ละม้าย อุทยานานนท์

พลตรี พลตำรวจตรี ละม้าย อุทยานานนท์ เป็นอดีตรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์ ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม 3 สมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาท

ละม้าย อุทยานานนท์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
ดำรงตำแหน่ง
11 ธันวาคม พ.ศ. 2494 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 กรกฎาคม พ.ศ. 2451
เสียชีวิต13 ธันวาคม พ.ศ. 2507 (56 ปี)
พรรคการเมืองเสรีมนังคศิลา
คู่สมรสวิเชียร อุทยานานนท์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศ พลตรี
พลตำรวจตรี
ละม้าย อุทยานานนท์

ประวัติ

พลตรี ละม้าย อุทยานานท์ เป็นบุตรของนายพันโทพระเสนางควิจารณ์ (นิล อุทยานานนท์) กับใหญ่ เสนางควิจารณ์เกิดที่บ้านตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2451

การศึกษา

ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนอัสสัมชัญ และต่อมาได้เข้าเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก เลขที่ 3551 เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2464 จบหลักสูตรชั้นปีที่ 6 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2472 และได้รับพระราชทานยศ นายร้อยตรี เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2473[1]

การสมรส

สมรสกับวิเชียร ชังคานนท์ บุตรนาวาตรีหลวงสมุทรพรานุรักษ์ (ชิด ชังคานนท์) มีบุตร 1 คน คือ พันเอก วีรชาติ อุทยานานนท์

การทำงาน

ตำแหน่งหน้าที่ราชการทหารที่สำคัญ

  • 7 เมษายน พ.ศ. 2481 – รองผู้บังคับกองร้อยที่ 1 กองพันทหารรักษาวัง
  • 5 เมษายน พ.ศ. 2483 – ผู้บังคับกองร้อยที่ 1 กองพันทหารราบที่ 9 ทหารรักษาวัง
  • 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484 – รองผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 17
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2489 – ผู้บังคับกองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 11
  • 2 ธันวาคม พ.ศ. 2490 – ผู้บังคับกองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์
  • 24 มกราคม พ.ศ. 2498 – ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์

พลตรี ละม้าย เป็นบุคคลสำคัญผู้หนึ่ง ในการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2491 คือ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 เวลาประมาณ 09.00 น. ซึ่งตรงกับวันจักรี อันเป็นวันหยุดราชการ กลุ่มนายทหารจำนวน 4 คน ประกอบด้วย พันโท ก้าน จำนงภูมิเวท, พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ, พันเอก ขุนศิลป์ศรชัย และ พันโท ละม้าย อุทยานานนท์ ได้แต่งกายเต็มยศขัดกระบี่ถือปืนเข้าพบ ควง อภัยวงศ์ ที่บ้านพักในซอยตรงข้ามสนามกีฬาแห่งชาติ อ้างเหตุเรียกร้องให้ควงจ่ายเงินจำนวน 28 ล้านบาท อันเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างเดินทางกลับจากเชียงตุง หลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้ทำการเบิกจ่ายก่อนหน้านั้นแล้วจากกระทรวงการคลัง จำนวน 9 ล้านบาท แต่ควงไม่ยอมจ่าย ซึ่งเรื่องนี้เป็นความขัดแย้งระหว่างควงกับทหารกลุ่มนี้มาอยู่ก่อนแล้ว ที่ทำให้ก่อนหน้านั้นมีข่าวลือว่าจะเกิดการรัฐประหาร และที่สุดขอให้ควงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใน 24 ชั่วโมง โดยอ้างว่าคณะนายทหารที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นั้น เห็นว่ารัฐบาลควงไม่สามารถแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจของชาติที่ตกต่ำลงได้ โดยเฉพาะเรื่องค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นมาก จนที่สุดในเวลา 16.00 น. ที่ประชุมได้ร่างใบกราบบังคมทูลลาออกของควงเสร็จ และมีมติให้ ควงพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 เนื่องจากรัฐประหารครั้งนี้ กระทำเป็นการภายในใช้นายทหารเพียงไม่กี่คน โดยไม่มีการเคลื่ยนย้ายกำลังพลใด ๆ ทำให้ได้ชื่อว่า "รัฐประหารเงียบ" ซึ่งสื่อมวลชนในขณะนั้นเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าเป็น "การจี้นายกรัฐมนตรี"[2]

พลตรี ละม้าย อุทยานานนท์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีไม่ประจำกระทรวง ในรัฐบาลอมพล แปลก พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2494 หลังจากนั้นอีก 3 วันได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร[3] อยู่จนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ เข้ารับหน้าที่ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2495 และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรอีกสมัย[4] ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2495 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์ อีกตำแหน่งหนึ่ง[5] แต่ก็ทำงานได้เป็นระยะเวลา 1 ปี ก็มีการปรับคณะรัฐมนตรี เขาจึงได้ทำหน้าที่ในกระทรวงเกษตรเพียงตำแหน่งเดียว

ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร[6] อีกเป็นสมัยที่ 3 จนกระทั่งคณะทหารได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 โดยมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร

พลตรี ละม้าย เคยได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาทในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[7] สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา

พลตรี ละม้าย อุทยานานนท์ ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และได้ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2507 สิริรวมอายุได้ 56 ปี 4 เดือน 17 วัน[8]

ยศและตำแหน่ง

  • 16 พฤศจิกายน 2491 – นายพันตำรวจโท ขณะมียศทหารเป็น นายพันโท[9]
  • 27 กรกฎาคม 2492 – นายพันตำรวจเอก[10]
  • 7 ตุลาคม 2495 – นายพลตำรวจตรี[11]
  • 25 พฤศจิกายน 2495 – นายตำรวจราชสำนักพิเศษ[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ละม้าย อุทยานานนท์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร