีคำสั่งเนรเทศบิน ลาดิน[63] เขาจึงเดินทางไปยังอัฟกานิสถานอีกครั้งโดยได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาลตอลิบาน ในปีเดียวกันเขาออก ฟัตวา (คำวินิจฉัยทางศาสนา) ชุดแรก ประกาศสงครามศักดิ์สิทธิ์ต่อสหรัฐฯ กล่าวหาว่าสหรัฐฯ ปล้นทรัพยากรธรรมชาติจากโลกมุสลิม ยึดครองคาบสมุทรอาหรับ ซึ่งรวมถึงศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิม เป้าหมายของบิน ลาดิน ค่อนข้างชัดเจนว่าต้องการยกระดับการทำสงครามของสหรัฐฯกับโลกมุสลิมและหวังให้ประเทศมุสลิมรวมตัวเป็นรัฐอิสลามหนึ่งเดียว[64][65][66] (รัฐเคาะลีฟะฮ์, Caliphate)

นับแต่นั้นมา บิน ลาดิน และอัลกออิดะฮ์ ได้ฝึกฝนนักรบและให้ทุนสนับสนุนการโจมตีในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง พวกเขาถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการโจมตีสถานทูตสหรัฐฯหลายแห่ง ถึงปี 2001 กลุ่มติดอาวุธ 19 คน ซึ่งเชื่อว่ามีความเชื่อมโยงกับกลุ่มอัลกออิดะฮ์ได้วางแผนโจมตี “11 กันยายน” (การยึดเครื่องบินพานิชย์พุ่งชนอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์และเพนตากอน) ทำให้สหรัฐฯและชาติพันธมิตรตัดสินใจใช้กำลังเข้าล้มล้างรัฐบาลตาลีบันพร้อมกับตามล่าบิน ลาดิน

นับแต่ปลายปี 2001 บิน ลาดิน ได้หลบหนีการจับกุมของสหรัฐฯ และหายหน้าหายตาไปจากสาธารณะ จนถึงเดือนตุลาคม 2004 ก่อนหน้าการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯเพียงสัปดาห์เดียว เขาได้ปรากฏตัวในบันทึกวิดีโออ้างตัวว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังวินาศกรรม 11 กันยายน อันนำไปสู่ สงครามต่อต้านการก่อการร้าย หลังจากนั้นเขาก็ได้ออกบันทึกเสียงและคลิปวิดีโอเพื่อปลุกใจเพื่อนร่วมอุดมการณ์เป็นระยะ ๆ[67] เป็นเวลาหลายปีที่มีข่าวลือต่าง ๆ นา ๆ ว่าเขาหลบซ่อนอยู่ที่สถานที่ลับตาในประเทศต่าง ๆ และได้รับการคุ้มครองอย่างดี อาทิ หมู่บ้านโทรา โบรา ซึ่งเป็นพื้นที่อันห่างไกลในหุบเขาของอัฟกานิสถาน รวมถึงบ้านพักในปากีสถาน หรือแม้แต่ข่าวลือว่าเขาใช้ชีวิตในถ้ำ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐและสำนักงานสอบสวนกลางประกาศนำจับเขาด้วยเงิน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เสียชีวิตและผลที่ตามมา

เว็บไซต์สำนักงานสอบสวนกลางที่จัดให้บิน ลาดินอยู่ในสถานะเสียชีวิตตามบุคคลที่ต้องการตัวมากที่สุดในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 2011

หน่วยปฏิบัติการพิเศษทางทหารของสหรัฐได้ฆ่าอุซามะฮ์ บิน ลาดินที่เอบเฏอบอด ประเทศปากีสถานในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 เวลา 1:00 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่น (16:00 นาฬิกาตามเขตเวลาตะวันออก)[note 2][68][69]

ปฏิบัติการนี้ มีชื่อรหัสว่าปฏิวัติการเนปจูนสเปียร์ เริ่มต้นตามคำสั่งของประธานาธิบดีบารัก โอบามา กับดำเนินการในสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ (CIA) ด้วยทีมเนวีซีลสหรัฐจากกองพัฒนาสงครามพิเศษกองทัพเรือ (มีอีกชื่อว่าเดฟกรู (DEVGRU) หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า ซีลทีมซิกซ์) ของกองบัญชาการร่วมปฏิบัติการพิเศษ[70]ด้วยการสนับสนุนจากปฏิบัติการซีไอเอในบริเวณนี้[71][72] แล้วเริ่มโจมตีที่หลบซ่อนของบิน ลาดินที่เอบเฏอบอดจากอัฟกานิสถาน[73] หลังการโจมตี มีรายงานว่ากองทัพสหรัฐนำร่างกายของบิน ลาดินไปอัฟกานิสถานเพื่อไประบุตัว (positive identification) แล้วนำไปฝังในทะเล ซึ่งตามกฎหมายอิสลาม จะต้องฝังภายใน 24 ชั่วโมงหลังเสียชีวิต[74] การรายงานที่ตามมาได้เรียกข้อมูลนี้ว่าเป็นปัญหา เช่น ไม่มีหลักฐานที่ว่ามีอิหม่ามอยู่บนเรือยูเอสเอส คาร์ลวินสัน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการฝังศพ[75]

ต่อมาเจ้าหน้าที่ปากีสถานจึงทำลายสิ่งก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012[76] เพื่อไม่ให้มันกลายเป็นอนุสรณ์ของพวกลัทธินีโออิสลาม[77][78][79][80][81][82] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 ในปากีสถานมีการวางแผนสร้างสวนสนุกในบริเวณนี้ ซึ่งรวมถึงที่หลบซ่อนในอดีต ด้วยเงิน 265 ล้านรูปีปากีสถาน (30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[83]

ในการสัมภาษณ์ใน ค.ศ. 2019 อิมราน ข่าน นายกรัฐมนตรีปากีสถานอ้างว่าหน่วยสืบราชการลับของปากีสถานเป็นกลุ่มที่นำซีไอเอไปหาอุซามะฮ์ บิน ลาดิน[84][85][86][87][88][89][90]

หมายเหตุ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

บรรณานุกรม

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง