ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์ หรือที่เรียกว่า มณฑลอียิปต์ที่ 2 เป็นราชวงศ์ของจักรวรรดิเปอร์เซียแห่งราชวงศ์อะคีเมนิด ระหว่าง 343 ถึง 332 ปีก่อนคริสตกาล สถาปนาขึ้นโดยกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย หลังจากการพิชิตอียิปต์และขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ในเวลาต่อมา และราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดสิ้นสุดลงเมื่อกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราชทรงพิชิตอียิปต์

ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์
(อียิปต์แห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด)
มณฑลของจักรวรรดิอะคีเมนิด
343 ปีก่อนคริสตกาล – 332 ปีก่อนคริสตกาล
Flag of อียิปต์แห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด (มณฑลอียิปต์ที่ 2/มณฑลที่ 6)
ธงแห่งไซรัสมหาราช

ส่วนด้านตะวันตกของจักรวรรดิอะคีเมนิด และดินแดนอียิปต์[1][2][3][4]
การปกครอง
ฟาโรห์ 
• 343–338 ปีก่อนคริสตกาล
ฮาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 (พระองค์แรก)
• 336–332 ปีก่อนคริสตกาล
ดาริอุสที่ 3 (พระองค์สุดท้าย)
ยุคทางประวัติศาสตร์สมัยอะคีเมนิด
• การพิชิตของกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3
343 ปีก่อนคริสตกาล
• การพิชิตของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช
332 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่สามสิบแห่งอียิปต์
จักรวรรดิมาซิโดเนีย
ราชอาณาจักรทอเลมี

ช่วงเวลาของราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์เป็นครั้งที่สองที่ผู้ปกครองชาวเปอร์เซียปกครองอียิปต์ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคำว่า "มณฑลอียิปต์ที่ 2" ก่อนการสถาปนาราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด อียิปต์มีช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ได้รับเอกราช โดยราชวงศ์ของฟาโรห์ชาวพื้นเมืองจำนวน 3 ราชวงศ์ผลัดเข้ามาปกครอง (ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปด, ยี่สิบเก้า และสามสิบ) ช่วงที่ชาวเปอร์เซียเข้ามาปกครองก่อนหน้านี้เรียกว่า "มณฑลอียิปต์ที่ 1" หรือราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ (ระหว่าง 525–404 ปีก่อนคริสตกาล)

ประวัติราชวงศ์

การดำเนินการทางทหารมายังอียิปต์ครั้งแรก

ในราว 351 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสทรงได้เริ่มดำเนินการทหารเพื่อตีอียิปต์คืนกลับมา หลังจากการก่อจลาจลในรัชสมัยกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 2 ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์ ในเวลาเดียวกัน การก่อจลาจลได้ปะทุขึ้นในเอเชียไมเนอร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธีบส์ ซึ่งจะกลายเหตุการณ์รุนแรง[5] กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสทรงเคลื่อนทัพไปยังอียิปต์โดยระดมกองทัพจำนวนมหาศาลและไปรบกับฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 หลังจากนั้นหนึ่งปีแห่งการต่อสู้กับฟาโรห์แห่งอียิปต์ พระองค์ทรงพ่ายแพ้ให้กับฟาโรห์เนคทาเนโบด้วยการสนับสนุนของทหารรับจ้างที่นำโดยนายพลชาวกรีกดิโอฟานตุสและลามิอุส[6] กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสทรงถูกบังคับให้ล่าถอยและเลื่อนแผนการพิชิตอียิปต์คืนออกไป

การดำเนินการทางทหารมายังอียิปต์ครั้งที่สอง

กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 ในฐานะฟาโรห์จากเหรียญกษาปณ์ซิลีเซีย[7]
ตราประทับทรงกระบอกสเวนิโกรอดสกีเป็นภาพกษัตริย์เปอร์เซียแทงหอกใส่ฟาโรห์อียิปต์ ขณะที่จับเชลยสี่คนด้วยเชือก[8][9][10]

ใน 343 ปีก่อนคริสตกาล กองทัพของกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสนอกเหนือจากชาวเปอร์เซีย 330,000 คนของพระองค์แล้ว ตอนนี้มีกองกำลังชาวกรีก 14,000 คนโดยเมืองกรีกในเอเชียไมเนอร์: 4,000 คนในการควบคุมของเมนทอร์แห่งรอดส์ ซึ่งประกอบด้วยกองทหารที่นำมาช่วยเหลือของเทนเนสจากอียิปต์ ประกอบด้วย 3,000 คนส่งโดยอาร์กอส และอีก 1,000 คนจากธีบส์ โดยแบ่งกองทหารเหล่านี้ออกเป็นสามกอง และวางไว้แม่ทัพแต่ละฝ่ายเป็นชาวเปอร์เซียและชาวกรีก ผู้บัญชาการชาวกรีกคือ ลาคราเตสแห่งธีบส์, เมนทอร์แห่งรอดส์ และนิคอสตราตุสแห่งอาร์กอส ในขณะที่ชาวเปอร์เซียนำโดย รอสซาเซส, อริสตาซาเนส และบาโกอัส หัวหน้าขันทีของฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 ได้ต่อต้านด้วยกองทัพ 100,000 คนโดย 20,000 คนเป็นทหารรับจ้างชาวกรีก ฟาโรห์เนคทาเนโบทรงยึดครองแม่น้ำไนล์และสาขาต่าง ๆ ด้วยกองทัพเรือขนาดใหญ่ของพระองค์ ลักษณะของภูมิประเทศที่ตัดผ่านด้วยลำคลองมากมายและเต็มไปด้วยเมืองที่มีป้อมปราการแน่นหนาเป็นประโยชน์ของพระองค์ และฟาโรห์เนคทาเนโบอาจจะทรงได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อหากไม่ประสบความสำเร็จ แต่พระองค์ขาดนายพลที่ดีและมั่นใจในอำนาจการบังคับบัญชาของพระองค์เองมากเกินไป พระองค์พบว่าพระองค์เองทรงถูกขับไล่โดยนายพลทหารรับจ้างชาวกรีก กองกำลังของพระองค์ได้พ่ายแพ้โดยกองทัพเปอร์เซียที่รวมกันใกล้กับเปลูเซียม[11]

อาจจะเป็นภาพของยุวกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 4 ทรงสวมมงกุฎฟาโรห์[12]

หลังจากพ่ายแพ้ ฟาโรห์เนคทาเนโบทรงรีบหนีไปยังเมืองเมมฟิสโดยทิ้งเมืองที่มีป้อมปราการให้กองทหารรักษาการณ์ปกป้อง กองทหารรักษาการณ์เหล่านี้ประกอบด้วยกองกำลังกรีกบางส่วนและกองทัพอียิปต์บางส่วน ชาวเปอร์เซียสามารถเอาชนะเมืองต่างๆ ทั่วอียิปต์ตอนล่างได้อย่างรวดเร็ว และกำลังบุกโจมตีเมืองเมมฟิส เมื่อฟาโรห์เนคทาเนโบทรงตัดสินพระทัยหนีออกจากอียิปต์และหนีลงใต้ไปยังเอธิโอเปีย[11] จากนั้นกองทัพเปอร์เซียก็ไล่ต้อนชาวอียิปต์จนหมดสิ้นและยึดครองสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ตอนล่าง หลังจากที่ฟาโรห์เนคทาเนโบทรงหนีไปยังเอธิโอเปีย อียิปต์ทั้งหมดก็ยอมจำนนต่อกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีส ชาวยิวในอียิปต์ถูกส่งไปยังบาบิโลนหรือชายฝั่งทางใต้ของทะเลแคสเปียน ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับที่ชาวยิวในฟีนิเซียเคยถูกส่งไปก่อนหน้านี้

หลังจากชัยชนะเหนือชาวอียิปต์ กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสทรงได้ทำลายกำแพงเมือง ทรงเริ่มการปกครองด้วยความหวาดกลัว และเริ่มปล้นวิหารทั้งหมด เปอร์เซียได้รับความมั่งคั่งจำนวนมากจากการปล้นครั้งนี้ พระองค์ยังทรงเก็บภาษีสูงและพยายามทำให้อียิปต์อ่อนแอลงมากพอที่จะไม่ก่อกบฏต่อเปอร์เซียอีก ในช่วง 10 ปีที่เปอร์เซียควบคุมอียิปต์ ผู้เชื่อในศาสนาพื้นเมืองถูกข่มเหงและหนังสือศักดิ์สิทธิ์ถูกขโมย[13] ก่อนที่พระองค์จะกลับไปเปอร์เซีย พระองค์ทรงแต่งตั้งให้ฟีเรนดาเรสเป็นผู้ว่าการมณฑลอียิปต์ ด้วยความมั่งคั่งที่ได้รับจากการพิชิตอียิปต์ กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสทรงสามารถให้รางวัลแก่ทหารรับจ้างของพระองค์ได้อย่างเพียงพอ จากนั้นพระองค์ก็เสด็จกลับเมืองหลวง หลังจากสำเร็จการรุกรานและยึดครองอียิปต์แล้ว

การปกครองของผู้ว่าการมณฑลอียิปต์

ภาพของซาบาเคส ผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าการมณฑลอียิปต์แห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด ประมาณ 340-333 ปีก่อนคริสตกาล

ไม่ทราบว่าใครเข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าการมณฑลหลังจากรัชสมัยกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 แต่เฟเรนดาเตสที่ 2 ได้รับตำแหน่งเป็นผู้ว่าการมณฑลในช่วงแรกๆ ของอียิปต์ ในรัชสมัยกษัตริย์ดาริอุสที่ 3 (ระหว่าง 336–330 ปีก่อนคริสตกาล) มีผู้ว่าการฯ นามว่า ซาบาเคส ซึ่งต่อสู้และเสียชีวิตที่อิสซูส และมาซาเคส ซึ่งเข้ามารั้งตำแหน่งต่อ ชาวอียิปต์ยังต่อสู้ที่อิสซูส เช่น ขุนนางซอมทูเทฟเนเคตแห่งเฮราคลีโอโพลิส ผู้เขียน "จารึกเนเปิลส์" ว่าเขาหลบหนีอย่างไรในระหว่างการต่อสู้กับชาวกรีกและ อาร์ซาเฟส เทพเจ้าประจำเมืองของเขา ปกป้องเขาและให้เขากลับบ้านได้อย่างไร

ใน 332 ปีก่อนคริสตกาล มาซาเซสได้ให้อียิปต์ให้กับกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราชโดยไม่มีการต่อสู้ ซึ่งจักรวรรดิอะคีเมนิดได้ล่มสลายไปแล้วนั้น ในขณะที่อียิปต์ได้กลายมาเป็นมณฑลหนึ่งในอาณาจักรของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช ต่อมาทอเลมีและโรมันได้ปกครองลุ่มแม่น้ำไนล์อย่างต่อจากนั้น

วัฒนธรรม

บุรุษชาวอียิปต์ในชุดเปอร์เซีย ราว 343–332 ปีก่อนคริสตกาล เลขทะเบียน 71.139 พิพิธภัณฑ์บรูคลิน[14]

บางครั้งชาวอียิปต์สวมเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับจากต่างประเทศ รสนิยมของแฟชั่นที่ไม่ใช่ของอียิปต์เกิดขึ้นในช่วงที่มีการค้ากว้างขวางหรือมีการติดต่อทางการทูตกับราชสำนักที่อยู่ห่างไกล หรือเมื่ออียิปต์ถูกควบคุมโดยอำนาจต่างชาติ ชาวเปอร์เซียซึ่งรุกรานลุ่มแม่น้ำไนล์สองครั้งจากถิ่นฐานในเอเชียตะวันตก เข้ามาปกครองอียิปต์ในช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ (ระหว่าง 525–404 ปีก่อนคริสตกาล) และราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์ (ระหว่าง 342–332 ปีก่อนคริสตกาล) รูปสลักนี้ถูกสร้างขึ้นในสมัยหลังการปกครองของเปอร์เซียในอียิปต์[14]

จากการอ้างอิงจากพิพิธภัณฑ์บรูคลิน "กระโปรงยาวที่แสดงรอบร่างของรูปสลักนี้และซ่อนไว้ที่ขอบด้านบนของเสื้อผ้าโดยทั่วไปแล้วเป็นแบบเปอร์เซีย สร้อยคอที่เรียกว่า ทอร์ก ซึ่งประดับด้วยรูปตัวไอเบ็กซ์ สัญลักษณ์แห่งความว่องไวในเปอร์เซียโบราณ และความกล้าหาญทางเพศ ซึ่งรูปสลักนี้แสดงให้เห็นถึงขุนนางผู้นี้ในชุดเปอร์เซียอาจจะเป็นการแสดงถึงความจงรักภักดีต่อผู้ปกครองพระองค์ใหม่”[14]

เหรียญกษาปณ์

เหรียญกษาปณ์อียิปต์แห่งราชวงศ์อะคีเมนิด

เหรียญกษาปณ์ซิลีเซียกับผู้ปกครองราชวงศ์อะคีเมนิดในฐานะฟาโรห์

รายพระนามฟาโรห์

พระนามรูปภาพรัชสมัยพระนามครองราชย์คำอธิบาย
อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 343–338 ปีก่อนคริสตกาลทรงผนวกอียิปต์ให้อยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซียเป็นครั้งที่สอง
อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 4 338–336 ปีก่อนคริสตกาลทรงปกครองเฉพาะในอียิปต์ล่าง
คาบาคาช 338–335 ปีก่อนคริสตกาลเซเนน-เซเตปุ-นิ-พทาห์ทรงนำการปฏิวัติต่อต้านการปกครองของเปอร์เซียในอียิปต์บนประกาศ และทรงตั้งตนเป็นฟาโรห์
ดาริอุสที่ 3 336–332 ปีก่อนคริสตกาลทรงทำให้อียิปต์บนกลับสู่การควบคุมของเปอร์เซียอีกครั้งเมื่อ 335 ปีก่อนคริสตกาล

เส้นเวลาของราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด

Darius IIIArtaxerxes IVArtaxerxes III

ผู้ว่าการมณฑลของราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด

รายนามช่วงเวลาปกครองรัชสมัยคำอธิบาย
เฟเรนดาเตสที่ 2343–335 ปีก่อนคริสตกาล[16]อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3
ซาบาเคส335-333 ปีก่อนคริสตกาล[16]ดาริอุสที่ 3ถูกสังหารในยุทธการที่อิสซูส
มาซาเคส333–332 ปีก่อนคริสตกาล[16]ดาริอุสที่ 3

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร